เหตุการณ์สำคัญ |
เสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
- ครั้งที่ ๑ เสียเขตแดนเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก ๖ เกาะ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐
- ครั้งที่ ๒ เสียอาณาจักรล้านช้าง (หรือหัวเมืองลาว) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ ๓๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๑
- ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน ๓ นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานฑูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ ๒ ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย ๓ ข้อ ให้ตอบใน ๔๘ ชั่วโมง เนื้อหา คือ
๑.ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ ๒.ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย ๓.ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ ๒๕ กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ ๒ ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม
- ไทยเสียเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ คือประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๔๗)
- ปีพ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึงประจันต์คีรีเขต (เกาะกษ) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปีพ.ศ. ๒๔๔๗
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๖๖,๔๕๕ ตารางกิโลเมตร
- และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขตเมืองหลวงพระบาง ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐
|
พ.ศ.๒๔๑๒ |
- เริ่มสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
|
พ.ศ.๒๔๑๔ |
- เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาเป็นครั้งแรก ต้นปี
- ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย
- เสด็จประพาส อินเดีย ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ต่อปีพ.ศ. ๒๔๑๕ (ปีวอก)
|
พ.ศ.๒๔๑๕ |
- โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
- เริ่มปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่
- เริ่มใช้เสื้อราชประแตน
|
พ.ศ.๒๔๑๖ |
- ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ทรงผนวช
- โปรดเกล้าฯ ให้เลิกประเพณีหมอบคลาน เวลาเข้าเฝ้า
- โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
|
พ.ศ.๒๔๑๗ |
- โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือ รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ปีจอ ออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาส ลูกไท
- กำเนิดโรงเรียนสตรีวังหลัง
- ใช้เงินอัฐกระดาษ แทนเหรียญทองแดง
- ตั้งพิพิธภัณฑสถาน
|
พ.ศ.๒๔๑๘ |
- สงครามปราบฮ่อ ครั้งแรก
- เริ่มการโทรเลขครั้งแรกระหว่างกรุงเทพ-สมุทรปราการ
|
พ.ศ.๒๔๒๔ |
|
พ.ศ.๒๔๒๖ |
- ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มเปิดบริการไปรษณีย์ครั้งแรกในพระนคร
- ตั้งกรมโทรเลข
- สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๒
|
พ.ศ.๒๔๒๗ |
- โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วๆ ไป ตามวัดต่างๆ เริ่มแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม
|
พ.ศ.๒๔๒๙ |
- โปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ทรงประกาศตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้น และทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมารเป็นพระองค์แรก
- สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๓
- ไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสหภาพไปรษณีย์สากล
|
พ.ศ.๒๔๓๐ |
- ตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร (กระทรวงกลาโหม)
- ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก
- ตั้งกระทรวงธรรมการ
- สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔
|
พ.ศ.๒๔๓๑ |
- ทรงเริ่มการทดลองจัดการปกครองส่วนกลางแผนใหม่
- เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก
- ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชในราชการ
- ตั้งกรมพยาบาล เปิดโรงพยาบาลศิริราช
- ตราพระราชบัญญัติ เลิกวิธีพิจารณาโทษตามแบบจารีตนครบาล
- เสียดินแดน แคว้นสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศส
|
พ.ศ.๒๔๓๒ |
- เริ่มใช้วันทางสุริยคติในราชการ
|
พ.ศ.๒๔๓๔ |
- ตั้งกระทรวงยุติธรรม
- ตั้งกรมรถไฟ และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา
|
พ.ศ.๒๔๓๕ |
- โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕
- ตั้งศาลโปริสภา
- ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป รุ่นแรก
|
พ.ศ.๒๔๓๖ |
- ให้เอกชนเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ
- ฉลองพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ครั้งแรก
- ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย
- ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
- เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
|
พ.ศ.๒๔๓๗ |
- ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร
- เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
- ตั้งโรงไฟฟ้า เริ่มกิจการรถราง
|
พ.ศ.๒๔๓๙ |
- โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงพิเศษไปจัดการศาลตามหัวเมือง
- จัดทำงบประมาณแผ่นดินครั้งแรก
- ตั้งโรงเรียนฝึกหัดวิชาแพทย์ และผดุงครรภ์
|
พ.ศ.๒๔๔๐ |
- เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ปีระกา
- ตราข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง
- ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
- เริ่มการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนในยุโรป ปีละ ๒ ทุน
|
พ.ศ.๒๔๔๑ |
- ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก
- รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นกรมเดียวกัน
- กำเนิดเหรียญ "สตางค์" รุ่นแรก
|
พ.ศ.๒๔๔๒ |
- เริ่มจัดตั้งกองทหารตามหัวเมือง
- เริ่มสร้างวัดเบญจมบพิตร
- ได้พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย
- ทำสนธิสัญญากำหนดสิทธิจดทะเบียนคนในบังคับอังกฤษ
|
พ.ศ.๒๔๔๔ |
- ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา
- เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา
- หล่อพระพุทธชินราชจำลอง
- บริษัทสยามไฟฟ้า ได้รับสัมปทานจำหน่ายไฟฟ้า เริ่มจุดโคมไฟตามถนนหลวง
|
พ.ศ.๒๔๔๕ |
- ตั้งกรมธนบัตร เริ่มใช้ธนบัตรครั้งแรก
- ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑
- ตั้งสามัคยาจารย์สมาคม
- ตั้งโอสถศาลา
- เปิดการเดินรถไฟหลวงสายใต้ ระหว่างกรุงเทพ-เพชรบุรี
|
พ.ศ.๒๔๔๗ |
- เสด็จประพาสต้นครั้งแรก
- ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศส
|
พ.ศ.๒๔๔๘ |
- ตราพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔
- ประกาศให้ลูกทาสเป็นไททั้งหมด ด้วยพระราชบัญญัติลักษณะทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ให้เป็นวันที่ทาสหมดสิ้นจากราชอาณาจักรไทย
- ตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร
- ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ฉบับแรก
- ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับเดนมาร์ก และอิตาลี
- ทดลองจัดสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
|
พ.ศ.๒๔๔๙ |
- เสด็จประพาสต้นครั้งหลัง
- เปิดโรงเรียนนายเรือ
- เสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ) ให้ฝรั่งเศส
|
พ.ศ.๒๔๕๐ |
- เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปีมะแม
- เสียดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
- จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรก
- เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา
|
พ.ศ.๒๔๕๑ |
- จัดการสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วไป
- ประกาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗
- เลิกใช้เงินพดด้วง
- ตราพระราชบัญญัติทองคำ ร.ศ.๑๒๗ ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแบบสากล
- สร้างพระบรมรูปทรงม้า
- เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ๔๐ ปี วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
- จ้างช่างที่กรุงปรารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ทำ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์นำมา ติดกับทองบรอนซ์เหมือนกันหนาประมาณ ๒๕ เซ็นติเมตร เป็นที่ม้ายืน โดยส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑
- ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อน อันเป็นแท่นรอง สูงประมาณ ๖ เมตร กว้าง ๒ เมตรครึ่ง ยาว ๕ เมตร
|
พ.ศ.๒๔๕๒ |
- เลิกใช้เงินเฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ โสฬส
- เริ่มกิจการประปา
- เสียดินแดน ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิส ให้อังกฤษ
|
พ.ศ.๒๔๕๓ |
- มีการแสดงกสิกรรมและพาณิชยกรรม ครั้งแรก
- เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๔ ตุลาคม
|
ความคิดเห็น