ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติพระมหากษัตริย์ไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : รัชกาลที่ 5 แห่งราชจักรีวงศ์

    • อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 50


    พระนาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
    พระนามเต็ม สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรม มหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร 
    พระนามย่อ  -
    พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร  
    พระราชสมภพ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู  
    ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖  
    เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ 
    เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับ พุทธศักราช ๒๔๑๑  
    รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี 
    พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์ 
    สวรรคต  เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ 
    ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ด้วยโรคพระวักกะ 
    รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
    วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม  
    ตราประจำรัชกาล  
    เหตุการณ์สำคัญ เสียดินแดนให้ฝรั่งเศส 
    • ครั้งที่ ๑ เสียเขตแดนเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก ๖ เกาะ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ 
    • ครั้งที่ ๒ เสียอาณาจักรล้านช้าง (หรือหัวเมืองลาว) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์  เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ ๓๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ 
    • ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน ๓ นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานฑูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ ๒ ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน  แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย ๓ ข้อ ให้ตอบใน ๔๘ ชั่วโมง   เนื้อหา คือ 
      ๑.ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ 
      ๒.ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
      ๓.ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ ๒๕ กิโลเมตร   
      ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ ๒ ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม 
    • ไทยเสียเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ คือประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง ๑๑ ปี  (พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๔๗) 
    • ปีพ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึงประจันต์คีรีเขต (เกาะกษ)  ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปีพ.ศ. ๒๔๔๗ 
    • วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด  
      รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๖๖,๔๕๕ ตารางกิโลเมตร 
    • และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขตเมืองหลวงพระบาง ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐ 
    พ.ศ.๒๔๑๒
    • เริ่มสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    พ.ศ.๒๔๑๔
    • เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาเป็นครั้งแรก ต้นปี 
    • ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย
    • เสด็จประพาส อินเดีย ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๔  ต่อปีพ.ศ. ๒๔๑๕ (ปีวอก)
    พ.ศ.๒๔๑๕
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
    • เริ่มปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่
    • เริ่มใช้เสื้อราชประแตน
    พ.ศ.๒๔๑๖
    • ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ทรงผนวช 
    • โปรดเกล้าฯ ให้เลิกประเพณีหมอบคลาน เวลาเข้าเฝ้า
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
    พ.ศ.๒๔๑๗
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือ รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา
    • วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ปีจอ ออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาส ลูกไท
    • กำเนิดโรงเรียนสตรีวังหลัง
    • ใช้เงินอัฐกระดาษ แทนเหรียญทองแดง
    • ตั้งพิพิธภัณฑสถาน
    พ.ศ.๒๔๑๘
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งแรก
    • เริ่มการโทรเลขครั้งแรกระหว่างกรุงเทพ-สมุทรปราการ
    พ.ศ.๒๔๒๔
    • สมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี
    พ.ศ.๒๔๒๖
    • ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มเปิดบริการไปรษณีย์ครั้งแรกในพระนคร
    • ตั้งกรมโทรเลข
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๒
    พ.ศ.๒๔๒๗
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วๆ ไป ตามวัดต่างๆ เริ่มแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม
    พ.ศ.๒๔๒๙
    • โปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    • ทรงประกาศตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้น และทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมารเป็นพระองค์แรก
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๓
    • ไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสหภาพไปรษณีย์สากล
    พ.ศ.๒๔๓๐
    • ตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร (กระทรวงกลาโหม)
    • ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก 
