ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศูนย์วิจัยมาเฟีย Fiction Reborn

    ลำดับตอนที่ #8 : Blue Diary บันทึกหัวใจ ยัยสายหมอก

    • อัปเดตล่าสุด 31 พ.ค. 53


    Blue Diary บันทึกหัวใจยัยสายหมอก 

    Pair : 6996

    Author : Choco Cat

     

    ขอออกตัวก่อนเลยว่านี่เป็นเพียงการวิจารณ์ในสถานะผู้อ่านคนหนึ่งเท่านั้น หากรุนแรงไป ไม่พอใจ หรือจะทักท้วงก็เชิญตามสบายครับ

     

    1.โครง + พล็อต

    ขณะอ่านผมรู้สึกหลอนนิดๆ (เพราะมันดันเปิดเพลงมิชชั่นของภาค 3 พอดี เพลงที่ผีคนทรงปรากฏตัว ตามมาด้วยเสียงพูดงึมงำของเรกะ =[]= /โดนคุณยาจกเสย)หลังจากที่ยุงของชามาลทำพิษจนฮิบาริเป็นโรคซากุระ และแล้วมันก็กลับมาหลอกหลอนเราอีกครั้ง ด้วยการนำหายนะมาสู่โคลม!! เธอเป็นโรคกลับตาลปัตรไปซะแล้ว โอ...ไม่นะ!(ผัวะ/คุณยาจกถีบเข้าให้) เอาล่ะขอเข้าเรื่องล่ะนะครับเล่นมากไปหน่อย พล็อตนี่ถือว่าแปลกใหม่ทีเดียว เหมือนการรียูสนำกลับมาใช้ใหม่เลย และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซะด้วยสิ

    2. ภาษา

    อยู่ในเกณฑ์ดีครับและเกือบจะถึงดีมากแล้ว การบรรยายโดยใช้มุมมองตัวละครคุณทำมันได้ดีทีเดียวแต่อย่างที่ผมบอกไปว่ามันเกือบจะดีมาก นั่นแสดงว่าต้องติดอะไรสักอย่างจริงไหมครับ? ถ้าอย่างนั้นผมขอพูดเกี่ยวกับแง่มุมการใช้ตัวละครดำเนินเรื่องก่อนนะครับ

    โดยส่วนใหญ่นั้นการเขียนนิยายหรือแม้กระทั้งฟิคก็ตามมักจะแบ่งออกเป็นสองมุมมอง คือมุมมองตัวละคร(ตัวละครดำเนินเรื่อง) และมุมมองพระเจ้า(มุมมองนักเขียน) ซึ่งมุมมองตัวละครจะเป็นมุมมองที่แคบมากเพราะเราไม่สามารถเขียนอย่างอื่นนอกจากขอบเขตสายตาตัวละครได้เลย ไม่แม้แต่จะอ่านใจคนอื่น ที่ทำได้คือบอกว่าตัวละครนั้นเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไรเท่านั้น ทั้งเสื้อผ้า ฉากและสถานที่เราจะต้องบอกผ่านตัวละครดำเนินเรื่องทั้งหมด และถ้าตัดฉากไปที่บทอื่นซึ่งตัวละครที่เราไม่ได้ใช้กำลังดำเนินเรื่องก็จะถูกบังคับให้ใช้มุมมองพระเจ้าทันที ในขณะเดียวกันมุมมองพระเจ้าจะกว้างคือมองได้ทั้งเรื่อง นักเขียนสามารถบอกได้ว่าตัวละครแต่ละตัวนั้นรู้สึกอย่างไร แต่ก็จะรับภาระหนักกว่ามากเพราะมุมมองนักเขียนหากไม่สามารถบรรยายภาพได้อย่างชัดเจนมันจะเสียลงทันที ทั้งฉากสู้ ความโอโถงหรือความหรูหราของเสื้อผ้าหรือสถานที่ สีหน้าและความรู้สึกของตัวละครแต่ละตัว อีกอย่างคือมักจะสับสนกันบ่อยระหว่างการคิดในใจกับการใช้ตัวละครดำเนินเรื่อง เพราะหากเป็นการคิดในใจของตัวละครในแง่มุมของพระเจ้าก็ต้องใส่เครื่องหมายอย่างชัดเจนได้ว่าพูดในใจนะ เพราะหากไม่ทำแบบนั้นมันจะกลายเป็นตัวละครดำเนินเรื่องไปในทันที

