ประวัติ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (อ่านไว้ไม่เสียหลายครับ) - ประวัติ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (อ่านไว้ไม่เสียหลายครับ) นิยาย ประวัติ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (อ่านไว้ไม่เสียหลายครับ) : Dek-D.com - Writer

    ประวัติ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (อ่านไว้ไม่เสียหลายครับ)

    ประวัติของ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นะครับ อ่านดูกันได้เผื่อจะมีประโยชน์ครับ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,301

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1.3K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ก.ย. 49 / 22:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์

                  แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ในเมืองอูล์ม ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี เป็นบุตรชายคนแรกและคนเดียวของเฮอร์มันน์ ไอน์สไตน์ และพอลีน ผู้เป็นภรรยา     

                                           

      ในวัยเด็ก มารดาของแอลเบิร์ตรู้สึกว่าศีรษะของเขามีรูปร่างไม่เหมือนเด็กปกติทั่วไป และกลัวว่าเขาจะมีปัญหาทางด้านสติปัญญา เพราะเขาหัดพูดได้ช้ากว่าคนอื่น

       

      แอลเบิร์ตโตขึ้นอย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดีแม้เขาจะไม่ชอบเล่นกีฬาชนิดใดเลย  เขาบอกว่ามันทำให้เขาเหนื่อยและเวียนหัว เขาเป็นคนเงียบและค่อนข้างสันโดษ ชอบอ่านแต่หนังสือกับฟังเพลง แขกที่ไปเยี่ยมครอบครัวไอน์สไตน์เล่าว่าไม่เคยเห็นแอลเบิร์ต อ่านหนังสืออ่านเล่นหรือหนังสือประโลมโลกเลย เขาเป็นคนจริงจังและมุ่งมั่น เขามีความอดทน ประณีตและมีความตั้งใจสูง แม่ของเขาจำได้ว่าเขามักจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ๆ เพียงเพื่อสร้างตึกสูง ๆ เสมอ

                 

      แม้แอลเบิร์ตจะเป็นคนเงียบขรึมแต่ไม่ใช่โง่ เขาได้ครูคนแรกมาสอนที่บ้านเมื่ออายุห้าขวบ และเธอปฏิเสธที่จะสอนต่อเมื่อถูกแอลเบิร์ตขว้างเก้าอี้ใส่หน้า ต่อมาแอลเบิร์ตเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเอง แต่ยังคงเป็นคนหัวดื้ออยู่เหมือนเดิม เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ความยึดมั่น และเด็ดเดี่ยวอันนี้ช่วยในการทำงานของเขาได้มาก รวมทั้งช่วยคนอื่น ๆ อีกหลายคนด้วย จากความที่ดูเป็นคนเงียบขรึมของแอลเบิร์ต ทำให้มองไม่ออกว่าความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งโลดโผนของเขาเป็นอย่างไร วันหนึ่งพ่อแม่เขาพาไปดูขบวนพาเรตของทหารโดยคิดว่าเขาจะสนุกสนานกับเสียงกลองและทรัมเป็ต รวมทั้งชุดที่สวยงามของขบวนทหารด้วย แต่แอลเบิร์ตกลับร้องไห้จ้าขึ้นมาจนต้องพากลับบ้าน เขาอธิบายว่าเขารู้สึกกลัวที่เห็นคนจำนวนมากเคลื่อนที่ไปด้วยกัน มันดูเหมือนเครื่องจักรขนาดมหึมาที่น่ากลัว เขาไม่เคยลืมความตื่นกลัวจากการที่ได้เห็นกำลังทหารในครั้งแรกนั้นเลย              

                                

