คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : ปฏิวัติวงการวรรณกรรมไทย: เครื่องหมายแทนอารมณ์ (emoticon) และภาษาผิดแผกพจนานุกรม (
ปฏิวัติวงการวรรณกรรมไทย: เครื่องหมายแทนอารมณ์ (emoticon) และภาษาผิดแผกพจนานุกรม (วิบัติ)?
สวัสดีค่ะชาวเด็กดีทุกท่าน
สิ่งหนึ่งที่ตอนนี้เรามองมันเหมือนจะเป็นปัญหา คือ การใช้อีโม และ ภาษาวิบัติกันเป็นกิจวัตรของนักเขียนหลายๆท่าน แม้ว่าพวกเราจะมีการต่อต้านกันมากแล้ว แต่ความนิยมนี้ก็ดูเหมือนจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
เอ...มันมาจากไหน?
มาจากไหนเจมิเนียก็ยังคิดไม่ออกเหมือนกัน แต่สิ่งที่เจมิเนียคิดอยู่ก็คือ ประวัติวรรณคดีไทย (เล่ม 1 สีฟ้าๆ สำหรับม.ปลาย บรื๋อ)
เริ่มแรก คนยุคก่อนใข้การแต่งร่าย โคลง ฉันท์ กาพย์ ในการแต่งเรื่องราวขึ้นมาสักเรื่อง การใช้ภาษาสูงๆ คำสัมผัสสวยๆ คือสิ่งแสดงถึงภูมิรู้ของผู้แต่ง ส่วนผู้แต่งมักจะเป็นคนในราชสำนัก (เกือบจะเท่านั้น) ไปจนถึงพระราชวงศ์ โดยเฉพาะ พระมหากษัตริย์
ตัวอย่างกวีในสมัยอยุธยาที่เราทราบกันดี ก็เช่น สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระนารายณ์มหาชาติ พระโหราธิบดี พระมหาราชครู ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถ (ส่วนใหญ่ก็กวีในสมัยยุคทองแห่งวรรณคดีทั้งนั้น) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้ากุ้ง
นอกจากนี้ยังมีกวีไม่ปรากฏนามอีกมากมาย
เมื่อมาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สิ่งที่เรานึกถึงก็...ใช่เลย สุนทรภู่และนิยายรักลือเลื่อง เรื่อง พระอภัยมณีนั่นเอง (จริงๆแล้วก็มีกวีหลายๆท่านในยุคนี้ เช่น รัชกาลที่สอง ก็ใช่) รูปแบบการแต่งแบบกลอนสุภาพก็เริ่มเป็นที่นิยม
เมื่อเทคโนโลยีจากตะวันตก โดยเฉพาะยุโรปเข้ามาก็นำรูปแบบการประพันธ์แบบร้อยแก้วเข้ามาให้เป็นที่รู้จัก เช่น บทภาพยนตร์ บทละครโทรทัศน์ สารคดี และ การเขียนนวนิยายแบบร้อยแก้ว
รูปแบบการเขียนนิยายในแบบของร้อยแก้วก็มีปรากฏให้เราเห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้
พูดถึงรูปแบบการเขียนนิยายนะคะ สิ่งที่เราสังเกตเห็นได้จากนักเขียนที่เป็นที่นิยมให้ระดับรุ่นผู้ปกครองเราก็คือ สไตล์ภาษาเด็ดขาด บรรยายจนเห็นภาพ เนื้อเรื่อง...ถ้าเป็นแบบโรมานซ์ก็จะเป็นแบบว่า นางเอกผู้แสนดีและมักจะมีกิริยาวาจาเรียบร้อยเสมอจนถูกตัวอิจฉาผู้วี้ดว้ายกลั่นแกล้งเสมอ พระเอกแสนสุภาพบุรุษ เช่น บ้านทรายทอง เป็นต้น
แล้วแนวโน้มวรรณกรรมไทยในอนาคตน่าจะเป็นแบบไหน?
