ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศาสนาคริสต์ ,, (- Catholic -)

    ลำดับตอนที่ #1 : • เริ่มต้นใหม่กันด้วย ,, รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ • [- Edited -]

    • อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 49



    (เราขอมาอัพหน้านี้ใหม่เลยนะคะ เพราะเอาข้อตกลงต่างๆขึ้นไปด้านบนแล้ว
    เรื่องนี้อาจจะยาวไปสักหน่อย แต่น่าสนใจไม่ใช่น้อยๆเลย อีกหนึ่งอัศจรรย์ยุคใหม่ ^^)

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------

    รอยแผลศักดิ์สิทธิ์


    คำว่า "stigmata" เป็นพหูพจน์ของคำนามในภาษากรีก "stigma" ซึ่งหมายถึงรอยแผลหรือรอยสัก โดยทั่วไป คำว่า "stigma" หมายถึงรอยประทับแห่งมลทินหรือความอดสู

    คำว่า "stigmata" เท่าที่ใช้ในภาษาอังกฤษหมายถึงรอยแผลบนร่างกายของบุคคลบางคนที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและอุทิศชีวิตให้กับศาสนา โดยรอยแผลเหล่านั้นจะปรากฎอยู่บนร่างกายบุคคลเหล่านี้อย่างลึกลับ ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับรอบแผลทั้งห้าที่พระเยซูเจ้าทรงได้รับในขณะที่พระองค์ทรงถูกตรึงกางเขน คือที่มือและเท้าทั้งสองข้อง และที่สีข้าง (และในบางกรณีก็เกิดขึ้นที่บริเวณศีรษะในตำแหน่งใกล้เคียงกับรอยแผลที่เกิดจากมงกุฎหนาม) ในวงการคาทอลิกไทยใช้คำว่า "รอยแผลศักดิ์สิทธิ์"

    บุคคลที่มีรอยแผลดังกล่าวปรากฎบนร่างกายจะเรียกว่า "stigmatist"

    ปรากฎการณ์ที่รอยแผลศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นบนร่างกายของบุคคลบางคนที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและอุทิศชีวิตให้กับศาสนา เรียกว่า "stigmatization" (หรือบางครั้งสะกดว่า "stigmatisation")

    Mystical Stigmata รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกลับ

    ecstatics ผู้บรรลุภวังค์แห่งปิติสุข (หรือ ภวังค์มหาทุกข์ แล้วแต่กรณี)

    ecstasy การบรรลุภวังค์แห่งปิติสุข หรือ ภวังค์มหาทุกข์แล้วแต่กรณี)

    grace พระหรรษทาน

    The Passion of Christ พระมหาทรมานแห่งพระคริสต์

    visions นิมิต

    apparitions การประจักษ์

    Bull (Apostoslic) พระราชโองการของพระสันตะปาปา

    (หมายเหตุ คำว่า Bull ที่ใช้ในวงการพระศาสนจักรคาทอลิก มีรากศัพท์และความหมายแตกต่างจากคำว่า bull ที่ในความหมายทั่วไปหมายถึงวัวตัวผู้ โดยคำนี้หมายถึง พระราชโองการสำคัญบางฉบับของพระสันตะปาปา โดยคำนี้มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน "bulla" ซึ่งแปลว่าตราปิดผนึก เนื่องจากมีการประทับตราครั่งหรือตราตะกั่วบนพระราชโองการสำคัญดังกล่าว)

    parish หมายถึง ท้องที่ส่วนหนึ่งของสังฆมณฑล โดยมีการกำหนดเขตพื้นที่อย่างชัดเจนพอสมควร เพื่อกำหนดเขตปกครองด้านศาสนาของแต่ละโบสถ์ในพระศาสนจักรคาทอลิก คำศัพท์ที่ใช้ในวงการคาทอลิกในประเทศไทยในขณะนี้คือ "วัด" คำศัพท์ที่เหมาะสมที่น่าจะสื่อความหมายได้เหมาะสมคำหนึ่งคือ "สังฆตำบล" (เทียบคำว่า "สังฆมณฑล" ที่ใช้ในการเรียก diocese)

