ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ichiruki forever

    ลำดับตอนที่ #11 : ➹ ทำไมลูเคียถึงเป็นนางเอก ?

    • อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 53


    หมายเหตุตัวใหญ่ ; พลอยกับลูจังไม่ได้พิมพ์กันเองค่ะ
    ก๊อปมาจากที่อื่น
    ไม่สามารถให้เครดิตได้
    เพราะว่ามันเผยแพร่หลากหลายที่มากๆๆๆ
    ไม่ว่าจะ
    -dek-d
    -yenta 4
    -b4th
    บล๊อกต่างๆ
    มากมายๆๆๆ
    เยอะมากค่ะ เผยแพร่มาก นับถือคนพิมพ์มาก ^ ^



    ~ Kuchiki Rukia (1)


    ส่วนสูง 144 cm (4"8.5')
    น้ำหนัก ~ 33 กิโลกรัม
    วันเกิด 14 มกรา
    สิ่งที่ชอบ ชอบที่สูง, กระต่าย



    ลูเคียสาวน้อยขนาดมินิ เอเซียไซส์ นัยตาคม ผมดำ คนนี้ชาวบลีชคนอื่นๆ จะถือว่าน่ารักหรือมีเสน่ห์บ้างหรือเปล่า

    ~ รูปลักษณ์ภายนอก ลูเคียเป็นตัวละครเอกฝ่ายหญิงที่ถือว่าบุคลิกนำหน้าตา ด้วยความที่เป็นคนมีหลากหลายบุคลิก และมักสร้างสีสัน ทั้งสุขเศร้าเหงาฮาอยู่เสมอ สำหรับแฟนพันธุ์แท้ของเธอ รูปร่างหน้าตานั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และแทบจะไม่ได้เป็นประเด็นเด่นที่คนจะคิดถึงเลยด้วยซ้ำ ยกเว้นพวกแอนตี้ลูเคียที่มักอ้างว่าลูเคียไม่สวยไม่เหมาะจะเป็นแฟนอิจิโกะ

    สิ่งหนึ่งที่ยอดเยี่ยมที่อ.คุโบะทำในการสร้างสรรค์ลูเคีย คือ ไม่ได้ใส่สูตรสำเร็จของนางเอกลงในตัวลูเคีย ไม่ได้ใช้สัญลักษณ์ทางเพศกับลูเคียที่เป็นตัวละครเอกหญิง นั่นคือ ไม่ได้เอาประเด็นเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกมาผูกกับลูเคียเลย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าไม่เหมือนตัวละครหญิงที่เด่นคนอื่น ลักษณะรูปร่างของลูเคียจึงไม่ได้มีอะไรตู้มเหมือนมัตซึโมโตะและอิโนะอุเอะ ไม่มีท่าเซ็กซี่ หรือมาดใสซื่อน่าเอ็นดู แม้แต่ในใบแทรกหนึ่งที่ทุกคนเที่ยวทะเล เธอใส่ชุดว่ายน้ำและนั่งหันหลังให้ผู้อ่าน ทั้งๆที่สาวบลีชคนอื่นหันหน้าออกทั้งหมด เพื่อกำนัลบรรดาหนุ่มๆแฟนบลีช

    ดังนั้น จึงอาจจะไม่เกินไป ถ้าจะกล่าวว่า อ.คุโบะตั้งใจให้แฟนๆ ของเธอรักใน "ตัวตนของเธอ" มากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก

    ....แต่ว่า...ตกลง สวยหรือน่ารักมั๊ยล่ะ ในเชิงของรูปลักษณ์ภายนอก

    การวิเคราะห์ตัวละครว่าสวยหรือมีความดึงดูดหรือไม่ นอกจากจะดูได้จากการบรรยายโดยตรงของผู้เขียนแล้ว เรายังดูได้จากบริบท พวกคำอ้างอิง ปฏิกิริยาของเพศตรงข้ามหรือตัวละครอื่นที่มีต่อตัวละครนั้นๆ รวมถึงปฏิกิริยาคู่ขนาน เพื่อเปรียบเทียบระหว่างตัวละครหนึ่งกับอีกตัวละครหนึ่ง และตัวละครนั้นกับตัวละครอื่นๆ ว่าเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร และแม้แต่การให้ระบบสัญลักษณ์ที่เชื่อมกับตัวละครนั้น พื้นที่กระดาษนั้นมีค่า เหมือนคำที่ว่าในบทประพันธ์นั้น ไม่มีองค์ประกอบใดที่ไม่มีความหมายจะถูกถ่ายทอดออกมา

    ในกรณีของลูเคีย อ.คุโบะไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรง ไม่ได้ให้ปัจจัยหลักที่ดึงดูดเพศตรงข้าม เช่น อิโนอุเอะที่อ.ให้ลายละเอียดชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแบบรูปธรรม คือลักษณะที่สาวๆ ญี่ปุ่นชอบ คือ ผมสี ตาโต ขายาว และมีความตู้ม ไว้เป็นกำนัลบรรดา แฟนๆ หรือ ในเชิงนามธรรม ว่าเป็นสาวน้อยสวยใสให้หนุ่มหลงใหลแน่ๆ ซึ่งดูได้จากปฏิกิริยาคนทั่วไป เช่น ที่เพื่อนๆที่ร.ร.ให้เป็นไอดอล มีทั้งชายและหญิงชอบ มีเพื่อนที่แม้จะเป็นผู้หญิงด้วยกันตามกรี๊ด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่อ.ใช้ยืนยันความเป็นที่นิยม และการเป็นที่ยอมรับในเชิงของรูปร่างภายนอกของตัวละครตัวนี้ และไม่ว่าไปที่ไหน จะมีเครื่องยืนยันปัจจัยนี้เสมอ เช่น เหล่ายมฑูตหนุ่มๆที่มองอิโนอุเอะ หรือที่น้องสาวอิจิโกะเหน็บว่าแฟนอิจิโกะต้องสวยไม่น้อยกว่าอิโนอุเอะ แล้วยังเป็นมุกที่อิจิโกะใช้ล่อคอน รวมถึงจินตนาการของคอนเองที่เห็นอยู่บ่อยๆ ด้วยท่าถลาหน้าจมภูเขา ทำให้ผู้อ่านไม่เคยต้องสงสัยเลยว่า เธอจะถือว่าเป็นคนสวยหรือไม่

    แล้วสาวแกร่งแรงเกินร้อยอย่างลูเคียล่ะ จะมีใครเห็นเสน่ห์ของเธอกันมั๊ยนะ

    แม้ว่าอ.คุโบะจะให้บุคลิกที่โดดเด่นนำ และไม่ได้ยกประเด็นเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกของลูเคียขึ้นมา แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่า ลูเคียจะขาดคุณสมบัติข้อนี้

    ลองวิเคราะห์จากบุคลรอบๆ ตัวของเธอ

    เร็นจิ ~ ลูเคียคือสาวซ่าออร่าหงส์ เพราะเคยบรรยายว่าแม้จะเติบโตในแดนเถื่อน แต่กิริยาเธอกลับสง่างาม (V11 ch098) แม้เร็นจิจะไม่เคยชมลูเคีย แต่คำเปรียบเทียบสุนัขกับดวงจันทร์ ก็ไม่ต้องการคำบรรยายใดๆ อีก

    ท่านเบียคุยะ ~ หากเราจะเชื่อในรสนิยมอันเป็นเลิศของท่านแล้วละก้อ ลูเคียที่ถอดแบบจากผู้พี่ที่เป็นภริยาท่านมาทุกกระเบียด ก็เป็นหลักฐานทางอ้อมว่า ลูเคียก็มีสง่าและความงาม อันสมกับเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติศักดิ์ของหนึ่งในเจ้าตระกูลหลักแห่งโซลซิตี้ผู้นี้ (ch302) (ขออนุญาตใช้คำที่คุณ Drake แปล เกียรติศักดิ์รักของข้าคำนี้ชอบมาก สำหรับภาษาอังกฤษเค้าแปลกันว่า Pride )

    คอน ~ oneesannnnn จะเห็นได้ว่าชัคกี้หื่น (เราว่าคอนบางตอนเหมือนชัคกี้เลยอะ) แม้ว่าจะหื่นกับสาวๆแต่ปฏิกิริยาของคอนที่มีต่อลูเคียกับสาวตู้มคนอื่นต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่าท่าคอนกระโดดซบอกลูเคีย กับซบอกโอริจะเหมือนกัน แต่บรรยากาศและความหมายนัยจะต่างกัน สำหรับสาวอื่นจะออกแนวเจ้าชู้หูหื่น แต่กับลูเคียแม้จะมีมุกทะลึ่งอยู่บ้างแต่สิ่งที่คอนอยากได้จากลูเคียคือความรักที่ไม่ใช่ชู้สาว อยากได้รับความรักและสนใจ ตั้งแต่ลูเคียช่วยชีวิตไว้ จึงรักและเทิดทูน แล้วจะมีงอนอย่างตอนที่ลูเคียสนใจกระต่ายมอดโซนภาคเบาวนท์(Bount) ก็ออกน้อยใจว่าลูเคียไม่รัก ออกแนวลูกเป็ดตามแม่ ก่อนถลาหาลูเคีย คอนจะยิ้มหรือน้ำตากระฉูด แล้วเรียก Oneeesannn ไม่เคยจินตนาการถึงภูเขาหรือซาละเปาก่อนเอาหน้าหมกเหมือนสาวอื่น แต่จะมีรูปหัวใจหรือรูปลูเคียยิ้มรับเสมอ การถลาเข้าหาลูเคียจึงเป็นด้วยความรักหาได้เป็นความหื่น สำหรับคอน ลูเคียคือที่หนึ่ง

    แล้ว สำหรับสตอรเบอรี่ ล่ะ
    เจ้าหนุ่มหัวส้มที่ไม่เคยยี่หระกะข่าวลือใดๆ เลย ขนาดบอกว่า ถ้ากลัวข่าวลือ ก็ไปย้อมผมดำซะนานแล้ว (ch07) ไหงตระหนกว่ามีข่าวลือกับลูเคีย กลัวคนอื่นจะได้ยินว่าตัวเองเรียกลูเคียด้วยชื่อต้น (V04)


    แถมเขินเวลาลูเคียนั่งเตียงอีก แล้วฉากห้องเรียนแสนรักกับการกลับมาของลูเคีย (V22) ทุกอย่างเขียนไว้บนหน้าหนุ่มน้อยหมดเลย (แล้วงี้ใครๆยังบอกอีกว่าสองคนนี้ไม่มีอะไรในกอไผ่ได้งัยนะ)

    ในมุมมองของตัวละครอื่นๆ ก็เป็นหลักฐานที่สำคัญได้
    เคโกะ (เพื่อนสตอร) ~ ก็ยังเคยกรี๊ดด้วยน้ำตาที่มีลูเคียมากินข้าวกลางวันด้วย (ch07)
    ยมฑูตพเนจร (ใน memories in the rain ภาคอนิเมะ) ~ แซวลูเคียว่า เจ้าหญิงแห่งรุคอนไค (จะไม่มีราศีอยู่บ้างหรือ)

