กฏของแม่เหล็ก - กฏของแม่เหล็ก นิยาย กฏของแม่เหล็ก : Dek-D.com - Writer

    กฏของแม่เหล็ก

    โดย Xjang

    แม่เหล็กเป็นของแข็งชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,221

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    10

    ผู้เข้าชมรวม


    1.22K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 ก.พ. 50 / 13:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      แม่เหล็ก : Magnet

      แม่เหล็กเป็นของแข็งชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดึงดูดสารบางชนิดได้ โดยทั่วไป แม่เหล็กมี 2 ขั้วคือ ขั้วเหนือ กับขั้วใต้ เมื่อนำแม่เหล็กมาผูกห้อยในแนวดิ่ง แล้วปล่อยให้หมุนได้อย่างอิสระ จะพบว่าแม่เหล็กจะหยุดนิ่งและวางตัวในแนวทิศเหนือใต้เสมอ จึงเรียกด้านที่ชี้ไปทางทิศเหนือว่าขั้วเหนือ และด้านที่ชี้ไปทางทิศใต้ว่าขั้วใต้

      ขั้วแม่เหล็ก คือ จุดบนแท่งแม่เหล็กที่มีความเข้มของแรงแม่เหล็กมาก

      กฏข้อแรกของแม่ เหล็กกล่าวว่า ขั้วต่างกันดูดกันและขั้วเหมือนกันผลักกัน

      สารแม่เหล็ก : Ferromagnetic

      สารแม่เหล็ก เป็นวัตถุที่เป็นแม่เหล็กอย่างแรง (ทำให้เป็นแม่เหล็กได้ง่าย) ซึ่งได้แก่ เหล็ก นิเกิล โคบอลต์ และสารประกอบของโลหะเหล่านี้

      สารแม่เหล็กแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

      • สารแม่เหล็กถาวร (Hard) เป็นสารแม่เหล็กที่ไม่เสียอำนาจแม่เหล็กได้ง่ายหลังจากถูกทำให้เป็นแม่ เหล็ก

      • สารแม่เหล็กชั่วคราว (Soft) เป็นสารแม่เหล็กที่ไม่อาจรักษาอำนาจแม่เหล็กได้นานหลังจากถูกทำให้แม่ เหล็ก
      ทฤษฎีโดเมนของสภาวะแม่เหล็ก : Domain theory of magnetism

      ทฤษฎีนี้ว่าด้วย สารแม่เหล็กประกอบด้วยไดโพลหรือโมเลกุลแม่เหล็ก ซึ่งมีแรงกระทำซึ่งกันและกันและอยู่ในบริเวณหนึ่งๆซึ่งเรียกว่าโดเมน ซึ่งมีขั้วชี้ไปทิศเดียวกัน สารแม่เหล็กจะกลายเป็นแม่เหล็กเมื่อโดเมนอยู่อย่างเป็นระเบียบ
      การทำแม่เหล็ก : Magnetization

      ทำได้โดยการทำให้ไดโพลทั้งหมดเรียงตัวกันอย่างเป็นระ เบียบเรียบร้อย โดยใช้วิธีการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก นำวัตถุนั้นไปไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก

      การสัมผัสทางเดียว (Single touch) ใช้ปลายแท่งแม่เหล็กถูบนวัตถุซ้ำหลายๆครั้งในทางเดียวกัน

      การสัมผัสยแกส่วน (Divided touch) ใช้ปลายแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง ถูบนวัตถุคนละจุดหลายๆครั้ง

      การทำลายสภาพแม่เหล้ก : Demagnetization

      อาจทำได้โดยการวางแท่งแม่เหล็กในสนามแม่เหล็กที่ เปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้ไดโพลมีทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ หรือใช้ค้อนเคาะ หรืออาจจะใช้ความร้อนสูงกว่า 700
      สนามแม่เหล็ก : Magnetic Fieldsสนามแม่เหล็ก คือ บริเวณรอบๆแท่งแม่เหล็ก

      • เส้นแรงแม่เหล็ก (Magnetic field lines) หรือ ฟลักซ์แม่เหล็ก (Flux lines) คือ เส้นที่แสดงทิศของสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็ก โดยจะมีทิศชี้จากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้

