วันนั้นสวรรค์มืด - วันนั้นสวรรค์มืด นิยาย วันนั้นสวรรค์มืด : Dek-D.com - Writer

    วันนั้นสวรรค์มืด

    โดย FioRaNo

    ผู้เข้าชมรวม

    489

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    489

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 พ.ค. 50 / 13:50 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       
      วันนั้นสวรรค์มืด
      เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ได้เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเหนือหอดูดาว Mauna Kea ในหมู่เกาะฮาวาย เงามืดของดวงจันทร์เคลื่อนจากฮาวาย ผ่านประเทศเม็กซิโก จนกระทั่งถึงบราซิล ท้องฟ้าเหนือเกาะฮาวายมืดตอนกลางวันนาน 7 นาที ซึ่งนับได้ว่า เป็นสุริยุปราคาที่นานที่สุด ครั้งหนึ่งในศตวรรษนี้ สุริยุปราคาเต็มดวง จะเกิดอีกครั้งหนึ่งในภูมิภาคนี้ในปี พ.ศ. 2675
      มนุษย์ในสมัยโบราณให้ความยำเกรง และนับถือดวงอาทิตย์เสมอเหมือนเทพเจ้า เพราะดวงอาทิตย์ ให้ชีวิตแก่โลก และไม่มีดาวใด ในจักรวาลที่จะมีอิทธิพลต่อโลกเท่าดวงอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อเห็นดวงอาทิตย์ถูก "ดับ" ผู้คนจึงตระหนกตกใจและกลัวตายสุดๆ เมื่อ 42 ปีก่อนพุทธกาล ชนเผ่า Medes และ Hydians ถึงกับประกาศ ยุติสงครามที่ได้สู้รบกันมาอย่างยืดเยื้อถึง 6 ปี ทันทีที่เกิดสุริยุปราคา และในปี พ.ศ. 1383 เมื่อโอรสของจักรพรรดิ Charlemagne ได้ทอดพระเนตรเห็นสุริยุปราคา พระหทัยของพระองค์ ได้ทรงวายอย่างฉับพลันเพราะความกลัว จักรพรรดิโรมันที่รุ่งเรือง ก็เริ่มสลายตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2462 Sir A. Eddington ได้ประสบ ความสำเร็จในการใช้ปรากฏการณ์สุริยุปราคา ทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ที่ว่า แสงจากดวงดาว ขณะผ่านใกล้ดวงอาทิตย์จะเดินเป็นเส้นโค้ง ทำให้เราสามารถเห็นดาวที่อยู่เบื้องหลังดวงอาทิตย์ได้ นักดาราศาสตร์ ได้พบว่า
      โดยเฉลี่ยแล้ว ในทุกๆ 1.5 ปี จะมีสุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง และระยะเวลาในการเกิดจะ นานบ้าง สั้นบ้าง ประมาณกันว่า ในชั่วชีวิตของคนหนึ่งๆ เขาจะมีโอกาสเฝ้าดูอุปราคาได้ อย่างมากที่สุดก็ 3-4 ชั่วโมง
      เหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงต้องฮือฮา ติดตาม และทุ่มเงินทอง เวลา และความพยายามศึกษาปรากฏการณ์ "ไฟฟ้าดับในสวรรค์" ด้วยเล่า
      ทั้งนี้เพราะขณะเกิดสุริยุปราคา นักวิทยาศาสตร์สามารถเห็นการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ได้อย่างละเอียด เขาสามารถวัดอุณหภูมิของบริเวณต่างๆ บนดวงอาทิตย์ เช่น ที่ผิวหรือที่บริเวณสว่างเหนือผิว (corona) เพื่อหา คำตอบว่า เหตุใดบริเวณบรรยากาศเหนือผิวดวงอาทิตย์จึงมีอุณหภูมิสูงกว่าที่บริเวณผิวหลายพันเท่า เขาต้องการศึกษา ชนิดของแก๊สที่ระเบิดออกมาจากดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมาอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ ยังพยายามค้นหาตำแหน่ง ของวงแหวนรอบดวงอาทิตย์ และศึกษาสนามแม่เหล็กของดวง อาทิตย์ว่ามีอิทธิพลต่อบรรยากาศชั้นบนอย่างไร และเพียงใดอีกด้วย สุริยุปราคาเต็มดวงยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เห็น คลื่นบนผิวดวงอาทิตย์ที่สั่น สูงถึง 30 กิโลเมตร ได้ด้วย
      จึงเห็นได้ว่าความรู้ทั้งหลาย ที่ได้จากการศึกษา จะช่วยเสริมความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับจักรวาล
      ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการสังเกต สุริยจักรวาลในครั้งนี้ชี้บอกว่า ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าที่เราเคยคิด ก่อนถึง 0.4% ส่วนปัญหาเรื่องอุณหภูมิที่ผิว เหนือผิว และใต้ผิว ดวงอาทิตย์นั้น ยังเป็นปัญหาที่ร้อนรุ่มกลุ้มใจ ของ เหล่านักสุริยศาสตร์ ซึ่งยังหาคำตอบ ประเภทจบด้วยเอยยังไม่ได้
      ก็เวลาทำงานเพียง 7 นาที จะให้เราตอบคำถามได้ทุกคำถาม ก็เห็นจะเกินไปใช่ไหมครับ

      ที่มา : ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×