ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ว่าด้วยเรื่องของ...{ฮวงจุ้ย}

    ลำดับตอนที่ #3 : ว่าด้วยเรื่องของ...หยินและหยาง(2) Edit: เพิ่มเติมข้อมูลกันจั๊กน้อย)

    • อัปเดตล่าสุด 18 เม.ย. 52




    ว่าด้วยเรื่องของ หยิน และ หยาง (ภาคสอง)



              คนที่เข้ามาดูคงจะบ่นประมาณว่า "มันยังไม่จบอีกเรอะ???" แหงๆ (ฮา)

              ช่วยไม่ได้ฮะ เรื่องนี้มันเรื่องใหญ่ ถึงจะไม่เกี่ยวกับฮวงจุ้ยซักเท่าไหร่ แต่มันก็พอจะมีเอี่ยวอยู่บ้าง

              ขอเล่าแบบฉบับของข้าน้อยต่อเลยแล้วกัน

              จากไอ้ที่คาไว้จากตอนที่แล้ว...ช่วงบนๆหน่อยมั้ง

              ข้าน้อยพูดถึงเรื่อง "หยินและหยาง"ที่แทน"ชายแหละหญิง" อยู่ใช่ไหม

              วันนี้มาว่ากันต่อเลย

              "หยาง" (สีขาว) เนี่ย แทนส่วนที่มีความเข้มแข็ง ความเป็นชาย พลังจากวิญญาณ พลังหยาบของวิญญาณ มีความมุ่งมั่น สู่ความเป็นหนึ่ง หรือ ความยิ่งใหญ่แห่งอำนาจ หรือแห่งชีวิต คือ ฉี้ (Respiration)

              ส่วน "หยิน" (สีดำ) แทนความอ่อนโยน ความเป็นหญิง ความสงบนิ่ง พลังจิต สมาธิจิต  พลังจิตใจอันละเอียดอ่อนแบบหญิง มุ่งสู่ฌานปัญญา (Meditative)

              อาจจะแปลกใจ ทำไมผู้หญิงถึงไม่ใช่สีขาวฟะ??? ไม่ต้องงงหรอก เพราะข้าน้อยเองก็งงๆอยู่

              จากที่เดาๆบวกกับที่เคยอ่านผ่านๆตา (เมื่อนานมาแล้ว) จำได้ว่า...หยินเนี่ย นอกจากจะแทนความสงบนิ่งแล้ว ยังแทนความแปรปรวน ควบคุมไม่ได้อีกด้วย นี่คงจะเป็นจุดที่เหมือนผู้หญิงล่ะมั้ง?

              เหมือนๆจะนิ่งสงบเรียบร้อย แต่อยู่ดีๆก็ลุกขึ้นมากระโชกโฮกฮาก ดุชนิดที่เสือสมิงยังยอมแพ้ อ ะไรแบบนั้น

              บางที่ก็บอกไว้ว่า "หยาง" แทนเพศชาย เป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแกร่ง ส่วน "หยิน" แทนเพศหญิง ความอ่อนโยน แปรปรวน...

              อืม...ต้องเพราะแบบนี้แหงๆ

              เข้าเรื่องต่อดีกว่า

              นักปรัชญาชาวจีน(ใครซักคนนี่ล่ะ) ได้แทนการเคลื่อนไหวของหยินและหยางด้วยสัญลักษณ์ที่เรียกว่า "ไท่จี๋ถู" (Tai Chi Tu)

              เรียกแบบไฮโซว์~ หน่อยก็ แผนภูมิแสดงสัจธรรมอันสูงสุด! (โอ้ว~~ มันคือสัจธรรม!!!)

              จุดสองจุดในสัญลักษณ์นั้น แทนความหมายว่า เมื่อขั้วใดขั้วหนึ่งขึ้นถึงจุดสุดยอด (เฮ้ย!!! อย่าคิดลึก!!!) ก็จะต้องมีสิ่งตรงข้ามกันอยู่เสมอ ทำนองนั้น...

              แล้วนักปรัชญาชาวจีนก็ยังมองอีกว่า ก่อนที่จะเกิดสรรพสิ่งขึ้น จักรวาลนั้นเป็นสภาวะว่างเปล่า เรียกกันว่า "อู่ฉี" หรือ "อู๋จี๋" เอ่อ...ซักอย่างเนี่ยล่ะ ข้าน้อยออกเสียงไม่ถูก (เค้าเขียนไว้ว่า Ou Chi น่ะ - -*)

              แล้วสิ่งที่เกิดตามมาหลังสภาวะว่างเปล่า จนเป็นจักรวาล เรียกว่า "ไทจี๋" (Tai Chi)

              อ่านเอง สรุปเอง งงเองอีกแล้ว

              ทำไมนักปรัชญาจีนนี่จินตนาการล้ำเลิศเยี่ยงนี้หนอ? สงสัยจะต้องไปปวารณาตัวเป็นศิษย์เสียหน่อยแล้ว


              Edit :: เพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อย (ขอบพระคุณท่าน Cherrykids ฮะ)

              หยินและหยาง มันคือสัจธรรม!!! (Animal will do. -0-"") (/me โดนตบ)

              ข้าน้อยลืมข้มูลส่วนนี้ไปซะสนิทเลย

              ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ หากมองให้เป็น...มันก็เป็นหยินและหยางได้ฮะ

              เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมมีด้านตรงกันข้ามของมัน

              มีซ้าย ต้องมีขวา

              มีด้านหน้า ต้องมีด้านหลัง

              มีขาว ต้องมีดำ

              มันเป็นของคู่กัน!!!

              จุดขาวในสีดำ และจุดดำในสีขาว แสดงถึง ในหยางต้องมีหยิน และในหยินต้องมีหยาง

              แสดงถึงความสมดุลและความยืดหยุ่น

              ประมาณว่า แม้ทั้งสองด้านจะตรงข้ามกัน แต่ก็รวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ (อย่าคิดลึก!!!) รู้สึกว่าจะเรียกว่า "เอกภาวะ" ประมาณนั้น

              ในเรื่องขอความยืดหยุ่นนี่...

              อธิบายกันแบบกำปั้นทุบดินก็...

              จากที่บอกไว้ด้านบนๆนู้น~~~

              เมื่อหยินและหยาง...ขั้วใดขั้วหนึ่ง ขึ้นถึงจุดสุดยอด (มุกนี้อีกแล้วฉัน - -*) ก็ต้องถอยหลังลงมาให้อีกขั้วหนึ่ง และจะเป็นแบบนี้เสมอ

              จึงได้เป็นการแสดงถึงความยืดหยุ่น...มีการยอมลงให้อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่ว่า "ตูจะเด่น" อยู่ฝ่ายเดียว

              อืม...ประมาณนั้น

              (ที่จริงแล้ว...ข้าน้อยอธิบายแบบดีๆไม่เป็นล่ะนะ - -*)

    Credit : ท่าน Cherrykids สำหรับเรื่องข้อมูลที่ตกหล่น

              และ เฮียที TheT สำหรับมุก สัตว์-จะ-ทำ (Animal will do)  ฮะ

              - -*
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×