    (หมายเหตุ บทความนี้มาจาก THE CATHOLIC ENCYCLOPEDIA 1913 Edition, Vol. XIV, pages 294-296 ซึ่งเขียนโดยบาทหลวง AUGUSTUS POULAIN, S.J. ตั้งเกือบศตวรรษมาแล้วดังนั้นข้อมูลและความคิดเห็นบางอย่างในบทความนี้ เช่นความก้าวหน้าด้านสรีรวิทยา และรายชื่อและจำนวนของบุคคลที่มีรอยแผลอันศักดิ์สิทธิ์ จึงอาจไม่เป็นปัจจุบันสักเท่าไรนัก และนี่คงเป็นสาเหตุที่ท่านนักบุญคุณพ่อปีโอ ผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ที่เพิ่งได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ค.ศ. 2002 และท่านผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ท่านอื่น ๆ ในศตวรรษที่ 20 ตกสำรวจ)

    .
    .

    รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกลับ

    จารึกทางประวัติศาสตร์ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า มีบุคคลจำนวนมากพอสมควรที่บรรลุภวังค์มหาทุกข์จนมีรอยแผลแห่งพระมหาทรมานแห่งพระคริสต์ บนมือ, เท้า, สีข้าง หรือคิ้ว ควบกับความเจ็บปวดสุดขีดตามรอยแผลดังกล่าว โดยไม่ได้วินิจฉัยว่ารอยแผลดังกล่าวนั้นเกิดจากสาเหตุเหนือธรรมชาติหรือไม่
    ปรากฎการณ์ดังกล่าวเรียกว่า รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่มองเห็นได้

    นอกจากนี้ ยังมีบุคคลอีกหลาย ๆ คนที่ประสบ ความเจ็บปวดสุดขีดตามตำแหน่งรอยแผลดังกล่าวโดยไม่มีรอยแผลที่มองเห็นได้จากภายนอก ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้



    1. ข้อเท็จจริง

    ความมีอยู่จริงของปรากฎการณ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้มีการจารึกหลักฐานไว้ในประวัติศาสตร์อย่างแน่นแฟ้นจนเป็นเหตุให้แม้แต่ผู้ที่ไม่เชื่อก็ไม่สามารถโต้แย้งความมีอยู่จริงของปรากฎการณ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่พวกเขากลับพยายามโต้แย้งว่า ปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติ

    ดังนั้น ผู้มีความคิดเป็นอิสระอย่างนายแพทย์ดูมาสซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาทางศาสนาที่มหาวิทยาลัย Sorbonne ก็ยังยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในวรสาร Revue des Deux Mondes, 1 May, 1907 เช่นเดียวกับดร. ปีแอร์ จาเน็ต ที่ได้เขียนยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ใน Bulletin de l'Institut psychologique international, Paris, July, 1901.

    ในช่วงแรก ๆ ท่านนักบุญคาเธอร์รีนแห่งซีเอนามีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่มองเห็นได้ แต่ท่านได้สวดขอด้วยความถ่อมตัว ขอให้รอยแผลดังกล่าวไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งความถ่อมตัวของท่านก็ได้รับการตอบสนอง เช่นเดียวกับกรณีของท่านนักบุญคาเธอร์รีน เดอ ริคชี ซึ่งเป็นซิสเตอร์คณะโดมินิกันที่นครฟลอเรนซ์ ในศตวรรษที่ 16 และบุคคลอื่น ๆ อีกหลายท่านที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวปรากฎบนร่างกาย

    เนื่องจากสาระสำคัญของพระหรรษทานแห่งรอยแผลศักดิ์สิทธิ์คือ ความสงสารและการเข้ามีส่วนร่วมในความเจ็บปวด และ ความโศกเศร้าของพระคริสตเจ้า โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การชดเชยบาปซึ่งเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จักหยุดหย่อนในโลกมนุษย์ ดังนั้นความเจ็บปวดจึงอาจถือได้ว่าเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่มองเห็นได้ เพราะถ้ามีแต่รอยแผลแต่ไม่ความเจ็บปวดแล้วไซร้ รอยแผลนั้นก็จะเป็นแต่เพียงสัญญลักษณ์อันปราศจากควาหมาย และเป็นเพียงการแสดงความโอ้อวดอันสืบเนื่องมาจากความหยิ่งผยอง

    ดังนั้น ถ้ารอยแผลอันศักดิ์สิทธิ์มาจากมหัศจรรย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าจริง ๆ แล้ว ก็จะเป็นการไม่สมควรต่อพระปรีชาญานของพระองค์ที่จะมีส่วนร่วมในการกระทำอันไร้ผลดังกล่าว (คือการมีแต่รอยแผลโดยไม่มีความเจ็บปวด)
    แต่ความทุกข์ทรมานนี้ไม่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่บรรดานักบุญต้องผจญ

