ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องของ...จิต!!

    ลำดับตอนที่ #5 : เทคนิคการจำ

    • อัปเดตล่าสุด 13 ธ.ค. 52


    เทคนิคการจำ

     

    1.      การเลี่ยงการจำสิ่งหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน 

    วิธีการเลี่ยงความสับสนในการจำทำได้ดังนี้

    1.1    สร้างสมาธิ 

    ในขณะที่จำเป็นต้องจำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรสร้างความสนใจ ในสิ่งนั้นอย่างจริงจังด้วยการสำรวม และเลือกเวลา-สถานที่ ที่มีสิ่งรบกวนจากภายนอกให้น้อยที่สุด เช่น เลือกอ่านหนังสือในห้องนอนส่วนตัว ในเวลาเช้ามืด หรือทำการบ้านในที่ๆไม่มีเสียงดังรบกวน

     

    1.2    เลือกจำสิ่งที่สำคัญ

    เช่น ในระยะใกล้สอบควรดูตำราครั้งละ 1 วิชา ถ้าจำเป็นต้องดูหลายวิชาต้องหาเวลาพักผ่อนระหว่างจำวิชาแต่ละวิชา หรือนักเรียนแพทย์ก็ไม่จำเป็นต้องไปท่องตำรากฏหมาย

    1.3    การนอนหลับ

    การนอนหลับทำให้ร่างกายและสมองสดชื่น การจำสิ่งหนึ่งสิ่งใดภายหลังการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ความสับสนที่เกิดจากการจำจะมีน้อยลง

     

    2.      การเรียนซ้ำๆ

    เป็นการศึกษาซ้ำอีก หรือการท่องซ้ำอีกแม้ว่าจะจำได้ดีอยู่แล้ว เช่น การจำสูตรคณิตศาสตร์ ต้องหมั่นท่องและอ่านบ่อยๆ หรือการออกไปพูดหน้าห้องก็ต้องหมั่นท่องซ้ำเพื่อให้จำได้

     

    3.      การทดสอบตนเองภายหลังการท่องจำ

    การทดสอบตนเองจะช่วยตรวจสอบว่าภายหลังการเรียนซ้ำๆแล้วนั้น ตนสามารถระลึกสิ่งที่จะจำนั้นได้ครบถ้วนหรือไม่ ถ้าหากยังระลึกไม่ได้หมด ก็อ่านซ้ำอีก 1 ครั้ง ในส่วนที่ยังจำไม่ได้ แล้วปิดหนังสือทบทวนอีกจนจำได้

    3.1    การเขียนซ้ำ

    ภายหลังจากการท่องจำ เช่น เมื่อท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ 20 คำได้แล้วผู้จำทดสอบตนเองโดยพยายามระลึกคำศัพท์เหล่านั้นพร้อมคำแปล และเขียนคำเหล่านั้นลงในสมุด และตรวจสอบอีกครั้ง หรือเวลาเรียนเรื่องสังเคราะห์แสงก็เขียนคำศัพท์เฉพาะซ้ำจนกว่าจะเขียนถูกและจำได้

    3.2    ท่องจำให้ผู้อื่นฟัง

    โดยท่องซ้ำๆตามรายการของคำที่ตนต้องการจำจนตนเองจำได้แม่นแล้วทบทวนสิ่งที่ตนจำนั้นให้ผู้อื่นฟังว่าตนทบทวนได้ถูกหรือไม่ เช่นเมื่อเราต้องการจำชื่อไฟลัมของสัตว์  ก็ลองท่องให้เพื่อนฟัง ดูว่าสามารถจำได้หรือไม่ หรือเวลาออกไปรายงานหน้าชั้นก็ให้เพื่อนดูสคริปที่เราท่องว่าเนื้อหาที่เราพูดนั้นครบถ้วนหรือไม่

    4. การจัดระเบียบความจำ การจัดระเบียบ เป็นการจัดข้อมูล หรือสิ่งเร้าจำนวนมากที่ต้องการจะจำให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ เช่น การจัดกลุ่ม ถ้าสิ่งเร้ามีลักษณะคล้ายกันหรือแบ่งสิ่งเร้าออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะร่วมของสิ่งเร้าที่อยู่ปะปนกันการจัดระเบียบความจำ จำแนกออกได้ดังนี้

