กำเนิดก๊าซไฮโดรเจนด้วยพลังงานเเสงอาทิตย์ (Photo-hydrogen generation)
ศาสตราจารย์ มาโนรันจัน มิสรา (Manoranjan Misra) เเห่ง University of Nevada, Reno ได้ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการกำเนิดก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเป็นหนึ่งในพลังงานที่ไม่มีวันหมดที่สำคัญในอนาคต
ศาสตราจารย์มิสราเพิ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัยเป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐจากกรมการพลังงานของสหรัฐอเมริกา
(US Department of Energy) โดยโครงการของ ศ.มิสรา
เป็นการใช้วัตถุที่ไวต่อเเสงอาทิตย์ (photo-active material) ดึงพลังงานจากเเสงอาทิตย์มากำเนิดก๊าซไฮโดรเจน นอกจากจะเป็นพลังงานที่สะอาดมากเเล้ว ก๊าซไฮโดรเจนยังเผาผลาญให้พลังงานมีประสิทธิภาพกว่าน้ำมันถึง 33 เปอร์เซ็นต์
ส่วนสถานที่ตั้งของการวิจัยนั้น อยู่ทางเหนือของมลรัฐ Nevada ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีเเสงเเดดจ้าถึง 10 เดือนต่อปี
“เราสามารถนำเอาความได้เปรียบทางเเหล่งพลังงานเเสงอาทิตย์นี้มาก่อกำเนิดก๊าซไฮโดรเจน” ศ.มิสรากล่าว “สถานที่วิจัยของเราตั้งอยู่ในมลรัฐ Nevada ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับพลังงานเเสงอาทิตย์มากถึง 1 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร ช่างเป็นพื้นที่ๆเหมาะเจาะเสียจริง”
ทีมวิจัยของศ.มิสรา ได้สร้างวัตถุกำเนิดไฮโดรเจนที่มี Nanotubes เป็นพันๆล้านท่อ ซึ่งทำให้มันสามารถกำเนิดไฮโดรเจนจากน้ำได้ วัตถุดังกล่าวถูกผลิตมาจากกระบวนการไฟฟ้าเคมีควบกับการใช้คลื่นอุลตร้าโซนิค (รูปด้านล่างสุดเป็นภาพจำลองของโมเลกุลน้ำใน nanotobe โดยโมเลกุลน้ำเเบ่งออกป็นสองชั้น ชั้นในสีเหลืองเป็นchainเดียว ส่วนเปลือกชั้นนอกเป็นสีเเดง ห่อหุ้มด้วย single-wall nanotube สีน้ำตาล)
“ในช่วงเเรกของการทดลองในห้องเเล็บ เราใช้เเค่เเสงอาทิตย์จำลอง” ศ.มิสราเล่า เเสงอาทิตย์จะให้พลังงานเเก่อิเล็คตรอนในโมเลกุลน้ำ เเละเมื่ออิเล็คตรอนได้รับพลังงาน ก็จะกำเนิดก๊าซไฮโดรเจนขึ้น “เรากำลังหาระบบที่พลังงานเเสงเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายของอิเล็คตรอนมากที่สุด”
ระบบดังกล่าวอาจได้รับการพัฒนาไปสู่ระดับอุตสาหกรรมภายในปี 2010 ถึงตอนนั้น ก๊าซไฮโดรเจนก็จะสามารถถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถหรือในบ้านได้ เเหล่งพลังงานใหม่นี้จะคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ศ.มิสราทิ้งท้ายว่า“ด้วยปัจจัยที่เอื้ออำนวย เเละ เเนวโน้มการใช้พลังงานในขณะนี้ ศักยภาพของระบบพลังงานนี้จะไร้ที่สิ้นสุด”
จาก
http://www.sciencedaily.com/releases/2007/02/070222180945.htmเเหล่ง University of Nevada, Reno
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น