    ดร.อิมเบอร์ตกล่าวว่า "ชีวิตของผู้ที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์เต็มไปด้วยความเจ็บปวดต่อเนื่องยาวนาน อันสืบเนื่องมาจากความทุกข์ทรมานแห่งรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสต์ และความเจ็บปวดดังกล่าวจะยุติลงก็ต่อเมื่อความตายมาเยือน"

    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น่าจะเป็นที่แน่ชัดว่า มีแต่ผู้ที่บรรลุภวังค์มหาทุกข์เท่านั้นที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนั้น ท่านเหล่านั้นยังมีนิมิตอันสอดคล้องกับบทบาทในฐานะผู้ร่วมทนทุกข์ โดยในบางครั้งท่านเหล่านั้นได้มีประสบการณ์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์แห่งพระมหาทรมานอันนองเลือด

    สำหรับบรรดาผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์หลายท่าน การประจักษ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ดังเช่นในกรณีของท่านนักบุญคาเธอร์รีน เดอ ริคชี ซึ่งเริ่มการบรรลุภวังค์แห่งพระมหาทรมานแห่งพระคริสต์ตอนที่ท่านอายุยี่สิบในปีค.ศ. 1542 โดยพระราชโองการของพระสันตะปาปาที่สถาปนาท่านเป็นนักบุญระบุว่า การเข้าภวังค์มหาทุกข์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาติดต่อกันถึงยี่สิบปี การเข้าภวังค์แต่ละครั้งมีระยะเวลายี่สิบแปดชั่วโมงพอดิบพอดี โดยเริ่มจากเที่ยงวันพฤหัสบดี ถึงบ่ายสี่โมงวันศุกร์ โดยมีการคั่นจังหวะเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ท่านรับศีลมหาสนิท โดยในแต่ละครั้ง คาเธอร์รีน จะสนทนาเสียงดังเสมือนกำลังแสดงละครอันเร้าใจ ละครอันเร้าใจนี้แบ่งออกเป็นประมานสิบเจ็ดฉาก ตอนที่ท่านออกจากภวังค์ ขาของท่านนักบุญเต็มไปด้วยบาดแผลที่เกิดจากแซ่, เชือก ฯลฯ

    .
    .

    ดร.อิมเบอร์ตได้พยายามนับจำนวนผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ และได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ ข้อมูลนี้รวบรวมถึงประมานปลายศตวรรษที่ 19 เท่านั้น).

    1. ก่อนศตวรรษที่สิบสาม ไม่ปรากฎว่ามีผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้ที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ท่านแรกคือ ท่านนักบุญฟรันซิส แห่ง อัสสิสิ โดยรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ของท่านมีเอกลักษณ์ที่ไม่มีผู้พบเห็นในบุคคลอื่นในยุคต่อ ๆ มา โดยแผลที่มือและเท้าของท่านเป็นเนื้อที่งอกออกมาเป็นรูปตะปู ส่วนแผลที่สีข้างด้านหนึ่งเป็นเนื้อที่งอกออกมาเป็นรูปกลมสีดำเหมือนหัวตะปู ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นเหมือนปลายอันแหลมยาวของตะปูที่ขดงอกลับเข้ามาจิกผิวหนัง

    ถึงแม้ท่านนักบุญจะมีความถ่อมตน แต่ท่านก็ไม่สามารถปกปิดไม่ให้บรรดาภราดาจำนวนมากในอารามเห็นแผลอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ ทั้งในขณะที่ท่านยังมีชีวิติอยู่ และหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว
    นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงนี้ยังได้รับการยืนยันจากนักประวัติศาสตร์ในยุคเดียวกันหลายท่าน และทุกวันที่ 17 กันยายน เป็นวันฉลองรอยแผลศักดิ์สิทธิ์แห่งนักบุญฟรันซิส

    2. ดร.อิมเบอร์ต พบบุคคลผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์จำนวน 321ท่านซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อถือว่า แผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เป็นผลมาจากฤทธิ์อำนาจแห่งพระเจ้า นอกจากนี้ท่านยังเชื่อว่า หากค้นตามห้องสมุดในประเทศ เยอรมัน, เสปน และ อิตาลี ก็น่าจะพบเพิ่มเติมจากจำนวน 41 คนในประเทศเหล่านี้ที่ท่านได้พบแล้ว