    4.1 การจัดเป็นกลุ่มย่อย

    เป็นการแบ่งสิ่งเร้าออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามลักษณะสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันหรือสิ่งเร้าที่มีความคล้ายกัน ก็จะจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกันเพื่อให้จำง่ายและจำได้นาน เช่น เมื่อจะจำศัพท์ภาษาอังกฤษ จะนำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเดียวกันมาอยู่กลุ่มเดียวกัน แล้วท่องเป็นกลุ่มๆ หรือจำเกี่ยวกับสัตว์ แยกประเภทสัตว์กินเนื้อ กับสัตว์กินพืชไว้แล้วท่องเป็นกลุ่มๆ

    4.2 การจัดหมวดหมู่

    ในกรณีที่สิ่งเร้ามีลักษณะกระจายทำให้จำยากการจัดระเบียบโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ ตามลักษณะร่วมของสิ่งเร้าที่เหมือนกัน แล้วกำหนดชื่อหมู่แทน ชื่อหมู่จะเป็นตัวแนะนำช่วยให้เราระลึกส่วนปลีกย่อยของแต่ละหมู่ได้ง่ายขึ้น เช่น แผนผังการจัดหมวดหมู่ วัสดก่อสร้าง 


    วัสดุก่อสร้างก่อสร้าง

        หิน

        ไม้

      หินธรรมชาติ

       หินสังเคราะห์

       ไม้เนื้อแข็ง

      ไม้เนื้ออ่อน

    หินอ่อน

    หินแกรนิต

    อิฐมอญ

    อิฐบล็อค

    ไม้มะค่า

       ไม้เต็ง

        ไม้สน

      ไม้ยาง


     

    หรือแผนผังเรื่องแร่

    แร่

    หายาก

    โลหะ

    โลหะผสม

    ธรรมดา

    หิน

    หินก่อสร้าง

    มณี

     

     

     

     

     

     

     

     


    5.      การจับหลักเกณฑ์

    เป็นการสรุปหลักเกณฑ์ของสิ่งที่จะจำ และจำแต่เพียงหลักเกณฑ์เท่านั้น ทำให้ลดปริมาณสาระที่ต้องการจำลงมามากมาย เช่น หลักในการจำวันของเดือนต่างๆตลอดปี ซึ่งตามวิธีการแบบไทยๆเราจะใช้หลักว่า เดือนที่ลงท้ายด้วย ยนมี 30 วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วย คมมี 31 วัน หรือการจับหลักคิดสูตรระยะทางของนักวิทยาศาสตร์ ระยะทาง = 1/2gt ฟุต

     

     

    6.      การสร้างจินตภาพ หรือนึกภาพในใจ

    เป็นการเอาสิ่งที่ต้องการจำไปเชื่อมกับสิ่งที่จำได้ดีอยู่แล้ว โดยนึกเป็นภาพที่รวมเอาของทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน การสร้างจินตภาพทำได้หลายวิธี ได้แก่ จินตภาพตัวเลข และจินตภาพแบบลูกโซ่

                   6.1 จินตภาพตัวเลข

    จินตภาพตัวเลขหรือเรียกว่าระบบหัวหมุด เป็นการนำสิ่งที่ต้องการจะจำมาสร้างให้สัมพันธ์กับตัวเลข เพื่อช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น