    และหลักฐานที่สำคัญและชัดเจนที่สุดคือ ในสายตาผู้หญิงด้วยกัน
    เพราะผู้หญิงจะไม่รู้สึกว่าอีกฝ่ายเป็นคู่แข่ง (ในเชิงนามธรรม) หวั่นไหวทางอารมณ์ หรือหึง ถ้าหากว่าอีกฝ่ายไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม (และฝ่ายชายมีท่าทีสนใจ ...อิอิ อิจิลูคิ) จะเห็นได้ว่า ตัวละครหญิงที่เข้ามาสนใจหนุ่มเบอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ริริน และ เนล ต่างพากันหึงลูเคียอย่างเห็นได้ชัด และแม้แต่เพื่อนสนิท
    อิโนอุเอะ โอริฮิเมะ ก็ยอมรับทั้งน้ำตาและความเจ็บปวดว่า "หึง" ลูเคีย พร้อมบรรยายว่าคุณสมบัติของลูเคียว่าทั้งสวยและเก่งขนาดไหน (ch 119) การ "หึง" ของโอริฮิเมะ ยังเป็นเครื่องมือที่อ.ใช้ยืนยันเรื่องลักษณะภายนอกของลูเคียว่าไม่ได้ด้อยไปกว่าโอริฮิเมะอีกด้วย

    ดังนั้น คุจิกิ ลูเคีย ภายใต้มาดเจ้าแม่นักสู้ จึงมิได้ไร้เสน่ห์อย่างแน่นอน แต่รูปลักษณ์ภายนอกเทียบไม่ได้เลยกับความงามภายในของกุหลาบน้ำแข็งดอกนี้

    ปล. V (Volume) คือ เล่ม ch (chapter) คือ บท

    ~ Kuchiki Rukia (2) ~

    “ตัวตนของ คุจิกิ ลูเคีย”

    ความน่าสนใจอย่างหนึ่งที่ติดตาม ”บลีช” คือการได้ติดตามวิธีสร้างสรรค์ตัวละครของอ.คุโบะ โดยเฉพาะ คุจิกิ ลูเคีย ที่เมื่อลองคิดว่าอะไรทำให้ลูเคีย เป็นลูเคียแบบที่เรารู้จัก และอ.ให้พัฒนาการทางจิตใจและการเติบโตของตัวละครอย่างต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร ก็ยิ่งชอบมากขึ้น

    แม้เราจะไม่แน่ใจนักว่าลูเคียอายุเท่าไหร่กันแน่ แต่เราก็สามารถดูพัฒนาการเธอได้จากวิกฤติในชีวิต คล้ายๆกับชีวิตของมนุษย์เราที่มีทั้งขึ้นและลง แล้วเราผ่านเหตุการณ์ต่างๆมาได้อย่างไร อะไรทำให้เราตัดสินใจ หรือแสดงออก กล่าวคือ เหตุการณ์ในชีวิตที่หล่อหลอมให้เรากลายเป็นคนแบบที่เราเป็น เช่นกันกับที่ทำไมเธอสละชีวิตให้กับการปกป้องอิจิโกะ ทำไมลูเคียจึงดูเข้มแข็งอย่างที่เธอเป็น ทั้ง ๆ ที่เธอไม่ได้เชื่อมั่นหรือไว้ใจใคร ทั้งๆที่เธอไม่เคยเห็นคุณค่าในตัวเองเลย และทั้งที่เธอเกลียดตนเอง

    ชีวิตของลูเคียแบ่งเป็นช่วงใหญ่ ดังนี้
    ก่อนที่จะเจอกับเรนจิแอนเดอะแก๊งค์ ช่วงเป็นเจ้าแม่แก๊งเรนจิ ช่วงเข้าเรียนในเซเรเทย์ ช่วงเข้าเป็นคุณหนูเล็กบ้านคุจิกิ ช่วงเข้าหน่วย ๑๓ และเจอท่านไคเอ็นถึงช่วงที่สูญเสียไคเอ็น ช่วงอิจิโกะถึงช่วงศึกโซลโซไซตี้ ช่วงหลังศึกโซลโซไซตี้ ถึงปัจจุบัน โดยเราได้รู้จักเธอจริงๆ ก็คือในช่วงอิจิโกะจนถึงศึกโซลโซไซตี้ และช่วงหลังจากศึกโซลจนถึงปัจจุบัน นอกนั้นเป็นการเล่าผ่านตัวละครอื่น หรือนึกย้อนหลัง ซึ่งเมื่อเราพิจารณาพัฒนาการทางอารมณ์และตัวตนของลูเคีย จะเห็นได้ว่าอ.คุโบะสุดยอดมากๆ ทำได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ และนึกภาพได้ตามลำดับเรื่องราว จะอธิบายถึงตัวตนของลูเคียไปตามที่อ.คุโบะได้นำเสนอให้ผู้อ่าน

    อ.เปิดตัวลูเคียใน ช่วงอิจิโกะ
    เราจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของเธอมาแบบสาวแกร่งแรงเกินร้อย ขณะเดียวกันก็เป็นยมทูตที่เอาจริงเอาจังในการปฏิบัติหน้าที่ เสียสละชีวิตของตนในหน้าที่ได้อย่างไม่ลังเล เห็นได้ตั้งแต่ต้นเรื่องที่เอาตนเองเข้าแลกเพื่อช่วยชีวิตอิจิโกะ ถ่ายพลังให้ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันผิดกฎโซลโซไซตี้ การเสียสละตนเองของลูเคีย มันไม่ใช่แค่หน้าที่ ยมฑูต เห็นได้จากในตอนที่ลูเคียใช้ไม้แข็งบังคับให้อิจิโกะมาเป็นทาสในเล่ม 1 อิจิโกะบอกลูเคียว่า “มันไม่เกี่ยวกับว่าหน้าที่ของยมฑูต เธอก็เหมือนกันที่สละชีวิตให้ตนในตอนนั้น คิดถึงหน้าที่หรือ” ต่อมาลูเคียกลายเป็นอ.วิชาศิลปการเป็นยมฑูตให้อิจิโกะ โดยเทคนิคการสอนของเธอก็เข้มงวด พร้อมสอดแทรกอารมณ์ขัน ด้วยภาพอนุบาลกระต่ายน้อย หรือการดึงความเป็นตัวของตัวเองของอิจิโกะออกมา ในขณะเดียวกันก็ เข้าใจถึงจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือก็คืออิจิโกะได้อย่างดี เช่น เห็นได้จากใน ch 4 ที่อิจิโกะไปดูดอน คานอนจิกับครอบครัว

    ทำไมเราจึงรู้ว่าลูเคียสามารถเข้าถึงใจอิจิโกะได้

    เราเห็นได้จากการเปรียบเทียบคู่ขนานในทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวอิจิโกะกับตัวละครอื่น ในตอนนี้เกิดขึ้นระหว่างลูเคียกับโอริฮิเมะ และอย่างที่มีแฟนๆตั้งข้อสังเกต เป็นครั้งแรก ที่อ.ทำให้เราได้เห็นว่าจริงๆ แล้วอิจิโกะก็รับรู้ถึงความรู้สึกของลูเคีย ถึงจะไม่ได้หมายถึงในแบบโรแมนติก แต่ทำให้เราเห็นว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ความสัมพันธ์แบบสองทางเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งอ.คุโบะส่งบทให้เราเทียบบุคลิกทั่วไปของอิจิโกะจากซีนก่อน ที่โอริฮิเมะมาขอโทษที่ทำท่าโบฮะฮะ อิจิไม่ได้ใส่ใจ แถมยังเปรียบเทียบให้เห็นว่าเพื่อนคนอื่นๆก็ล้อเค้าไม่เป็นไร พออิโนชมว่าที่มาดูโชว์กะครอบครัว ใจดีจัง อิจิโกะงงเข้าไปใหญ่ว่ามันก็เรื่องธรรมดานี่ แต่เมื่อลูเคียเดินมาทักอิจิโกะด้วยท่าโบฮะฮะ แล้วว่า เป็นไงท่าทางไม่ค่อยร่าเริง เหนื่อยสิที่ต้องทำทั้งหน้าที่ยมทูตแล้วก็เรียนอีก ตอนนี้น่าจะตักตวงความสุขให้เต็มที่นะ แล้วอ.ก็ให้อิจิโกะคิดว่า ลูเคีย... เป็นห่วงสุขภาพเราด้วยหรือนี่ ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีมุมที่ใจดีเหมือนกันนะ หรือตอนที่ memories in the rain ที่การที่วิ่งลงบันไดมาพร้อมกัน ลูเคียเลือกที่จะไม่ถามอิจิโกะถึงการตายของแม่ แต่จะรอให้อิจิโกะเล่าให้ฟังเอง ก็เป็นสร้างความเชื่อใจระหว่างคนทั้งสองมากขึ้น ดังนั้น อ.คุโบะทำให้เราทราบว่าความเข้าใจระหว่างทั้งสองจากจุดนี้ไป เป็นแบบสองทางว่า เราเข้าใจกัน

    สำหรับเรา คิดว่าบุคลิกตัวตนในช่วงนี้ของลูเคีย ที่ปฏิบัติกับอิจิโกะ ถึงไม่เหมือนทั้งหมด ก็คล้ายมากกับที่ไคเอ็นเคยปฏิบัติกับเธอมาก่อน โดยอาจกล่าวได้ว่า ลูเคียมีชีวิตอยู่ส่วนหนึ่งแทนท่านไคเอ็นที่เสียชีวิตด้วยคมดาบของเธอ

    การกล่าวแบบนั้นเกินไปหรือไม่ เราลองมาค่อยๆ เรียบเรียงความเป็นมาเป็นไปของลูเคีย โดยลองใช้จิตวิเคราะห์มองพัฒนาการตามลำดับขั้นของชีวิตดูจะพบว่าน่าสนใจไม่น้อย

    ประวัติของลูเคียที่เราได้รู้คือจากปากของเร็นจิ และนิดหน่อยจากท่านเบียคุยะว่าฮิซานะพี่สาวทิ้งลูเคียไว้ในแดนเถื่อนอย่างรุคอนไค เราไม่รู้ว่าในวัยทารกจนกระทั่งมาเจอเร็นจิ ลูเคียเติบโตอย่างไร แต่สิ่งที่เราเห็น เมื่อเด็กหญิงลูเคียปรากฎตัวช่วยเด็กชายเร็นจิและเดอะแก๊งค์ไว้ และเป็นเพื่อนในกลุ่มเดียวกันในเวลาต่อมา บุคลิกของเธอในช่วงนี้มีความเป็นผู้นำ เข้มแข็ง ร่าเริง สามารถดึงดูดคนรอบข้างได้

    แต่สิ่งสำคัญต่อตัวตนของเธอคือ จะเห็นได้ว่าทั้งสองที่เป็นเด็กกำพร้าในแดนเถื่อนนั่น ยึดติดแค่ไหนกับคำว่า ครอบครัว เหมือนเด็กกำพร้าที่ไขว่คว้าหาความรัก หาที่ๆ เป็นของตนที่มีการให้และรับได้อย่างเชื่อใจกัน ที่ๆอบอุ่นทางใจ ที่จะเรียกได้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ในวัยเด็กที่พวกเค้าเจอกัน ทั้งสองฝ่ายพบแล้ว ที่ๆเป็นของตนเอง สิ่งที่ใกล้เคียงกับ”ครอบครัว” ที่สุดในดินแดนดิบแห่งนั้น อย่างที่เร็นจิพูดว่า “ในสถานที่ห่วยๆ ผู้ใหญ่ห่วยๆ แต่เรามีกันเป็น ครอบครัว จะเห็นได้ว่าทั้งเร็นจิและลูเคียแม้จะมีความสามารถก็ไม่ได้คิดทิ้งเพื่อนออกจากที่ห่วยๆนั่น จนกระทั่งเพื่อนคนอื่นเสียชีวิตไปหมดแล้ว เราได้เห็นว่าทั้งสองเหงาอย่างถนัดใจ ยืนมองไปข้างหน้า ข้ามหน้าผา แล้วจึงตัดสินใจเข้ากับเซเรเทย์