      • จุดเป็นกลาง (Neutral point) เป็นจุดที่ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กมีค่าเป็นศูนย์
      สนามแม่เหล็กโลก : The Earth’s magnetism

      ในโลกเรานั้นมีสนามแม่เหล็กอยู่ด้วย ซึ่งสนามแม่เหล็กที่มีนั้นเหมือนกับเกิดมาจากมีแม่เหล็กขนาดใหญ่วางตัวอยู่ที่ ใจกลางโลก โดยเอาฝั่งที่เป็นขั้วเหนือชี้ไปทางทิศใต้ และเอาขั้วใต้ชี้ไปทางทิศเหนือ มุมที่ทำกันระหว่างเส้นแนวระดับบนผิวโลกกับเส้นแรงแม่เหล็กนั้นจะเรียกว่า มุมเอียงหรือมุมเท (Inclination or dip) เมื่อลองนำแม่เหล็กมาแขวนไว้ในสนามแม่เหล็กโลก ระนาบของแม่เหล็กที่ชี้นั้นเรียกว่า เส้นแมริเดียนแม่เหล็ก (Magnetic meridian) โดยเส้นนี้จะทำมุมบ่ายเบน (Declination) กับเส้นตรงที่ลากจากทิศเหนือจริงอยู่เล็กน้อย
      แม่เหล็กไฟฟ้า : Electromagnetism

      แม่เหล็กไฟฟ้า คือ สภาวะแม่เหล็กที่เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวด เรานำสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไปใช้ในการสร้างแม่เหล็กที่มีกำลังสูง และใช้สำหรับทำให้เกิดการเคลื่อนที่โดยกระแสไฟฟ้า

      การหาทิศของสนามแม่ เหล็กไฟฟ้านั้น

      เราสามารถหาได้จากกฏสกรูของแมกเวลล์ (Maxwell’s screw rule) หรือจากกฎกำมือขวา (Right-hand grip rule)

      • กฎสกรูของแมกเวลล์ (Maxwell’s screw rule) ทิศของสนามแม่เหล็กรอบๆ เส้นลวดจะอยู่ในทิศที่สกรูหมุน เมื่อขันสกรูเข้าไปตามทิศของกระแสที่ไหล

      • กฎกำมือขวา (Right-hand grip rule) ทิศของสนามแม่เหล็กรอบเส้นลวดอยู่ในแนวนิ้วมือขวาที่กำรอบลวด โดยหัวแม่มือชี้ไปทางทิศของกระแส
      แม่เหล็กไฟฟ้านั้น จะประกอบไปด้วยสิ่งที่สำคัญ 2 สิ่งก็คือ

      ขดลวด (Coil) กับแกน (Core) โดยที่ขดลวดนี้จะหมายถึง ขดลวดหลายๆขดที่พันอยู่รอบๆแกน ขดลวดที่ใช้พันนั้น ยอกตัวอย่างได้เช่น ขดลวดแบน (Flat coil or plane coil) เป็นขดลวดที่มีความยาวน้อยเมื่อเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลาง โซลินอยด์ (Solenoid) เป็นขดลวดที่มีความยาวมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลาง เป็นต้น


      โดยสนามแม่เหล็กที่เกิดจาก

      โซลินอยด์จะคล้ายกับแท่งแม่เหล็ก ส่วนแกนจะเป็นสารแม่เหล็กชั่วคราวทำให้มีหรือไม่มีอำนาจแม่เหล็กได้ โดยการปิดหรือเปิดสวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีขั้วที่ต่างกันอยู่ใกล้ๆกันเพื่อให้ได้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง
      ประโยชน์ของแม่เหล็กไฟฟ้า : Applications of electromagnets

      เราใช้ประโยชน์จากการดูดดลหะของแม่เหล็กเมื่อวงจรปิด เพื่อนำมาเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้าก็คือ ออดไฟฟ้า (Electric buzzer) หูฟัง (Earpiece) แม่เหล็กยกของ (Lifting magnet) รีเลย์ (Relay) รถแม่เหล็กไฟฟ้า (Maglev)

      ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Kmutt Library
      เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×