คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : เส้นทางของสงคราม [สงครามขั้นต้น]
สงครามขั้นต้น
ยุทธวิธีทางทหารที่ใช้กันช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งล้าหลังกว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่มากนัก
ความก้าวหน้าเหล่านี้ทำให้สามารถพัฒนาระบบป้องกันอันน่าทึ่ง
ซึ่งยุทธวิธีทางทหารอันล้าสมัยไม่สามารถเจาะทะลวงได้ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม ลวดหนามเป็นเครื่องกีดขวางสำคัญในการยับยั้งคลื่นมนุษย์ทหารราบ
ปืนใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพร้ายแรงถึงตายกว่าในคริสต์ทศวรรษ 1870 เมื่อใช้ร่วมกับปืนกลแล้ว
ทำให้การเคลื่อนทัพผ่านพื้นที่เปิดนั้นเป็นไปได้ยากยิ่ง ฝ่ายเยอรมนีเริ่มใช้แก๊สพิษ ซึ่งต่อมาทั้งสองฝ่ายได้นำมาใช้อย่างรวดเร็ว
แม้ว่าแก๊สพิษจะไม่เคยถูกพิสูจน์ว่าเป็นปัจจัยเด็ดขาดในการเอาชนะศึก
แต่ผลกระทบของแก๊สพิษนั้นโหดร้าย ทำให้ผู้ได้รับแก๊สเสียชีวิตอย่างช้า ๆ และทรมาน
และแก๊สพิษได้กลายมาเป็นความน่าสะพรึงกลัวที่เป็นที่หวาดกลัวกันและเป็นที่จดจำดีที่สุดของสงคราม
ผู้บัญชาการทั้งสองฝ่ายล้มเหลวที่จะพัฒนายุทธวิธีเจาะที่ตั้งสนามเพลาะโดยไม่ประสบความสูญเสียอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม
ในระยะหลัง เทคโนโลยีเริ่มผลิตอาวุธเพื่อการรุกแบบใหม่ อย่างเช่น รถถัง อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นผู้ใช้หลัก
และเยอรมนีวางกำลังรถถังฝ่ายสัมพันธมิตรที่ยึดมาได้และรถถังที่ตนออกแบบเองอีกจำนวนหนึ่ง
ภายหลังยุทธการมาร์นครั้งที่หนึ่ง ทั้งฝ่ายไตรภาคีและเยอรมนีเริ่มอุบายการตีโอบปีกของกองทัพฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งเรียกกันว่า "การแข่งขันสู่ทะเล"
อังกฤษและฝรั่งเศสพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพเยอรมันในสนามเพลาะเป็นแนวยาวตั้งแต่แคว้นลอร์เรนของฝรั่งเศสไปจนถึงชายฝั่งเบลเยียม อังกฤษและฝรั่งเศสพยายามจะเป็นฝ่ายริเริ่มบุกก่อน
ขณะที่เยอรมนีตั้งรับอย่างเข้มแข็งในดินแดนยึดครอง ผลที่สุดคือ
สนามเพลาะเยอรมันถูกสร้างขึ้นดีกว่าสนามเพลาะของฝ่ายตรงข้ามมาก
ขณะที่สนามเพลาะของอังกฤษ-ฝรั่งเศสมีเจตนาจะใช้เป็นแนวชั่วคราวก่อนที่กองทัพจะตีผ่านแนวป้องกันของเยอรมนีเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามทำลายสถานการณ์คุมเชิงกันอยู่ด้วยการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้มากขึ้น
วันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1915 ในยุทธการอีแปรครั้งที่สอง ฝ่ายเยอรมนีใช้แก๊สคลอรีนเป็นครั้งแรกบนแนวรบด้านตะวันตก อันเป็นการละเมิดอนุสัญญากรุงเฮก กองทัพอัลจีเรียถอยทัพเมื่อถูกรมแก๊สและเปิดช่องว่างขนาดหกกิโลเมตรในแนวรบสัมพันธมิตรซึ่งฝ่ายเยอรมนีเข้ายึดครองอย่างรวดเร็ว
กองทัพแคนาดาสามารถอุดรอยแตกดังกล่าวได้ในยุทธการครั้งเดียวกันและในยุทธการอีแปรครั้งที่สาม กองทัพแคนาดาและแอนแซ็กได้ยึดครองหมู่บ้านพาสเชลเดล
วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1916
เป็นวันที่กองทัพอังกฤษสูญเสียกำลังพลไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์
คือ สูญเสียรวม 57,470 นาย
รวมทั้งเสียชีวิต 19,240 นาย ในวันแรกของยุทธการแม่น้ำซอมม์
ความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชั่วโมงแรกของการโจมตี
การรุกซอมม์ทำให้กองทัพอังกฤษสูญเสียทหารไปทั้งสิ้นเกือบครึ่งล้านนาย
ทั้งสองฝ่ายนั้นพิสูจน์แล้วว่าไม่อาจตัดสินผลชี้ขาดเป็นเวลากว่าสองปี
แม้ว่าการปฏิบัติยืดเยื้อของเยอรมนีที่ป้อมแวร์เดิงตลอด ค.ศ. 1916 ประกอบกับการนองเลือดที่แม่น้ำซอมม์
ทำให้กองทัพฝรั่งเศสที่เหนื่อยล้าใกล้ล่มสลายเต็มที ความพยายามอันไร้ผลในการโจมตีทางด้านหน้าทำให้กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสสูญเสียกำลังพลไปสูงลิบ
และนำไปสู่การขัดคำสั่งอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการรุกเนวิลล์
ตลอด ค.ศ. 1915-1917
จักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสประสบความสูญเสียหนักกว่ากองทัพเยอรมันมากนัก
จากสถานะทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ทั้งสองฝ่ายเลือก ซึ่งในทางยุทธศาสตร์
ขณะที่ฝ่ายเยอรมันโจมตีหลักเพียงครั้งเดียวที่แวร์เดิง
ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับโจมตีผ่านแนวของฝ่ายเยอรมันหลายครั้ง ในทางยุทธวิธี หลักการ
"การป้องกันยืดหยุ่น" ของผู้บัญชาการเยอรมนี อีริช ลูเดนดอร์ฟ
เหมาะสมกับการสงครามสนามเพลาะ การป้องกันแบบนี้มีที่มั่นด้านเบาบาง
ส่วนที่ตั้งหลักนั้นอยู่ห่างออกไปพ้นพิสัยปืนใหญ่
ที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตีโต้ตอบอย่างฉับพลันและทรงพลัง
ณ
ช่วงใดช่วงหนึ่ง มีทหารจากอังกฤษและเครือจักรภพประจำอยู่ที่แนวรบด้านตะวันตกราว 1.1
ถึง 1.2 ล้านนายตลอดเวลา ทหารกว่าหนึ่งพันกองพัน
ครอบครองพื้นที่เป็นแนวยาวจากทะเลเหนือจนถึงแม่น้ำออร์น
และใช้ระบบหมุนเวียนสี่ขั้นนานหนึ่งเดือน เว้นแต่ขณะอยู่ระหว่างการโจมตี
แนวรบนั้นเป็นแนวสนามเพลาะยาวกว่า 9.600 กิโลเมตร
แต่ละกองพันจะประจำอยู่ในพื้นที่เป็นเวลาราวหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะถูกส่งกลับไปยังเส้นทางส่งกำลังบำรุงและจากนั้นถอยกลับไปยังแนวสนับสนุนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนเปลี่ยนเวน
ซึ่งใช้กันมากในเขตโพเพริงและอแมนส์ของเบลเยียม
ในยุทธการแอเรซ ค.ศ. 1917 ความสำเร็จทางทหารสำคัญของอังกฤษเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
คือ สามารถยึดเนินวีมีได้โดยกองทัพแคนาดาภายใต้การบังคับบัญชาของเซอร์อาเธอร์ คูรี และจูเลียน บียง ฝ่ายโจมตีสามารถรุกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
จากนั้นก็ทำการเสริมกำลังได้อย่างรวดเร็วและยึดครองสันเขาซึ่งป้องกันที่ราบบูไอ ซึ่งอุดมไปด้วยถ่านหิน
ความคิดเห็น