ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติพระมหากษัตริย์ไทย

    ลำดับตอนที่ #6 : รัชกาลที่ 6 แห่งราชจักรีวงศ์

    • อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 50


    รัชกาลที่ ๖ แห่งราชจักรีวงศ์


     


    พระนาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
    พระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระนามย่อ  -
    พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณ นาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์ บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโตสุชาติคุณสังกาศวิมลรัตน กฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร  
    พระราชสมภพ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง 
    ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓  
    เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ 
    เสวยราชสมบัติ เมื่อวันเสาร์ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ 
    รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี 
    พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น - พระองค์ 
    สวรรคต  เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ 
    รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา
    วัดประจำรัชกาล ไม่มี ทรงมีพระบรมราชโองการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล 
    ตราประจำรัชกาล   
    เหตุการณ์สำคัญ
    • ทรงเสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เป็นระยะเวลา ๙ ปี 
    พ.ศ.๒๔๕๓
    • ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย)
    • ยกฐานะโรงเรียนมหาดเล็ก เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
    • ตั้งกองเสือป่า
    พ.ศ.๒๔๕๔
    • ตั้งกองลูกเสือ
    • มีการปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองและต้องการลอบปลงพระชนม์ ตรงกับ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔
    พ.ศ.๒๔๕๕
    • จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงยุติธรรมใหม่  แยกฝ่ายธุรการและฝ่ายตุลาการออกจากกัน
    • ตั้งสถานเสาวภา
    • ตั้งวชิรพยาบาล
    • จัดให้มีงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งแรก
    พ.ศ.๒๔๕๖
    • ตราพระราชบัญญัติ คลังออมสิน
    • จัดตั้งกรมสหกรณ์
    • เปิดกิจการวิทยุโทรเลข
    • เปิดการไฟฟ้าหลวง
    • ประกาศใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชในราชการ
    • ตราพระราชบัญญัตินามสกุล
    พ.ศ.๒๔๕๗
    • ตั้งกองบินขึ้นในกองทัพบก  เริ่มสร้างสนามบินดอนเมือง
    • เปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    • ตั้งโรงเรียนพยาบาลของสภากาชาดไทย
    • ตั้งเนติบัณฑิตยสถาน
    พ.ศ.๒๔๕๙
    • เลิกหวย ก.ข.
    • ทดลองจัดตั้งสหกรณ์เป็นแห่งแรก
    • ตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    พ.ศ.๒๔๖๐
    • ประกาศสงครามกับเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร
    • เปลี่ยนธงชาติ จากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์
    • ตั้งกรมมหาวิทยาลัย
    • เลิกการพนันบ่อนเบี้ย
    • เปิดสถานีหัวลำโพง
    • เปลี่ยนแปลงการนับเวลาให้สอดคล้องกับสากล
    • แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร
    • กำหนดคำนำหน้านามสตรี
    พ.ศ.๒๔๖๑
    • ตั้งดุสิตธานี ทดลองการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย
    • ตราธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล
    • ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ฉบับแรก
    • ตั้งกรมสาธารณสุข
    • ส่งทหารไปร่วมรบในยุโรป
    • รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงปาดังเบซาร์
    พ.ศ.๒๔๖๒
    • วางระเบียบการเรียกเก็บเงินรัชชูปการ
    พ.ศ.๒๔๖๓
    • แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับสหรัฐอเมริกาสำเร็จเป็นประเทศแรก
    • เปิดการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่าง กรุงเทพ-นครราชสีมา
    • สตรีในพระราชสำนัก เริ่มนุ่งซิ่น ไว้ผมยาว
    พ.ศ.๒๔๖๔
    • ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับแรก
    • กำหนดคำนำหน้านาม เด็ก เป็นเด็กชาย เด็กหญิง
    • รถไฟหลวงสายเหนือ เปิดเดินได้ถึงเชียงใหม่
    • สภากาชาดไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตสภากาชาด
    พ.ศ.๒๔๖๕
    • ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ชั่วคราว
    • เปิดสถานเสาวภา
    • เริ่มสร้างสะพานพระรามหก
    พ.ศ.๒๔๖๖
    • ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง พาณิชย์ ครั้งแรก
    • ตั้งสถานีอนามัย
    • เปิดสายการบิน นครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-อุดร-หนองคาย
    • แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับญี่ปุ่นสำเร็จเป็นประเทศที่ ๒
    พ.ศ.๒๔๖๗
    • ส่งคณะฑูตพิเศษไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับนานาชาติ
    • ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์
    พ.ศ.๒๔๖๘
    • เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๘
     
     

     ปรับปรุงล่าสุดวันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2547 16:02 น.

     

    อ้างอิง :
    • ประกอบ โชประการ, ประยุทธ สิทธิพันธ์, สมบูรณ์ คนฉลาด. 
    • หนังสือ ๙ พระมหากษัตริย์ไทยครองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี. กรุงเทพฯ : วิชัย อังศุสิงห์  หนังสือพิมพ์รวมข่าว 2525.
    • กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. ฉัตรแก้วเก้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2540.



     


     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×