คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : เรียนรู้กับเกาหลี
สาธารณรัฐเกาหลี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี โดยมีเส้นขนานที่ 38 แบ่งกั้นระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี
ประชากร 47.7 ล้านคน (2545)
เมืองหลวง กรุงโซล (
เมืองที่สำคัญ ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู
สมาชิกสหประชาชาติ 17 ก.ย. 2534
GDP ต่อหัว รายได้ต่อหัว 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2544)
หน่วยเงินตรา ประมาณ 1,200 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย
คสพ.การทูต สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อ 1 ต.ค. 2501
ออท. ไทย นาย
ประธานาธิบดี นาย Roh Moo-hyun รับตำแหน่งเมื่อ 25 ก.พ. 2546
นายกรัฐมนตรี นาย Goh Kun
รมว.กต.และการค้า นาย Yoon Young-kwam
ศาสนา มีประชากรนับถือศาสนา 54% ของประชากรทั้งหมด
(พุทธ 51.2%โปรเตสแตนท์ 34.4% คาธอลิค 10.6% ขงจื๊อ 1.8%)
การศึกษา ภาคบังคับ 9 ปี
อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 98
สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
พัฒนาการต่างๆ ในเกาหลีใต้ปี 2545
1. การเมืองภายใน สถานการณ์การเมืองในเกาหลีใต้โดยภาพรวมยังคงมีเสถียรภาพ
แต่มีความผันผวนทางการเมืองภายในอันเนื่องมาจากนักการเมืองระดับสูง คนสนิท
รวมถึงญาติและบุตรชายของประธานาธิบดีเป็นผู้ต้องสงสัยมีส่วนพัวพันกรณีรับสินบน
เป็นเหตุให้ประธานาธิบดี คิม แด จุง ต้องปรับคณะรัฐมนตรีและที่ปรึกษาครั้งใหญ่
เมื่อ 29 มกราคม 2545 และเมื่อ 11 กรกฎาคม 2545ประธานาธิบดีคิม แด จุง
ได้ทำการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สองโดยได้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี
แต่รัฐสภามีมติไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่เสนอโดย
ประธานาธิบดีคิม แด จุง ถึงสองครั้ง
เมื่อ 19 ธันวาคม 2545 ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งนาย Roh Moo-hyun
ผู้สมัครจากพรรครัฐบาล (Millenium Democratic Party-MDP)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่ 16ด้วยคะแนนร้อยละ 48.9
ใกล้เคียงกับผู้แข่งขันจากพรรค Grand National Party (GNP)
และได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 ทั้งนี้
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอยู่ในช่วงที่มีกระแสการต่อต้านสหรัฐฯ ของชาวเกาหลีใต้
ทำให้พรรครัฐบาลซึ่งมีนโยบายเน้นความเสมอภาคและต่างตอบแทนกับสหรัฐฯ ได้รับการเลือกตั้ง
2. การต่างประเทศ เกาหลีใต้ยังคงดำเนินนโยบายตะวันทอแสง (Sunshine Policy)
ในการดำเนินความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่กระทบถึง
ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง เช่น กรณีการปะทะระหว่างเรือลาดตระเวนของทั้งสองฝ่าย
แต่ต่อมาเกาหลีเหนือก็ได้กล่าวขอโทษและรับจะไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ทำให้ประเทศในคาบสมุทรเกาหลี ทั้งสองมีความร่วมมือกันต่อไปได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น แม้จะมีความขัดแย้งกันในการเรียกชื่อทะเล
“Sea of Japan” ซึ่งเกาหลีใต้เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่จะใช้ชื่อประเทศใดประเทศหนึ่งในการ เรียกชื่อทะเล
จึงเสนอให้ใช้ชื่อ “East Sea” ควบคู่ไปกับ “Sea of Japan” ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ
แต่ประเทศทั้งสองก็ยังคงมีความร่วมมือระหว่างกันด้วยดี เช่น
การที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 เป็นต้น
ส่วนความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ นั้น จากเหตุการณ์ที่ทหารสหรัฐฯ ขับรถชนเด็กนักเรียนหญิง 2 คนเสียชีวิต
และศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้ไม่มีความผิด ทำให้เกิดกระแสต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯ
ที่ตั้งอยู่ในเกาหลีใต้และประชาชนยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลแก้ไข
สนธิสัญญาทางทหารที่อนุญาตให้ศาลทหารสหรัฐฯ เป็นผู้ตัดสินคดี
3. เศรษฐกิจ เศรษฐกิจเกาหลีใต้นับว่ามีความแข็งแกร่งโดยมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้น
เกาหลีใต้มีดุลการค้าเกินดุลหลายปีติดต่อกันมีปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
สูงถึง 116.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสี่ของโลก และในช่วงปลายปี 2545
สาธารณรัฐเกาหลีได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าเสรี (FTA) กับชิลี
หลังจากที่มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติร่วมกันหลายครั้งเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี
4. สังคม รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
โดยรัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ อาทิ เพิ่มกองทุนรองรับผู้ตกงาน จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีระหว่างรัฐบาล
นายจ้างและลูกจ้าง นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้นต่อวัฒนธรรมต่างประเทศ
และส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ
สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี
นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2545 สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีมีความตึงเครียดขึ้นเป็นลำดับ
เนื่องมาจากปัญหาโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งสหรัฐฯ เห็นว่า
เป็นการละเมิดกรอบความตกลงกับสหรัฐฯ เมื่อปี 2537 (Agreed Framework)
ที่จะยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือก่อสร้างเตาปรมาณ
ู Light Water ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแทนเตาปรมาณูเดิม
ในส่วนของเกาหลีเหนือก็กล่าวหาว่า กรอบความตกลงปี 2537 เป็นโมฆะ
เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่สามารถก่อสร้างเตาปรมาณู Light Water ได้ทันตามความตกลงฯ
ทำให้ประชาคมระหว่างประเทศต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี
และได้พยายามโน้มน้าว ให้เกาหลีเหนือยุติการรื้อฟื้นโครงการดังกล่าว
แต่เกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเสนอใดๆ นอกจากนั้น เกาหลีเหนือได้ขับเจ้าหน้าที่ IAEA
ออกนอกประเทศและประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญา NPT และแจ้งว่า
ปัญหาโครงการพัฒนานิวเคลียร์เป็นปัญหาทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีเหนือที่จะต้องแก้ไขร่วมกัน
โดยเกาหลีเหนือจะยุติการรื้อฟื้นโครงการฯ หากสหรัฐฯ ยินยอมลงนามความตกลงไม่รุกรานกัน
(Non-Aggression Pact) กับเกาหลีเหนือ ซึ่งในขณะนี้ สหรัฐฯ
กำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือดังกล่าว
แต่เป็นการพิจารณาในลักษณะที่มิได้โอนอ่อนผ่อนปรนให้เกาหลีเหนือ
และพยายามผลักดันให้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาพหุภาคีที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไข
โดยสหรัฐฯ ยินยอมจะหารือทวิภาคีกับเกาหลีเหนือแต่ขอให้เป็นการหารือในเวทีพหุภาคีเท่านั้น
การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี
ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรี
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ทางศาลทั้งนี้
เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการ ปกครอง
(โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)
รัฐธรรมนูญ
เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 ก.ค. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน
ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน
ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง
โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรก
ในรอบ 30 ปี นอกจากนี้รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี
และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
ฝ่ายนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ
ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 273 คน
โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 หรือ 227 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสมาชิกอีก 46 คน
มาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อ 13 เมษายน 2543)
สภาจะเลือกประธาน (Speaker)และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้
หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ
ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ
ฝ่ายบริหาร
- ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง
โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้
เพื่อเป็นการป้องกัน การขยายอำนาจของประธานาธิบดี หัวหน้ารัฐบาล
ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย
รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็น ในยามฉุกเฉิน
นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถที่จะเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา
- คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภานายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ
รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศและการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา
คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส
สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ
คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี
สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก
คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล
และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ได้กล่าวมาได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้
หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย
อนึ่ง เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2546 ประธานาธิบดี Roh Moo-hyun
ได้ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีเกาหลีใต้ชุดใหม่ โดยยกเว้น
ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ที่ประธานาธิบดียังไม่ตัดสินใจ และคงนาย Jeong Se-hyun
ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการรวมประเทศดังเดิม โดยมีรายชื่อคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1) นาย Goh Kun นายกรัฐมนตรี