    การเติบโตร่วมกับเพื่อนคนอื่นๆ ทำให้ลูเคียและเร็นจิเป็นเด็กที่แม้จะเชื่อใจกัน เป็นคนที่มุ่งมั่น เพราะเป็นคนมีภาวะผู้นำทั้งคู่ โดยลูเคียเป็นเจ้าแม่ (ตำแหน่งผู้นำด้านสปิริตของกลุ่มที่เร็นจิยกให้) และยังมีความมั่นใจในตนเองสูงมาก พัฒนาการทางอารมณ์ที่ทั้งกลุ่มสร้างให้กันเป็นไปในทางบวก แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะเลวร้ายก็ตาม แต่จุดอ่อนของการเติบโตจากสังคมแบบนี้ก็คือขาดความไว้ใจสังคมภายนอก ซึ่งส่งผลให้ทั้งลูเคียและเร็นจิเป็นคนเก็บกดอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง แต่จะแสดงออกเฉพาะส่วนที่เชื่อว่าเป็นที่ยอมรับของสังคมเท่านั้น และเพราะเติบโตมาแบบขาดความมั่นคงและปลอดภัยทำให้ความมั่นคงทางอารมณ์เปราะบาง เห็นได้จากเมื่อต้องผ่านความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต คือ การเข้าเป็นยมทูตที่เซเรเทย์

    เมื่อเด็กกำพร้าจากเขตสลัม มาอยู่ในโรงเรียนผู้ดี สภาพจิตใจของทั้งสองต้องผ่านการปรับตัว เหมือนจากหัวโจกเด็กวัดบ้านนอกเข้าเมืองกรุง การค้นหา ”ตัวตน” ของทั้งคู่ก็ถูกท้าทายอีกครั้ง จากที่เร็นจิเล่า พวกเราต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองคู่ควรกับจะอยู่ที่นั่น เรียนร่วมกับคนอื่นๆที่มีสกุลรุณชาติ ยิ่งดูในภาคอนิเมะเราจะเห็นได้ว่าเร็นจิรู้สึกด้อยไปถนัดใจ แต่มีลูเคียให้กำลังใจ แต่ว่า self-esteem และ self-worth ของทั้งคู่ดิ่งเหว

    ทั้งโลกของเร็นจิไม่ได้มีแค่ลูเคีย และเช่นกันโลกของลูเคียก็ไม่ได้มีแค่เร็นจิอีกต่อไป ทั้งสองค่อยๆ เติบโตห่างกัน เร็นจิและลูเคียเนื่องจากเป็นคนมีความมุ่งมั่นทั้งคู่ วิธีจัดการกับ Identity crisis ในช่วงต้นนี้จึงเป็นแบบปฏิกิริยาเชิงบวก (constructive responses to stress) โดยหันไปเผชิญหน้ากับปัญหา (นี่แหละ คือวิธีการแก้ปัญหาของคนเข้มแข็งส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้หนีปัญหาไปกินเหล้าติดยาบ้าหญิง…เอ่อ) เมื่อรู้สึกด้อยแทนที่จะมัวมานั่งสงสารตนเอง กลับพยายามเรียนหนักขึ้นฝึกหนักขึ้น คือการพยายามพิสูจน์คุณค่าของตนเองด้วยฝีมือ โดยเฉพาะเร็นจิที่ก้าวหน้าในการเรียนได้ชั้นเหนือกว่าลูเคียด้วย และจะเห็นได้ว่ากลายเป็นรองกัปตัน แล้วก็สามารถฝึกจนได้บังไค แต่อย่างที่เค้าเล่า เค้าฝึกมันทุกเมื่อเชื่อวันมาสี่สิบปี

    สำหรับลูเคีย อ.คุโบะ (ใจร้าย) นอกจากจะให้ลูเคียเผชิญกับการปรับตัว การสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับตัวตนใหม่ในสังคมใหม่แบบเร็นจิแล้ว อ.ยังให้บททดสอบกับลูเคียอีกอย่างหนึ่งคือ ให้ลูเคียได้รับการอุปการะจากตระกูลคุจิกิอันสูงส่ง ความท้าทายพัฒนาการของลูเคีย จึงไม่ใช่แค่การพิสูจน์คุณค่าของตนเอง ให้รู้สึกคู่ควรกับที่ใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึง การปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวใหม่ การพิสูจน์ตนเองให้เหมาะสมกับครอบครัวใหม่ที่เป็นตระกูลสูง ซึ่งต่างจากพื้นเพของเธออย่างสิ้นเชิง ในขณะที่เกิดความคาดหวังถึงความอบอุ่นที่ขาดหายไปอีกครั้ง เหล่านี้เป็นวิกฤติทางจิตใจที่ท้าทายความเข้มแข็งของคนเราอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น เรียกได้ว่าอ.หักดิบโดย แทนที่น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ อ. ให้ทั้งเร็นจิและลูเคีย ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรค และได้ความนับถือตนเองกลับมา ทำให้เกิดความผูกพันของสองตัวละครมากขึ้น อ.คุโบะกลับเลือกตัดความสัมพันธ์นั้นซะ เรียกได้ว่า โดดเดี่ยวลูเคีย ไป พร้อมกับสร้างปมในใจที่รอการแก้ให้ทั้งคู่แทน

    จะเห็นได้ว่าหน้าตาของลูเคียในตอนนั้นไม่ได้ดีใจ ลูเคียที่เคยคิดว่าเจอที่ของตนแล้ว ยึดเร็นจิและเพื่อนเป็นครอบครัวมาตลอด ถ้ายอมรับข้อเสนอที่ได้จบการศึกษา ได้ฝากเข้าประจำหน่วยและสุดท้ายได้ครอบครัวใหม่ นั่นหมายถึงการละทิ้งเร็นจิครอบครัวหนึ่งเดียวไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกสับสนกับข้อเสนอที่จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตอีกด้วย แต่สิ่งที่เร็นจิทำที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับคนสำคัญ (ch 98) ครอบครัวคนสุดท้าย จากชีวิตที่แร้นแค้นนั้น คือ ขอให้เธอไปได้ดี อย่างที่เร็นจิเลือกซ่อนความรู้สึกภายใน แล้วเลือกที่จะจับไหล่ลูเคียพร้อมแสร้งหัวเราะอิจฉาลูเคียต่างๆ ทั้งๆที่คิดว่า ในที่สุด ลูเคียก็ได้เจอครอบครัวแล้ว อย่าไปขวางนะ นั่นคือสิ่งที่เฝ้าบอกตนเองในตอนนั้น คนชั้นต่ำไปถึงกระดูกอย่างข้าอย่าไปขัดขวาง แล้วลูเคียดึงมือเร็นจิออกพร้อมกล่าวขอบคุณแล้วเดินจากไปพร้อมน้ำตา ฉากนี้สำคัญมากเพราะเป็นด้ายเส้นสุดท้ายที่ดึงทั้งสองเอาไว้

    เร็นจิเติบโตขึ้นจากจุดนี้ด้วยกลวิธานการป้องกันตนเองคือความพยายามถีบตัวและสร้างความมุ่งมั่นเพียงประการเดียวในชีวิต คือ การเอาชนะท่านเบียคุยะให้ได้ เพราะเชื่อว่าเป็นการพิสูจน์ตนเองที่จะสามารถคู่ควรกับลูเคีย ทว่า ลูเคียกลับเข้าสู่สภาวะขาดความมั่นคงทางจิตใจอีกครั้ง เกิดความสับสนในตัวตน รวมถึง ความรัก การยอมรับและการค้นหาที่ของตน จากที่เราทราบกันว่าท่านเบียคุยะไม่เคยแสดงความแยแสลูเคียเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น การที่เข้าไปอยู่ที่หน่วย 13 และการได้รู้จักท่านไคเอ็น จึงเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตและตัวตนของลูเคีย รวมถึงทำไมไคเอ็นจึงสำคัญต่อเธอมากขนาดนี้

    ~ Kuchiki Rukia (3) ~

    ลูเคีย: ช่วงหน่วย ๑๓ – การสูญเสียท่านไคเอ็น

    ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตจากเด็ก(บ้าน)นอกเข้าเมือง มีครอบครัวใหม่ และการเข้าหน่วย 13 หรือสังคมแบบผู้ใหญ่อีกขั้น หรือก็คือ สังคมคนทำงาน ที่มีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสูงขึ้น เป็นความท้าทายต่อพัฒนาการของลูเคียครั้งใหญ่ ดังนั้น ถ้าจะเข้าใจลูเคีย ต้องเข้าใจถึงวิกฤติของสภาวะจิตว่ามีปมอะไรใหญ่บ้าง ซึ่งมีผลอย่างมากต่อพัฒนาการของเธอ และถ้าเธอไม่สามารถแก้ปมในใจนี้ มันจะส่งผลต่อภาพความคิดที่เธอมองตนเอง การตัดสินคุณค่าของตน และการดำรงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

    การเข้าสังกัดหน่วยด้วยฐานะเด็กเส้น ไม่ใช่ใบเบิกทางที่ดีนัก จะเห็นว่าลูเคียตั้งแต่กลายเป็นคุณหนูและเข้าหน่วย ไม่เคยมีรอยยิ้ม มีหน้าที่เศร้าอยู่ตลอดเวลา ทุกคนที่เจอต่างปฏิบัติต่อเธอในฐานะคุณหนูตระกูลสูง ในขณะที่นินทาลับหลัง และเมื่ออยู่บ้านก็ไม่เคยมีตัวตนในสายตาพี่ชาย ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ “ครอบครัว” บุคลิกแตกต่างจากที่อ.คุโบะเปิดตัวให้เราได้รู้จักในตอนแรกโดยสิ้นเชิง เพราะลูเคียในเวลานี้ได้สูญเสียความเป็นตัวของตนเองไปแล้ว พัฒนาการแบบถดถอย และเรียกปมสภาพจิตที่เธอยังก้าวข้ามไม่ได้ในอดีตกลับมาโจมตีเธออีกครั้ง

