[ความรู้รอบกาย]ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา - [ความรู้รอบกาย]ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา นิยาย [ความรู้รอบกาย]ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา : Dek-D.com - Writer

    [ความรู้รอบกาย]ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา

    .......ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา.......

    ผู้เข้าชมรวม

    217

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    217

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 ส.ค. 50 / 20:38 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา

               ชนิด W ดาววูล์ฟ - ราเยท์ (Wolf - Rayet stars) อุณหภูมิที่ผิวสูงถึง 80,000 เคลวิน มีเส้นสเปคตรัมของฮีเลี่ยม คาร์บอน ไนโตรเจนและ ออกซิเจน ทั้งเข้ม เด่นชัดและกว้าง แยกพิเศษมาจาก ชนิดO ในปี พ.ศ. 2481 มีการแบ่งย่อยลงไปอีก 2 ชนิดคือ WN พวกที่มีสเปคตรัมของ ไนโตรเจนเด่น และชนิด WC มีเส้นสเปคตรัมของคาร์บอนชัดเจนกว่า

               ชนิด O ดาวสีน้ำเงิน - ขาว (Blue - White stars) อุณหภูมิที่ผิวสูงราว 35,000 เคลวิน แถบสเปคตรัมมีเส้นสเปคตรัมสว่าง (Emission Line) ของไฮโดรเจน ฮีเลียม ออกซิเจน และไนโตรเจน มีเส้นมืดของไฮโดรเจนอยู่บ้าง ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายคือ ดาวเซต้า - โอไรออนในกลุ่มดาวเต่า (นายพราน)

               ชนิด B ดาวสีขาวน้ำเงิน (Bluish White stars) อุณหภูมิที่ผิว 25,000 - 12,000 เคลวิน สเปคตรัมไม่มีเส้นสว่างมีแต่เส้นมืดอย่างเดียวที่ เด่นชัดคือเส้นสเปคตรัมของไฮโดรเจนและฮีเลียม มีเส้นของโลหะเหล็กและแมกนีเซียมอยู่บ้าง เป็นดาวที่เพิ่งเกิด อายุน้อย อยู่ห่างไกลและส่วนใหญ่ อยู่ในระนาบทางช้างเผือก ตัวอย่างของดาวเช่นนี้ที่เห็นได้ง่ายและสว่างคือ ดาวเอฟซิลอน - โอไรออนในกลุ่มดาวเต่า และดาวอะเซอร์นาร์ (Acherna) ในกลุ่มดาวแม่น้ำ

               ชนิด A ดาวสีขาว (White stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 10,000 - 8,000 เคลวิน มีเส้นสเปคตรัมมืดของไฮโดรเจนและแมกนีเซียมชัดเจน มี เส้นสเปคตรัมของแคลเซียมและโลหะ เช่นติตาเนียมปรากฏเห็นได้ ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายและสว่างคือดาวโจร (Sirius) ในกลุ่มดาวสุนัข ใหญ่ ดาวหางหงส์ (Deneb) ในกลุ่มดาวหงส์ ดาวตานกอินทรี (Altair) ในกลุ่มดาวนกอินทรี เป็นต้น

               ชนิด F ดาวสีเหลือง - ขาว (Yellow - White stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 7,500 - 6,000 เคลวิน มีเส้นสเปคตรัมมืดที่เรียกว่า เส้นฟรอนโฮเฟอร์ H และ K ซึ่งเป็นเส้นสเปคตรัมของแคลเซียมชัดที่สุด มีเส้นสเปคตรัมของไฮโดรเจนจาง ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายคือดาวคาโนปุส (Canopus) ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ ดาวโปรซิออน (Procyon) ในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก เป็นต้น

