ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องของ...จิต!!

    ลำดับตอนที่ #4 : ความจำ

    • อัปเดตล่าสุด 13 ธ.ค. 52


    การจำ

    การจำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก เพราะช่วยในพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วย ลองคิดดูว่าถ้าเราจำอะไรที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราไม่ได้เลยเราจะมีสภาพเป็นอย่างไร คงพูดไม่ได้ ไปไหนก็ไม่ได้ หรือไปแล้วกหาทางกลับบ้านไม่ถูก นอกจากนั้นถ้ามนุษย์ไม่รู้จักคิดแก้ไขปัญหา ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ สังคมมนุษย์คงมีเครื่องจักร ไม่มีคอมพิวเตอร์ไม่มีรถยนต์หรือเครื่องทุนแรงใด ๆ ทั้งสิ้น ชีวิตคงไม่ต่างจากมนุษย์สมัยหินสักเท่าใดด้วยการสามารถในการจำและการคิดนี่เอง ที่ทำให้สังคมมนุษย์เป็นอยู่ดังเช่นปัจจุบันนี้ ในบทนี้เราจะได้ศึกษาถึงลักษณะการจำ การลืม และการคิดของบุคคล เพื่อจะได้เป็นแนวทางการพัฒนาการจำและการคิดของเราให้ดีขึ้น

             ความจำระยะสั้น

                               ถ้าต้องการทราบว่า ความจำระยะสั้นมีความสามารถในการจำเพียงใด ให้ลองอ่านตัวเลขต่อไปนี้เพียงครั้งเดียง และปิดหนังสือลง ให้บอกสิ่งที่จำได้

    8     5    1     7     4     9     3

                       ถ้าจำได้หมดทั้ง 7 ตัว ก็เรียกว่ามีความจำระยะสั้นในระดับเฉลี่ย การทดสอบนี้เรียกว่า แบบทดสอบช่วงการจำตัวเลข (Digit-Span Test) ลองอ่านตัวเลขต่อนี้ใหม่ให้อ่านเพียงครั้งเดียว

    7   1   8   3   5   4   2   9   1   6   3

                     เราอาจจำได้ไม่หมด เพราะเกินความสามารถของความจำระยะสั้นไปแล้ว นักวิจิตวิทยาขื่อ จอร์น มิลเลอร์ (George Miller,1956) ได้แสดงให้เห็นว่าความจำระยะสั้นสามารถจำข้อมูลได้7±2 หน่วยถ้ามีข้อมูลที่ต้องจำมากกว่า 7 ตัวความผิดพลาดจะเกิดขึ้น ถ้ามีข้อมูลไม่มาเพิ่มนอกเหนือจาก 7 ตัวเดิม จะทำให้ข้อมูลใหม่และเก่าบางข้อมูลหายไปได้ เช่น ถ้าเราไปงานเลี้ยง และเจ้าของงานแนะนำให้รูจักเพื่อนใหม่ คือ สุขุม ลัดดา ปราโมทย์ ชูจิต ลำดวน พินิจ สายสมรเราเริ่มรู้สึกพอแล้วจำได้เพียงเท่านี้ แต่เจ้าของงานยังแนะนำต่อ ฐาปกรณ์ วิจิตร นภาศรี รุ้งทอง และศิริพรรณและจากไปด้วยความรู้สึกดีใจว่าได้แนะนำให้เรารู้จักเพื่อนใหม่แล้ว เราจะพบว่าเราอาจจะคุยกับคนเพียง 3 คนเท่านั้น คือ สุขุม ลัดดา และศิริพรรณ ที่เราจำชื่อได้ นอกนั้นเรารู้สึกสับสนจำไม่ได้

                      การบันทึก(Recording)

                      ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ความจำระยะสั้นนั้นทำได้หลายวิธี เช่น ถ้าให้อ่านตัวอักษรต่อไปนั้นเป็นเวลา 30 วินาทีแล้วให้ปิดหนังสือบอกสิ่งที่ได้อ่านไปทั้งหมด 25 ตัว

                                                                      

                                                                       

                                                                      

                                                                         

                                                                         

