คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : อวัยวะที่สำคัญในการหายใจ
อวัยวะที่สำคัญในการหายใจ ได้แก่
1. ปอด (Lungs) ภายในปอดจะมีถุงลมเล็กๆมากมาย มีหน้าที่ในการเก็บลมเพื่อนนำมาใช้ในการหายใจ,ฟอกโลหิต ฯลฯ โดยปกติคนเราไม่สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้ครบทุกถุง แต่การร้องเพลงจำเป็นที่จะต้องฝึก เพื่อให้สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้มากที่สุด
2. กระบังลม (Diaphram) กล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด ที่อยู่เหนือกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยซี่โครง และกล้ามเนื้อส่วนชองหน้าท้อง กระบังลมเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่งที่เราสามารถบังคับให้ช่วยปอดในการกักเก็บลมได้มากขึ้น เมื่อเราหายใจเข้าปอด ซี่โครงจะขยายตัวเพราะถูกดึงโดนกล้ามเนื้อที่ติดอยู่กับหัวไหล่ เมื่ออากาศเข้าสู่ปอด กระบังลมต้องเคลื่อนตัวลงต่ำ และจะมีหน้าที่ดันอวัยวะภายในช่องท้องมิให้เคลื่อนตัวขึ้นตามการขยายตัวของซี่โครง เพื่อที่จะสามารถกักเก็บลมได้มากๆ
ภาพลักษณะการทำงานของกระบังลม ซ้ายขณะปกติ, ขวา=ขณะหายใจเข้า
3. ซี่โครง เมื่อเราหายใจเข้า ปอดจะขยายตัวออก และเมื่อปอดขยายตัวออกจะไปดันให้ซี่โครงเกิดการขยายตัว โดยการขยายตัวของซี่โครงนั้นจะขยายจากด้านล่างก่อน
4. กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front Muscles) มีหน้าที่บังคับลมเข้าออกในปริมาณน้อยไปหามาก ดังนั้นการออกเสียงในลักษณะ จากเสียงค่อยไปหาเสียงดัง หรือเสียงแคบไปหากว้างนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้อวัยวะส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อหน้าท้องจะขยายตัวออกมาทางด้านหน้า การหายใจออกจะเกิดจากการที่ปอดหดตัวลง ซี่โครงกลับคืนสู่ตำแหน่งปกติ กระบังลมยกตัวขึ้นกลับเข้าที่ กล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัวลง
ภาพแสดงการทำงานของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม (ซ้าย=ขณะหายใจเข้า, ขวา=ขณะหายใจออก)
การฝึกหายใจในลักษณะลึกถึงกระบังลม
ยืนตัวตรง หลัง ไหล่และศรีษะ ตั้งตรง แยกเท้าออกจากันเล็กน้อยพอสบาย มือเท้าสะเอวไว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านหลัง นิ้วที่เหลือวางอยู่ที่กล้ามเนื้อบริเวณซี่โครงซี่ล่างๆ หายใจเข้าลึกๆ (ทางปาก 80 % จมูก 20 %) พยายามให้รู้สึกว่าลมลงไปถึงฐานของปอด จากนั้นค่อยๆผ่อนลมอย่างช้าๆเป็นเสียง ตัวเอส (S) เมื่อลมออกหมด กระบังลมจะคลายตัว กล้ามเนื้อหน้าท้องจะค่อยๆหดตัวแฟบลง ก่อนปฏิบัติซ้ำให้หยุดรอให้กล้ามเนื้อรู้สึกผ่อนคลาย แล้วปฏิบัติซ้ำไปเรื่อยๆ เน้นการควบคุมลมให้ค่อยๆผ่อนไปอย่างช้าๆและสม่ำเสมอ
การฝึกในลักษณะเช่นนี้มีผลโดยตรง ต่อผู้ที่ต้องการลากเสียงร้องให้ได้ยาว นิ่ง ไม่แกว่งไปมา
ข้อสังเกตุ : กระบังลมจะมีการขยับตัวเล็กน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front muscles) ทำงานอยู่นั้น อาจเกิดอาการ เกร็ง ตึง หรือเจ็บบริเวณ กล้ามเนื้อส่วนหลังบ้าง เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front muscles) กับกล้ามเนื้อส่วนหลัง (Back muscles) เป็นกล้ามเนื้อผืนเดียวกัน การฝึกหายใจด้วยวิธีดังกล่าวเป็นประจำจะทำให้เราสามารถกักเก็บลมไว้ในส่วนของ Back muscles ได้อีกด้วย การหายใจด้วยวิธีดังกล่าว ไม่จำเป็นที่จะหายใจเข้าไปปริมาณมากๆจนเต็มจนเกินไป (Force) โดยหวังว่าจะเป็นการให้กระบังลมขยายตัวมากๆ เพราะวิธีที่ถูกคือการหายใจเข้าไปอย่างพอดี แล้วฝึกฝนทักษะการหายใจเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ความคิดเห็น