ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติพระมหากษัตริย์ไทย

    ลำดับตอนที่ #7 : รัชกาลที่ 7 แห่งราชจักรีวงศ์

    • อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 50


    รัชกาลที่ ๗ แห่งราชจักรีวงศ์

    พระนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
    พระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลก รามาธิบดีฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระนามย่อ ประชาธิปกศักดิเดชน์ 
    พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์  
    พระราชสมภพ วันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕ นาฬิกา 
    ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖  
    เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ ๙ ในสมเด็จพระพันปีหลวง  
    เสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ 
    รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๙ ปี 
    พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น - พระองค์ 
    สวรรคต  เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ 
    รวมพระชนมพรรษา ๕๒ พรรษา
    วัดประจำรัชกาล  ไม่มี  
    ตราประจำรัชกาล  
    เหตุการณ์สำคัญ  
    พ.ศ.๒๔๖๘
    • ตั้งอภิรัฐมนตรีสภา
    • พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
    พ.ศ.๒๔๖๙
    • ดุลย์ข้าราชการครั้งใหญ่คราวแรก เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ
    • ตั้งราชบัณฑิตสภา
    • เปิดหอพระสมุดวชิราวุธ
    พ.ศ.๒๔๗๐
    • จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งแรก
    พ.ศ.๒๔๗๒
    • เสด็จประพาสมาลายู ชวา บาหลี
    • พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงเพิ่มอีกปีละ ๑ ทุน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
    พ.ศ.๒๔๗๓
    • เสด็จประพาสญวน เขมร
    • พระราชทานปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตครั้งแรก
    • เสด็จประพาสยุโรป อเมริกา
    พ.ศ.๒๔๗๔
    • เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
    •  เลิกเก็บเงินศึกษาพลี
    • ที่ประชุมสมุหเทศาภิบาลลงมติรับหลักการร่าง พระราชบัญญัติเทศบาลฉบับแรก
    พ.ศ.๒๔๗๕
    • ฉลองพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี
    • คณะราษฎร์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
    • ประกาศหลัก ๖ ประการเป็นแนวการปกครอง คือ
      • จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศให้มั่นคง
      • จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง
      • จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ ราษฎรอดอยาก
      • จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน
      • จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการ ดังกล่าวข้างต้น
      • จะต้องให้การศึกษาเต็มที่กับราษฎร
    • พระราชทานธรรมนูญการปกครองชั่วคราว เมื่อ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
    • เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานรัฐสภาท่านแรก
    • พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีท่านแรก
    • ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน
    • พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕
    • ประกาศใช้แผนการศึกษาฉบับใหม่
    พ.ศ.๒๔๗๖
    • เลิกพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
    • เกิดกบฏบวรเดช
    • เลิกการปกครองแบบเทศาภิบาล
    • ตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • ตั้งกรมพลศึกษา
    • ข้าวปิ่นแก้วได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดที่แคนาดา
    พ.ศ.๒๔๗๗
    • ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
    พ.ศ.๒๔๘๔
    • เสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔
     
     

     ปรับปรุงล่าสุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 01:43 น.

     

    อ้างอิง :
    • ประกอบ โชประการ, ประยุทธ สิทธิพันธ์, สมบูรณ์ คนฉลาด. 
    • หนังสือ ๙ พระมหากษัตริย์ไทยครองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี. กรุงเทพฯ : วิชัย อังศุสิงห์  หนังสือพิมพ์รวมข่าว 2525.
    • กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. ฉัตรแก้วเก้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2540.
    • กองทัพบก. วันจักรี. 2526.





     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×