    จะสังเกตได้ว่าอักษรทั้ง 25 ตัวนี้ อาจแบ่งได้เป็นข้อมูล 5 ชุด โดยแบ่งเป็นคำที่มีมีความหมาย          5   คำ คือ นบสยส พรมกอ ปรคพบ ฎจววต และ ลงรกก  ถ้าพิจาณาให้ดี อาจพบว่า สมารถอ่านอักษรทั้ง 25 ตัวให้เป็นคำเพียง 1 ชุด โดยอ่านแต่ละแถวจากบนลงล่าง จะได้ข้อความว่า นพปฎล บรรจง สมควร ยกพวก สอบตก ความจำระยะสั้นนั้นสามารถจำได้ ประมาณ 7 หน่วย แต่ละหน่วยอาจจะเป็นตัวเลข อักษร คำ วลี หรือประโยคก็ได้ ถ้าจัดข้อมูลเป็นชุด ๆ ก็จะทำให้จำข้อมูลได้มากขึ้น เช่น ทำให้เป็นคำ หรือประโยค ปละง่ายแก่การใส่ไว้ในความจำระยะยาวเพราะมีความหมายด้วย

              การทบทวน(Rehearsal)

             ปกติสิ่งที่อยู่ในความจำระยะสั้นจะหายไปได้เร็ว ถ้าต้องการให้คงอยู่นานทำได้โดยการอ่าน ซ้ำ ๆ การอ่านซ้ำแต่ละครั้งเท่ากับการนำข้อมูลใส่ลงในความจำระยะสั้นใหม่ การอ่านซ้ำๆ เรียกว่า การทบทวน ข้อมูลที่ทบทวนใน STM บ่อยเพียงใด ก็มีโอกาสที่จะบรรจุไว้ใน LTM มากเพียงนั้นถ้าไม่มีโอกาสทบทวน ข้อมูลใน STM จะหายไปภายในเวลา 18 วินาที

                1.3ความจำระยะยาว

                   สิ่งที่อยู่ในความจำระยะยาวนั้นจะค่อนข้างถาวร แม้จะไม่อยู่ตลอดชีวิตก็ตามความจำระยะยาวมี 2 ประเภท คือ   การจำความหมาย (Semantic Memory)    กับการจำเหตุการณ์ (Episodic Memory)

         การจำความหมายและการจำเหตุการณ์

              ความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เป็นสิ่งที่เกือบจะไม่มีการลืมเลย เช่น ชื่อของสิ่งต่าง ๆ ชื่อของวันในสัปดาห์ ชื่อเดือนต่าง ๆ ทักษะการคำนวณง่าย ๆ ชื่อฤดู คำ และภาษารวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ข้อเท็จจริงเหล้านี้เป็นส่วนหนึ่งของความจำระยะยาวที่เรียกว่า การจำความหมาย ซึ่งเปรียบเสมือนพจนานุกรมทางจิต หรือสารานุกรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน

              การจำความหมาย จะไม่เกี่ยวข้องกับเวลาและสถานที่ เช่น เราไม่ค่อยจดจำว่าเรียนรู้ชื่อของฤดูต่าง ๆ ครั้งแรกเมื่อไหร่ และที่ไหน ตรงข้ามกับการจำเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการจำเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเองจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตวันต่อวันปีต่อปีเราจำเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้เพียงใด

    -          งานฉลองวันเกิดเมื่ออายุ 10 ขวบ

    -          อุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว

    -          วันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย

    -          วนแรกที่พบแฟนคนปัจจุบัน

    -          อาหารเช้าเมื่อสามวันที่แล้ว

                เหตุการณ์เหล่านี้อยู่ในหารจำเหตุการณ์ ซึ่งลืมได้ง่ายกว่าการจำความหมาย เพราะมีเหตุการณ์ใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิตเราอยู่ตลอดเวลา

     

               การสร้างความจำ (Consting Memories)

                เมื่อเหตุการณ์ใหม่ ๆ เข้าไปในความจำระยะยาว การจำเหตุการณ์เก่า ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือรับปรุงใหม่ขึ้นอยู่กับข้อมูลใหม่ที่ได้รับ การนำข้อมูลใหม่นี้มาเปลี่ยนข้อมูลเดิมเป็นการสร้างความจำขึ้นมา เช่นให้คนกลุ่มหนึ่งดูภาพรถชนกัน หลังจากนั้นถามว่าขณะที่ ชนกันนั้นคิดว่าวิ่งเร็วเท่าใดโดยใช้คำต่าง ๆ กันแทนคำว่าชน ได้แก่คำว่า

