ราพณาสูร DayBreak of Judia
โมตนายทหารกล้าแห่งกรุงศรี พบว่าตนเองต้องมาวนเวียนอยู่ในวันเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่สิ้นสุด
ผู้เข้าชมรวม
2,705
ผู้เข้าชมเดือนนี้
14
ผู้เข้าชมรวม
Dayloop Scifi ประวัติศาสตร์ สงคราม อิงประวัติศาสตร อยุธยา พีเรียด กองทัพ ต่อสู้ ผจญภัย การทหาร ดราม่า ไซไฟ แอ็คชั่น action
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
คำโปรย
โมตนายทหารกล้าแห่งกรุงศรี พบว่าตนเองต้องมาวนเวียนอยู่ในวันเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่สิ้นสุด ฟันเฟืองแห่งโชคชะตาถูกผลักดันให้ต้องขับเคลื่อน ไม่ว่าดีหรือร้าย บัดนี้อนาคตของกรุงศรีอยุธยาและสยามประเทศได้ตั้งอยู่บนสองบ่าของนายทหารหนุ่มผู้นี้แล้ว
โหมโรง
เมื่อพระเจ้ามังระขึ้นครองราชย์ ก็มีพระบรมราชโองการให้ยกทัพเข้ามาตีอยุธยาให้จงได้ โดยมีการยกทัพมาสองทาง ทัพแรกยกบุกเข้ามาทางเหนือเริ่มตีจากเชียงใหม่เรื่อยมานำโดยรองแม่ทัพเนเมียวสีหบดี อีกทัพบุกมาจากทางทิศใต้เริ่มตีจากชุมพร เรื่อยมาเช่นกันนำโดยแม่ทัพใหญ่มังมหานรทา โดยทั้งสองทัพจะเข้ามาบรรจบกันที่พระนครศรีอยุธยา
ครั้นเมื่อทั้งสองทัพเข้ามาล้อมพระนคร ก็พยายามจะตีเข้าอยุธยาให้ได้ แต่ทว่าก็ยังตีไม่สำเร็จ อังวะล้อมพระนครนานแรมปีจนกระทั่งมีข่าวว่ามังมหานรทาเสียชีวิตที่วัดสีกุก เนเมียวสีหบดีจึงขึ้นเป็นแม่ทัพผู้บัญชาการสูงสุด แต่ถึงกระนั้นอยุธยาที่ตั้งรับอย่างเข้มแข็งก็ไม่ได้เพลี่ยงพล้ำแต่ประการใด จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านไปนานถึงสิบสี่เดือน พวกอังวะเตรียมตัวพร้อมแล้ว ก็หมายจะบุกยึดอยุธยาให้ได้ โดยจะบุกครั้งใหญ่ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐
และนี่คือเรื่องราวของเหล่าทหารกล้า วีรชนทั้งหลายที่สละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้อง ครอบครัว แผ่นดินและประเทศชาติ
แผนที่ประกอบการอ่านนวนิยาย
ข้อมูลนวนิยาย
นวนิยายราพณาสูร ตอน ไมยราพสะกดทัพ (Daybreak of Judia : Part1 Dusk of Judia) มีทั้งสิ้น ๕๘ ตอน อ่านฟรีตอนที่ ๑ ถึงตอนที่ ๒๒ จากตอนที่ ๒๓ ถึงตอนที่ ๕๘ จะทำการติดเหรียญ ผู้เขียนจะทำการทยอยลงจนจบครบตามตารางที่ได้ให้เอาไว้ครับ
จากผู้แต่ง
นวนิยายเรื่องนี้มีพื้นหลังเป็นวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นหลัก ซึ่งก็คือวันเสียกรุงครั้งที่ ๒ มีหลายเหตุการณ์ได้สมมติขึ้นและมีหลายเหตุการณ์ดัดแปลงแตกต่างไปจากประวัติศาสตร์ที่บันทึกเอาไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ มีบุคคลจริง ๆ ในประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวถึงในนวนิยาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลายตัวละครเป็นตัวละครที่สมมติขึ้น ซึ่งไม่มีอยู่จริง นวนิยายเรื่องนี้จึงไม่สามารถใช้อ้างอิงหรือใช้เป็นบทเรียนประวัติศาสตร์ได้ เพราะมีเนื้อหาหลายส่วนไม่สมเหตุสมผลและบิดเบือนประวัติศาสตร์แตกต่างไปจากความเป็นจริง ทางผู้แต่งหวังเชิดชูการเสียสละของบรรพบุรุษให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษ ผู้แต่งมิได้มีเจตนาจะทำให้บุคคลในประวัติศาสตร์เสื่อมเสียชื่อเสียง ลบหลู่ดูหมิ่นแต่ประการใด