    กล่าวคือ แม้ว่าเราจะเห็นว่า ก่อนหน้าที่เป็นเจ้าแม่แก๊งเร็นจิ น่าจะเข้มแข็ง แต่เราอย่าลืมว่าพวกลูเคียเติบโตมาด้วยกัน อยู่แบบเด็กๆเหมือนกัน ไม่มีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างแถมยังเห็นผู้ใหญ่เป็นสิ่งคุกคามอย่างหนึ่ง การตัดสินถูกผิดนี่ตามจิตสำนึกของสังคมเด็กล้วนๆ หรือพูดง่ายๆ ถ้าเพื่อนยอมรับ ก็ถือว่าดี กรอบคุณธรรมทางบวกเกิดจาก กรอบคิดว่า ถ้าไม่ชอบให้โดนชก ก็ไม่ชกใคร หรือที่เค้าว่า ใส่รองเท้าของคนอื่น และสะท้อนความรู้สึกตนเอง รวมถึงการปกป้องพวกพ้องและเพื่อนคือทางรอด ดังนั้น เมื่อต้องมาอยู่ในสังคมที่พวกลูเคียเห็นว่าสูงส่ง (หรือมองว่าดีกว่าตน) ก็คือการสั่นคลอนความเชื่อ/คุณค่าที่เคยยึดถือ เกิดความคาดหวังเพื่อให้ได้รับการยอมรับ ถามตนเองว่าเราดีพอมั๊ย ทำยังไงจะดีพอ ที่เรามีพฤติกรรมแบบนี้ถูกมั๊ย แต่ก่อนเคยใช้ตนเองตัดสิน ตอนนี้กลับกัน กลับคาดหวังให้คนอื่นสังคมนั้นมาตัดสิน รอคอยการยอมรับ และการวางความมั่นคงในใจ ในสถานภาพของตน ไปกับความคาดหวังนั่นคือปัญหาของลูเคีย

    อย่างที่กล่าวไปในตอนแรก ปมทางจิตใจใหญ่ที่ลูเคียก้าวข้ามไปไม่ได้คือเรื่องของความไม่ไว้ใจตนเองและผู้อื่น เห็นได้ว่า จากจุดนี้ จนถึงจบโซลโซไซตี้ ลูเคียไม่เคยมีความหวังเลย ลูเคียจะล้มเลิก ยินยอมและยอมรับชะตากรรมตลอด ในช่วงชีวิตตรงนี้ เห็นได้จากเมื่อเข้าหน่วย ๑๓ วันแรก สิ่งที่ อ. ให้ลูเคียคิดในใจคือ ไม่ว่าที่ไหนก็เหมือนกันสินะ คือเมื่อเห็นเธอ ทำดีด้วย แต่นินทาลับหลัง ปัญหาคือ จะเห็นได้ว่าลูเคียเลือกที่จะกดตนเอง ไม่ได้ทรนงตนว่าเป็นคนตระกูลใหญ่แล้วนะ เพราะอะไร

    โดยมากในสถานการณ์แบบลูเคียนี้ เช่นเด็กที่ถูกอุปการะเข้าครอบครัวใหม่ แล้วเกิดความขัดแย้ง คนมักแสดงออกสองอย่างคือก้าวร้าว ต่อต้าน เรียกร้องความสนใจ ทางบวกคือพยายามพิสูจน์ตัวเองว่าเก่งให้ยอมรับ หรือทดสอบสถานภาพทางลบคือหนีปัญหา ทำตัวเหลวไหล หรือ อีกแนวคือเงียบ ยังไงก็ได้เก็บกด และลูเคียก็เลือกแบบหลังนี้ เพราะลูเคีย ไม่มีความหวัง เมื่อคนเราไม่ได้เชื่อใจใคร เราก็ไม่ได้ไปตั้งความหวังว่าจะมีใครมาเข้าใจตน ไม่ได้มีความหวังว่าตนเองจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับ พร้อมกันนั้น ภายใต้การพินอบพิเทาจากคนอื่น แต่ตนเองก็รู้ว่าสถานภาพในบ้านตนเองไม่ได้มีความหมายอะไร ไม่ได้เห็นความสำคัญของบ้านใหม่ เนื่องจากรู้ดีว่าตนเองก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับของที่นั่นจริงๆ ไม่ได้มีค่าอย่างที่ใครๆคิด เพราะงั้นสำหรับลูเคียจึงอะไรยังไงก็ได้

    ลูเคียที่หมดความเชื่อมั่น ทว่า ทุกอย่างเปลี่ยนไป กับการปรากฏตัวของท่านไคเอ็น

    ตั้งแต่วินาทีแรกที่ท่านไคเอ็น ดุ ลูเคียว่า เวลาแนะนำตัวต่อผู้บังคับบัญชาน่ะ ต้องบอกชื่อมาสิ แล้วขยี้หัว เปิดประตูในใจของลูเคียทันที ลูเคียคิดว่า การต้อนรับแบบคนทั่วไปนี่แหละที่เธอต้องการ การที่ลูเคียได้อยู่ภายใต้การดูแลของท่านไคเอ็นเป็นการสร้างพัฒนาความมั่นคงทางอารมณ์ของลูเคียอีกครั้งหนึ่ง ลูเคียค่อยๆรู้สึกเป็นที่ยอมรับมากขึ้น รู้สึกว่าสังคมนั้นในหน่วย ๑๓ มีที่สำหรับเธอ มีคนที่เธอรักและเคารพตั้งแต่กัปตันอุกิทาเกะ ภรรยาท่านไคเอ็นที่เธอถือเป็นไอดอล มีเพื่อนที่ยอมรับเธอ และที่สำคัญมีท่านไคเอ็นที่สร้างตัวตนของเธอให้กลับมาอีกครั้ง นอกจากนี้ แม้ว่า ในส่วนลึกของจิตใจลูเคียรอคอยที่จะได้รับการยอมรับทั้งในด้านคุณค่าของตน ความสามารถ ความศรัทธา จากครอบครัวเดียวที่เหลืออยู่ คือ ท่านเบียคุยะ แต่เมื่อลูเคียไม่สามารถได้รับความรักและอบอุ่นจากบ้าน ความรู้สึกทั้งหมดจึงหันมาที่หน่วย ๑๓ และท่านไคเอ็น

    ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมลูเคียจึงยึดติดกับท่านไคเอ็นมากขนาดนี้

    ทว่า ความสุขไม่อยู่กับเรานาน เช่นเดียวกับความสุขของลูเคีย (ch133-136) เมื่ออ.คุโบะให้ลูเคียพบกับโศกนาฏกรรมที่จะอยู่ติดตัวเธอตลอดไป ไอดอลของตนเสียชีวิตในหน้าที่ คืนเดียวกัน ตนเองที่ติดตามท่านไคเอ็นและกัปตันออกไป ทำได้เพียงยืนดูคนสำคัญที่สุดในชีวิตขณะนั้นสู้กับปิศาจที่ฆ่าภรรยา กับศึกแห่งศักดิ์ศรี ท่ามกลางสายฝน หัวใจที่เย็นยะเยือก เมื่อท่านไคเอ็นกลายร่างเป็นปิศาจ และมาจบชีวิตด้วยคมดาบของตนเอง ผลกระทบโดยตรงที่เรารับรู้ได้คือ การมีชีวิตของลูเคีย กรอบความคิดเกี่ยวกับตัวตน รวมถึงการเห็นคุณค่าในตนเองของลูเคียสูญเสียไปอีกครั้งโดยสิ้นเชิง

    ~ Rukia or Orihime ? 1 ~

    จริงๆ เขียนเรื่องของลูเคียอยู่ แต่เห็นกระทู้โหวตว่าใครคือนางเอกเรื่องบลีชแล้วอดไม่ได้

    ก่อนที่จะตัดสินว่าใครคือนางเอก คงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การวิเคราะห์ในครั้งนี้ให้นิยามคำว่า “นางเอก” อย่างไร อันที่จริงก็แล้วแต่คนจะให้ความหมาย หากบทนางเอกจะหมายถึง บทหญิงที่ท้ายสุดแล้วได้คู่กับพระเอกก็คงได้ ทว่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ “นางเอก หมายถึง ตัวเอกฝ่ายหญิง ในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น” ซึ่งตรงกับใน Longman Dictionary ที่ให้ความหมาย “heroine is the woman or girl who is the “main character” in a book, film, play etc" ดังนั้น “นางเอก” ในที่นี้จึงหมายถึง ตัวเอกหญิง ซึ่งอาจจะคู่กับพระเอกในตอนท้ายเรื่องหรือไม่ก็ได้

    นอกจากนี้ หากค้นหาจาก wikipedia ว่านิยามให้ใครเป็นนางเอกของบลีช

    จากคำจำกัดความที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าอิจิโกะ เป็นพระเอกหรือตัวเอกฝ่ายชายอย่างไม่ต้องสงสัย เราก็สามารถเทียบสถานภาพจากฝ่ายหญิงได้ว่าใครมีสถานภาพเทียบเท่า โดยคำจำกัดความของอิจิโกะคือ
    “Ichigo Kurosaki (黒崎 一護 Kurosaki Ichigo?) is a fictional character in the anime and manga series Bleach created by Tite Kubo and the main protagonist of the franchise.”
    ทีนี้ เรามาเปรียบเทียบคำนิยามของสองสาว
    Rukia Kuchiki (朽木 ルキア Kuchiki Rukia?) is a fictional character and protagonist in the anime and manga series Bleach created by Tite Kubo.
    Orihime Inoue (井上 織姫 Inoue Orihime?) is a fictional character and major figure in the manga and anime series Bleach created by Tite Kubo.

    จะเห็นได้ว่า เมื่อเอาสถานภาพของอิจิโกะที่เป็นพระเอกของเรื่องแน่ๆ เป็นตัวตั้ง เพื่อเปรียบกับตัวละครอื่นๆ เค้าใช้ the main protagonist (ตัวละครเอก) กับอิจิโกะซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่นิยามลูเคีย ในขณะที่สำหรับอิโนอุเอะลดระดับมาที่ major figure “ตัวละครเด่น” ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่เค้านิยามกลุ่มเพื่อนพระเอกเร็นจิ อิชิดะและซาโดะ ซึ่งก็คือกลุ่มตัวละครสนับสนุนนั่นเอง
    Renji Abarai (阿散井 恋次 Abarai Renji?) is a fictional character and major figure in the anime and manga series Bleach created by Tite Kubo.
    Uryū Ishida (石田 雨竜 Ishida Uryū?) is a fictional character and major figurein the anime and manga series Bleach created by Tite Kubo.
    Yasutora Sado (茶渡 泰虎 Sado Yasutora?) is a fictional character and major figure in the anime and manga series Bleach created by Tite Kubo.

    อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจแย้งว่า คำนิยามจากวิกิพีเดียมาจากคนที่เข้ามาให้ข้อมูลอาจไม่ตรงก็ได้ เพราะเนื้อเรื่องในปัจจุบันดูเหมือนจะมุ่งไปที่อิโนอุเอะไม่ใช่หรือ ดังนั้นเราน่าจะลองมาวิเคราะห์กันในด้านดรามาหรือวรรณกรรมดูบ้าง จริงๆแล้วตามกลุ่มแฟนคลับมีคนวิเคราะห์ดีๆไว้มากมาย ในเชิงของความสัมพันธ์ว่าจะเป็นอิจิลูคิ หรือ อิจิฮิเมะ กันแน่ โดยใช้หลักการเทียบคู่ขนานระหว่างอิจิลูคิ กับอิจิฮิเมะ ทั้งที่อ.คุโบะให้ในเชิงอารมณ์ และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ตลอดจนวิเคราะห์ระบบสัญลักษณ์ที่อ.ใช้เพื่อเป็นตัวแทนความสัมพันธ์ของคู่ไหน

    ในที่นี้ เราจะเน้นมาที่ว่า ใครกันแน่ที่อ.คุโบะให้เป็นตัวเอกฝ่ายหญิง โดยจะวิเคราะห์จากหลักการสร้างสรรค์ตัวละครเอก

    ตัวละครเอกต่างจากตัวละครอื่นอย่างไร อธิบายง่ายๆก็คือ เรื่องราวที่ดำเนินไปมันวนเวียนรอบตัวละครนั้น หรือตัวละครนั้นเป็นตัวละครหลักที่ใช้เดินเรื่อง (ซึ่งอาจจะเป็นพระเอกหรือไม่ก็ได้ แต่ในบลีชมันไม่ใช่หนังฆาตกรรมซ่อนเงื่อน ดังนั้นตัวเอกคืออิจิโกะที่เป็นฮีโร่ของเรื่อง และเรากำลังดูว่าตัวละครฝ่ายหญิงคนไหนที่มีคุณสมบัติเด่นเทียบเท่า) เพราะฉะนั้น องค์ประกอบของตัวเอกคือ มีเรื่องราวให้ผู้อ่านติดตาม ก็คือตัวละครมีความกลม ซับซ้อนทั้งทางอารมณ์ มีพัฒนาการ มีความรู้สึกนึกคิดในเชิงลึก และมักจะต้องเป็นตัวที่ไปผ่านอุปสรรคแบบต่างๆ หรือเสียสละ ตลอดจนเป็นตัวที่ผู้เขียนใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดจินตนาการของตน ดังนั้น ผู้เขียนเมื่อผู้เขียนให้ความสำคัญ สิ่งที่ทำได้คือการให้เวลาในการเสนอตัวละครนั้นให้คนได้รู้จักมาก ต่อเนื่อง หรืออ้างอิงถึงไม่ให้คนลืมหากตัวละครนั้นไม่อยู่ ถ้าในการ์ตูนก็คงเห็นได้อีกจากจำนวนหน้าการให้พื้นที่มากกว่าปกติ และเทคนิคในการใส่รายละเอียดกับตัวละครนี้มากกว่าตัวอื่นเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและติดตามเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอด โดยเฉพาะสำหรับตัวเอกฝ่ายชายและหญิงสิ่งสำคัญคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมถึงการที่ตัวเอกได้มีอิทธิพลต่อตัวละครอื่นๆ

    จากหลักการนี้ เรากลับมาเปรียบเทียบลูเคียกับโอริฮิเมะ ว่าอ.คุโบะสร้างสรรค์ตัวละครทั้งสองต่างกันอย่างไร

    ถ้าพิจารณาตามโครงเรื่องตั้งแต่ต้นและปัจจุบันจะพบว่าอ.คุโบะใช้เทคนิคเล่าเรื่องแบบคู่ขนานมาใช้กับสองตัวละครนี้มาตลอด และด้วยเทคนิคนี้ทำให้เราเห็นชัดมากๆจากการเปรียบเทียบระหว่างตัวละครทั้งสองว่า น้ำหนักของอิทธิพลในการคลี่คลายปัญหา และพัฒนาการของตัวละครแตกต่างกันอย่างไร และทิศทางของตัวเอกปูไปทางไหน ในที่นี้จะยกเหตุการณ์ที่สำคัญเด่นๆ มาพิจารณาเป็นตัวอย่างก่อนใน 3 ประเด็น

    ๑) ปมเรื่องพี่ชาย
    ทั้งสองคนมีพี่ชายและมีความขัดแย้งระหว่างพี่ชายทั้งคู่ โดยใช้ปฏิกิริยาของอิจิโกะและวิธีการที่สถานการณ์คลี่คลายตอนจบ ในการขยายความตั้งใจของผู้เขียนว่าน้ำหนักของตัวเอกฝ่ายหญิงเป็นใคร อ.คุโบะให้เราได้รับรู้ประเด็นของโอริฮิเมะก่อน ที่พี่ชายกลายเป็นโฮโลแล้วมาฆ่าโอริฮิเมะ แล้วอิจิโกะและลูเคียมาช่วย ส่วนสำคัญของบทนี้คือ ตอนที่อิจิโกะระเบิดอารมณ์เพื่อสั่งสอนพี่โอริ ก่อนจะสู้กันต่อไป ปฏิกิริยาของอิจิโกะในซีนนี้ (ch05) เริ่มที่กรอบมุมล่างของหน้า เห็นอิจิโกะเพียงครึ่งหน้าส่วนล่างแสดงการสร้างอารมณ์ เห็นปลายกางเกง จากนั้นอีกหน้าหนึ่งเห็นอิจิโกะทั้งหน้า ชี้ดาบ กรอบกินเนื้อที่ครึ่งหน้ากระดาษ อิจิโกะประกาศบทบาทของพี่ชายคนโตว่า ทำไมพี่ถึงเกิดก่อน ก็เพื่อปกป้องน้อง ด้วยสีหน้าโกรธจัด รวมประมาณหนึ่งหน้า (คนละหน้ารวมกัน) ซึ่งหลายคนบอกว่าอิจิโกะโกรธมาก เป็นการแสดงว่าจริงๆ แล้วอิจิโกะคงจะมีใจให้โอริฮิเมะอยู่เหมือนกัน เพราะฉากก่อนหน้าในวันเดียวกันอิจิโกะเสนอว่าจะเดินมาส่งโอริฮิเมะที่บ้าน และยังจำเหตุการณ์ที่พี่ชายโอริฮิเมะเสียที่คลินิกได้ด้วย (แต่สำหรับเรา ใครจะจำคนที่มาตายที่บ้านไม่ได้ แถมเป็นพี่เพื่อนร่วมห้องด้วย)

    แต่เมื่อพิจารณาในมิติของการปะทะสัมพันธ์ของตัวเอก เรากลับเห็นว่าที่โอริฮิเมะรำพึงชื่ออิจิโกะเท่านั้นที่แสดงอารมณ์สัมพันธ์จากโอริไปหาอิจิ มากกว่าจะมีอะไรจากอิจิกลับมา เพราะฉากต่อๆมาไม่มีบทที่อิจิจะหันไปสบตา หรือบทสนทนาอะไร นอกจากตะโกนเรียกชื่อโอริ แม้ว่าการสู้จะคลี่คลายไปแล้ว สายตาของอิจิโกะก็ไม่ได้แสดงความซาบซึ้งหรือหมดห่วง หรือแม้แต่รู้สึกรบชนะ (ซึ่งอาจแย้งว่าฝีมือพี่ไม่ได้มากขนาดท่านเบีย แต่ก็อย่าลืมว่าฝีมืออิจิโกะก็ยมทูตอนุบาลเหมือนกัน แต่ประเด็นคือไม่มีประเด็นเรื่องอารมณ์ส่วนตัวของอิจิโกะ เพียงมาช่วยเพื่อนร่วมห้องเท่านั้น) อ.คุโบะไม่ให้ความสำคัญในส่วนนี้เลย แถมพอพี่ชายไปแล้วบทสนทนาธรรมดามาก มีอารมณ์ขันของลูเคียที่ใช้เครื่องเปลี่ยนความทรงจำมาแทน ไม่มีการสร้างอารมณ์ระหว่างโอริกับอิจิโกะ แบบที่ฮิตทำกันเช่นมีประโยคเท่ห์ๆ หรือมองตา หรือสัญลักษณ์อะไรที่อ.คุโบะทำให้เราทราบว่าจากนี้ไปความสัมพันธ์ของทั้งสองจะพัฒนาขึ้น และที่ร้ายกว่านั้น จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วคนที่คลี่คลายสถานการณ์คือโอริฮิเมะเองที่กอดพี่ชายและทำความเข้าใจกัน ปฏิกิริยาทางอารมณ์ดังกล่าวจึงเป็นวิญญาณพี่ชายคนโตของอิจิโกะไม่มีอะไรมากกว่านั้น

    เหตุการณ์คู่ขนานคือใน ch160 ฉากเริ่มการต่อสู้ระหว่างอิจิโกะกับท่านเบียคุยะ อิจิโกะก็กล่าวถึงประเด็นเหมือนกัน คือความเป็นพี่ชาย แต่ไม่ใช่เท่านั้น อ.เริ่มบทสนทนาที่กรอบมุมบน แสดงด้านหลังของอิจิโกะ (=สร้างอารมณ์ขึ้น) พร้อมกล่าวว่า “ที่ก่อนหน้านี้นายบอกว่าจะฆ่าฉันแล้วจะประหารลูเคียกับมือใช่มั๊ย” กรอบต่อมาเห็นอิจิโกะเต็มหน้า กล่าวว่า ไม่ชอบเฟ้ย จากนั้นเห็นแต่คำพูดเลี่ยงแสดงหน้าอิจิโกะ พร้อมเปลี่ยนพื้นขาวเป็นภาพแรเงา พูดว่า จะทำทุกวิถีทางที่จะเอาชนะนายให้ได้ จะอัดนายจนกว่านายจะไม่มีแรงเหลือ ที่จะประหารน้องตัวเองกับมืองั้นเหรอ ตลกวิปริตไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ภายใต้สถานการณ์ใดๆ ก็ตาม ห้ามพูดแบบนั้นต่อหน้า ลูเคีย อีก! พร้อมกับอ.โชว์หน้าตรงของอิจิโกะกินเนื้อที่ถึงสามในสี่ของหน้ากระดาษ ด้วยสายตามุ่งมั่นและเต็มไปด้วยอารมณ์ ไม่ใช่แค่อารมณ์โกรธ จะเห็นว่าในบทพูดแบบเดียวกันที่ให้กับโอริฮิเมะ อ. ใช้คำว่า"พี่ชาย"ปกป้อง"น้องสาว" แต่ของลูเคยมีใช้"พี่ชาย" แต่เรียกชื่อ "ลูเคีย" โดยตรง อิจิโกะไม่ได้พูดว่าอย่าพูดแบบนี้ต่อหน้าน้องอีกนะ และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อ.เชื่อมตัวละคร และแสดงความต่างระดับของความรู้สึก



    c : zheza

    (รูป 1 อิจิโกะโอริฮิเมะ) (รูป 2 อิจิโกะลูเคีย)



    จากนั้นอิจิโกะบอกให้ท่านเบียคุยะใช้บังไค ประกาศว่า จะทำทุกวิถีทางที่จะทำลายมันให้ได้แล้วจะลากนายไปขอโทษลูเคียทั้งน้ำตาเลย ซึ่งรวมแล้วอ.ให้พื้นที่ถึง 3 หน้ากระดาษครึ่ง! แล้วเป็นการต่อสู้ดุเดือดที่มีแก่นอยู่ที่อิจิโกะพยายามดึงให้ท่านเบียใช้บังไคให้ได้ ซึ่งเราก็ได้รู้เหตุผลใน ch162 ว่าเป็นสัญลักษณ์แทนการกู้เกียรติของลูเคียและเอาชนะโซลโซไซตี้

    เรื่อง ”เกียรติ” เป็นสิ่งที่เบียคุยะยึดมั่นตลอดมา เพราะงั้นการที่เบียคุยะจะฆ่าลูเคียจึงเป็นการแสดงว่า ลูเคียทำเสื่อมเกียรติ อิจิโกะจึงประกาศกร้าวว่า “ถ้าไอ้เกียรตินั่นมันเกี่ยวกับการที่จะประหารลูเคียแล้ว ก็พร้อมที่จะเหยียบมันซะ เพราะที่ได้บังไคมาก็เพื่อการนี้ และใน ch165 ขณะที่อิจิโกะขยับไม่ได้ อ.ใช้เป็นภาพแรเงา แสดงอารมณ์กดดัน ในใจอิจิโกะบอกตนเองว่า ”ถ้าไม่ชนะ จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง” จากนั้นเป็นครั้งแรกที่ชิโรซากิ (โฮโลอิจิ) ออกมาสู้กับเบียคุยะ ซึ่งปมที่อ.สร้างว่า อิจิโกะจะเปลี่ยนแปลงอะไร ก็เฉลยและย้ำความสำคัญ โดยให้ประเด็นผ่าน ทั้งทางฝ่ายพระเอกผ่าน ใช้อิชิดะที่บอกเหตุผลที่อิจิโกะสู้กับคนอื่น (ch164) และจากฝ่ายศัตรู (ณ ตอนนั้น) ใน ch167 หลังจากที่ชนะ แล้วเบียคุยะเป็นผู้ถ่ายทอดความจริงให้ผู้อ่านทราบว่าที่อิจิโกะสู้นั้น ไม่ใช่สู้เพื่อช่วยชีวิตลูเคียเท่านั้นแต่สู้กับโซลโซไซตี้ด้วยเท่ากับสู้เพื่อศักดิ์ศรีของลูเคีย และหลังจากเบียคุยะประกาศให้อิจิโกะชนะ เราสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าอิจิโกะดีใจสุดยอดขนาดไหน อ.ให้พื้นที่ทั้งหน้าแสดงอารมณ์อิจิโกะพร้อมตะโกนว่า “ชนะแล้ว!”