                 -ประสานงา

                 -กระแทก

                 -ปะทะกัน

    หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ถามคนกลุ่มนี้อีกครั้งว่าอุบัติเหตุที่เห็นจากภาพนั้นเห็นกระจกแตก หรือไม่พบว่าผู้ที่ถูกถามด้วยคำว่าประสานงาจะตอบว่าเห็นทั้งที่จริง ๆ แล้วในภาพจะไม่มีกระจกแตกทั้งนี้เป็นเพราะคนกลุ่มนี้ได้

       นำข้อมูลใหม่(ประสานงา) เข้าไปเปลี่ยนข้อมูลเดิม จึงเห็นได้ว่าการจำของเราไม่ได้บันทึกแบบภาพยนตร์หรือวิดิทัศน์ซึ่งจะเหมือนเดิมทุกอย่าง หากแต่ความจำของเราเปลี่ยนแปลงได้ถ้าข้อมูลใหม่มาสอดแทรกทำให้เกิดความจำผิด ๆ (pseudo memory)

    ขึ้นและเรามักจะเชื่อว่าเราได้ถูกต้องแล้ว ตัวอย่างที่เห็นชัดในชีวิตประจำวัน คือ การชี้ตัวผู้ต้องหา พยานอาจจำผิด เพราะนำข้อมูลใหม่ไปผสมกับข้อมูลเก่า ทำให้ตัวผู้บริสุทธิ์เป็นผู้กระทำผิดได้ แต่พยานยืนยันว่าตนจำได้อย่างแม่นยำ

                

     การจัดการ(Organizztion)

                   ความจำระยะยาวมีการจัดการข้อมูลในระดับสูง เช่น ให้บอกชื่อญาติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เราจะไม่บอกชื่อสะเปะสะปะไปเรื่อย ๆ หากมักจะเริ่มบอกชื่อญาติที่ใกล้ชิดที่สุดแล้วจึงค่อย ๆ ขยายออกไปคือเริ่มจาก พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ลูกพี่ลูกน้อง ฯลฯ การจัดการข้อมูลในความจำระยะยาวไม่จัดเรียงตามตัวอักษร แต่มักจัดตามกฎเกณฑ์จินตภาพ ประเภท สัญลักษณ์ ความคล้าย หรือความหมาย(Atkinson และ shiffrin, 1971)เช่น ถ้าถาม 2 คำถามนี้ แล้วดูว่าคนจะตอบคำถามใดเร็วกว่ากัน

    -          คีรีบูนเป็นสัตว์ใช่ไหม

    -          คีรีบูนเป็นนกใช่ไหม

    พบว่าคนจะตอบว่าใช่ในประโยคหลังเร็วกว่าประโยคแรก เพราะนักจิตวิทยาเชื่อว่าการจัดการข้อมูลในความจำของเราอยู่ในแบบเครือข่าย (network model) ของความคิด สิ่งที่เชื่อมโยงกันในเครือข่ายที่ใกล้กว่าจะทำให้สรุปคำตอบได้เร็วกว่า ดังนี้

                                              กินได้

                   สัตว์                    เคลื่อนไหวได้ 

                                              หายใจได้

     

                                                มีปีก

                   นก                        บินได้

                                                มีขน

     

                                                   สีเหลือง

                  คีรีบูน

                                                  ร้องเพลงได้

    จะเห็นได้ว่า คำว่า คีรีบูนอยู่ใกล้กับนกมากกว่าใกล้กับสัตว์ เราจึงเชื่อมโยงคำว่านกได้เร็วกว่าคำว่า สัตว์

                  การจำความหมาย มักมีการจัดการในระดับสูง การจัดการนี้เกี่ยวกับความสามารถในการจำ คนที่มีการจัดการข้อมูลดี และทำให้ข้อมูลมีความหมาย มักจะเป็นคนที่มีความจำดี

                 นอกจากนั้น ความจำของเรายังจัดการข้อมูลให้อยู่ในลักษณะสคริปต์(Script)ซึ่งคล้ายๆ กับการสรุปแบบร่าง หรือโครงร่างของเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน(Schank และ Abelson, 1977 ) เช่น สคริปต์เกี่ยวกับร้านอาหาร ประกอบด้วย

    -          บุคคล ได้แก่ ลูกค้า บริกร แม่ครัว แคชเชียร์

    -          สื่อประกอบ ได้แก่ โต๊ะ รายการอาหาร ใบเสร็จ เงิน

    -          เหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิด ได้แก่ การเข้าร้าน การนั่งโต๊ะ การให้รายการอาหาร การสั่งอาหาร ฯลฯ