                หนึ่ง               ผึ้ง

                สอง              ซอง

                สาม                สุนัข

                สี่                   ปี่

                ห้า                 ป้า

                หก        --          ปก

                เจ็ด       --          เป็ด

                แปด      --          แดด

                เก้า       --          ข้าว

                สิบ        --          สลิด

                ระบบหัวหมุด สามารถนำมาใช้จำคำที่เป็นนามธรรมได้ เช่น

                หนึ่ง      --          ความประทับใจ

                สอง      --          ความเศร้า

                สาม      --          ความรับผิดชอบ

                สี่          --          ความรัก

                ห้า        --          ความเย็นชา

                หก        --          ความเสียสละ

    6.2    จินตภาพแบบลูกโซ่

    จินตภาพแบบลูกโซ่หรือเรียกว่า ระบบลิงก์ เป็นวิธีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคู่คำ โดยการสร้างจินตภาพของคำคู่นั้นเข้าด้วยกัน เช่น ถ้ามีคำคู่ที่เราต้องการจำหลายคู่ ได้แก่ กบ ท้อง ข้าว ไฟ ฟืน ฝนในแต่ละคู่       คำต้องหาคำอื่นๆ มาโยงกันสร้างเป็นจินตภาพขึ้นมา คำคู่ข้างต้นนี้เมื่อเราสร้างจินตภาพพร้อมใส่ทำนองแล้วสามารถนำมาร้องเล่นได้ดังที่หลายคนเคยได้ยิน

                กบ เอย ทำไมจึงร้อง                    จำเป็นต้องร้อง เพราะท้องมันปวด

                ท้องเอย ทำไมจึงปวด                   จำเป็นต้องปวด เพราะ ข้าวมันดิบ (ลูกโซ่)

                ข้าวเอย ทำไมจึงดิบ                     จำเป็นต้องดิบ เพราะ ไฟมันดับ

                ไฟเอย ทำไมจึงดับ                       จำเป็นต้องดับ เพราะ ฟืนมันเปียก (ลูกโซ่)

                ฟืนเอย ทำไมจึงเปียก                   จำเป็นต้องเปียก เพราะ ฝนมันตก

                ฝนเอย ทำไมจึงตก                      จำเป็นต้องตก เพราะ กบมันร้อง (ลูกโซ่)

               

                7. การสร้างรหัส คือ การกำหนดสัญลักษณ์ หรือความหมายแทนสิ่งเร้าที่เราต้องการจำ การสร้างรหัสมีหลายประเภท ได้แก่

                   7.1 รหัสจากตัวย่อ

    เช่น รมต. แทนคำว่า รัฐมนตรี รมช. แทนคำว่า รัฐมนตรีช่วย รร. แทนคำว่า โรงเรียน

                   7.2 รหัสจากตัวเลข  

    ใช้ตัวเลขแทนสิ่งที่ต้องการจำ เช่น รหัสในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่เป็นพวกเดียวกัน เช่น 300 เรียก 200 ทราบแล้วเปลี่ยน 300 อาจใช้แทนผู้บังคับบัญชา 200 ใช้แทนลูกน้องคนใดคนหนึ่ง หรือการแปลงอักษรเป็นตัวเลขให้

     1แทนด้วย น

    2 แทนด้วย ส

     3 แทนด้วย ม

     เมื่อใช้เป็นรหัส 231 คือ ส ม น (จำว่า สวย มาก น้อง)

                8. การสร้างคำสัมผัส เป็นการนำสิ่งเร้าที่ต้องการจำมาเรียบเรียงให้มีการสัมผัสระหว่างคำเพื่อให้คล้องจองกัน เป็นวิธีการช่วยความจำได้ดีวิธีหนึ่ง เราคงจะคุ้นเคยกับการจำหลักการใช้ไม้ม้วน 20 คำ เช่น

                ผู้ใหญ่ หาผ้าใหม่                        ให้สะใภ้ ใช้คล้องคอ

                ใฝ่ใจ เอาใส่ห่อ                           มิหลงใหล ใครขอดู

                จะใคร่ ลงเรือใบ              ดูน้ำใส และปลาปู

                สิ่งใด อยู่ในตู้                             มิใช่อยู่ ใต้ตั่งเตียง

                บ้าใบ้ ถือใยบัว                            หูตามัว มาใกล้เคียง

                เล่าท่อง อย่าละเลี่ยง                   ยี่สิบม้วน จำจงดี

    หรือเป็นคำคล้องจองในคำขวัญก็ได้

                “ปรับทุกข์ ผูกมิตร ปักหลัก ชักชวน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×