คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : การออกเสียงสระ
การออกเสียงสระ
การให้ความสำคัญในการออกเสียงสระในคำ จะทำให้เกิดความชัดเจนในคำ การทำความรู้จักกับสระ จะทำให้เราสามารถที่จะเลือกวิธีการออกเสียงได้ เพื่อเน้นให้คำนั้นยาว หรือสั้น โดยที่ไม่ผิดความหมายและเกิดความไพเราะ เช่น คำว่า "มา" เป็นคำที่เกิดจากพยัญชนะ ม. ม้า และสระ อา ดังนั้นเมื่อเราต้องการลากเสียงให้ยาว เราจะต้องลากที่สระ "อา" หรือ คำว่า "เดียว" เกิดจากพยัญชนะ ด. เด็ก และสระ อี+อา+อู หากต้องการลากเสียงคำว่าเดียวให้ยาว เราจะสามารถเลือกได้ว่าจะลากอย่างไรให้เกิดความไพเราะ อาจเป็น "ด+อี+อา..........+อู" ก็ได้ หรืออาจเป็น "ด+อี............+อา+อู" หรือ "ด+อี.......+อา....+อู" แต่ไม่ควรเป็น "ด+อี+อา+อู...................." เพราะการที่เราเลือกที่จะลากสระตัวสุดท้ายตัวเดียว โดยไม่ได้ใส่ใจกับสระในคำที่มีถึง 3 ตัว นั่นย่อมหมายถึงการไม่ใส่ใจรายละเอียดของบทเพลง เพราะคำหนึ่งพยางค์ที่มีสระให้เลือกใช้มากกว่า 1 ตัว ย่อมต้องการให้เราใช้สระในคำให้มากที่สุด
การวิเคราะห์การออกเสียงสระดังนี้นอกจากจะได้คำที่ชัดเจนแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เราสามารถ "สร้างภาพ" ในขณะร้องเพลงได้อีกด้วย เพราะคำบางคำเราสามารถยิ้มไปด้วยในขณะร้องได้ เพื่อให้ดูสวยงามและสอดคล้องกับความหมายของบทเพลง
ในขณะที่ขับร้อง เราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าควรจะอ้าปากแค่ไหน เพื่อให้ได้เสียงสระที่ชัดเจนและรูปปากดูสวยงาม ดังนั้นจึงขอแทนค่าการใช้ริมฝีปากและขากรรไกรในขณะเปล่งเสียงด้วยตัวเลข 1-4 ซึ่ง 4 หมายถึงการใช้อวัยวะส่วนนั้นๆอย่างเต็มที่ และลดลงเรื่อยๆตามค่าของตัวเลข เช่น ริมฝีปาก = 4 หมายถึง การเปิดริมฝีปากให้กว้างโดยการยิ้มแบบยกมุมปากให้เห็นโหนกแก้ม, ขากรรไกร = 4 หมายถึง การเปิดขากรรไกรให้กว้างโดยการอ้าปากมากๆ
ตารางแสดงการทำงานของริมฝีปากและขากรรไกร
สระ ริมฝีปาก ขากรรไกร
อี 4 1
เอ 4 2
แอ 4 3
อา 4 4
ออ 3 4
โอ 2 4
อู 1 4
ความคิดเห็น