2) นาย Kim Jin-pyo รองนายกรัฐมนตรีด้านการคลังและเศรษฐกิจ
3) ว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4) นาย Jeong Se-hyun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรวมประเทศ
5) นาย Yoon Yong-kwam รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า
6) นาง Kim Kum-sil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
7) นาย Cho Young-kil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
8) นาย Kim Doo-kwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
9) นาย Park Ho-goon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10) นาย Lee Chang-dong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
11) นาย Kim Young-jin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้
12) นาย Yoon Jin-shik รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงาน
13) นาย Chin Dae-je รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและสื่อสาร
14) นาย Kim Hwa-joong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
15) นาง Han Myung-sook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
16) นาย Kwon Ki-hong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
17) นาง Ji Eun-hee รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเสมอภาคทางเพศ
18) นาย Choi Jong-chan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง
19) นาย Huh Sung-kwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นาวีและประมง
20) นาย Park Bong-heum รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและงบประมาณ
2.4 ฝ่ายตุลาการ
ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้ง
ประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา
การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ยกเว้นใน
กรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาต
ิหรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ของประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน
คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับนอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
โดยให้ความ คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจ
ในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อ
รัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอ
จากศาลชั้นต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณา
จากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว)
อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมาย
ของการดำเนินกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ
ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา
รวมทั้งมีอำนาจในการสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร
หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
2.5 พรรคการเมือง
เมื่อ ธ.ค. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ
1) พรรค Democratic Justice Party-DJP
2) พรรค Reunification Democratic Party-RDP
3) พรรค New Democratic Republican Party-NDRP
และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP
ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ
1) พรรค Grand National Party -GNP
(ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People)
2) พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ
3) พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค
โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง
เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล
ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP)
และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP)
และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD)
ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง
เศรษฐกิจการค้า
การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออก
มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,204.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.91 ต่อปี ในปี 2545 มีมูลค่าส่งออก 1,398.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นร้อยละ 2.03 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 13.31
สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 538.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2545ร้อยละ 25.08
โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 13 ของไทย สินค้าออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า
ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
น้ำมันดิบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ
ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ
2,137.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.62 ต่อปี ในปี 2545
มีมูลค่านำเข้า 2,509.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 26.5