    สิ่งที่น่าสนใจ ในการนำเสนอเรื่องของอ.คุโบะคือ ทั้งๆที่ลูเคียไม่อยู่ในฉากเหล่านี้เลยตั้งแต่ch160ที่เริ่มจน167 แต่ตัวละครทั้งสองเอ่ยถึงลูเคียอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่ถ้าเป็นเพียงการช่วยเพื่อนทั่วไปหรือที่แฟนบางกลุ่มบอกว่าเป็นการสอนบทเรียนเรื่องพี่ชายเท่านั้น แต่จำนวนเนื้อที่และอารมณ์ที่อ.ให้มันมากกว่านั้น เพราะกดดันเกินไป และจนจบเราจะเห็นว่าอิจิโกะใส่อารมณ์ส่วนตัว ไม่ใช่เพราะหน้าที่ ไม่ใช่ตอบแทนบุญคุณ อย่างที่แฟนหลายคนอ้าง ไม่ใช่เพราะความเป็นพี่ชาย และเพื่อย้ำความสำคัญของลูเคียที่มีต่ออิจิโกะ อ.ให้โอริฮิเมะที่อ.ปูทางมาตลอดว่าเป็นคนช่างสังเกต เข้าอกเข้าใจอิจิโกะรู้ว่าเมื่อไหร่อิจิโกะยิ้มจริงไม่จริง เป็นคนถ่ายทอดให้ผู้อ่านรู้ใน ch164 ซึ่งเป็นบทแทรกที่ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้นั้นว่า “ลูเคียไม่ใช่แค่เพื่อนนะ แต่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงโลกของอิจิโกะ” และชื่อตอนของบทนี้คือ that who change the world

    จะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบในประเด็นนี้ จำนวนช่องและเนื้อที่ของกรณีโอริฮิเมะและลูเคียต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าอ้างว่าเนื้อหาช่วงเริ่มเรื่องสู้ตอนท้ายไม่ได้ ก็อาจพิจารณาด้านความเข้มข้นของอารมณ์และความหมายโดยนัย ตลอดจนการดึงตัวละครประกอบจำนวนมากมารับรู้ความสำคัญของลูเคียต่ออิจิโกะโดยผ่านโอริฮิเมะ (ch164) นอกจากจะทำให้ทั้งกลุ่มตัวเด่นชาดและอิชิดะรับรู้และเข้าใจมากขึ้น ยังมีตัวละครเล็กที่เป็นตัวแทนของคนทั่วไปหรือกลุ่มสังคมตรงนั้นก็คือทั้งโซลโซไซตี้ ได้รับรู้ และที่สุดแล้วเป็นการประกาศให้ผู้อ่านรับรู้ จึงเป็นฉากที่สำคัญมาก 

    ~ Rukia or Orihime ? 2 ~

    ๒) ประเด็นเรื่องเป็นเจ้าหญิงถูกจับ

    มาที่เหตุการณ์ปัจจุบันที่ไปช่วยเหลืออิโนอุเอะ ซึ่งหลายคนบอกว่าอ.คุโบะลดบทลูเคียแล้วปูทางมาที่อิโนอุเอะแทนแล้ว ใช่มั๊ยนะ พิจารณากันที่วิธีนำเสนอและการสร้างอารมณให้ผู้อ่านต่างกัน คราวนี้ อ.ให้ลูเคียก่อน โดยวิธีการที่ลูเคียถูกพากลับโซลโซไซตี้ เต็มไปด้วยอารมณ์ อ.ดึงตัวละครทางฝั่งตัวเอกเข้ามารับรู้แบบปฏิสัมพันธ์ทั้งสองทาง ทั้งอิชิดะ อุราฮาระ คอน และอิจิโกะ การต่อสู้ที่ดุเดือด ให้อิจิโกะได้ตะลึงเป็นครั้งแรกกับระดับพลังที่ตนเองไม่อาจเทียบได้ ความเศร้า และอารมณ์ที่กดดัน ตอนอิจิโกะถูกหักดาบร่วงลงไปขยับไม่ได้ พร้อมรับรู้ว่าแค่ลูเคียจะวิ่งมาหาตนก็ถือเป็นความผิด พอคว้าขาของท่านเบีย ลูเคียก็วิ่งมาเตะมือออกพร้อม กล่าวด้วยน้ำตาคลอ แม้จะควบคุมเสียงให้สั่งอิจิโกะแบบใจดำว่าเป็นมนุษย์ชั้นต่ำมาแตะท่านพี่ และห้ามขยับ ห้ามตาม จงค่อยๆตายไปซะ (ch056)



    แม้อ.ให้ลูเคียใช้คำพูดที่รุนแรงมาก แต่สายตาของอิจิโกะกลับตรงกันข้าม เพราะรับรู้ภายในใจว่า แทนที่จะสามารถปกป้องลูเคียได้แต่กลับมาให้ลูเคียปกป้องแทน พร้อมกับเค้นเสียงตะโกน อ.ให้เนื้อที่ทั้งหน้าเพื่อแสดงอารมณ์อิจิโกะ และที่สุดยอดของความสิ้นหวังหดหู่ คือ อ.ให้หน้าต่อไปเป็นหน้าว่างสีดำสนิท ซึ่งเป็นตัวแทนความรู้สึกทั้งมวลของอิจิโกะโดยไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูดและสีหน้าของอิจิโกะได้ ฉากนี้อิจิโกะไม่ได้สลบอย่างแน่นอน เพราะว่าในฉากต่อมาเป็นฉากฝนตกแล้วอิจิโกะนอนลืมตา พร้อมรำพึงในใจว่า ”เจ็บ...เจ็บ...หนาว...ร่างหนักไปหมด สายเลือด...ไม่หยุดไหล...” (ch057) จนกระทั่งเมื่ออุราฮาระมากางร่มให้ ถึงสลบโดยทิ้งท้ายว่า ...รู้สึกเหมือนฝนหยุดแล้ว...เพราะฉากต่อมาเป็นกรอบพื้นดำ และเป็นสติอิจิโกะกลับมาอีกครั้ง สิ่งสำคัญตรงนี้ที่อ.ให้อิจิโกะรำพึงว่า”เจ็บ...” มาผูกเข้ากับเหตุการณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์ตอกย้ำทางอารมณ์มากกว่า เพราะเรารับรู้มาตลอดว่าฮีโร่อย่างอิจิโกะไม่มานั่งคิดว่าเจ็บแผล เพราะงั้นมันจึงแทนความเจ็บปวดทางจิตใจ และอารมณ์ที่กดดันที่ทำอะไรไม่ได้กับการสูญเสียคนสำคัญ

    นอกจากนี้ ยังใช้สายฝนแห่งความทุกข์ใจให้โปรยปรายลงมา ซึ่งหากอ่านบลีชจะทราบดีว่า สายฝนคือสัญลักษณ์แห่งความทุกข์ใจ โดยเฉพาะของอิจิโกะและลูเคีย ไม่ว่าจะกรณีที่แม่อิจิโกะเสียชีวิต หรือที่ลุงวิญญาณดาบก็เอ่ยว่าเมื่ออิจิโกะทุกข์ใจ ภายในโลกของเค้าก็ฝนตกด้วยและเค้าไม่ชอบสายฝน ตลอดจนยังมีการเอาสายฝนไปพ้องกับการสูญเสียคนสำคัญของลูเคียที่ไคเอ็นโดโนะถูกคมดาบเธอเสียชีวิตกลางสายฝนเช่นกัน และฉากนี้ อ.คุโบะก็ให้อิจิโกะเสียคนสำคัญคือลูเคียไปอีกครั้งท่ามกลางสายฝน...

    ตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับฉากการลาของอิโนอุเอะ ที่อุลควิโอล่าให้เวลามาบอกลาคนหนึ่งคน (ch237) เพราะทุกอย่างถูกจัดให้เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกด้านเดียวเท่านั้น ไม่มีการดึงตัวละครอื่นมาร่วมรับรู้เลย การจากไปของลูเคียกับโอริเหมือนกันแม้แต่การทิ้งโน็ต ที่ลูเคียเป็นจดหมายกลทานุกิ ส่วนของโอริก็เขียนในสมุดโน็ต แต่ที่ต่างกันคือ ของลูเคีย จดหมายมีความสำคัญกับเรื่องและดึงความสนใจของพระเอก แต่ของโอริไม่ได้มีใครมาเจอ ไม่มีใครเอ่ยถึงอีกเลย ...เหมือนความรู้สึกหรือห่วงต่างๆของโอริที่ไม่มีใครพบ.... ในการบอกลา อิโนอุเอะจะไปที่ต่างๆ แต่คนที่อิโนอุเอะเลือกไปหาสุดท้าย แน่นอนก็คืออิจิโกะ แถมยังไปตอนที่อิจิโกะหลับ อ.สร้างความเข้มข้นกดดัน นำมาซึ่งบทสารภาพห้าชีวิตรักเดียวของเธอ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ แต่ก็เป็นเพียงฝ่ายเดียว อิจิโกะไม่ได้มารับรู้ด้วย อย่างที่แฟนๆว่าภาพที่อ.นำเสนอ ไม่ได้โรแมนติก (เห็นรูจมูกอิจิโกะ ...แล้วน้ำตาอิโนก็...) แต่เป็นแค่ความเศร้าเท่านั้น



