คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : จากได>>ด่าลาสต์แฟนตาซี โดยเด็กโง่ที่ใช้ 2 ปีในการเขียน 2 ตอน
เราอยากจะบอกว่าเราเกลียดลาสต์แฟนตาซี เกลียดกู๊ดมั่วนิ่ม เกลียด เกลียด เกลียด
ทำไมน่ะหรือ?
1. (บอกไว้ก่อนก็แล้วกันว่าใช้เล่ม 1-3 เป็นเกณฑ์ เล่มอื่นๆอ่านไม่ทันก็มีอันต้องไปจากไทยเสียก่อน) ภาษาไม่ดีพอ ไม่สามารถทำให้ผู้อ่านที่อ่านเพื่อการศึกษา (เช่น เพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ เพื่อรสวรรณกรรม หรือผู้อ่านที่มีประสบการณ์ค่อนข้างมาก ฯลฯ) มีอารมณ์คล้อยตามได้ คนอ่านทั้งหลายดูเหมือนจะอ่านเอามันส์อย่างเดียว คนเขียนเองก็แค่เขียนเอามันส์
2. สิ่งที่สะท้อนให้ผู้อ่านเห็นคืออะไร? ขอโทษเถอะคุณพี่แสงจันทร์ พี่อาจจะพยายามสื่อแนวคิดบางอย่างที่อาจทำให้งานของพี่มีคุณค่าขึ้นมา แต่รู้สึกว่าหนูจะไม่เห็นน่ะ เพราะอะไร กลับไปอ่านข้อแรก
สิ่งที่สื่อผ่านงานเขียนน่ะนะทุกคน ไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องมีประโยชน์ เช่น สูตรฟิสิกส์ หรือพวกความรู้หนักอึ้งอย่างนิยายวิทยาศาสตร์ หรือพวกไซไฟ แต่อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนสังคมก็ได้ ว่าง่ายๆ อะไรก็ได้ที่ทิ้งแง่คิดเอาไว้ และไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแนวคิดในด้านดีเสมอไป... (แต่ถ้าเป็นแนวคิดที่แรงเกินไป เช่น ปลุกระดมให้คนก่อประท้วงอะนะ เราว่า นอกจากอาจจะไม่ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือแล้ว ถ้าคุณฝืนตีพิมพ์ออกมา หนังสืออาจจะถูกส่งเก็บ คุณอาจจะถูก “เก็บ” จากพวกไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงก็ได้ - -“)
อีกเรื่อง เราได้ข้อคิดข้อหนึ่งจากการอ่านนิยายของนักเขียนรุ่นใหญ่ท่านหนึ่งในเด็กดี เลยอยากจะฝากไว้ว่า
...หากเราเขียนนิยายในเรื่องที่เรามีความรู้อยู่ เช่น อียิปต์โบราณ นึกดูเถิดว่า เราจะเขียนนิยายจากความรู้ของเรา หรือ เขียนนิยายเพื่อแสดงความเก่งของเรา?...
...นิยายที่อ้างอิงfact ที่ดีควรเป็นนิยายที่แฝงความรู้ (เพื่อให้ผู้อ่านไปศึกษาต่อ) ผู้เขียนเขียนด้วยความรู้ ไม่ใช่นิยายที่เขียนขึ้นเพื่อประกาศความเก่งของตัวผู้เขียน...