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เกาหลีใต้ดำเนินไปด้วยดีทั้งในระดับทวิภาคีและ
พหุภาคี โดยในระดับทวิภาคีนั้น
ไทยและเกาหลีใต้มีความร่วมมือด้านความมั่นคงและการทหารก่อนการ
สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการทูตระดับอัครราชทูตเมื่อ 1 ตุลาคม 2501
ซึ่งต่อมาได้ยกขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อ 1 ต.ค. 2503
ในระดับพหุภาคีนั้น แม้ไทยและเกาหลีใต้จะเป็นสมาชิกในองค์การหรือในเวที
การเจรจาระหว่างประเทศต่างๆ เช่น APEC, ASEM, WTO ฯลฯ เช่นเดียวกัน แต่ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเกิดขึ้นในกรอบอาเซียนซึ่งเกาหลีใต้ได้เป็นคู่เจรจามาตั้งแต่ก.ค.2538
โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดตั้ง ASEAN+3 ในปี 2540 เพื่อเป็นเวทีหารือ
ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
1.1 ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้เริ่มขึ้นจากความร่วมมือด้านการทหารและ
ความมั่นคง โดยในช่วงสงครามเกาหลีระหว่างปี 2493-2496 นั้น
ไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกองกำลังสหประชาชาต
ิซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ และพันธมิตรฝ่ายตะวันตก
เพื่อป้องกันเกาหลีใต้จากการรุกรานของเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต
เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงอันเกิดจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534
ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคงระหว่างประเทศทั้งสองยังคงดำรงอยู่
หากเกาหลีใต้เป็นฝ่ายกระตือรือร้นในการริเริ่มกิจกรรมความร่วมมือมากกว่า
ฝ่ายไทยเนื่องจากเกาหลีใต้ยังคงรู้สึกไม่มั่นคงต่อสถานการณ์ต่างๆ ในคาบสมุทรเกาหลี
รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเกาหลีใต้ได้พยายามแสวงหาความสนับสนุนจากไทย
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและสัญลักษณ์ในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี
ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าเกาหลีใต้ยังต้องการการสนับสนุนในด้านความมั่นคง
แม้ความสนับสนุนดังกล่าวจะมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าในเชิงสารัตถะ
ได้แก่กรณีทหารประจำกองบัญชาการร่วมสหประชาชาติ
(UNC: United Nations Command) ณ กรุงโซล ซึ่งมีทหารไทยประจำ
เพื่อทำหน้าที่กองทหารเกียรติยศ ฝึกซ้อมรบ เชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา
ตลอดจนร่วมพิธีเกี่ยวกับสงครามเกาหลี
นอกเหนือจากความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ไทยกับเกาหลีใต้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองประจำปี
รวมทั้งมีความร่วมมือในการฝึกอบรมทางทหาร นอกจากนี้ ไทยและเกาหลีใต้ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ
ว่าด้วยการส่งกองกำลังบำรุงเมื่อ 4 พ.ย. 2534 ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือฝึก
ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข่าวสารและข้อมูลการส่งกองกำลังบำรุง
1.2 การแลกเปลี่ยนการเยือน
ไทยและเกาหลีใต้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ ค่อนข้างต่อเนื่อง โดยในระดับราชวงศ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จฯ
เยือนเกาหลีใต้เมื่อ มี.ค.2534 พ.ค.2535 และ เม.ย. 2536 ตามลำดับ
ในระดับหัวหน้ารัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เดินทางเยือนเกาหลีใต้
ระหว่าง 8-10 พ.ย. 2534 จากนั้น นาย
ได้เดินทางไปเยือนเกาหลีใต้สองครั้ง (23-26 มิ.ย. 2537 และ 25-27 เม.ย.2542)
และเข้าร่วมการประชุม ASEM ครั้งที่ 3 (20-21 ต.ค. 2543) ที่เกาหลีใต้
การเยือนเกาหลีใต้ของผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย ในช่วงตั้งแต่ปี 2535 ที่สำคัญ
ได้แก่ นายอุทัย พิมพ์ใจชนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุม
Joint Trade Commission ครั้งที่ 10 (10-11 ส.ค. 2535)
นาย
นาย
นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ค. 2540)
นายแพทย์
นายกสมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ(ระหว่าง 9-11 ก.ค. 2541)
นาย
นาย
และต่อต้านการก่อการร้าย (20 23 ม.ค. 2545)
นาย
Joint Trade Commission ครั้งที่ 12 (31 ม.ค.1 ก.พ. 2545)
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สังเกตการณ์การการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน
(11-13 ต.ค.2545) นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีสังเกตการณ์การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน (9-13 ต.ค. 2545)
นาย
The 2nd Ministerial Conference of the Community of Democracies ณ กรุงโซล
(ระหว่าง 10-11 พ.ย. 2545)
สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ที่ได้เดินทางมาเยือนไทย ได้แก่ ประธานาธิบดี
Chun Doo-hwan (3-5 ก.ค. 2524) นาย Lee Sang-ock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
(ก.ค. 2534) นาย Han Sung-joo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนไทยในฐานะแขกกต.
(24-28 ก.ค. 2537) และเข้าร่วมการประชุมรมว.กต.อาเซียน (17-19 พ.ค. 2537)
นาย Lee Young-ho รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ค. 2539)
นาย Han Duck-soo ประชุม Joint Trade Commission (JTC) ครั้งที่ 11 (2 พ.ย. 2542)
และเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 (12-19 ก.พ. 2543)
นาย Chun Doo-hwan อดีตประธานาธิบดีเยือนไทยเป็นการส่วนตัว (6-8 มี.ค. 2543)
นาย Lee Joung-binn รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าประชุมPMC/ARF (25-30 ก.ค. 2543)
นาย Choi Sung-hong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเพื่อเข้าร่วมประชุม
Asia Cooperation Dialogue (ACD) ครั้งที่ 1 (18-19 มิ.ย. 2545)
นาย Yoon Young-kwanรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเข้าร่วมประชุม
คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 1 และการประชุม ACD ครั้งที่ 2 (21-22 มิ.ย. 2546)
1.3 ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ดำเนินไปค่อนข้าง
ราบรื่นโดยมีกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ได้แก่
1) ความตกลงทางการค้าซึ่งลงนามเมื่อปี 2504
2) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อปี 2532
แม้จะมีความตกลงต่างๆ เป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ไทยและเกาหลีใต้
แต่ก็มีปัญหาด้านเศรษฐกิจต่อกันอยู่บ้าง ที่สำคัญ ได้แก่
ปัญหาการกีดกันสินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรของเกาหลีใต้
เกาหลีใต้ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศ
อุตสาหกรรมใหม่ในตอนกลางทศวรรษ 1980 และก้าวไปสู่การเป็น
ประเทศอุตสาหกรรมเมื่อได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) ในปีพ.ศ. 2539
ซึ่งต่อมาเกาหลีใต้ได้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2540 จนต้องกู้ยืมเงินจาก IMF
แต่ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและคืนเงินกู้ทั้งหมดให้แก่ IMF งวดสุดท้ายเมื่อเดือนก.ย. 2544
ในขณะเดียวกัน องค์การการค้าโลก (WTO) ได้กล่าวว่า ปัจจุบัน
เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลกโดยในปี 2544
(เคยอยู่ในลำดับที่ 11 เมื่อปี 2539)และจะไต่ลำดับสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
ทางด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้นั้นยังคงเน้นอุตสาหกรรมหนัก
และเทคโนโลยีระดับสูงที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่(Chaebol) ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ
ทำให้สินค้าของเกาหลีใต้ เช่น เรือเดินสมุทร รถยนต์ เครื่องจักร
สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารมีจำหน่ายในท้องตลาดของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
รวมทั้งตลาดในไทย ในทางตรงกันข้าม โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังคงเป็นเกษตรกรรม และเป็นสินค้าที่ส่งออกไปขายในตลาดเกาหลีใต้แม้ว่าจะมีสินค้า
บางชนิดที่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น แผงวงจรไฟฟ้า
แต่ก็เป็นสินค้าที่ผลิต โดยกลุ่มอุตสาหกรรมต่างชาติ ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้เรื่อยมานับเป็นสิบปี ซึ่งฝ่ายไทยได้พยายามเรียกร้องให้เกาหลีใต้เพิ่มปริมาณและมูลค่าในการซื้อสินค้าไทยให้มากขึ้น แต่เกาหลีใต้ก็ได้ยกตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทยราวปีละประมาณ 5-600,000 คน
ขึ้นเป็นประเด็นต่อรองว่า เกาหลีใต้ได้ใช้จ่ายเงินไปกับการท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลให้กับไทยเป็นการทดแทนแล้ว
ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเกาหลีใต้เพียงปีละประมาณ 6-90,000 คน
1.3.1 การค้า
ก่อนปี 2532 การค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่าไม่มากนัก แต่ได้ขยายตัวขึ้นอย่างมาก
เกาหลีใต้เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 8 ของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลมาโดยตลอด
การขาดดุลที่ไทยมีกับเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา
ไทยและเกาหลีใต้ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อความร่วมมือทางการค้า
(JTC: Joint Trade Commission)ครั้งแรกเมื่อก.ค.พ.ศ.2518ที่กรุงโซลJTC
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้า
และกำหนดเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าระหว่างกันเป็นปี ๆ
ในระดับรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2518 ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม
ทางการค้า(Joint Trade Commissionหรือ JTC) เพื่อเป็นกลไกทางการค้า
ที่เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันในการแสวงหาลู่ทางขยายการค้า
รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างกัน โดยได้มีการประชุมมาแล้ว 12 ครั้ง
ทั้งนี้การประชุม JTC ครั้งที่ 12 (ล่าสุด) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.2545 ณ กรุงโซล
ส่วนในภาคเอกชน ทั้งสองประเทศได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-เกาหลี
( Korea-Thai Economic Cooperation Committee)
ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้
เมื่อ 20 พฤษภาคม 2518 โดยได้มีการประชุมมาแล้ว 9 ครั้ง
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญ คือในขณะที่ไทยมีนโยบายการค้าแบบ
เสรี เกาหลีใต้ยังใช้มาตรการต่างๆ ในการปกป้องตลาด แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO
และการเข้าเป็นสมาชิกของ OECD จะทำให้เกาหลีใต้ต้องเปิดตลาดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบันเกาหลีใต้ยังคงปกป้องตลาดภายในประเทศของตนด้วยมาตรการภาษีและมิใช่ภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยต่อสินค้าเกษตรกรรมของประเทศอื่นรวมทั้งของไทย
มูลค่าการค้ารวมระหว่างกันในปี 2545 มีมูลค่ารวม 3,907.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้ในอัตราสูงตลอดมากว่า 10 ปี
โดยในช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545)
ไทยขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้เฉลี่ยปีละ 932.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากเกาหลีใต้เป็นส่วนใหญ่
ในขณะที่สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปเกาหลีใต้เป็นสินค้าเกษตร นอกจากนี้ ไทยยังประสบกับมาตรการกีดกันทางการค้าของเกาหลีใต้ทั้งในด้านภาษีและมิใช่ภาษี
การค้ารวม ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การค้ารวมมีมูลค่า
เฉลี่ยปีละ 3,342.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.46 ต่อปี
ในปี 2545 มีมูลค่าการค้ารวม 3,907.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย) เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 16.76
สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การค้ารวมมีมูลค่า 1,380.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 7.94
(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.87 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย)
การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออกมีมูลค่า
เฉลี่ยปีละ 1,204.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.91 ต่อปี
ในปี 2545 มีมูลค่าส่งออก 1,398.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.03
หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 13.31
สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 538.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2545ร้อยละ 25.08
โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 13 ของไทย สินค้าออกของไทยที่สำคัญ
ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ
อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอดเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ
2,137.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.62 ต่อปี ในปี 2545
มีมูลค่านำเข้า 2,509.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 26.5
สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การนำเข้ามีมูลค่า 842.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 0.75 โดยเกาหลีใต้เป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 7 ของไทย
