คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : คำเกี่ยวกับความจำ
คำเกี่ยวกับความจำ
คำ | ความหมาย |
กระตุ้น | ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยาย หมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้น ต่อไป. |
แก้ปัญหา | ไขปัญหา |
เข้าใจ | รู้เรื่อง, รู้ความหมาย รู้เรื่องหรือรู้ความหมายของเรื่องนั้นอย่างชัดเจน |
ความรู้ | สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ. |
ความสามารถ | การกระทำที่สามารถทำได้เป็นพิเศษ |
ความสัมพันธ์ | ความเกี่ยวข้อง, ความเกี่ยวพัน, ความข้องเกี่ยว |
ความสนใจ | ความสนใจของพี่น้องคู่นี้ต่างกันมาก |
คล้องจอง | สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ใน มาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน. |
จัดการ | สั่งงาน, ควบคุมงาน, ดําเนินงาน. |
จิตสำนึก | จิตสำนึกคอยย้ำเตือนมิให้เขาทำความชั่ว ภาวะที่จิตตื่นและรู้สึกตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย |
ตรรกะ | ตรรก, ความคิด, ความตรึก |
ต่อเนื่อง | สม่ำเสมอ |
ตีความ | ชี้หรือกําหนดความหมาย; ให้ความหมายหรือ อธิบาย; ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่ง หมายเพื่อความถูกต้อง; (กฎ) วิเคราะห์ถ้อยคํา หรือข้อความในบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือ เอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมาย ไม่ชัดเจน เพื่อกําหนดความหมายอันแท้จริงของ ถ้อยคําหรือข้อความนั้น ๆ เช่น ตีความกฎหมาย. |
ทักษะ | ความสามารถ, ความถนัด, ความชำนาญ, ฝีไม้ลายมือ, ความสามารถเฉพาะ |
ทบทวน | ย้อนกลับทําซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยํา เช่น ทบทวนตํารา, ทวนทบ ก็ว่า; พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เช่น ทบทวนนโยบาย. |
แนวทางคิด | แนวคิด แนวทางความคิด |
แบบฝึกหัด | แบบตัวอย่างปัญหาหรือคําสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียนฝึกตอบ เป็นต้น. |
บันทึก | ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยเตือนความจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน |
ปฏิกิริยาเคมื | การทำงานของเซลล์อาศัยปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อนมากมายหลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่ทำปฏิกิริยากัน |
ปลูกฝัง | อบรม, สั่งสอน การเป็นผู้ประพฤติและเป็นประโยชน์ต่อนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เยาวชน |
พยายาม | พากเพียร, บากบั่น, อุตสาหะ, มานะ ทำโดยมานะบากบั่น |
พัฒนา | ปรับปรุง, เจริญ, ปฏิรูป , ทำให้เจริญขึ้น, ทำให้ดีขึ้น |
พิจารณา | พินิจ, ตรึกตรอง,ใคร่ครวญ, พินิจพิเคราะห์ |
ฟื้นฟู | ทําให้กลับเจริญงอกงามขึ้นมาใหม่ เช่น ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย ฟื้นฟูการละเล่นของไทย. |
ฝึกฝน | ฝึกปรือ, ฝึก ,ขวนขวายหาความรู้ให้ชำนาญ |
มโนทัศน์ | ความคิด, ความนึกคิด , ความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ |
เรียนรู้ | เข้าใจความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประสบการณ์. |
ระบบ | กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผล ทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ. |
ลำดับ | อันดับ, การเรียงกันไว้ให้เป็นระเบียบตามตําแหน่ง, เช่น นั่งตามลำดับ เข้าแถวตามลำดับไหล่ เรียงตามลำดับอักษร. |
ละเอียด | ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้าละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่อง นี้ต้องอธิบายโดยละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน ควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อ ละเอียด. |
เวลา | ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกําหนดขึ้นเป็น ครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง ขอเวลา สักครู่. |
สิ่งเร้า | เครื่องกระตุ้น, สิ่งกระตุ้น, ตัวกระตุ้น พฤติกรรมของคนเป็นผลของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง |
สังเกต | พินิจ, พิจารณา, ดู |
สมาธิ ในสิ่งใด สิ่งหนึ่ง | ความมีใจตั้งมั่น , ความตั้งมั่นแห่งจิต , การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน , การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ |
สมอง | ปัญญา, ความคิด, สติปัญญา |
เหตุผล | หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต |
IQ | ย่อมาจาก Intelligence Quotient หมายถึง ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แสดงออกให้เห็นผ่านพฤติกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดจากพันธุกรรมตลอดไปจนถึงสิ่งแวดล้อม |
EQ | ย่อมาจาก Emotional Quotient หรือที่เรียกกันว่า E-Skills นั้นจริง ๆ แล้วหมายถึง ความสามารถที่จะเข้าใจ วิเคราะห์และใช้ความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้นั่นเอง |
บรรณานุกรม
วิภาพร มาพบสุข. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2540.
ศ.ดร.ศรีเรือน แก้วกังวล. โปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนา ความคิดและความจำ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2547
ประมวล ดิคคินสัน. จิตวัฒนา, สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช , 2519
ความคิดเห็น