    3. จากจำนวนข้างต้น มี 62 ท่านที่ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ หรือบุญราศีทั้งชายและหญิงแล้ว โดยมียี่สิบหกองค์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายที่สุดคือ (หมายเหตุ St. ย่อมาจาก Saint [นักบุญ] ส่วน Bl. ย่อมาจาก Blessed [บุญราศี] และบุญราศีบางท่านตามรายชื่อนี้อาจได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในปัจจุบันแล้วก็ได้)

    St. Francis of Assisi (1186-1226);
    St. Lutgarde (1182-1246), a Cistercian;
    St. Margaret of Cortona (1247-97);
    St. Gertrude (1256-1302), a Benedictine;
    St. Clare of Montefalco (1268-1308), an Augustinian;
    Bl. Angela of Foligno (d. 1309), Franciscan tertiary;
    St. Catherine of Siena (1347-80), Dominican tertiary;
    St. Lidwine (1380-1433);
    St. Frances of Rome (1384-1440);
    St. Colette (1380-1447), Franciscan;
    St. Rita of Cassia (1386-1456), Augustinian;
    Bl. Osanna of Mantua (1499-1505), Dominican tertiary;
    St. Catherine of Genoa (1447-1510), Franciscan tertiary;
    Bl. Baptista Varani (1458-1524), Poor Clare;
    Bl. Lucy of Narni (1476-1547), Dominican tertiary;
    Bl. Catherine of Racconigi (1486-1547), Dominican;
    St. John of God (1495-1550), founder of the Order of Charity;
    St. Catherine de' Ricci (1522-89), Dominican;
    St. Mary Magdalene de' Pazzi (1566-1607), Carmelite;
    Bl. Marie de l'Incarnation (1566-1618), Carmelite;
    Bl. Mary Anne of Jesus (1557-1620), Franciscan tertiary;
    Bl. Carlo of Sezze (d. 1670), Franciscan;
    Blessed Margaret Mary Alacoque (1647-90), Visitandine (who had only the crown of thorns);
    St. Veronica Giuliani (1600-1727), Capuchiness;
    St. Mary Frances of the Five Wounds (1715-91), Franciscan tertiary
    4. ในศตวรรษที่สิบเก้า มีบุคคลที่มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์จำนวน 29 ท่าน โดยผู้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ

    Catherine Emmerich (1774-1824), Augustinian;
    Elizabeth Canori Mora (1774-1825), Trinitarian tertiary;
    Anna Maria Taïgi (1769-1837);
    Maria Dominica Lazzari (1815-48);
    Marie de Moerl (1812-68) and Louise Lateau (1850-83), Franciscan tertiaries.

    ในจำนวนนี้ มารีย์ เดอ เมอร์ล อาศัยอยู่ที่ คัลเทอร์น (1812-68). ตอนอายุยี่สิบ เธอได้เป็นผู้ที่บรรลุภวังค์มหาทุกข์ และการเข้าภวังค์มหาทุกข์ก็ได้กลายเป็นกิจวัตรปกติของเธอตลอดระยะเวลาสามสิบห้าปีที่เหลือในชีวิตเธอ โดยเธอจะออกจากภวังค์ก็ต่อเมื่อมีคำสั่ง (หรือบางครั้งจากการสื่อสารทางจิต) จากนักบวชครธฟรันซิสกันซึ่งเป็นวิญญานารักษ์ของเธอ และเพื่อปฎิบัติภารกิจบ้านที่เธอพักอยู่ซึ่งมีสมาชิกจำนวนมาก

    ท่าปกติของเธอคือ การคุกเข่าบนเตียงพร้อมกับเอามือไขว้กันที่หน้าอก โดยมีสีหน้าที่เป็นที่ประทับใจอย่างมากต่อผู้ที่เห็น ตอนอายุยี่สิบสอง เธอได้รับแผลศักดิ์สิทธิ์ โดยตอนเย็นวันพฤหัสบดีและในวันศุกร์จะมีโลหิตที่ใสมากหลั่งออกมาจากแผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ทีละหยด ๆ ส่วนในวันอื่น ๆ แผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้จะแห้งไม่มีโลหิตหลั่งออกมา