    สคริปต์ช่วยให้เราเข้าใจและจำเหตุการณ์ได้ง่ายขึ้น

    1.4 การวัดความจำ

          การจำของเราไม่ได้อยู่ในลักษณะจำได้ทั้งหมด หรือไม่ก็จำไม่ได้เลย (all- or - none) เราอาจจำได้บางส่วน เช่น จำคำที่ต้องการไม่ได้ แต่จำอักษรตัวต้นและตัวท้ายได้หรืออาจจำความหมายได้หากนึกคำไม่ออกเพราะติดอยู่ริมฝีปาก ดังนั้นเราจึงมีวิธีวัดความจำ 4 แบบ คือ การระลึกได้(Recall) การจำได้ (Recognition) การเรียกซ้ำ (Relearning) และการบูรณาการใหม่(Reintegraion) ตัวอักษร (คำต่อคำ) เช่น ท่องอาขยานได้ทุกตัวอักษร โดยไม่มีสิ่งช่วยกระตุ้นความจำ ในการระลึกได้มักพบว่าจำคำต้นๆ และคำท้ายๆ ได้ดีกว่าคำในช่วงกลาง  ซึ่งเรียกผลของลำดับที่แสดงเป็นกราฟได้ดังนี้

    คำสุดท้ายมักจะจำได้ดีที่สุดเพราะยังอยู่ในความจำระยะสั้น คำต้นๆ ก็ยังจำได้อยู่เพราะอยู่ในความจำระยะสั้นที่สามารถทบทวนได้ ส่วนคำในช่วงกลางนั้นไม่อยู่ทั้งในความจำระยะสั้นและความจำระยะยาวจึงมักเลือนหายไป

               การจำได้ (Recognition)

               เป็นการวัดความจำโดยมีสื่อกระตุ้น หรือชี้แนะให้จำได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือการที่นึกชื่อเพื่อนสมัย ป. 6 ไม่ออก เมื่อนำรูปมาดูก็อาจนึกออก การจำได้นี้จะมีผลดีถ้ามีรูปถ่าย หรือการได้เห็นสิ่งอื่นๆ มาช่วย ดังคำพูดที่มักกล่าวว่า “จำชื่อไม่ได้แต่จำหน้าได้การจำได้นี้วัดความจำได้ดีกว่าการระลึกได้ ตำรวจจึงนิยมให้พยานชี้ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพภ่าย หรือสเก็ตภาพให้พยานดู แต่การจำได้จะถูกต้องมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำมาให้เลือกด้วย ถ้าสิ่งที่นำมาให้เลือกคล้ายกับสิ่งที่ถูกต้องมากเพียงใด การจำได้ก็มีข้อผิดพลาดมากเพียงนั้น เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ ถ้าข้อคำถามที่นำมาล่อคล้ายกับข้อที่ถูกต้องมากการจำพลาดก็มีมาก 

            

             การเรียนซ้ำ (Relearning)

              การเรียนซ้ำเป็นการวัดความจำประเภทหนึ่ง บางครั้งสิ่งที่เราเคยเรียนรู้มา เราไม่อาจระลึกหรือจำได้ แต่เมื่อให้เรียนซ้ำอีกปรากฏว่าเราเรียนได้เร็วขึ้น ใช้เวลาเรียนน้อยกว่าเดิม เพราะได้เคยมีคะแนนสะสม (Saving Score) ไว้แล้ว เคยใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมง และระลึกได้อย่างถูกต้อง หลังจากนั้น 2 ปี ไม่อาจระลึกสิ่งที่เคยเรียนได้เลย เมื่อให้เรียนซ้ำ ใช้เวลาเพียง 45 นาที   ก็ระลึกได้หมด นั่นคือสามารถประหยัดเวลาเรียนได้ 15 นาที หรือมีคะแนนสะสมอยู่ 25 เปอร์เซ็นต์ (15 นาที เท่ากับ 25 % ของชั่วโมง)

              การบูรณาการใหม่ (Reintegration)

              การบูรณาการใหม่ หมายถึง การที่ความจำหนึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความจำอื่นๆ ตามมา เรียกได้ว่าประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใหม่จากสิ่งที่สะสมไว้แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพการเดินทางด้วยรถไฟในครั้งนั้น นึกถึงความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุเทพยังได้กลิ่นกุหลาบที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์อยู่เลย และอื่นๆ ต่อไป .......การจำประเภทนี้มักเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคลมากกว่าการเรียนรู้อื่นๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×