ภาษาในนิยายผู้แต่งต้องการจะให้สารนั้นถึงผู้อ่านแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ฉะนั้นผู้แต่งจึงพยายามจะใช้คำง่าย ๆ ไม่เน้นคำโบราณและราชาศัพท์มากจนเกินไป เพื่อให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหา
ชื่อเรื่องนวนิยายและชื่อภาคแต่ละภาคทั้งหมดผู้แต่ง เจตนานำมาจาก วรรณกรรมรามเกียรติ์ทั้งสิ้น ผู้เขียนตั้งใจนำมาใช้ด้วยความเคารพและชื่นชมอันเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้แต่งขอน้อมรับไว้แต่ผู้เดียว และพร้อมจะนำไปปรับปรุงแก้ไข
คำเตือน
นิยายเรื่องนี้มีเนื้อหารุนแรง มีฉากต่อสู้ที่ฆ่าฟันกันมีฉากสังหาร และฉากสยดสยองนานัปการมากมายที่บรรยายถึงความโหดร้ายของสงคราม มีคำหยาบมากมาย ทั้งหมดก็เพื่อความเหมาะสมในบริบทของพื้นหลังในนวนิยายอันเป็นฉากสงครามและภาษาพื้นบ้านที่ชาวบ้านพูดจากันอย่างตรงไปตรงมา แต่ไม่มีการบรรยายฉากร่วมเพศในนิยายแต่ประการใด ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
อ้างอิง
เอกสารขั้นต้นทางประวัติศาสตร์ที่ผู้แต่งใช้อ้างอิงทั้งหมด
-จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนริทรเทวี
-มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า นายต่อแปล
-จดหมายเหตุคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา บาทหลวงโลเน รวบรวมพิมพ์ นายอรุณ อมาตยกุล แปล
-พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน
-ประชุมพงศาวดารภาค 6 ไทยรบพม่า
-พระราชพงศาวดารพม่า พระนิพนธ์ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
-พระพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน
-พระราชพงศาวดาร ฉบับ พระราชหัตถเลขา
-พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ หมอบรัดเล
-พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม)
-พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา คำให้การขุนหลวงหาวัด
-พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา คำให้การชาวกรุงเก่า
-ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับ ตรุแปง
-คำให้การของแอนโทนี่กาเยตันและฮัจยีเซเยดอาลี
-The Sack of Ayutthaya: A Chronicle RediScovered
Yodayar Naing Mawgun by Letwe Nawrahta: A Contemporary Myanmar Record, Long Lost, of How Ayutthaya Was Conquered
Translated by Soe Thuzar Myint
หนังสือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่ใช้ศึกษาอาศัยการตีความและหนังสือเบ็ดเตล็ด
-หนังสือ shutdown กรุงศรี เขียนโดย ปรมินทร์ เครือทอง
-หนังสือ ไทยรบพม่า เขียนโดย ดร สุเนตร ชุติธรานนท์
-หนังสือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา เขียนโดย ดร สุเนตร ชุติธรานนท์
-หนังสือ สมเด็จพระมหาสุรสิงหนาท ทหารเสือพระเจ้าตาก ฉบับความเก่าของ “พระยาอนุชิต”
-หนังสือ สมเด็จพระมหาสุรสิงหนาท ทหารเสือพระพุทธยอดฟ้าฯ ฉบับความเก่าของ “พระยาอนุชิต”
-หนังสือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เขียนโดย เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล
-หนังสือ ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ เขียนโดย สุเจน กรรพฤทธิ์
-หนังสือ ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด เขียนโดย สุเจน กรรพฤทธิ์