    มีผู้คนจำนวนหลายพันคนที่เห็น มารีย์ เดอ เมอร์ล โดยในจำนวนนี้มี กอร์เรส (ผู้ซึ่งได้บรรยายการเข้าพบของเขาไว้ในหนังสือ "Mystik", II, xx), ไวส์แมน และ ลอร์ดชริวส์เบอร์รี่ ผู้ซึ่งได้เขียนจดหมายปกป้องผู้ซึ่งบรรลุภวังค์มหาทุกข์ท่านนี้ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในหน้งสือพิมพ์ "The Morning Herald" และ "The Tablet"


    หลุยส์ ลาทู ใช้ชีวิตของเธอที่หมู่บ้าน Bois d'Haine, Belgium (1850-83). เนื่องจากคาทอลิกบางคน ได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือคลาดเคลื่อนตามที่ Canon Thiery ได้ให้ไว้ในรายงาน "Examen de ce qui concerne Bois d'Haine", Louvain, 1907, จึงทำให้คาทอลิกเหล่านี้ไม่ยอมรับว่าเธอได้รับพระหรรษทานจริง

    ตอนอายุสิบหก เธอได้ทุ่มเทชีวิตของเธอในการพยาบาลคนป่วยด้วยโรคอหิวาต์ที่ถูกทอดทิ้งโดยคนส่วนใหญ่ในสังฆตำบลของเธอ ในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว เธอได้พยาบาลคนป่วยถึงสิบคน และทำการฝังพวกเขา โดยในบางครั้งถึงกับต้องแบกศพไปที่ป่าช้าด้วยตัวเอง
    พออายุสิบแปดเธอก็เป็นผู้ที่บรรลุภวังค์มหาทุกข์จนได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นช่างเย็บผ้าเพื่อจุนเจือครอบครัวของเธอ

    แพทย์จำนวนหลายต่อหลายท่าน ได้เป็นประจักษ์พยานต่อการบรรลุภวังค์มหาทุกข์ของเธอทุกวันศุกร์ และยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เธอไม่รับประทานอาหารใด ๆ ตลอดระยะเวลาสิบสองปี นอกจากการรับศีลมหาสนิทประจำสัปดาห์ ส่วนน้ำนั้น เธอจะดื่มน้ำเพียงสัปดาห์ละสามถึงสี่แก้วเท่านั้น เธอไม่เคยหลับเลย แต่ใช้เวลากลางคืนในการรำพึงและสวดภาวนาในขณะที่คุกเข่าที่ปลายเตียงของเธอ

    .
    .

    2. คำอธิบาย

    หลังจากที่ได้ให้ข้อเท็จจริงแล้ว ต่อไปจะขอกล่าวถึงคำอธิบายถึงที่มาของปรากฎการณ์แห่งรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาบางคน ทั้งที่เป็นคาทอลิกและที่มีความคิดอิสระ ต่างยืนยันว่าแผลเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมชาติล้วน ๆ โดยเป็นผลจากจินตนาการผนวกกับภาวะจิตอันเร่าร้อน ความหมกมุ่นที่บุคคลนั้นได้ทุ่มเทให้กับความสะเทือนใจอย่างใหญ่หลวงอันเป็นผลจากการทุกข์ทรมานของพระผู้ไถ่ ในขณะเดียวกับที่ถูกซึมแทรกด้วยความรักอันยิ่งใหญ่นั้น มีผลกระทบต่อเขาทางด้านสรีระ จนมีผลให้เกิดแผลศักดิ์สิทธิ์แห่งพระคริสตเจ้า

    ถึงแม้ว่าสาเหตุโดยตรงของปรากฎการณ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์อาจจะไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความดีงามของเขาในการยอมรับความทุกข์ทรมานนั้นลดน้อยลงแต่อย่างไร

    เราจะไม่พยายามหาข้อยุติในประเด็นนี้ แต่สรีรวิทยาดูเหมือนว่าจะยังไม่ความก้าวหน้าพอที่จะให้คำตอบที่แน่นอนได้ และผู้เขียนบทความนี้ยึดถือแนวสายกลาง ซึ่งในสายตาของผู้เขียนเป็นแนวความคิดที่ไม่มีช่องโหว่

    โดยเห็นว่าข้อโต้แย้งที่อธิบายว่ารอยแผลศักดิ์สิทธิ์เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาตินั้น เป็นเพียงภาพลวงตา ข้อโต้แย้งเหล่านั้นบางครั้งก็เป็นสมติฐานที่ตั้งขึ้นโดยพลการ โดยเป็นเพียงการกล่าวอ้างเท่านั้น และบางครั้งก็เป็นการโต้แย้งที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนหรือเกินความจริง

    แต่ถ้าหากความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์ และด้านจิต-สรีรวิทยา จะก้าวหน้าไปจนถึงขั้นที่เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวง (ต่อข้อสมมติฐานว่าเป็นปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ) แล้ว ก็เป็นการสมควรที่จะระลึกอยู่เสมอว่า ทั้งศาสนาและเรื่องอัศจรรย์ นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อยุติแห่งประเด็นเหล่านี้ และในขบวนการสถาปนานักบุญนั้น ไม่ได้ถือว่า ปรากฎการณ์รอยแผลศักดิ์สิทธิ์เป็นอัศจรรย์ที่ไม่อาจโต้แย้งได้


    ไม่เคยมีใครที่อ้างว่าจินตนาการสามารถก่อให้เกิดแผลในบุคคลธรรมดาได้ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๔ ได้กล่าวไว้ใน De canoniz., III, xxxiii, n. 31 ว่า ถึงแม้ว่าจินตนาการสามารถก่อให้เกิดผลเล็กน้อยทางร่างกาย แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่ามันได้ก่อให้เกิดผลต่อเนื้อเยื่อ
    แต่ในกรณีบุคคลที่อยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่นในระหว่างการถูกสะกดจิต หรือในระหว่างการบรรลุภวังค์มหาทุกข์ ประเด็นนี้ก็ยิ่งเป็นการยากขึ้นอีกในการวินิจฉัย และถึงแม้ว่าจะได้มีการพยายามมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว การสะกดจิตก็ไม่ได้ให้ผลลัพท์ที่ชัดเจนว่าสามารถก่อให้เกิดแผลบนร่างกายได้ โดยในกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมาก ๆ การสะกดจิตได้ก่อให้เกิดการซึมออกมาซึ่งเหงื่อที่มีสีเจือปนบ้างเล็กน้อย แต่นั่นก็เป็นเพียงการเลียนแบบที่ยังห่างไกลมากจากโลหิตจริง ๆ ที่ไหลออกมาจากรอยแผลศักดิ์สิทธิ์

    นอกจากนั้น ยังไม่มีใครสามารถให้คำอธิบายถึงสาเหตุของปรากฏการณ์สามอย่างในกรณีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญหลายองค์


    โดยแพทย์ไม่สาารถรักษาแผลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ให้หายได้ กับทั้งรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่คงอยู่ยาวนาน ก็ไม่ได้ส่งกลิ่นเหม็นเช่นในกรณีบาดแผลธรรมดาแต่อย่างใด
    แต่มีข้อยกเว้นอยู่ในกรณีของท่านนักบุญ ริตา แห่งคาสซีอา ซึ่งได้รับแผลจากจากหนามซี่หนึ่งซึ่งหลุดจากมงกุฎหนามบนกางเขนซึ่งเป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่คิ้วของท่าน โดยถึงแม้ว่าแผลนี้จะส่งกลิ่นเหม็นสุด ๆ แต่ก็ไม่มีหนองหรือการเน่าของแผล

    ในบางกรณี เช่นในกรณีของซิสเตอร์ฮวนน่าแห่งไม้กางเขน ซึ่งเป็นอธิการิณีอารามฟรันซิสกันแห่งโทเลโด และท่านบุญราศีลูซีแห่งนาร์นี แผลศักดิ์สิทธิ์ของท่านทั้งสองส่งกลิ่นหอม

    สรุปก็คือ หากจะพิสูจน์ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ว่า จินตนาการ (ซึ่งก็คือการคิดไปเอง) สามารถก่อให้เกิดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ได้จริง ๆ แทนที่จะเป็นเพียงสมมติฐาน ก็จะต้องมีข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์นี้จากสาเหตุตามธรรมชาติ ซึ่งก็คือบาดแผลที่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากความศรัทธาทางศาสนา
    ยังไม่เคยมีใครสามารถก่อให้เกิดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ด้วยจินตนาการอันปราศจากศรัทธาได้แม้แต่กรณีเดียว

    .
    .

    ท่านนักบุญคุณพ่อปีโอ ผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์



    --------------------------------------------------------------------------------

    Credit :: http://www.palungjit.com/board/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×