    ทีนี้พูดถึงความแตกต่างของสองมุมมองนี้ไปแล้วมาต่อกันที่ภาษาของคุณยาจกนะครับ ภาษาของคุณดีเท่าที่ผมเริ่มสับฟิครีบอร์นในบทความนี้มาเลย อารมณ์ของโคลมค่อนข้างชัดเจน แต่ขอบเขตสายตาเธอยังมองได้ไม่ทั่วถึงนัก เพราะคุณโฟกัสที่โคลมคนเดียวตัวละครอื่นโคลมไม่ยอมบอกให้ชัดๆ เลยว่าใครกำลังทำอะไร มีสีหน้า หรือแม้กระทั่งน้ำเสียงอย่างไร ของมุคุโร่นี่พอบอกว่าส่งสายตาหื่นๆ มาให้ ต้องเน้นย้ำด้วยครับว่าโคลมมองเห็นประกายตากรุ้มกริ่มของมุคุโร่ด้วย เป็นประกายตาของผู้ที่อยู่เหนือกว่าหรือกำลังคิดแผนการชั่วร้ายบางอย่างถึงได้มองหื่นๆ แบบนั้น แม้แต่น้ำเสียงก็มีผลนะครับ ต่อมาพอโคลมถูกจ้องด้วยสายตาหื่นๆ เธอก็ต้องมีผวาบ้างล่ะ ขนลุกหรือไม่ไว้วางใจจนต้องกระเถิบตัวหนี แต่ว่าคุณลืมความรู้สึกขณะหวาดกลัวไปครับ เพราะใช้ไอคอนอารมณ์ด้วยแหละมันถึงได้สื่อไม่ถึงเท่ากับการบรรยาย อีโมมีข้อดีคือสะดวกและไม่ต้องบรรยายความรู้สึก แต่ผมรู้สึกว่ามันเป็นโทษมากกว่าเพราะหากใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะไม่รู้จักการสื่ออารมณ์ตัวละครด้วยตนเอง หากไม่เรียนรู้ในจุดนี้ก็จะทำให้คนอ่านอินไปกับตัวละครไม่ได้หรอกครับ เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่จะบรรยายอย่ากลัวที่ภาษาเราไม่สวย หากไม่ฝึกฝนบรรยายมากๆ ภาษาของเราจะพัฒนาขึ้นไหมครับ? ทุกคนจะเก่งขึ้นได้ก็เพราะความพยายามและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอนั่นแหละครับ

    3. ความสนุก+การดำเนินเรื่อง

    คุณยาจกดำเนินเรื่องได้มีเสน่ห์นะครับตอนบทแรกจะไม่รู้สึก หลังๆ เริ่มสนุกเพราะโคลมเป็นโรคกลับตาลปัตร อาการห้าวหาญของเธอและการกระทืบมุคุโร่นี่แหละที่ทำให้เรื่องมันน่าสนุกมากขึ้น (ไม่อยากบอกเลยว่าแอบสะใจที่โคลมซ้อมมุคุ) ที่จริงก็ไม่เกี่ยวกันทั้งหมดหรอกครับ ที่เรื่องมันสนุกก็เพราะการที่โคลมเปลี่ยนไปนั่นแหละ ทั้งแง่มุมการคิดที่ไม่ใช่เด็กหัวอ่อนตามที่มุคุโร่สอนสั่ง แต่กลายมาเป็นสาวห้าวที่กล้าลุยไปเสียทุกสถานการณ์ การทิ้งท้ายเรื่องชวนให้น่าติดตามครับ เพราะจะตัดฉับทิ้งความสงสัยและความอยากรู้เอาไว้เบื้องหลัง เป็นการเรียกน้ำย่อยสู่บทต่อไปได้ดีจริงๆ แต่ว่ายังไม่พอนะครับต้องลับการทิ้งเรื่องให้คมขึ้นมากกว่านี้อีก คนอ่านจะได้ติดเรื่องนี้มากขึ้นไปอีกอย่างไรล่ะครับ^^ อ้อ...เกือบลืมๆ การดำเนินเรื่องลื่นไหลกำลังดีครับ แต่การขึ้นฉากหรือตัดบางฉากช่วง เวลาในเรื่องเลยคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อย

    4. เหตุผล ความสมจริง

    ขอติงเรื่องยุงของชามาลหน่อยครับ เพราะตั้งแต่อ่านมาจนถึงโคลมเป็นลมไม่เห็นว่าจะมีวี่แววของยุงเลย แล้วอยู่ๆ รีบอร์นก็มาบอกว่าโคลมโดนยุงของชามาลกัด มันดูแปลกๆ นะที่ไม่มีที่มาที่ไปของการเป็นโรคกลับตาลปัตรให้เห็นเลย การที่คนเราจะเป็นอะไรสักอย่างมันต้องมีเหตุมารองรับ อย่างถ้าเราจะเป็นไข้ต้องมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ รู้สึกมึนศีรษะมาให้เห็นก่อนใช่ไหมครับ และนี่ก็คือสิ่งที่ขาดไป

