คณะวิศวกรรมศาสตร์ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ นิยาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ : Dek-D.com - Writer

    คณะวิศวกรรมศาสตร์

    ไม่เห็นมีใครอัพบทความเกี่ยวกับศึกษาเลยครับ ผมเลยถือโอกาสมาอัพซะเอง คราวนี้สำหรับคนที่อยากเป็นวิศวกรนะครับ...(อาจจะยาวไปซะหน่อยแต่ก็ช่วยๆกันอ่านด้วยนะครับ)

    ผู้เข้าชมรวม

    8,414

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    8.41K

    ความคิดเห็น


    10

    คนติดตาม


    4
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 ก.ค. 49 / 18:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      คณะวิศวกรรมศาสตร์
      คืออะไร
      คณะนี้เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำวิทยาการและความรู้ทางวิทยศาสตร์มาประยุกต์ คิดค้น ออกแบบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ การเรียนในคณะนี้ ต้องมีพื้นฐานที่ดีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ซึ่งแน่นอนว่าต้องเรียนสายวิทย์-คณิต เท่านั้น

      หลักสูตร
      จะเป็นการศึกษาทั้งทางด้านทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 4 ปี
      ในชั้นปีที่ 1 จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานก่อน ได้แก่ คณิตศาสตร์(แคลคูลัส,เรขาคณิตวิเคราะห์ และสมการดิฟเฟอเรลเชียล) วิทยาศาสตร์ ( กลศาสตร์วิศวกรรม,ความร้อน,แสง,เสียง,แม่เหล็กไฟฟ้า และฟิสิกส์ยุคใหม่ ) เคมี อังกฤษ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมบางส่วน
      ในชั้นปีที่ 2-4 เน้นหนักในภาควิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมและสาขาวิชาเอก ดังนี้
      1.สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การออกแบบและการสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่นำเอาความรู้ทางด้านระบบดิจิตอลมาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆได้และวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
      2.สาขาวิศวกรรมเคมี เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จัดสร้างและกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ โดยศึกษาหลักการกระบวนการผลิตต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสม สถานะ ภาวะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบ โดยเน้นการออกแบบอุปกรณ์และโรงงานกระบวนการอุตสาหกรรมเคมี การควบคุมปฏิกรณ์เคมี การคำนวณดุลมวลและพลังงาน ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
      3.สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์และออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรและสิ่งประดิษฐ์ ออกแบบแปลนการติดตั้ง ควบคุมการใช้งาน ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ระบบความเย็น ระบบปรับภาวะอากาศ หม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ และระบบท่อประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้านประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ
      4.สาขาวิศวกรรมเรือ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์ การออกแบบ รวมทั้งการผลิตและการประกอบพาหนะทางน้ำชนิดต่างๆตลอดถึงการออกแบบระบบต่างๆภายในตัวเรือ รวมถึงโครงสร้างข้างเคียงอื่นๆ
      5.สาขาวิศวกรรมยานยนต์ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ใช้ในด้านการออกแบบและด้านการผลิต มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตและรู้จักการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ
      6.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การออกแบบและการสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุม โดยเน้นหนักทางด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความปลอดภัย
      7.สาขาวิศวกรรมโยธา ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของประเทศ
      8.สาขาวิศวกรรมโลหการ เป็นศาสตร์และศิลปในการสกัดโลหะจากสินแร่ของมันแล้วทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจัดเตรียมและทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การใช้งาน
      9.สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงสภาวะแวดล้อมและสร้างที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ครอบคลุมถึงการแก้ปัญหาสุขอนามัยภายในโรงงานอุตสาหกรรม การขจัดมลพิษและมลภาวะของน้ำ อากาศ และอื่นๆ
      10.สาขาวิศวกรรมสำรวจ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการวางแผน การรังวัด การคำนวณและวิเคราะห์รายละเอียดของพื้นผิวโลก เพื่อนำมาใช้ในการทำแผนที่ แผนผังหรือกำหนดค่าพิกัด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นสำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมต่างๆ
      11.สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแร่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งเพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ
      12.สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการพัฒนาประเทศ
      13.สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน วิเคราะห์ และควบคุมระบบการผลิตต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมและการบริหารทางธุรกิจ โดยเน้นหนักเรื่องการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต ศึกษาแก้ไขปัญหาทางการผลิตและปัญหาต่างๆของโรงงานอย่างมีระเบียบแบบแผน การวางแผนและการควบคุมการผลิต อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงงานกับฝ่ายบริหารด้วย
      14.สาขาวิศวกรรมวัสดุ มุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุทั้งการใช้งานและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้หลักสูตรได้ครอบคลุมวิชาหลักที่สำคัญๆ ได้แก่ โครงสร้าง สมบัติ กระบวนการ และสมรรถนะของวัสดุ
      15.สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน ซึ่งประกอบด้วย 3 สาขา คือ อากาศพลศาสตร์และการขับดันอากาศยาน ระบบควบคุมอัตโนมัติและควบคุมการบิน และการออกแบบโครงสร้างอากาศยาน
      16.สาขาวิศวกรรมเกษตร เป็นการประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมในการผลิตทางการเกษตร การแปรสภาพและการเก็บรักษาผลผลิตเกษตร ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร กำลังทางระบบการเกษตร การถ่ายเทคามร้อนและมวลสาร วิศวกรรมผลผลิตทางการเกษตร สมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เกษตร รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร ระบบและเครื่องจักรกลไฮดรอลิกนิวแมติก เครื่องสูบและระบบการจ่าย การวัดและอุปกรณ์วัด การออกแบบเครื่องมือลำเลียงผลิตผลเกษตร วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมการเกษตรและการออกแบบ โครงสร้างอาคารเกษตร
      17.สาขาวิศวกรรมอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับการแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตรให้อยู่ในรูปของอาหาร วิศวกรรมการเก็บรักษาอาหาร และวิศวกรรมการผลิตอาหารสำเร็จรูป รวมถึงการออกแบบวิเคราะห์และทดสอบเครื่องจักรกลอาหาร ศึกษาระบบควบคุมในการผลิต ตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
      18.สาขาวิศวกรรมชลประทาน ศึกษาเกี่ยวกับหลักการชลประทาน การออกแบบระบบชลประทานในไร่นาชนิดต่างๆ
      19.สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ศึกษาเกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหล ชลศาสตร์ อุทกวิทยาผิวดินและใต้ดิน วิศวกรรมแม่น้ำ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ เป็นต้น