      ปี ค.ศ.1894 ธุรกิจในมิวนิกของครอบครัวไอน์สไตน์ประสบความล้มเหลวพวกเขาจึงอพยพข้ามเทือกเขา แอล์ปไปยังอิตาลี ที่ดูจะมีช่องทางที่ดีกว่า ยกเว้นแอลเบิร์ตซึ่งอายุสิบห้าปีแล้วยังคงอยู่ในมิวนิกเพื่อเรียนให้จบ แต่ความฉลาดบวกกับความสามารถและความมั่นใจของเขา ทำให้ครูผู้สอนหงุดหงิดมาก ครูผู้หนึ่งถึงกับออกปากว่า เขาจะพอใจมากถ้าไม่มีแอล์เบิร์ตอยู่ในห้องเรียน เมื่อแอลเบิร์ตถามว่าทำไมเพราะเขาเองก็ไม่ได้ทำผิดอะไร ครูผู้นั้นตอบว่า"จริงอยู่เธอไม่ผิด แต่เธอชอบตั้งแถวหลังแล้วยิ้ม และนั่นเป็นการแสดงออกที่ไม่ให้ความเคารพต่อ ครูผู้สอนเลย" ทำให้แอลเบิร์ตซึ่งไม่ชอบโรงเรียนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วคิดถึงครอบครัวมาก และไม่อยากอยู่ลำพังคนเดียว ในมิวนิก แอลเบิร์ตกังวงว่าถ้าเขายังคงอยู่ในเยอรมนีจนถึงอายุสิบเจ็ดเขาจะต้องถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมใน กองทัพแน่นอน เขาเกลียดความรุนแรงและมักจะคัดค้านใครก็ตามที่ยอมละทิ้งความคิดของตัวเองไป แล้วเชื่อฟังคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งบางครั้งเป็นคำสั่งที่ต้องคร่าชีวิตผู้อื่น เมื่อเขาอายุมากขึ้นจึงเข้าร่วมเป็นหนึ่ง ในกลุ่มผู้รักความสงบ เชื่อมั่นว่าสงครามทุกอย่างคือปีศาจ ละอนาคตที่ดีที่สุดของมนุษยชาติจะต้องพิสูจน์ได้ด้วยความร่วมมือ ไม่ใช่ความขัดแย้ง   

       

      แอลเบิร์ตไม่ชอบโรงเรียน และไม่รู้สึกมีความสุขร่วมกับเด็กชายคนอื่น ๆ    แต่เขาก็ตั้งใจเรียนมาก และมีผลการเรียนที่ดี โดยเฉพาะคณิตศาสตร์และภาษาลาติน ปี ค.ศ.1886 แอลเบิร์ตอายุเจ็ดขวบ แม่ของเขาได้เขียนจดหมายถึงยายด้วยความภาคภูมิใจว่า "แอลเบิร์ตได้เกรดเป็นอันดับหนึ่งตามเคย บันทึกผลการเรียนของเขายอดเยียมมาก"     

       

      เมื่ออายุได้สิบขวบ แอลเบิร์ตเริ่มศึกษาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเองในช่วงเวลาว่างหลังเลิกเรียน โดยได้การสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อน ๆ มีนักศึกษาแพทย์ผู้หนึ่งชื่อ แมกซ์ ทัลมัด มักจะมากินอาหารเย็นที่บ้านไอน์สไตน์ ได้ให้แอลเบิร์ตยืมหนังสือวิทยาศาสตร์กับปรัชญา และยังใช้เวลาถกปัญหาทางคณิตศาสตร์กันเป็นชั่วโมง ๆ เพื่อนคนอื่นยังให้ตำราเรขาคณิตแก่แอลเบิร์ตซึ่งเขายังจำได้ดีว่า "เนื้อหาที่ชัดเจน และแน่นอนของมันทำให้เขาประทับใจจนสุดที่จะบรรยายได้" พระเจ้าและธรรมชาติ      

       

       

       

       

       

                  แอลเบิร์ตได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสนาที่บ้านตามกฏหมายของเยอรมนี ครอบครัวไอน์สไตน์เป็นชาวยิว แต่ไม่ได้เคร่งครัดมากมายนัก แอลเบิร์ตใช้เวลา ไม่นานก็ศึกษาศาสนาได้อย่างลึกซื้งจนสามารถแต่เนื้อเพลงถึงพระเจ้าได้ โดยใช้เวลาขณะที่เดินไปกลับจากโรงเรียน แต่สนใจอยู่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้นพอแอลเบิร์ตอายุสิบสอง เขาเลิกเชื่อถือที่มาของพระเจ้าที่ครูสอนในโรงเรียน แต่ยังไม่เสื่อมศรัทธาในแรงดลใจ อันศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติหรือปรารถนาที่จะซึมซับบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าการ "รู้แจ้งเพียงผู้เดียว"

       

