ไฟลัมโพรโทซัว ( Protozoa ) - ไฟลัมโพรโทซัว ( Protozoa ) นิยาย ไฟลัมโพรโทซัว ( Protozoa ) : Dek-D.com - Writer

    ไฟลัมโพรโทซัว ( Protozoa )

    ชีวะ ช่วงชั้นที่ 4

    ผู้เข้าชมรวม

    3,027

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    3.02K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  31 ก.ค. 49 / 22:08 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ลักษณะสำคัญ
      1. มีเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์มารวมกันเป็นกลุ่ม ขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
      2. มีรูปร่างหลายแบบ รูปรี ยาว หรือรูปร่างไม่แน่นอน
      3. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีแบ่งเซลล์ ( Binary fission ) และแบบอาซัยเพศโดยวิธีคอนจูเกชั่น ( Conjugation )
      4. การดำรงชีพส่วนใหญ่หากินแบบอิสระ บางชนิดเป็นปรสิต


      จำแนกเป็น 4 Class โดยใช้โครงสร้างในการเคลื่อนที่เป็นเกณฑ์


      คลาสแฟลกเจลลาตา ( Class Flagellata )
      - เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม มี 1 เส้น หรือ มากกว่า
      - พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม
      - ส่วนใหญ่ดำรงชีพเป็นอิสระ ได้แก่ ยูกลีนา แคลมิโดดมแนส บางชนิดดำรงชีพแบบภาวะพึ่งพา ได้แก่ Trichonympha อาศัยในลำไส้ปลวก บางชนิดเป็นปรสิตในคน ได้แก่ Trypanosoma ทำให้เกิดโรคไข้หลับ

      คลาสซิเลียตา ( Class Ciliata
      - เคลื่อนที่โดยใช้ซีเลีย เซลล์มี 2 นิวเคลียสได้แก่ พารามีเซียม วอร์ติเซลลา สเตนเตอร์

      คลาสซาร์โคดินา ( Class Sarcodina )
      - เคลื่อนที่โดยใช้ขาเทียม ( pseudopodium ) ซึ่งเกิดจากการไหลของไซโทพลาสซึม บางชนิดดำรงชีพเป้นอิสระ ได้แก่ อะมีบา บางชนิดเป็นปรสิตในลำไส้คน ได้แก่ Entamoeba histolytica ทำให้เกิดโรคบิด โรคท้องร่วง บางชนิดดำรงชีพแบบภาวะพึ่งพากับสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่ Entamoeba coli พวกนี้จะกินแบคทีเรียที่ทำให้เกิดก๊าซในลำไส้ใหญ่ และ Entamoeba gingivalis อาศัยอยู่ที่อฟัน คอยกินแบทีเรียในปาก บางพวกมีเปลือกเป็นสารพวกหินปูนหุ้ม ได้แก่ ดิฟฟลูเกีย

      คลาสสปอโรซัว ( Class Sporozoa )
      - กลุ่มนี้ไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่ และดำรงชีพเป็นปรสิต สิบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์สลับกับอาศัยเพศ ( วงชีวิตสลับ ) ได้แก่ พลาสโมเดียม ทำให้เกิดโรคไข้จับสั่น และ เกรกกาไรนา เป็นปรสิตในตั๊กแตน

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×