               ชนิด G ดาวสีเหลือง (Yellow stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 5,500 - 4,200 เคลวิน สำหรับดาวยักษ์ (Giants) และอุณหภูมิ 6,000 - 5,000 เคลวิน สำหรับดาวแคระ (Dwarfs) สเปคตรัมมีเส้นของโลหะหลายชนิดเด่นชัด เส้นสเปคตรัมมืดทางด้านสีม่วงจางกว่าด้านสีแดง มีเส้นสเปคตรัมของ โมเลกุลของไซอาโนเจนและไฮโดรคาร์บอน (CN & CH) ปรากฏให้เห็น ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายและสว่างคือดวงอาทิตย์ ดาวไซเลโอ ในกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น

               ชนิด K ดาวสีส้ม (Orange stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 4,000 - 3,000 เคลวิน สำหรับดาวยักษ์ และอุณหภูมิราว 5,000 - 4,000 เคลวิน สำหรับ ดาวแคระ ดาวชนิดนี้เป็นดาวที่มีมากที่สุดในกาแลกซี ส่วนใหญ่อยู่ในแถบระนาบของกาแลกซี แถบสเปคตรัมด้านสีน้ำเงินจางกว่าด้านสีแดง เส้นสเปคตรัม ของไฮโดรเจนไม่เด่นเหมือนดาวชนิด W ถึง G ที่กล่าวมาแล้วมีเส้นสเปคตรัมโมเลกุลของติตาเนียมออกไซด์ (Titanium oxide , TiO) ปรากฏให้เห็นได้ ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่านและสว่างคือดาวดวงแก้ว (Arcturus) ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ดาวโรหิณี (Aldebaran) ในกลุ่มดาววัว เป็นต้น

               ชนิด M ดาวสีส้มแดง (Orange - Red stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 3,000 เคลวิน สำหรับดาวยักษ์ และอุณหภูมิราว 3,200 เคลวิน สำหรับดาว แคระ มีแถบสเปคตรัมของการดูดกลืนกว้างมาก โดยเฉพาะทางด้านสีม่วง - น้ำเงิน เนื่องจากโมเลกุลออกไซด์ของคาร์บอนและไฮโดรคาร์บอน (CO & CH) แถบสเปคตรัมของติตาเนียมออกไซด์ชัดมาก ตัวอย่างของดาวชนิดนี้ที่เห็นได้ง่ายและรู้จักกันดี คือ ดาวปาริชาต (Antares) ในกลุ่มดาว แมงป่อง ดาวเบทเทลจูซ (Betelgeuse) ในกลุ่มดาวเต่า ทั้ง 2 ดวง เป็นดาวยักษ์

               ชนิด R ดาวสีส้มแดง (Orange - Red stars) อุณหภูมิที่ผิวราว 2,500 เคลวิน แถบสเปคตรัมด้านสีน้ำเงินเด่นชัดกว่า มีแถบสเปคตรัมดูด กลืนของโมเลกุลคาร์บอนและไซอาโนเจน (C2 & CN) และเส้นสเปคตรัมของออกซิเจนชัด ดาวชนิด R นี้เป็นดาวที่มีความสว่างน้อยไม่ปรากฏสว่างให้ เห็นหรือรู้จักโดยทั่วไป

               ชนิด N ดาวสีแดงเข้ม (Deep Red stars) มีจำนวนน้อย อุณหภูมิที่ผิราว 2,500 เคลวิน คล้ายชนิด R แต่สเปคตรัมเข้มกว่าและแถมดูดกลืน ของออกซิเจนจางกว่า ไม่ปรากฏสว่างให้เห็นหรือรู้จักโดยทั่วไป

               ชนิด S ดาวสีแดง (Red stars) มีจำนวนน้อยอุณหภูมิผิวต่ำ คล้ายชนิด M มีเส้นสเปคตรัมสว่างของไฮโดรเจน และแถบดูดกลืนของ เซอร์โคเนียมออกไซด์ (Zirconium oxide , ZrO) แทนที่จะเป็นติตาเนียมออกไซด์แบบชนิด M ดาวชนิด S นี้ส่วนใหญ่เป็นดาวแปรแสงที่มีคามเวลา ยาว ไม่ปรากฏสว่างให้เห็นหรือเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×