ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมสัตว์โลก และสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #7 : สัตว์เทพประจำสี่ทิศในคติจีน (4 สัตว์เทวะ)

    • อัปเดตล่าสุด 1 ส.ค. 51


    สัตว์เทพประจำสี่ทิศในคติจีน 
    (4 สัตว์เทวะ)


    ตำนานสัตว์เทวะทั้ง 4 ... บริวารของโอรสสวรรค์  อูลซา (มังกรเขียว) พองแบ๊ค (พยัคฆ์ขาว) โอซา (เต่านิล) เซอู (วิหคเพลิง)  นับ แต่โบราณกาล ชาวจีนได้มอบน่านฟ้าทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองของสัตว์เทพทั้งสี่ อันได้แก่ มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ  ดังคำกล่าวที่ว่า ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง  พัฒนาการ ของแนวคิดความเชื่อดังกล่าว มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสตร์พยากรณ์และคติความเชื่อในลัทธิเต๋าของ ชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี


    นับแต่โบราณกาล ชาวจีนได้มอบน่านฟ้าทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองของสัตว์เทพทั้งสี่ อันได้แก่ มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ ดังคำกล่าวที่ว่า “ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง” พัฒนาการของแนวคิดความเชื่อดังกล่าว มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสตร์พยากรณ์และคติความเชื่อในลัทธิเต๋าของชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี
           
           ชาวจีนโบราณแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน คือ ตะวันออก ตก เหนือและใต้ จากการสังเกตหมู่ดาวบนท้องฟ้า จับกลุ่มทิศทางการเรียงตัวของหมู่ดาวเทียบเข้ากับลักษณะของคน สัตว์หรือรูปลักษณ์ในตำนานตามความเชื่อของตน โดยให้ทิศตะวันออกแทนกลุ่มดาวมังกรเขียว (จากตำนานการปรากฏขึ้นของจักรพรรดิเหลืองทางทิศตะวันออก) ตะวันตกแทนกลุ่มดาวเสือขาว ทิศใต้แทนกลุ่มดาวหงส์แดงและทิศเหนือ แทนกลุ่มดาวเต่าดำ แต่ละทิศครองดาว 7 ดวง (รวม 28 ดวง)
           
           ภายในสุสานยุคจั๊นกั๋ว(ราว 433 ปีก่อนคริสตศักราช) แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ยได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับมังกรเขียวและเสือขาวบนฝาของภาชนะเคลือบใบหนึ่ง ซึ่งบอกเราว่า การกำหนดเรียกหมู่ดาวบนท้องฟ้า ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าเวลานี้อีกนานนัก


    สัตว์เทพทั้งสี่ต่างยึดครองน่านฟ้าทั้งสี่ทิศ กลายเป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่ จนกระทั่งการศึกษาว่าด้วยศาสตร์แห่งธาตุทั้งห้า และภูมิพยากรณ์ (ฮวงจุ้ย อินหยาง เป็นต้น) เป็นที่แพร่หลาย สัตว์เทพทั้งสี่และดวงดาวทั้ง 28 เป็นที่รู้จักในฐานะของ “เทพเจ้าผู้พิทักษ์” ตำหนักและสิ่งปลูกสร้างในวังหลวง ได้รับการประดับตกแต่งเป็นลวดลายของสัตว์เทพทั้งสี่ ส่วนประตูทางทิศเหนือของวังหลวงมักได้ชื่อว่า ประตูเสวียนอู่(เต่าดำ) เนื่องจาก หงส์แดง แทนสัญลักษณ์ของไฟ ขณะที่สถาปัตยกรรมโบราณของจีนล้วนแต่สร้างด้วยไม้ จึงมักไม่ปรากฏรูป แต่จะปรากฏในเชิงสัญลักษณ์อยู่บนกำแพง (ทาสีแดง)แทน
           
           เมื่อถึงสมัยฉินและฮั่น สัตว์เทพทั้งสี่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในฐานะตัวแทนของฤดูกาลและสีสันทั้งสี่ ในช่วงเวลาดังกล่าว สัตว์เทพทั้งสี่ได้ปรากฏในศาสตร์วิทยาการของจีนหลากหลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และการทหาร ดังเช่น ในตำราพิชัยสงครามบทหนึ่ง ได้กล่าวถึงการกำหนดทิศทางเดินทัพไว้ว่า “การเคลื่อนทัพนั้น ซ้ายเป็นมังกรเขียว ขวาเสือขาว ทัพหน้าคือหงส์แดงและเต่าดำคุมหลัง บัญชาการจากเบื้องบน นำปฏิบัติสู่เบื้องล่าง” เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นต่างคุ้นเคยกับตำแหน่งของสัตว์เทพทั้งสี่เป็นอย่างดี ภายหลังจึงได้รับการประยุกต์ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของธงนำทัพไป


    ต่อเมื่อศาสนาเต๋ารุ่งเรืองขึ้น มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดงและเต่าดำในฐานะเทพเจ้าผู้คุ้มครองมนุษย์ ต่างมีความสำคัญขึ้น ถูกยกให้มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ต่างมีชื่อเรียกเป็นมนุษย์ และต่อมาอีกไม่นาน เทพเสวียนอู่หรือเต่าดำ ก็โดดเด่นขึ้นในฐานะของ “เจินอู่” ปรมาจารย์เต๋าผู้สำเร็จมรรคผล ส่วนหงส์แดงเป็นเทพที่มีบทบาทแยกออกมาเป็นเอกเทศ ขณะที่มังกรเขียวและเสือขาวกลายเป็นเทพทวารบาลผู้รักษาประตูทางเข้าสู่มรรคาแห่งเต๋า




    สัตว์เทพประจำสี่ทิศของจีนมีดังนี้

    1.
    มังกรเขียว ประจำทิศตะวันออก สีเขียว ธาตุไม้ ฤดูใบไม้ผลิ



    2.
    เสือขาว ประจำทิศตะวันตก สีขาว ธาตุทอง ฤดูใบไม้ร่วง




    3. หงส์แดง ทิศใต้ สีแดง ธาตุไฟ ฤดูร้อน




    4.   
    เต่าดำ ประจำทิศเหนือ สีดำ ธาตุน้ำ ฤดูหนาว








    ซึ่งจะขอกล่าวในรีไฟล์ต่อไปนะคะ   ^____________________^




    ที่มาของข้อมูล

    http://202.44.68.33/node/5029
    http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3648175/K3648175.html
                          http://nemesis.212cafe.com/archive/2008-05-02/4




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×