    แม้ว่าหลังจากที่ไปแล้วใน ch238 อิจิโกะตื่นมาไปรับรู้ว่าโอริฮิเมะตาย ปฏิกิริยาสนองคือตกใจ พร้อมกับลูเคียและคนอื่น แน่นอนการรับรู้ว่าคนรู้จัก ยิ่งเพื่อนทั้งคนตายต้องช็อกเป็นธรรมดา ถ้าไม่สิพระเอกจะใจดำไปแล้ว แต่เราดูปฏิกิริยาหลังจากนั้น อิจิโกะหาเหตุผลเรื่องมือมาแก้ว่าโอริยังไม่ตายแน่เพราะมารักษาตน จากนั้นที่สำคัญคือหลังจากที่ทางโซลไม่ช่วย อิจิจึงประกาศว่าจะไปคนเดียวเอง แต่พอถูกห้ามจากกัปตันใหญ่ว่าไม่ให้ไปเพราะอิจิเป็นกำลังสำคัญในการรบในอนาคต อิจิโกะคนที่เคยตะโกนต้านกฎของโซล ทำอะไรไม่เคยเกรงใคร กลับไม่ได้ถูกนำเสนอแบบตะโกนกร้าวว่าไม่สนใจ อิโนเป็นเพื่อนทั้งคน กฏของโซลมีผลกับอิจิโกะตั้งแต่เมื่อไหร่ แถมตอนที่อุราฮาระมาช่วยข้ามไป HM ยังถามอุระแบบเกรงๆว่าไม่เป็นไรแน่หรือที่ทำผิดกฎโซล (ซึ่งอาจแปลแบบกลางๆว่า กลัวอุระจะเดือดร้อน แต่ทุกคนแม้แต่อิจิเองก็รู้ว่าอุระน่ะ ออกมาจากโซลและไม่ได้สนใจกฎตั้งนานแล้ว และท่าเดินอิจิโกะที่จะไปก็ไม่ได้มุ่งมั่น ออกจะแลเหงาๆ ตัวคนเดียวแบบนี้ ไม่มีการแสดงสายตาเลย จนกระทั่งเจอชาดกับอิชิดะ กลับมาสานสัมพันธ์กับเพื่อนๆ มาดเท่ห์ก่อนออกเดินทางจึงกลับมา และดูอารมณ์ดีขึ้น) ภาพที่อ.เสนอให้อิจิโกะ กลายเป็นภาพแสดงความผิดหวังที่โซลทิ้ง แถมเอาเพื่อนไปหมดมากกว่า จะไปตามหาสิ่งสำคัญ ตามความรู้สึกในเชิงลึกตามชื่อตอนว่า Eagle without wings

    หลักฐานที่ว่า อิจิโกะไม่ได้รู้สึกเศร้าในแบบเดียวกับที่สูญเสียลูเคีย แต่เป็นกดดันที่เพื่อนโดนจับไปแล้วไม่มีใครไปช่วยกับตน แถมสับสนว่าจะไปช่วยยังไง อ.เสนอให้เห็นโดยให้อิจิโกะก้มหน้าก่อน (กินพื้นที่ค่อนหน้า) ตามมาด้วยใบหน้าเครียดจัด ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่าอ.คุโบะจะใช้เทคนิคไม่แสดงสีหน้าเช่นหันหลัง ก้มหน้า มุมไกล แรเงา เพื่อการแสดงอารมณ์กดดันระดับต่างๆจนแบบบรรยายไม่ได้ หรือกดดันสุดๆ จะไม่โชว์หน้าเลย ดังนั้นฉากนี้ ถ้ามันเป็นทางกลับกันคือเห็นหน้าก่อนแล้วค่อยก้มหน้าจึงน่าจะเป็นสัญลักษณ์ว่าอิจิโกะเต็มไปด้วยอารมณ์เจ็บเศร้า (แต่ไม่มีเลย เมื่อเทียบกับของลูเคียที่อ.โยงทั้งสีหน้า ฉาก และคำพูด) และฉากหลังจากนั้นแม้จะเป็นฉากอารมณ์ของอิจิโกะ แต่ก็คาดได้เพราะจะไปช่วยเพื่อนทั้งที คนเดียวด้วย แต่ไม่มีองค์ประกอบที่แสดงว่าเศร้าที่โลกนี้ไม่มีอิโนอุเอะ หรือรำพึงถึง อย่างตอนลูเคียจากไป ดวงตาของอิจิโกะให้อารมณ์ทุกข์และกังวลเครียดที่จะไปช่วย มากกว่าเสียใจจากการสูญเสีย นั่นก็คือ อ.ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงตัวละครทั้งสองนี้ ลองพิจารณาอารมณ์ของภาพสองชุดนี้

    1)

    2)

    สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการคือ จะเห็นได้ว่าอ.ใช้เทคนิคความขัดแย้ง (contradiction) มาขยายความแตกต่างของตัวละครทั้งสองให้ชัด ในขณะที่การจากไปของลูเคีย คำพูดที่ลูเคียกับอิจิโกะเป็นเชิงลบ ดูถูกอย่างรุนแรง แต่กลับสื่อถึงอิจิโกะอย่างถูกต้องได้ว่าจริงๆแล้วลูเคียกำลังทำอะไร และตอกย้ำอารมณ์ให้อิจิโกะ เท่ากับสร้างความสัมพันธ์แบบสองทางระหว่างตัวละครทั้งสอง ในขณะที่ของโอริฮิเมะในเหตุการณ์เดียวกัน โอริได้ใช้คำพูดที่สวยงาม ซาบซึ้ง แต่อ.กลับเลือกให้เป็นการสื่อสารทางเดียวและสื่อไปไม่ถึงใครเลย

    นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าแทนที่จะผูกอารมณ์ว่าอิจิเศร้าที่โอริจากไปให้ต่อเนื่อง แต่อ.กลับหยิบแก่นเรื่อง NaKaMa แทนทันที อารมณ์ผู้อ่านกลับหักเหไปที่อิจิโกะกับความไม่เข้าใจกันระหว่างกลุ่มเพื่อน ที่ว่าประเด็นเรื่องเพื่อน อ.ให้ความสำคัญเพราะว่า เป็นหัวข้อที่ลากมาตั้งแต่ ch239 ที่ทัตสึกิถามแต่อิจิโกะว่า “เราไม่ใช่เพื่อนกันใช่มั๊ย!” ในซีนต่อเนื่องที่โอริจากไปแล้วอิจิโกะมาโรงเรียน ซึ่งอิจิเลือกเลี่ยงด้วยการทำเป็นไม่สนใจและโกหก จนไม่กี่ฉากต่อมาเจออิชิดะกับชาด ที่เน้นกับอิจิโกะว่า “เชื่อใจกันสิ เพื่อนน่ะก็มีไว้เพื่อสิ่งนี้แหละ” และประเด็นเรื่องเพื่อนกับความไว้ใจนี่ก็ไม่ถูกคลายไปจนลูเคียกลับมาหาแล้วเสยคางอิจิโกะพร้อมถามว่า “ทำไมไม่เชื่อใจกัน เราไม่ใช่เพื่อนกันหรือ” (ch247) ประเด็นนี้จึงคลี่ไปจะเห็นว่าความตรึงเครียดของอิจิโกะคลายลง เพราะอินทรีย์ไม่ได้ไร้ปีกอีกต่อไป ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ อ.เลือกเทคนิคคู่ขนานอีกครั้งโดยให้เพื่อนแต่ละคนพูดประโยคคล้ายๆกัน คือไว้ใจกันสิ เป็นเพื่อนกันไม่ใช่หรือ แต่เราเห็นได้ชัดเจนว่า ประโยคไหนมีอิทธิพลกับอิจิโกะมากที่สุด

    ~ Rukia or Orihime ? 3 ~

    ๓) ประเด็นเมื่อพบกันอีกครั้งระหว่างตัวเอก

    หลังจากที่ลูเคียจากมา บทที่อิจิโกะกับลูเคียพบกันครั้งแรกคือ ฉากสะพานแห่งความทรงจำ อ.คุโบะปูเรื่องนำว่าตัวเอกทั้งสองเจอกัน รวมถึง 7 หน้าตั้งแต่เริ่มทุกคนบนสะพานเริ่มสัมผัสพลังวิญญาณของอิจิโกะ มาจนถึงบินลง มีหน้าคู่เพื่อแสดงการพบกันตอนอิจิโกะกำลังล่อนลงเผชิญหน้า สบตากับลูเคีย สยบแทบท้าว ในท่าอัศวิน ( ถึงตรงนี้ 5 หน้า) โดยจะเห็นว่าอ.สร้างอารมณ์กดดันสูงมากให้อิจิโกะโดยตลอด 2 หน้าต่อมาตั้งแต่ล่อนลงใช้เทคนิคเลี่ยงการแสดงสีหน้าอิจิโกะทั้งหมด และเมื่อมายืนต่อหน้าลูเคีย ไม่แม้แต่จะมองหน้าลูเคีย ในที่สุดก็พูดกับลูเคียแบบหันข้างให้ว่า ”มาช่วยแล้วนะลูเคีย” (โรแมนติกมากใช้ว่า I came to save you)



    อีกทั้งที่ อ.คุโบะแสดงให้เห็นว่า อิจิโกะที่ลงมาแล้วเดินผ่านลูเคียไปนั้น เพราะอารมณ์มันมีมากเกินไป ไม่อาจพูดหรือมองหน้าลูเคียได้ และใบหน้าที่บรรยายไม่ได้ อ.จึงใช้เทคนิควาดแบบไม่ให้เห็นหน้าเลย ไม่ใช่ว่าไม่ได้พูดกับลูเคียเพราะสนใจฮานะมากกว่า เพราะเมื่อเดินเลี่ยงไปหาฮานะไปถามแต่ไม่ฟังคำตอบ แต่เดินตัดกับมาหาลูเคียทันที จึงเป็นการไปสงบอารมณ์มากกว่า และหลังจากนั้นอีก 7 หน้าที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคน ที่อ.ใช้บทสนทนาให้พูดคุยกันถึงนิสัยเดิมๆ ของอิจิโกะกับลูเคียเช่นประโยคว่านายยังเหมือนเดิมนะ หรือเธอก็ยังเหมือนเดิม...แถมแทรกอารมณ์ขันอีกด้วย ทำให้เรารู้ว่าทั้งสองเข้าใจกันอย่างดี และยิ่งสร้างความผูกพันระหว่างสองคนมากขึ้น

    กรณีเดียวกันคือเมื่ออิจิโกะพบอิโนอุเอะเป็นครั้งแรกในHM

    อ.คุโบะให้ทั้งสองเจอกันหลังจากการสู้กันระหว่างดาบอุลและอิจิโกะถูกทำร้าย (ch277) อิจิโกะอยู่ในสภาพสติขาดไปแล้วแต่ตายังลืมอยู่ (1) ที่ว่าสติขาดเพราะหน้าเหมือนเดิม ตั้งแต่เห็นกริมจอโยนโอริมาจนโอริทัก (2) ถึงจะว่าอาจขยับไม่ได้ แต่อ.ไม่ได้สื่อออกมาทางความคิดของอิจิโกะแต่อย่างใด จนเมื่อเริ่มลงมือรักษาต่อมาจึงมีเสียงครางแบบรู้สึกตัว

    1)2)3)

    แต่กรอบที่ให้เป็นอิจิโกะนอนท่าเดิมครึ่งหน้า หน้าแบบเดิม แถมยังร้องทักเนลก่อนโอริ ไม่มีเครื่องหมายตกใจหรือตะลึง ตาเบิ่งกว้างที่เจอโอริ (รูป3)

