ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องของ...จิต!!

    ลำดับตอนที่ #2 : แนวคิดจิตวิทยา

    • อัปเดตล่าสุด 28 พ.ย. 52


    แนวคิดทางจิตวิทยา

                    ในการศึกษาจิตวิทยาก็มีหลากหลายแนวคิดแตกแยกออกไปเป็นกลุ่มต่างๆ

    แนวคิดกลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism)

                    จิตวิทยาตรวจสอบภายในจิตใจ พยายามศึกษษวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์อย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยพยายามศึกษษหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันและความเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆด้วย

    กลุ่มนี้เชื่อว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วยจิตธาตุ (Mental Elements) ซึ่งประกอบด้วย ธาตุ 3 ชนิด คือ 1. การรับสัมผัส (Sensation) 2. ความรู้สึก (Feeling) 3. จินตนาการหรือมโนภาพ   (Image) ซึ่งเมื่อทั้งสามมารวมกันจะก่อเกิดในรูปจิตผสมขึ้น

    แนวคิดกลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)

                    แนวคิดนี้จะศึกษาเน้นเกี่ยวกับความรู้ การทดสอบจิต และการใช้เนื้อหาวิชาการต่างๆโดยเน้นเกี่ยวกับ “อย่างไร” และ “เพื่ออะไร” โดยศึกษาและใช้ข้อมูลจากพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออก พร้อมทั้งผลรายงานที่เกี่ยวข้องกับสภาวะความรู้สึกภายในจิตใจ นั่นคือกระบวนการกระทำกิจกรรมของร่างกายในอันที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม

    แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism)  

                    ศึกษาโครงสร้างของจิตในเรื่องจิตสำนึก และศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนเห็นได้ในวิธีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยเน้นว่า “พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ และสาเหตุนั้นอาจเกิดจากสิ่งเร้าในรูปใดมากระทบกับอินทรีย์ ทำให้อินทรีย์นั้นมีพฤติกรรมตอบสนอง” และการวางเงื่อนไข เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดพฤติกรรมและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้

    แนวคิดกลุ่มจิตวิทยาเกสตอล   (Gestalt Psychology)

                    การมองภาพหรือมองสิ่งใดก็ตาม มนุษย์จะมองภาพนั้นทั้งหมดก่อน แล้วจึงค่อยแยกส่วนเพื่อมองรายละเอียดต่อไป และการเรียนของบุคคลจะเป็นไปด้วยดีและสร้างสรรค์ ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวม

    แนวคิดกลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) 

                    เน้นศึกษาจิตใต้สำนึก ผู้นำแนวคิดคนสำคัญคือ ซิกมันต์ ฟรอยด์อธิบายว่า พลังงานจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มี 3 ลักษณะ

                1. จิตสำนึก (Conscious Mind) หมายถึง ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

                2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious Mind) หมายถึง ภาวะจิตที่ระลึกได้

    3. จิตไร้สำนึก (Unconscious Mind) หมายถึง ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัว

    และฟอรยด์ยังอธิบายโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ Id ,Ego และ Superego

    Id คือ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์

    Ego คือส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ id ให้แสดงออกในทางที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม

    Superego คือ เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์ของ ego เป็นมโนธรรมคอยเตือน ego

    แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

                    เน้นที่ความรู้สึกและการตระหนักในตนเองของบุคคล

    แนวคิดกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive)

                    ศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจ บุคลิกภาพ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำจิตบำบัด โดยอาศัยหลักการว่า การคิดหรือกระบวนการทำงานทางจิต สามารถที่จะผสมผสานทางแนวคิดหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้เหมือนลักษณะการถ่ายโยง เน้นความจำเป็นในการสอนให้บุคคลรู้จักคิดใช้เหตุผลตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก

    แนวคิดกลุ่มชีววิทยา (Biological)

                    แนวทางการศึกษาพฤติกรรมทางชีววิทยา หรือทางประสาทวิทยาสามารถให้ความรู้ว่าพฤติกรรมต่างๆเช่น อารมณ์ การคิด ล้วนมีสาเหตุมาจากทางกายภาพหรือสมอง หรือมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาททั้งสิ้น นั่นก็คือการศึกษาว่าระบบประสาททางร่างกายมีผลต่อสภาพจิตใจและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมอย่างไร

    แนวคิดสังคมและวัฒนธรรม (Cross-Cultural)

                    ศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธุ์ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในชุมชน  

     

     

     

     

     

     

     

    บรรณานุกรม

     

    เดโช สวนานนท์.  หลักคำสอน vs นักจิตวิทยาคนสำคัญ.  กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช, 2526.

    พรพิมล จันทร์พลับ.  เอกสารประกอบการสอนจิตวิทยาทั่วไป.  คณะเกษตรศาสตร์ บางพระ (วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

    สุวรี ศิวะแพทย์.  จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2549. 

    โสภา ชูพิกุลชัย.  ความรู้เบื้องต้นทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ.

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×