    5. ตัวละคร

    ค่อนข้างจะอยู่ในคาแร็กเตอร์เดิม ถ้าหากว่าไม่มีเสียงในใจของสึนะมาเสริมล่ะก็...คงจะอยู่ในกรอบเดิมแหละครับ ส่วนโคลมนี่ก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว รู้สึกคล้อยตามไปด้วย และยังสะใจเรื่องที่กระทืบมุคุไม่หาย อีกอย่างคือถึงแม้จะเป็นโรคกลับตาลปัตรและโคลมพูดคำหยาบบ้างก็เถอะ แต่ใช้คำลงท้าย เฟ้ย ฟะ เยอะไปก็ไม่รื่นหูรื่นสายตาเท่าไหร่เวลาอ่านนะครับ อยากให้ลองนึกหาวิธีนุ่มนวลที่จะสื่อว่าโคลมเปลี่ยนไปพูดและออกท่าทางห้าวๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำพูดคล้ายผู้ชายแบบนี้ พูดเป็นบางครั้งไม่เป็นไรแต่พูดติดๆ กันจะเกิดความรู้สึกแหม่งๆ เอาได้ ซึ่งผมก็เป็นขณะอ่าน มันมีเยอะจริงๆ แล้วก็อย่างที่บอกไปว่าเน้นแต่โคลมก็อย่าลืมความรู้สึกของตัวละครอื่นๆ ด้วยนะครับ

    6. บทสนทนา

    บทสนทนาก็สื่ออารมณ์ได้แต่ต้องไม่ใช้คู่กับอีโมนะครับ เพราะถ้าสองอย่างนี้มาเจอกันเมื่อไหร่คนอ่านก็จะมองที่อีโมเป็นอันว่าจบ บทสนทนามันจะไม่มีความหมายอะไรเลย ซึ่งผมพูดแนะนำไปกับหลายคนแล้ว คำพูดเป็นสิ่งที่เรียกคืนไม่ได้และมีอำนาจมากกว่าที่คิด การพูดจะไม่มีความหมายเลยหากขาดอารมณ์ไป ที่ทำให้คำพูดมันดูรุนแรงหรือมีมนต์ขลังนั่นเพราะเราใส่อารมณ์ลงไปด้วยครับ คำพูดตัวละครขาดน้ำหนักในเรื่องนี้ไป ในเรื่องของอารมณ์ อย่างผมเวลาจะสื่อคำพูดในเชิงอารมณ์โกรธหรือกดเสียงหนักๆ ผมจะเน้นเป็นตัวหนา หรือถ้าพูดเป็นเชิงไม่แน่ใจหรือกำลังอารมณ์หดหู่ พูดจาตะกุกตะกัก จะใช้จุดไข่ปลา (...)เข้ามาเสริมครับ เครื่องหมาย ! ไม่ได้มีความหมายว่าตกใจเพียงอย่างเดียวเพราะมันจะช่วยเน้นอารมณ์ในคำพูดด้วยเช่นกัน ลองเอาเครื่องหมายมาใช้ดูบ้างนะครับ การทำตัวหนาหรือตัวเอียงก็มีความหมายด้วยเช่นกัน

    7. คำผิด

    มีให้เห็นอยู่ประปรายครับ อยากให้ลองประยุกต์ใช้คำใหม่ๆ ดูบ้าง

    8.อื่น

    ภาพรวมถือว่าดีครับ เนื้อเรื่องสนุก รั่วปนฮา ยิ้มไปขณะอ่าน  ดำเนินเรื่องได้มีเสน่ห์ครับ

    9.ความพึงพอใจ

    ตัวอักษรเล็กไปนิดถ้าขยายเป็นขนาด 16 ได้จะดีมากเลยครับ (ขี้เกียจกดปุ่มขยายตัวอักษร) จัดหน้ากระดาษสวย อีโมค่อนข้างเยอะไปหน่อย แต่ไม่ถือว่ารกจนเกินไป

    สรุปคะแนนดังนี้

    1.โครง + พล็อต (8.5/10)

    2. ภาษา (9/12)

    3. ความสนุก+การดำเนินเรื่อง (9.5/12)

    4. เหตุผล ความสมจริง (8/12)

    5. ตัวละคร (8/12)

    6. บทสนทนา (8/12)

    7. คำผิด(9/10)

    8.อื่น (8/10)

    9.ความพึงพอใจ (8/10)   

    รวมทั้งสิ้น 76/100 คะแนนครับ

     

    แบบฟอร์มรับคำวิจารณ์

    ชื่อผู้รับ ::

    รับเมื่อวันที่ ::

    พอใจกับคำวิจารณ์หรือไม่ ::

    อยากจะบอกหรือแนะนำอะไรกับเจ้าของบทความหน่อยไหม ::

    จะช่วยเอาแบนเนอร์ของบทความนี้ไปเผยแพร่ได้ไหมครับ ::

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×