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมหลอดภาพโทรทัศน์ เหล็กและเหล็กกล้า
แผงวงจรไฟฟ้า ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์โลหะ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าต่อเกาหลีใต้มาโดยตลอด ในระยะ 4 ปี
ที่ผ่านมา (2542-2545) ไทยขาดดุลเฉลี่ยปีละ 932.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545
ไทยขาดดุลมูลค่า 1,111.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 26.5
สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 304.2 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ ลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 27.3
1.3.2 การลงทุน
ปัจจุบัน การลงทุนจากเกาหลีใต้ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น จากข้อมูลการลงทุน
ของเกาหลีใต้ในปี 2544 มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากเกือบเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2543 อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินลงทุนของเกาหลีใต้ในไทยมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้สนใจมาลงทุน
ยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนน้อย (ต่ำกว่า 50 ล้านบาท)
โดยประเภทกิจการที่เกาหลีใต้สนใจมากที่สุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ปัจจุบัน เกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในไทยเป็นอันดับที่ 7 โดยปี 2545 มีทั้งสิ้น 37 โครงการ
(โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 33 โครงการ)
เป็นเงินมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 2956.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2544 จำนวน 11 โครงการ สาขาอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีเม็ดเงินลงทุนและจำนวนโครงการ
ที่ได้รับอนุมัติมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นสาขาผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร
และอุปกรณ์ขนส่ง สาขาเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก
1.3.3 แรงงานไทย
ปัจจุบัน คนงานต่างชาติ รวมทั้งคนงานไทย สามารถเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
โดยถูกต้องตามกฎหมายของเกาหลีใต้ได้ 2 วิธี คือ เข้าไปทำงานในรูปของการฝึกงาน (training)
ผ่านการจัดสรรโควต้าของสมาพันธ์ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กของเกาหลี (KFSB) เป็นเวลา 2 ปี และเข้าไปทำงานโดยผ่านการนำเข้าของสมาคมก่อสร้างเกาหลีโดยได้รับอนุญาตให้ทำงาน 1 ปี
และต่ออายุได้ 1 ปี โดยที่การเข้าไปทำงานในรูปของการฝึกอบรม หรือผ่านสมาคมก่อสร้าง
คนงานจะได้ค่าจ้างต่ำกว่าราคาค่าจ้างในตลาดแรงงานทั่วไปร้อยละ 25-50
คนงานต่างชาติที่เข้าไปทำงานโดยถูกกฎหมายร้อยละ 85
จึงพากันผละหนีการทำงานในที่ทำงานเดิมไปหาที่ทำงานใหม่ จากข้อมูลที่ได้รับ
คนงานประเภทฝึกงานของไทยได้ค่าจ้างเดือนละ 474,600 วอน (ประมาณ 20,000 บาท)
แต่ถ้าไปทำงานในโรงงานโดยทำงานประเภทเดียวกันจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 760,000 วอน
(ประมาณ 30,000 บาท)
ทางด้านตลาดแรงงานไทยในเกาหลีใต้ มีรายงานข่าวจากทางการเกาหลีใต้
ว่า นโยบายด้านแรงงานของเกาหลีใต้กำลังเปลี่ยนแปลงไปโดยทางการเกาหลีใต้ กำลังพิจารณาเปิดตลาดแรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทแก่แรงงานต่างชาติบางส่วน
โดยได้เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมิ.ย.2545 นโยบายการเปิดตลาดแรงงานบางส่วนได้รับการสนับสนุน
จาก กระทรวงแรงงาน และทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ขณะที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
และ KFSB (สมาพันธ์ธุรกิจขนาดกลางและย่อมของเกาหลีใต้)
ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมที่ใช้อยู่มากนัก
โดยเฉพาะด่านตรวจคนเข้าเมืองของเกาหลีใต้เกรงจะเกิดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาสังคม และปัญหาความไม่พอใจของแรงงานในเกาหลีใต้
ที่อาจมีตามมาจากผลของการเปิดตลาดแรงงานให้ต่างชาติ จากการตรวจสอบ
กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ทราบว่ารายงานข่าวดังกล่าวเป็นเพียงแค่แนวคิด แต่มีความเป็นไปได้ที่ทางการเกาหลีใต้จะแก้ไขระบบเข้าไปทำงานผ่านการฝึกงาน
โดยให้คนงานสามารถทำงานในเกาหลีใต้ได้ต่อ 2 ปี หลังจากผ่านการฝึกงานมาแล้ว 1 ปี
ซึ่งล่าสุด ยังไม่พบว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องระยะเวลาการฝึกงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด
(ฝึกงาน 2 ปี ทำงานต่อ 1 ปี) และรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศรับผู้ฝึกงานต่างชาติอีกจำนวน 20,000 คน
โดยได้เริ่มรับในเดือน พ.ย. 2545ผู้ฝึกงานเหล่านี้จะทำงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง
เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง
เนื่องจากคนไทยสามารถเดินทางเข้าเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องมีวีซ่าเพราะมี
ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศทั้งสอง
ทำให้แรงงานไทยอาศัยเป็นช่องทางเพื่อหลบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทางการเกาหลีใต้จึงเพิ่มความเข้มงวดในการอนุญาตให้คนไทยเข้าประเทศ
ตามรายงานของกองตรวจคนเข้าเมือง ของเกาหลีใต้อ้างใน Migration News ปี 2544
พบว่าในปี 2543 ชาวต่างชาติจำนวนประมาณ 1,500 คน ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
ปฎิเสธการเข้าเมืองเนื่องจากเกรงว่าจะลักลอบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
ซึ่งเพิ่มจากจำนวน 1,000 คนในปี 2542 ตามรายงานดังกล่าว
ยังแจ้งด้วยว่าคนไทยเป็นคนต่างชาติที่ถูกปฎิเสธการเข้าเมืองมากที่สุด คือ
ประมาณครึ่งหนึ่งของคนต่างชาติทั้งหมด ตามมาด้วยคนชาติปากีสถานและบังคลาเทศ
ในปี 2544 คนไทยถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองถึง 5,000 คน
นอกจากนี้ ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2545 ที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น ได้มีนายหน้าและคนงานไทยพยายามลักลอบเข้าเกาหลีใต้โดยผ่านการซื้อตั๋วฟุตบอล
โดยอ้างว่าเป็นแฟนกีฬาเพื่อลักลอบหลบหนีเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่หลายคนถูกจับได้ที่สนามบินและส่งกลับ การปฏิเสธมิให้คนไทยเข้าเมืองของทางการเกาหลีใต้มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทางการไทยได้ทราบปัญหาเรื่องนักท่องเที่ยวไทยถูกปฏิเสธการเข้าเมืองเกาหลีใต้ดังกล่าวและ
พยายามสกัดกั้นมิให้คนงานไทยลักลอบเดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อหางานทำ
โดยมีการตรวจตราที่ด่านแรงงานที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่นายหน้าและ
คนงานก็เปลี่ยนเส้นทางบินโดยเดินทางเข้าทางหาดใหญ่-มาเลเซียเพื่อเดินทางจากมาเลเซียไปเกาหลีใต้
1.3.4 การท่องเที่ยว
ประเทศไทยจัดเป็นอันดับที่ 4 ที่ชาวเกาหลีใต้นิยมเดินทางมาท่องเที่ยว
โดยนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ได้เดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
แม้ว่าจะซบเซาลงไปบ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในเกาหลีใต้
ระหว่างปี 2540-2541 แต่กลับฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา
เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อ 11 ก.ย.2544
ก็ไม่กระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทย
โดยแหล่งท่องเที่ยวของไทยที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นิยมได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มาไทยในปี 2545 มีจำนวนประมาณ 700,000 คน
สำหรับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปเกาหลีใต้มีจำนวนประมาณ 50,000 คน
การเดินทางไปเกาหลีใต้ได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นอันดับที่ 9
นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นิยมใช้มัคคุเทศก์ที่มีความรู้ภาษาเกาหลี
ซึ่งไทยมีจำนวนมัคคุเทศก์ดังกล่าวประมาณ 500 คน อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มาไทยเป็นจำนวนมากและปัจจุบัน
รัฐบาลไทยกำลังแสวงหาหนทางในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้
โดยการพิจารณาให้ใช้ล่ามชาวเกาหลีใต้แปลควบคู่กับมัคคุเทศก์ชาวไทย
ความคิดเห็น