      ลักษณะทั่วไปของอาชีพนี้
      "วิศวกร" คือผู้นำความรู้ทางด้านวิทย์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่างๆในลักษณะการคิดค้น การออกแบบและปรับปรุงดัดแปลง การทำงานในวิชาชีพวิศวกรรมอาจแยกตามลักษณะของงานออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้
      1.งานประเภทสำรวจ อันได้แก่งานแขนงวิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมโยธาทั่วไปและงานของวิศวกรรมเหมืองแร่ เป็นงานซึ่งต้องปฎิบัติอยู่ในต่างจังหวัดและแดนทุรกันดารเป็นส่วนใหญ่
      2.งานประเภทออกแบบ เป็นงานทำในสำนักงานถือเป็นหน่วยสมองของงานวิศวกรรมเพราะมีหน้าที่ออกแบบสิ่งก่อสร้างทุกประเภท ทั้งอาคารบ้านเรือน สะพาน เขื่อน ตลอดจนออกแบบเครื่องจักรกลต่างๆเพื่อให้สามารถสร้างแบบให้เป็นจริง แล้วทำให้เป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      3.งานประเภทควบคุมและบำรุงรักษา เป็นงานที่วิศวกรใช้ความรู้ความสามารถของตนเองควบคุมระบบการทำงานของเครื่องกลในสถานที่ต่างๆ ตลอดจนควบคุมและวางแผนปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมทุกชนิดเพื่อให้ได้งานตามแบบ ในขณะเดียวกันวิศวกรก็จะต้องคอยบำรุงรักษา ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของระบบที่เกิดชำรุดเสียหายขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน
      4.งานประเภทวิจัย เป็นงานที่ค้นคว้าแสวงหาความรู้ความก้าวหน้าใหม่ๆในทางวิศวกรรมศาสตร์หรือหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะประยุกต์ความรู้ความก้าวหน้าทางวิทย์ ซึ่งเป็นงานประเภทที่ทำด้วยความสามารถทางวิศวที่มีอยู่ และงานในส่วนนี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในหลายสาขาวิชาชีพเสมอ
      5.งานประเภทเป็นผู้สอน เป็นงานสอนของครู-อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา ทั้งวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมทั้งการเขียนตำราทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้

      คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพวิศวกร
      1.ควรเป็นผู้ที่มีใจรักงานช่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบประดิษฐ์คิดค้น
      2.ควรมีพื้นฐานความรู้ที่ดีในสายวิทย์-คณิต โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์และการคำนวณ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการเรียนในคณะนี้ ส่วนอังกฤษก็ควรเข้าใจบ้างเพราะตำราที่ใช้ค้นคว้าส่วนใหญ่เป็นตำราภาษาอังกฤษ
      3.มีความสามารถในการถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีความสามารถในการออกแบบ มีความละเอียดรอบคอบ ทำงานประณีต ควรมีลักษณะของความเป็นผู้นำ มีเหตุผลและเชื่อมั่นในตนเอง
      แนวทางในการประกอบอาชีพ
      เมื่อจบการศึกษาจากคณะนี้แล้วสามารถที่จะประกอบอาชีพได้กว้างขวางทั้งงานราชการ งานเอกชนและงานส่วนตัว นอกจากรับราชการในกรมและองค์กรต่างๆ เช่น กรมโยธาเทศบาล กรมชลประทาน กรมไปรษณีย์โทรเลข กรมที่ดิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก เรือ อากาศ การไฟฟ้าต่างๆ องค์การท่าเรือ การรถไฟ องค์การโทรศัพท์ โทรคมนาคม เป็นต้น แล้วยังสามารถประกอบอาชีพสาวนตัวได้อีก เช่น ทำงานตามบริษัท เป็นที่ปรึกษาออกแบบ รับเหมาก่อสร้างอาคารต่างๆ รับซ่อมเครื่องกล เครื่องไฟฟ้า ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
      โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพนี้
      ความก้าวหน้าในอาชีพนี้มีแน่นอน เพราะสามารถพัฒนาตนเองในแนวทางที่ตนเองพอใจได้ ซึ่งต่างจากบางอาชีพที่บุคคลก้าวหน้าได้เพราะคุณสมบัติเฉพาะในอาชีพนั้นเท่านั้น ที่สำคัญคือการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของประเทศที่ทำให้วิชาชีพนี้ถูกพัฒนาออกไปอย่าวงไม่มีขีดจำกัด นอกจากความก้าวหน้าในสายงานจะสูงแล้ว รายได้ที่ได้รับก็สูงด้วยเนื่องจากเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างความเจริญต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นที่ต้องการสูง

      สถาบันที่เปิดสอน
      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต
      .รังสิต ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
      สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.ศิลปากร
      สถาบันเทคโนโลยีพระจอบเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ม.อัสสัมชัญ
      .เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่
      .นเรศวร ม.บูรพา ม.วงษ์ชวลิตกุล
      .ศรีปทุม ม.เกษตรศาสตร์ ม.มหิดล
      .มหาสารคาม ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.ศิลปากร
      .แม่โจ้ ม.สงขลา ม.เทคโนโลยีสุรนารี
      .วลัยลักษณ์ ม.รามคำแหง ม.กรุงเทพ
      .หอการค้าไทย ม.สยาม ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
      .ณิวัฒนา ม.เอเชียอาคเนย์ ม.เทคโนโลยีมหานคร

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×