จะใช้ประโยคไหนก็ดูจะไม่น่าเป็นที่เข้าใจสักเท่าไหร่ มิหนำซ้ำ เราไม่เก่งถึงขนาดจะวางแนวทางการเขียนให้ใครต่อใครได้ แค่อยากจะบอกว่า นี่เธอ ถ้าจะแต่งนิยายจากเรื่องที่ตัวเองรู้ดีอะนะ อย่าไปแต่งแบบอวดรู้ แบบว่า ท่องๆๆๆๆๆ นามกษัตริย์อียิปต์ แต่ให้ใช้ความรู้ที่มีอยู่น่ะเป็นพื้นฐานของพล็อต แล้วเวลาบรรยายก็สมมติว่าผู้อ่านรู้แล้ว หรือถ้ากลัวผู้อ่านไม่รู้ก็ขอให้ใช้ฝีมือของเธอเองเล่าความรู้ส่วนนั้นให้ผู้อ่านฟังบ้าง
เขียนนิยาย ขอให้เขียนด้วยความรู้ ไม่ใช่เขียนอย่างอวดรู้
จุดประสงค์ของการแต่งนิยาย คือ แสดงให้ผู้อ่านได้แนวคิด และอารมณ์ตามลักษณะของนิยายนั้นๆ ไม่ใช่สถานที่แสดงความสามารถว่า นักเขียนมีความรู้หรือจินตนาการมากน้อยเพียงใด (ยกแนวคิดเก่าตอนเกลียดไวท์โรดมากๆมาเขียน)
โว้ย จะว่ายังไงก็ไม่ make sense...
เอาเป็นว่า ข้อสองนี้ ผิดถูกยังไงก็ช่าง สิ่งที่ถูกคือ มันเป็นเพียงความคิดเห็น สิ่งที่เดาได้เลยก็คือ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ต้องมีแต่คนแปลความผิดแน่ๆ
เอางี้ ยกตัวอย่าง หนังสือเรื่อง I, Robot ของ Isaac Asimov เป็นหนังสือที่พลอยอ่านแล้วรู้สึกว่า เขาใช้ความรู้ของเขาเป็นพื้นฐานในการเขียน จริงๆแล้วมันไม่ยากเกินไปที่จะเข้าใจ แต่ต้องอ่านแบบไม่ให้คำศัพท์คลาดไปแม้แต่คำเดียว (ปล. ภาคแปลเป็นภาษาไทยอะ)
ส่วนนิยายเรื่องหนึ่งในเด็กดี (ขอไม่กล่าวถึง ใจไม่เด็ดพอ ตาขาว ขี้ขลาด กลัวโดนชาวเด็กดีแบน และ ยังไม่อยากตาย ยังไม่ได้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติเพียงพอ) ก็ไม่สนุกเท่าไหร่ พล็อตไม่เด่น ภาษาไม่เชิงว่าสวย อาศัยว่ามีความรู้ในด้านนั้นนั่นแหละ คุณเธอเล่นท่องรายนามโอรสทั้งราชวงศ์ออกมา - -“ อยากจะถามว่า มีใครบ้างคะที่ไม่อ่านข้ามชื่อเหล่านั้น?
อ้อ อย่าลืมนะ เราอ้างอิงถึงนักเขียนใหญ่ท่านหนึ่งล่ะ ใครอยากรู้เราจะตอบให้ถ้าเราเจอกันในเอ็มนะ
3. สนพ.อรุณสวัสดิ์ ทำไมทำหน้าปกหนังสือไม่ได้เรื่องเลยล่ะ ดิฉันหมดศรัทธากับสนพ.คุณตั้งแต่เห็นปกเล่ม 3 ล่ะนะ รวมทั้งเนื้อหาของลาสต์ด้วย
4. หนังสือชุดนี้ทำให้อุดมคติของเราต่ำลง อุดมการณ์ของเราคือ แต่งนิยายที่ทิ้งแนวคิดต่างๆไว้ให้ผู้อ่าน หรือถึงขั้นปลุกระดมความคิด เบนความคิดแย่ๆของคนไทยให้ยกระดับให้สูงขึ้นให้ได้ แต่เมื่ออ่านนิยายชุดนี้แล้วมีความรู้สึกว่า เออ กูไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องแต่งนิยายที่มีพล็อตแหวกแนว ภาษาดี มีคุณค่าทางวรรณกรรม ได้ประโยชน์ ได้ข้อคิด แค่กูแต่งไปงั้นๆ แต่แค่ “มันส์” กูก็ดังได้ เงินก็ได้...
สรุปแล้วก็คือ ลาสต์แฟนตาซีเป็นหนังสือที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อให้คนที่อ่านเอามันแท้ๆ อีกไม่นานคนก็จะลืม...ถ้าเขาไม่ปรับปรุงการเขียน หรือ นายกไม่ออกมาชื่นชม (หรือด่า) นะ
ความคิดเห็น