คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติจิตวิทยา
ประวัติจิตวิทยา
ก่อนปลายศตวรรตที่ 19 เนื้อหาวิชาจิตวิทยาอยู่ในขอบเขตของวิชาปรัชญา และการติดตามสังเกตในพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมีระบบและอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองยังไม่เป็นที่รู้จักกัน แต่ในปลายศตวรรษ ผลงานบุกเบิกของนักสรีรวิทยาชาวเยอรมันหลายท่าน เช่น เอินสท์ ไฮน์ริค เวบเบอร์ กุสตาฟ ธีโอดอร์ เฟคเนอร์ เฮอร์มันน์ ฟอน เฮล์มฮอลทซ์ และอีวอลล์ แฮริง ทำให้เห็นกันได้ชัดขึ้นว่าพฤติกรรมของมนุษย์นั้น สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับหน้าที่ส่วนต่างๆของร่างกาย และนักจิตวิทยานั้นศึกษาในเรื่องการหน้าที่ของร่างกายส่วนรวม ในฐานะที่เป็นอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอก
ในช่วงทศวรรษ1880 และ 1890 นักจิตวิทยากลุ่มใหม่ ซึ่งได้รับการศึกษาอบรมมาแล้วทั้งปรัชญาและสรีรวิทยา ได้เปิดห้องทดลองขึ้นในประเทศเยอรมันและประเทศอเมริกา และนับตั้งแต่นั้นมาวิชาจิตวิทยาก็ได้เริ่มเข้าสู่ฐานะของศาสตร์ที่มีการทดลอง
แนวโน้มทางวิทยาศาสตร์สองประการที่นำไปสู่จิตวิทยาแห่งการทดลองนั้นได้แก่
1. การศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการวัดผล
2.การใช้ระเบียบวิธีการควบคุมในห้องปฎิบัติการทดลอง ซึ่งในปีค.ศ. 1879 วุนดท์ ได้สร้างห้องทดลองซึ่งมุ่งทดลองทางจิตวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรก
จิตวิทยามีรากฐานที่สำคัญมาจากรากฐานทางปรัชญา รากฐานทางสรีรวิทยา และรากฐานทางวิธีการศึกษา
1.รากฐานทางปรัชญา (Philosophical Basis of Psychology)
การศึกษาปัญหาทางจิตวิทยาสมัยใหม่นี้แท้จริงแล้วได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ นักปราชญ์ชาวกรีกที่มีชื่อเสียงซึ่งได้ศึกษาเรื่องจิต ได้แก่ เพลโต และอริสโตเติล
2. รากฐานทางสรีรวิทยา (Physiological Basis of Psychology)
มีที่มาจากทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางสรีระวิทยาและกระบวนการทางจิตใจ ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่ถือเป็นข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์
3. รากฐานทางวิธีการศึกษา (Methodological Basis of Psychology)
มีการอธิบายในรูปแบบคณิตศาสตร์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เป็นเหตุการณ์ทางกายภาพ และการรับรู้ ทำให้เกิด วิธีการจิตฟิสิกส์ ซึ่งใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางโลกกายภาพ
ความคิดเห็น