      ปี  ค.ศ.1895 แอลเบิร์ตออกจากมิวนิกไปหาครอบครัวในอิตาลี พวกเขาทั้งโกรธและตกใจที่แอลเบิร์ต ทิ้งการเรียนมา แต่แอลเบิร์ตสัญญาว่าเขาจะศึกษาด้วยตนเองที่บ้านและจะสอบเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาที่สถาบัน เทคโนโลยีของรัฐบาลในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้ได้ และยังวางแผนที่จะโอนสัญชาติเป็นพลเมืองของสวิสด้วย

       

      หลังจากออกจากมิวนิกมาเพียง 6 เดือน แอลเบิร์ตสอบเข้าเรียนต่อที่สถาบันเทคโนโลยี เขาสอบตก แต่ได้คะแนนสูงมากในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เขาจึงเริ่มเตรียมตัวใหม่เพื่อสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนในอาเรา  ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่พลเมืองของสวิสเซอร์แลนด์พูดภาษาเยอรมัน ช่วงนี้เป็นช่วงที่เขามีความสุขมาก มีอิสระมากขึ้นและผ่อนคลายมากกว่าโรงเรียนในเยอรมนีรวมทั้งชอบครูผู้สอนด้วย     

       

      ขณะที่ยังอยู่ระหว่างเตรียมตัวสอบเข้า แอลเบิร์ตเขียนเรียงความสั้น ๆ ชิ้นหนึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ในหัวข้อเรื่อง "แผนการณ์ในอนาคตของข้าพเจ้า" อธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพทางวิทยาศาสตร์ "การเรียนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ทำให้ข้าพเจ้าวาดภาพตัวเองว่าจะเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ที่สอนในภาคทฤษฏี นี่คือเหตุผลที่ชักนำให้ข้าพเจ้าวางแผนไว้เช่นนี้ มันเหนือกว่าความต้องการอื่นใดทั้งหมด คนเรามักชอบทำให้สิ่งที่ตนเองทำได้ออกมาดีเสมอ ดังนั้นอาชีพทางวิทยาศาสตร์นี้จะทำให้ข้าพเจ้าเป็นสุขมากอย่างแน่นอน"   

       

      ขณะนี้ไอน์สไตน์มีคุณสมบัติพร้อมแล้ว เขาต้องการหางานทำ แต่จากการที่เขามีปากเสียงกับ ศาสตราจารย์เวเบอร์ก็หมายความว่าจะไม่มีตำแหน่งสำหรับเขาในสถาบันเทคโนโลยีดังนั้นเขาจึงส่งจดหมายไปถึงนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกสองมหาวิทยาลัยเพื่อของานทำ ต่อจากนั้นอีกเกือบปีเขาจึงได้ตำแหน่งชั่วคราวเป็นครูสอนในโรงเรียนไม่ใช่สิ่งที่เขาคาดหวังไว้ แต่เขากลับรู้สึกสนุกสนานกับงานนี้ได้อย่างประหลาด       

              

      ขณะที่สอนหนังสืออยู่ ไอน์สไตน์ยังทำงานวิจัยส่วนตัวไปด้วย เขาเริ่มเขียนผลงานสำหรับลงพิมพ์ในวารสารทองวิทยาศาสตร์ อธิบายถึงแนวคิดใหม่ ๆ และความคิดริเริ่มของเขา แต่ต้องผิดหวังอย่างแรง เมื่อมหาวิทยาลัยซีริกปฏิเสธที่จะมอบปรัญญาดัษฎีบัณฑิตให้กับผลงานที่เขาเสนอส่งไป ในปี ค.ศ.1901 สำหรับไอน์สไตน์แล้วมันดูเหมือนกับว่าสถาบันทางวิทยาศาสตร์ต่างพร้อมใจกันกีดกันเขาออกจากวงการ

       

      บิดาของเขาเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในสวิตเซอร์แลนด์ และได้แนะนำไอน์สไตน์ให้รู้จักกับเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อ มาร์เซล กรอสแมน ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสิทธิบัตรในกรึงเบิร์น และในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1902 เกือบสองปีหลังจากจบการศึกษา ไอน์สไตน์จึงได้งานที่เหมาะสมกับตน เขาได้งานเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (ระดับ 3) คนหนึ่ง มีหน้าที่คอยตรวจสอบและบันทึกทะเบียนสิทธิบัตรของนักประดิษฐ์ชาวสวิสทั้งหลาย

