ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กฎหมายที่ควรรู้รอบตัวเรา

    ลำดับตอนที่ #3 : กฎหมายแพ่ง

    • อัปเดตล่าสุด 22 ก.ย. 65


    กฎหมายแพ่ง

    — — — — — — — — — — — — — —

    กฎหมายแพ่ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
            กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
            ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
            เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น

    กฎหมายแพ่ง คำว่าแพ่ง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่าเกี่ยวกับเอกชน กฎหมายแพ่งจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชน หรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่ออยู่ตามลำพังและเมื่อติดต่อกับผู้อื่น เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญาต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนทุกคน

    จำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน กฎหมายแพ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กฎหมายแพ่ง คือ ระเบียบ กฎเกณฑ์กับส่วนเอกชนและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสถานภาพ สิทธิและหน้าที่ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น

    ประเภทของทรัพย์สินทรัพย์สินที่สำคัญมี 2 ประเภท คือ สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์

    สังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้และอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ทรัพย์ที่ติด อยู่กับดิน เช่น สิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

    สิทธิในทรัพย์สิน

    สิทธิในทรัพย์สิน คือ ประโยชน์ที่บุคคลจะพึงมิพึงได้ในทรัพย์สินนั้น แม้จะไม่มีรูปร่าง แต่ก็อาจมีราคาและยึดถือเอาได้ สิทธิในทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใด ผู้นั้นย่อมมีสิทธิครอบครอง จำหน่าย จ่ายแจก หรือได้ดอกผลจากทรัพย์สินนั้นหรือแม้กระทั่งการทำลาย

    ทรัพย์สินนั้นตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ การได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินมี 2 ประการ คือ ได้มาโดยกฎหมาย และได้มาโดยนิติกรรมและสัญญา 

    1. การได้สิทธิโดยกฎหมาย คือ การได้มาตามบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การโอนกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ที่กฎหมายปรับปรุง

    2. การได้สิทธิมาโดยนิติกรรมและสัญญาเป็นการได้สิทธิตามข้อตกลง หรือการทำสัญญา เช่นสิทธิ ในการรับทรัพย์สินเป็นมรดกตกทอดตามพินัยกรรม สิทธิ ในทรัพย์สินตามสัญญาซื้อขาย สิทธิในผลประโยชน์ จากทรัพย์สินที่เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น

    3. การใช้สิทธิในทางแพ่ง การถือสิทธิในทางแพ่งต่างกับการใช้สิทธิในทางแพ่ง กล่าวคือ บุคคลธรรมดาทุกคนตั้งแต่เกิดมามีชีวิตรอดยู่ มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมายก็ย่อมมีความสามารถที่จะถือสิทธิเช่น การมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือการมีสิทธิในร่างกายในชีวิตของเรา โดยไม่ถูกจำกัดเรื่องอายุ เพศ ศาสนา การศึกษา สติปัญญา สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนในการถือสิทธิแต่อย่างใด เมื่อถือสิทธิแล้วจะใช้สิทธินั้นได้เพียงใดย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมาย

    4. นิติกรรม หมายถึง การใด ๆ อันทำลงไปโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อการเปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิองค์ประกอบนิติกรรม นิติกรรมจะต้องเกิดจากการกระทำของบุคคลและประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

    1. ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล หมายความว่า บุคคลนั้นกระทำสิ่งใดลงไปเพื่อต้องการผลอย่างใดอย่างหนึ่งทางกฎหมาย หรือมีความประสงค์ที่จะก่อความสัมพันธ์ขึ้นตามกฎหมาย เช่น การทำสัญญา เป็นต้น

    2. จะต้องเป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ กล่าวคือ เมื่อมีการแสดงเจตนากระทำแล้ว การกระทำนั้นต้องกระทำด้วยความสมัครใจอีกด้วย

    3. ต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ผลของนิติกรรมนั้นกฎหมายยอมรับในการคุ้มครองและบังคับบัญชาให้เกิดผลตามทีเจตนากระทำ ฉะนั้นการกระทำดังกล่าวจึงจะต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×