-หนังสือ ดาบเมือง เขียนโดย วิลักษณ์ ศรีป่าซาง
วิทยานิพนธ์
- บทบาทและหน้าที่ของทนายเลือกที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 1893-2453) โดย ปรายฟ้า เรืองโชคเจริญดี
แผนที่
-แผนที่กรุงศรีอยุธยา ฉบับเมืองโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๔ (ภูมิทัศน์ พ.ศ.๑๘๙๓-๒๓๑๐)
-แผนที่พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยาและโดยรอบ ฉบับเพจประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
-แผนที่แสดงตำแหน่งค่ายพม่าทั้ง ๒๗ ค่าย ฉบับเพจประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
-แผนที่ แผนภูมิสถานอยุธยา ฉบับ มติชน
-แผนที่อยุธยาไพโรจนใต้ ตรีบูร
ข้อมูลจากแชแนลยูทูป
channel HOYAPISAK OFFICIAL(FB: Hoyapisak fanspace)
channel Hidden Creator
channel FaithThaiStory
channel History Whisperer
channel จงทำดีครีเอชั่น บทบรรยายโดย อ.อาลี เสือสมิง
channel AYOTHAYA GROUP
channel บอมไชยวัฒณะchannel
channel Rungsimun Media Official
เหตุการณ์จริง
ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง เมื่อครั้งสงครามไทยเวียดนามในปี พ.ค. 2514 ซึ่งผู้แต่งหวังเชิดชูวีรกรรมอันน่ายกย่องของ “อินทนิลวีรบุรุษ”
โดยขออนุญาตอ้างอิงตัวอย่างวีรกรรมดังกล่าวจาก https://youtu.be/7Ukh1lMKoC0
"อินทนิล" วีรบุรุษผู้ขอปืนใหญ่ยิงถล่มฐานตนเองที่ทุ่งไหหิน โดย ศนิโรจน์ ธรรมยศวีรกรรมของ "อินทนิล" ร.ท.ชูเกียรติ สินค้าเจริญ ผู้ขอปืนใหญ่ยิงถล่มฐานตนเองบนภูเทิง ทุ่งไหหิน โดย พล.ต.สัมพันธ์ แจ้งเจนเวทย์ และ ร.ต.เจริญศักดิ์ เฟื่องวงษ์
สัมภาษณ์โดย ศนิโรจน์ ธรรมยศ นักเขียนและนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยวิคตอเรียแห่งนครเวลลิงตัน (Victoria University of Wellington) ประเทศนิวซีแลนด์
วาดปก
Worawut Pongpeera
https://www.facebook.com/oat.prickle
ที่ปรึกษา
นายตติภัทร์ โกมุทานนท์ (Adviser/Reviser)
นางอาลี พิริยะสงวนพงศ์ (Consultant)
นายธวัช แตงไทย (Graphic)
นางชนัญธิดา โกมุทานนท์ (Proofreader)
ประกาศลิขสิทธิ์
นิยายเรื่อง ราพณาสูร
DAYBREAK OF JUDIA
ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้จะเป็นนวนิยายชุดสามภาค อันประกอบไปด้วย
ไมยราพสะกดทัพ Dusk of Judia
ตรีบูรัมแผลงฤทธิ์ Twilight of Judia
ศึกบรรลัยกัลป์ Dawn of Judia
นามปากกา เพียร พิริยะ
ลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง Daybreak of Judia (ราพณาสูร) ขอประกาศว่าลิขสิทธิ์เป็นของเพียร พิริยะ ห้ามมิให้ผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง ต่อเติม แปล ส่งต่อส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในทุกช่องทาง ก่อนได้รับอนุญาต
หากผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญาจากการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ขั้นสูงสุด
เพียร พิริยะ
ช่องทางโซเชียล
Facebook https://www.facebook.com/profile.php?id=100091241258657
Twitter https://twitter.com/pienpiriya1978
Instagram https://www.instagram.com/pienpiriya/
ผลงานอื่นๆ ของ เพียร พิริยะ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ เพียร พิริยะ
ความคิดเห็น