    • ตั้งกระทรวงธรรมการ
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔
    พ.ศ.๒๔๓๑
    • ทรงเริ่มการทดลองจัดการปกครองส่วนกลางแผนใหม่
    • เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก 
    • ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชในราชการ
    • ตั้งกรมพยาบาล เปิดโรงพยาบาลศิริราช
    • ตราพระราชบัญญัติ เลิกวิธีพิจารณาโทษตามแบบจารีตนครบาล 
    • เสียดินแดน แคว้นสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศส
    พ.ศ.๒๔๓๒
    • เริ่มใช้วันทางสุริยคติในราชการ
    พ.ศ.๒๔๓๔
    • ตั้งกระทรวงยุติธรรม
    • ตั้งกรมรถไฟ และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา
    พ.ศ.๒๔๓๕
    • โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕
    • ตั้งศาลโปริสภา
    • ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป รุ่นแรก
    พ.ศ.๒๔๓๖
    • ให้เอกชนเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ
    • ฉลองพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ครั้งแรก
    • ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย
    • ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
    • เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
    พ.ศ.๒๔๓๗
    • ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร
    • เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
    • ตั้งโรงไฟฟ้า เริ่มกิจการรถราง
    พ.ศ.๒๔๓๙
    • โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงพิเศษไปจัดการศาลตามหัวเมือง
    • จัดทำงบประมาณแผ่นดินครั้งแรก
    • ตั้งโรงเรียนฝึกหัดวิชาแพทย์ และผดุงครรภ์
    พ.ศ.๒๔๔๐
    • เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ปีระกา 
    • ตราข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง
    • ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
    • เริ่มการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนในยุโรป ปีละ ๒ ทุน
    พ.ศ.๒๔๔๑
    • ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก
    • รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นกรมเดียวกัน
    • กำเนิดเหรียญ "สตางค์" รุ่นแรก
    พ.ศ.๒๔๔๒
    • เริ่มจัดตั้งกองทหารตามหัวเมือง
    • เริ่มสร้างวัดเบญจมบพิตร
    • ได้พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย
    • ทำสนธิสัญญากำหนดสิทธิจดทะเบียนคนในบังคับอังกฤษ
    พ.ศ.๒๔๔๔
    • ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา
    • เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา
    • หล่อพระพุทธชินราชจำลอง
    • บริษัทสยามไฟฟ้า ได้รับสัมปทานจำหน่ายไฟฟ้า เริ่มจุดโคมไฟตามถนนหลวง
    พ.ศ.๒๔๔๕
    • ตั้งกรมธนบัตร เริ่มใช้ธนบัตรครั้งแรก 
    • ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑
    • ตั้งสามัคยาจารย์สมาคม
    • ตั้งโอสถศาลา
    • เปิดการเดินรถไฟหลวงสายใต้ ระหว่างกรุงเทพ-เพชรบุรี
    พ.ศ.๒๔๔๗
    • เสด็จประพาสต้นครั้งแรก
    • ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศส
    พ.ศ.๒๔๔๘
    • ตราพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ 
    • ประกาศให้ลูกทาสเป็นไททั้งหมด ด้วยพระราชบัญญัติลักษณะทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐  ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔  ให้เป็นวันที่ทาสหมดสิ้นจากราชอาณาจักรไทย
    • ตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร
    • ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ฉบับแรก
    • ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับเดนมาร์ก และอิตาลี
    • ทดลองจัดสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
    พ.ศ.๒๔๔๙
    • เสด็จประพาสต้นครั้งหลัง 
    • เปิดโรงเรียนนายเรือ
    • เสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ) ให้ฝรั่งเศส
    พ.ศ.๒๔๕๐
    • เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปีมะแม 
    • เสียดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
    • จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรก 
    • เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา
    พ.ศ.๒๔๕๑
    • จัดการสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วไป 
    • ประกาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗
    • เลิกใช้เงินพดด้วง
    • ตราพระราชบัญญัติทองคำ ร.ศ.๑๒๗ ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแบบสากล
    • สร้างพระบรมรูปทรงม้า 
      • เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ๔๐ ปี  วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 
      • จ้างช่างที่กรุงปรารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ทำ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์นำมา ติดกับทองบรอนซ์เหมือนกันหนาประมาณ ๒๕ เซ็นติเมตร เป็นที่ม้ายืน  โดยส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ 
      • ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อน อันเป็นแท่นรอง สูงประมาณ ๖ เมตร กว้าง ๒ เมตรครึ่ง ยาว ๕ เมตร 
    พ.ศ.๒๔๕๒
    • เลิกใช้เงินเฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ โสฬส
    • เริ่มกิจการประปา
    • เสียดินแดน ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิส ให้อังกฤษ
    พ.ศ.๒๔๕๓
    • มีการแสดงกสิกรรมและพาณิชยกรรม ครั้งแรก
    • เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๔ ตุลาคม





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×