จากการสังเกต หลายๆท่านอาจกล่าวได้ว่า ความยากในการในรูปแบบการประพันธ์นั้นลดลง
ไม่ได้หมายความว่า งานเขียนสมัยนี้เขียนไปง่ายๆก็กลายเป็นเล่มแล้ว ไม่ใช่ค่ะ หมายความว่า ลองเปรียบเทียบการแต่งคำหลวง คำฉันท์ ลิลิต กลอนสุภาพ กับร้อยแก้วธรรมดา แล้วก็ร้อยแก้วบวกกับตัวอีโมและวิบัติดู
ค่ะ เจมิเนียทายว่า ต่อไปการใช้เครื่องหมายแทนอารมณ์ และ ภาษาที่ผิดแผกไปจากพจนานุกรมเราคงจะครองตลาดวัยรุ่น!
จริงอยู่ที่ตอนนี้เราพยายามต่อต้านภาษาวิบัติ แต่...เมื่อนึกถึงภาษาอังกฤษแบบ British English ที่คนมะกันสมัยก่อนที่เขียนผิดจะถูกว่าๆไม่มีการศึกษา แต่ปัจจุบันกลับพัฒนาเป็น American English กลายเป็นวิธีการเขียนที่ไม่ใช่ผิด แค่แตกต่าง...
ก็เช่น centre (BrE) กับ center (AmE) ไงคะ...(เอ ใช้สัญลักษณ์ถูกป่าวหว่า?)
จากการแต่งร้อยกรองแบบใช้คำสูงๆ มาถึงกลอนสุภาพ มาถึงร้อยแก้วแบบภาษาสวย กลายเป็นการเขียนแบบปัจจุบัน...การเขียนแบบกระชับ อ่านง่าย ภาษาถูกใจวัยรุ่น และมีการประยุกต์สัญลักษณ์ธรรมดาให้กลายเป็นภาพคล้ายใบหน้าแสดงอารมณ์ ดูจะเป็นไปได้สูง
อิทธิพลจากอินเดียและประเทศทางตะวันออกข้างเคียงทำให้เกิดภาษาไทย Industrial Revolution ของยุโรปสร้างให้เกิดงานเขียนประเภทร้อยแก้ว จนปัจจุบันสุดๆ อิทธิพลละครนิยายเกาหลีญี่ปุ่นสร้างให้นักเขียนวัยรุ่นไทยฝึกใช้เครื่องแทนอารมณ์ นิสัยสบายๆง่ายๆบวกกับความเชื่อที่คิดว่ามันน่ารักเพาะบ่มให้วัยรุ่นหลายๆคนใช้ภาษาที่ผิดแผกไปจากพจนานุกรม
เมื่อเรามองในมุมนี้ก็ทำให้ได้คิดจริงๆแหละ ว่า อะไรๆมันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามันเปลี่ยนไปแล้วอย่างแก้ไขไม่ได้ นอกจากเราจะพยายามต่อต้าน (หรือไม่ต่อต้าน แต่ไม่ทำตาม) แล้ว เราก็คงต้องทำใจยอมรับกับสิ่งนั้น
...เพราะไม่แน่...อีกไม่กี่ปีข้างหน้า คนที่ประดิษฐ์คำจนผู้ใหญ่อ่านไม่ออก คนที่ประดิษฐ์อีโมได้เป็นล้าน อาจจะได้รับการยกย่องให้เป็น “กวีเทพ” ไปเลยก็ได้ ใครจะไปรู้...
ปล. อันนี้ก็เป็นความคิดระดับเพียงม.ปลายของเจมิเนียนะคะ พี่ๆที่มีคำตอบและความเห็นสำหรับงานนี้ก็ช่วยชี้แจง อธิบายไว้ให้น้องๆได้ศึกษาด้วย ขอบคุณมากค่ะ
ปลล.อยากจะบอกว่า เจมิเนียก็คนหนึ่งแหละที่ไม่ชอบใจอีโมกับภาษาวิบัติน่ะ...
ความคิดเห็น