       

       

       

                  ไอน์สไตน์เพลิดเพลินอยู่กับงานที่สำนักงานสิทธิ์บัตรและสิ่งที่น่าสนใจทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย แล้วยังมีเวลาเหลือพอที่จะทำงานตามความคิดส่วนตัวได้อีกด้วย ไอน์สไตน์มีรายได้เริ่มต้น 3,500 ฟรังซ์สวิสต่อปี ซึ่งนับเป็นรายได้ที่ดีไม่นานนักเขาก็ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (ระดับ 2) นายจ้างนั้นชื่นชอบและเห็นคุณค่าในตัวเขาเป็นอย่างดี เดือน เมษายน ค.ศ.1906 ผู้อำนวยการสำนักงานพูดเกี่ยวกับตัวเขาไว้ว่า "เป็นผู้เชี่ยวชาญที่น่ายกย่องที่สุดคนหนึ่งในสำนักงาน"

       

      การแต่งงานครั้งแรกของไอน์สไตน์เมื่อเขามีงานทำเป็นหลักเป็นฐานแล้ว ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน เขาได้รู้จักกับ มิเลวา มาริก เพื่อนร่วมสถาบันในซูริกประมาณปีค.ศ.1896 เธอเป็นผู้หญิงฉลาด มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นเหมือนกับไอน์สไตน์ มิเลวาเป็นชาวต่างชาติที่อพยพมาอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ ครอบครัวดั้งเดิมของเธอมากจากกรีซ  และตัวเธอถูกพามาอยู่ในฮังการี

       

                      ในสมัยนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการศึกษาสูง ๆ ยกเว้นผู้ที่ถูกเลือกเท่านั้น จึงจะเรียนสาขาวิชาที่ผู้ชายเรียนอย่างคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ได้ แม้ว่าในระหว่างศตวรรษที่สิบเก้า จะมีนักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์หญิงที่สำคัญอยู่หลายคน เช่น แมรี ซอมเมอวิลล์ , เอดา เลิฟเลซ และมารี กูรี แต่วิชาการเหล่านี้ยังถูกมองว่ายากเกินกว่าที่ผู้หญิงจะเรียนได้ มันจึงดูเหมือนเป็นเรื่องผิดปกติ สำหรับสตรีที่มีอาชีพทางสายงานนี้ ดังนั้น มิเลวาจึงเป็นผู้บุกเบิกค่านิยมนี้คนหนึ่ง

                           

                  ไอน์สไตน์นัดพบกับมิเลวาบ่อย ๆ และสนทนาหัวข้อทางวิทยาศาสตร์ด้วยกัน ต่อมาก็เขียนจดหมายถึงกัน เสนอแนวคิดและวิจารณ์ทฤษฎีของกันและกัน      

                      

      ดูเหมือนไอน์สไตน์และมิเลวาตัดสินใจจะแต่งงานกันหลังจากจบการศึกษาได้ไม่นาน คาดว่าอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1901 แต่ถูกคัดค้านอย่างมากจากครอบครัวของไอน์สไตน์ โดยเฉพาะมารดาของเขานั้นไม่เคยชอบมิเลวาเลย แต่ในที่สุดพิธีแต่งงานได้จัดขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ.1903 หลังจากบิดาของไอน์สไตน์เสียชีวิตไป 2-3 สัปดาห์ ต่อมาตัวเขาเองเริ่มรู้สึกถึง "ความขัดแย้งภายใน" หลังการแต่งงาน อาจจะเป็นความรู้สึกผิดที่ทราบว่า เขาไม่ได้เป็นดังที่ครอบครัวหวังเอาไว้ หรืออาจเป็นความรู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออกและไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูดได้เป็นเวลาหลายปีว่า  เขารักที่จะมีชีวิตสันโดษมากกว่าที่จะต้องมีภาระ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัว  ลูกสองคนแรกทำให้ไอน์สไตน์เป็นคุณพ่อที่มีความสุขพอควร ลูกชายคนโตเกิดเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1904 และคนต่อมาเกิดเมื่อเดือนกรกฏาคม ค.ศ.1910

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×