    สิ่งที่อ.ทำเพื่อไม่ให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสอง คือลดบทบาทความกดดันในฉากต่อเนื่องเหล่านี้ซะ ขณะที่โอริรักษาอิจิโกะ อ.ไม่ได้ให้ดวงตาของโอริที่มองอิจิโกะฉายระดับเดียวกับที่อิจิโกะมองลูเคีย โดยไม่ได้วาดถึงเลยว่ามองอิจิอย่างไร รวมทั้งฉากที่น่าจะเต็มไปด้วยอารมณ์และเป็นโอกาสให้สร้างสัมพันธ์ต่อกันของตัวเอกกลับถูกแทรกด้วยการแหกปากของเนล และตัดไปที่ดาบอุลที่ไปพบว่าโอริหายจากคุก แถมพออิจิโกะฟื้น เรียกชื่อ กำลังจะคุยกันอ. จัดให้กริมจอมาตัดฉับเบี่ยงประเด็นไปทันทีจนเปลี่ยนบทบาทเด่นไปที่กริมจอกับดาบอุล สองคนยังไม่ได้แม้แต่จะพูดอะไรกันเลย หายไปอีกเป็นบท กลับมาเป็นฉากขัดกันระหว่างอิจิโกะกับกริมบอกให้ปล่อยโอริ แล้วใช้ให้โอริรักษาตนกะกริม ก่อนสู้ฉากเริ่มบทกลายเป็นนั่งปลอบเนล แล้วหันมาหาอิโนว่าไม่ต้องห่วงชนะแน่ ตลอดเวลาไม่มีความกดดันทางอารมณ์ความปั่นป่วนหรืออะไรเลย กรอบนอกจากประกาศความเป็นฮีโร่ว่าไม่ต้องห่วง ชนะแน่ นอกนั้นกรอบเล็กทั้งหมด

    ที่สำคัญคือ อ.กลับมาเล่นเรื่องความไว้ใจกันของเพื่อนกับโอริฮิเมะ เพื่อนคนสุดท้ายในกลุ่มที่ยังไม่โดนอ้างถึงประเด็นนี้กับอิจิโกะ แต่โดยนัยก็เชื่อมประเด็นนี้กับการตัดสินใจมา HM ของโอริคนเดียวที่ว่าเพื่อปกป้องเพื่อนทุกคน อิจิโกะก็จะมาคนเดียวเพื่อปกป้องเพื่อน แต่อ.เชื่อมอิจิโกะกับเพื่อนคนอื่นไปแล้วว่าเพื่อนคือการไว้ใจ คราวนี้เป็นทีของโอริบ้าง ที่ตลกคือแทนที่อ.จะเชื่อมโดยใช้อิจิโกะ แต่กลับใช้เนลแทน เป็นคนมาปลุกสติของโอริฮิเมะ (ch283) หลังจากที่ทำท่าหวาดกลัวอิจิโกะในร่างไวซาร์ด (ch281) และอารมณ์ที่ไม่มั่นคงว่าอิจิโกะมาเพื่อสนุกกับการสู้ไม่ได้มาเพื่อช่วยตนเอง อ.แสดงความกลัวของโอริถึง 3 บทกว่าจะเริ่มเชียร์อิจิโกะตอนท้ายของ ch283 และเมื่ออิจิโกะฟังเสียงเชียร์จากนางเอก (ถ้าใช่นะ) ปกติตามสูตรก็จะมีแรงฮึดฟันและชนะได้ แต่เปล่าเลยอ.กลับลดพลังตรงนี้ลง ให้อิจิโกะฮึดจริง แต่ตาอิจิโกะไม่ได้ขยายเพียงแต่รับรู้ รู้สึกดีขึ้นที่โอริที่มองตัวเองอย่างหวาดกลัวมาตลอดมาเชียร์ตน ฮึดฟันไป แต่ผลของการปะทะอิจิโดนกริมอัดกลับ ดังนั้นจะเห็นว่าอ.ลดบทบาทที่จะสามารถปูมาให้โอริฮิเมะเด่นเกือบทั้งหมดที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับลูเคีย เพราะไม่มีครั้งไหนที่ลูเคียด่า ถีบ เสย แล้วอิจิโกะจะเอาชนะคู่ต่อสู้ไม่ได้หรือจะไม่กลับมามีกำลังใจดีขึ้น

    นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ ch240 ที่โอริฮิเมะจากมาที่ HM ตามท้องเรื่องอ.ไม่ได้สร้างสรรค์ให้ตัวละครอื่นๆ ได้เชื่อมโยงกับเธอเลย หลังจากรวมกลุ่มครบที่ลูเคียกับเร็นจิมา ลูเคียก็เป็นคนบอกให้ไปช่วยโอริกันได้แล้ว (247) ต่อมาตอนจะแยกกัน ก็เป็นลูเคียที่เลือกวิธีที่เน้นไปหาโอริฮิเมะได้เร็วที่สุด มากกว่าปลอดภัยที่สุด และเป็นลูเคียที่ในการต่อสู้ที่จะสละชีวิตตนเองให้อารันคาในร่างไคเอ็น แต่ขอไปช่วยเพื่อนก่อน แม้แต่ก่อนตายก็ยังค่อยๆ คลานเพื่อไปหาโอริฮิเมะ เต็มไปด้วยอารมณ์กดดัน และการดิ้นรนอย่างหนักของลูเคียที่จะไปหาโอริฮิเมะ ตลอดระยะเวลาที่เริ่มแยกกันใน ch248 จนถึงลูเคียเกือบตาย ch269 ไม่มีใครเอ่ยถึงโอริฮิเมะเลย อีกทั้ง การตามหาโอริฮเมะ ก็ไม่มีใครพูดถึงเวลาเจอศัตรู แม้แต่ตอนที่พระเอกคืออิจิโกะเจอพวกศัตรู ก็ไม่ได้ถามว่าตัวประกันอยู่ไหน เจอดาบอุลก็ไม่ได้ถามถึงโอริฮิเมะเลย กลับกันเป็นดาบอุลที่เมือใช้ประเด็นลูเคียล่อให้อิจิโกะสู้ไม่ได้ (เพราะอิจิโกะพยายามจะกลับไปหาลูเคีย) ก็ดึงเรื่องโอริฮิเมะออกมา แต่ที่อิจิโกะสู้เพราะว่าการใช้คำพูดของดาบอุล ทำให้อิจิโกะพูดว่า”ดูท่าทำยังไงมันก็คงไม่ยอมปล่อยไปแน่ถ้าไม่สู้” และเพราะดาบอุลจับโอริมาทำให้ทุกคนต้องตกอยู่ในสถานการณ์นี้ โดยเฉพาะขณะนี้ที่ลูเคียตาย แล้วพอเริ่มสู้ก็เอาแบบเร็วสุดเปลี่ยนเป็นไวซาร์ดทันที (ที่สรุปได้แบบนี้เพราะจะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบการต่อสู้ของอิจิโกะกับการสู้ครั้งอื่น แม้แต่กับกริมจอ อิจิโกะไม่ได้เริ่มปุ๊บก็ไวซาร์ดปั๊บ แต่ที่ทำอย่างนี้ เหตุผลจึงเป็นอื่นไปไม่ได้ คือต้องการจบการสู้ให้เร็วที่สุดเพื่อจะไปหาลูเคีย) สำหรับวิธีการนำเสนอโอริฮิเมะของอ.คุโบะให้คนอ่านเพียงตัดไปที่โอริว่าทำกิจกรรมอะไรกับใคร หรือคิดถึงคุโรซากิคุง แต่ไม่ได้พยายามเชื่อมตัวเด่นคนอื่นมาที่โอริฮิเมะทั้งๆที่โอริฮิเมะรู้ว่าใครมานัก ระยะเวลาที่โอริฮิเมะรู้จักและมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆมากกว่าที่ลูเคียมี เป็นเพื่อนกันแล้ว ไม่ใช่แค่เพื่อนร่วมห้องเหมือนตอนเริ่มเรื่อง

    ตรงข้ามกับของลูเคีย ตอนที่ลูเคียถูกจับไป ลูเคียไม่รู้ว่าใครมาช่วยนัก รู้เพียงว่าอิจิโกะกับพวก ลูเคียไม่ได้ไปสนิทกับใครเท่าที่ควร เพราะอยู่บนโลกแค่ประมาณสองเดือน (จากที่ฮานะเล่าถึงลูเคียกับอิจิโกะกับกานจู) แต่อ.กลับนำเสนอให้ตลอดเวลาที่ลูเคียนั่งเศร้าในคุก จะมีการพยายามเชื่อมลูเคียให้ตัวละครอื่นรู้ว่ามาครั้งนี้อิจิโกะมาช่วยลูเคีย ทุกอย่างของกิจกรรมเพื่อลูเคีย ทุกคนพยายามตามหาถามคนไปทั่วว่าลูเคียอยู่ไหน และให้ตัวละครเด่นเช่น ชาด อิชิดะ และโอริฮิเมะสะท้อนความสำคัญของประเด็นนี้ (ch106) มีการสอดแทรกในเนื้อหาเช่นที่ฮานะเล่าถึงลูเคียว่าลูเคียรู้สึกถึงอิจิโกะอย่างไร รู้สึกผิดอย่างไรต่ออิจิโกะ แล้วอิจิโกะเกิดอารมณ์ฮึดวิ่งออกไป เป็นเครื่องมือเชื่อมตัวเอกทั้งสอง ตลอดจนใช้ศัตรูเป็นตัวเชื่อมด้วยเช่นตอนเร็นจิสู้กับอิจิโกะ ที่เบียคุยะถามอิจิโกะ และเราจะเห็นหลายครั้งมากที่ฉากอารมณ์ของอิจิโกะควบกับประโยคว่าจะไปช่วยลูเคีย จะทำทุกอย่างไม่ยอมให้ลูเคียตาย

    เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างกรณีหลักๆ ที่เห็นได้ชัดเจน จริงๆ แล้วอ.ใช้เทคนิคแบบคู่ขนานแบบนี้กับลูเคียและโอริฮิเมะมาตลอด และอย่างที่กล่าวแล้วว่าทำให้เห็นความแตกต่างที่อ.คุโบะให้น้ำหนักตัวละครอย่างชัดเจน โดยคนที่จะมาเป็นตัวเอกหญิงคู่กับฮีโร่แบบอิจิโกะ ทิศทางสถานการณ์ย่อมจะเป็นไปในเชิงบวก และในทางที่ทำให้เกิดความผูกพันกันระหว่างตัวละครเอกทั้งสองมากขึ้น ดังนั้น ในมีหลายเหตุการณ์ที่สำคัญๆ ทั้งทางอารมณ์และเรื่องราว เมื่อพิจารณาจากทั้งจำนวนเวลาและพื้นที่ที่ให้กับทั้งสองตอนจุดไคลแมกซ์ของบทหนึ่งๆ ปฏิกิริยาของพระเอก และอิทธิพลของตัวละครนั้นในการเชื่อมโยงกับตัวละครอื่นๆ รวมไปถึง เหตุการณ์ที่ปมปัญหาคลี่คลาย ซึ่งหากอ.คุโบะจะเปลี่ยนคน ณ ตอนที่ 307 จาก 500 (ตามข่าวลือ) อ.คงต้องสร้างโครงเรื่องมาหนุนน้ำหนักของคนใหม่นี้ เพื่อทำให้ผู้อ่านเชื่อว่าเป็นไปได้ และพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวละครนี้กับตัวละครหลักและสนับสนุนคนอื่นๆ โดยด่วน อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ทุกอย่างมันไม่ชัดเจนหรือว่า

    ลูเคีย คือนางเอกของบลีชอย่างไม่ต้องสงสัย

    th'x nu eng

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×