ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมสัตว์โลก และสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #4 : เหยี่ยวเมอร์ลิน (Pigeon Hawk)

    • อัปเดตล่าสุด 1 ส.ค. 51




    ...เหยี่ยวเมอร์ลิน...  
    (Pigeon Hawk)








    ชื่ออื่น Merlin ; Falco columbarius
    ชนิดย่อย F. c. insignis
    ขนาด 25.0 - 30.0 เซนติเมตร

    ความโดดเด่นของเหยี่ยวเมอร์ลิน  

    เหยี่ยวเมอร์ลินเป็นเหยี่ยวปีกแหลมที่พบค่อนข้างยาก และด้วยเหตุที่มีรูปแบบการบินไม่เหมือนใคร คือบินตรงคล้ายลูกปืน ทำให้เป็นที่ต้องการของนักดูเหยี่ยวทั้งหลาย ไม่มากครั้งที่จะพบเหยี่ยวเมอร์ลินเกาะนาน ๆ


    ลักษณะทั่วไป

    เหยี่ยวขนาดเล็ก ลำตัวป้อม ปีกแคบยาว ปลายปีกแหลม หางแคบ ยาวปานกลาง ปลายมน ปากงองุ้ม แต่มีหยักที่สองข้างปากบน กรงเล็บแหลมคม ตัวเมียตัวโตกว่าตัวผู้มาก 



    ตัวผู้ 


    กระหม่อมสีเทามีขีดดำ มีแถบสีขาวแคบที่หน้าผาก และมีแถบเหนือตาสีขาวแกมสีเนื้อ ดูคล้ายคิ้ว มีแถบสีแดงสีแดงอมน้ำตาลรอบหลังคอ ส่วนบนของลำตัวตั้งแต่หลัง ไหล่ ขนคลุมปี ตะโพก จนถึงขนคลุมบนโคนหางเป็นสีเทาอมฟ้า มีขีดสีดำ ขนปลายปีกสีดำ ปลายขนแต่ละเส้นสีเทา หางสีเทา มีลายบั้งสีดำขวางหาง 3 แถบ และมีแถบหนาสีดำก่อนถึงปลายหางอีก 1 แถบ ปลายหางสีขาว หัวตาสีขาวปลายขนสีดำ จึงเห็นเป็นขีดสีดำอยู่ด้านหน้าของตา แก้ม และขนคลุมหูสีเทาจางออกสีแดงอมน้ำตาล และมีขีดสีดำ คางและใต้คอสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาลจางตั้งแต่อกจนถึงท้องและขนโคนขา แต่มีลายขีดสีน้ำตาลแกมดำ ขนคลุมใต้โคนหางสีจางกว่าและมีลายขีดสีดำ คางและใต้คอสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาลจางตั้งแต่อกจนถึงท้องและขนโคนขา แต่มีลายขีดสี น้ำตาลแกมดำ ขนคลุมใต้โคนหางสีจางกว่าและมีลายขีดจาง ๆ ใต้หางเป็นบั้งสีเทาสลับขาว มีแถบหนาสีดำก่อนถึงปลายทาง ใต้ปีกสีขาวหรือสีเนื้อ มีลายขีดและลายบั้งสีคล้ำสลับสีน้ำตาลอมแดง 


    ตัวเมีย 


    หน้าผากและแถบเหนือตาสีขาวจางกระหม่อม เรื่อยมายังหลัง ไหล่ ขนคลุมปีก ตะโพก จนถึงขนคลุมบนโคนหาง สีน้ำตาลเข้ม แต่มีลายขีดสีดำ และมีแต้มสีแดงอมน้ำตาลจาง ๆ ตะโพกและขนคลุมบนโคนหางออกสีเทา ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำตาลจาง ๆ ตะโพกและขนคลุมบนโคนหาง สีน้ำตาลเข้ม แต่มีลายขีดสีดำ และมีแต้มสีแดงอมน้ำตาลจาง หางสีน้ำตาลเข้ม และมีลายบั้งสีเนื้อและสีแดงอมน้ำตาล แก้มและขนคลุมหูสีขาว มีลายขีดสีน้ำตาล มีเส้นสีดำข้างหน้าตา และมีลายขีดสีน้ำตาล ตั้งแต่คางเรื่อยไปจนถึงขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีขาว มีลายขีดสีน้ำตาล ใต้หางเป็นลายบั้งสีขาวสลับน้ำตาลปนเทาใต้ปีกสีขาว มีลายบั้งสีแดงอมน้ำตาล ม่านตา สีน้ำตาลเข้ม หนังรอบตาสีเหลือง ปาก สีเทา ปลายปากดำ แผ่นเนื้อรอบรูจมูกสีเหลือง ขาและนิ้วเท้า สีเหลืองจนถึงสีส้ม นกโตไม่เต็มวัย คล้ายตัวเมีย แต่ตะโพกและขนคลุมบนโคนหางไม่ออกสีเทา แผ่นเนื้อรอบรูจมูกและรอบตาเป็นสีฟ้า


    การจำแนก
    เหยี่ยวเมอร์ลิน  ( ตัวเมีย

                          รูปเหยี่ยวเมอร์ลินตัวผู้  ชุดขนสีจาง   ชนิดย่อย     Falco columbarius richardsoni      



    ภาพเหยี่ยวเมอร์ลิน  บันทึกภาพจากรัฐไอโอวา  ประเทศสหรัฐอเมริกา ชนิดย่อย  richardsoni  จัดเป็นชนิดย่อยที่มีชุดขนสีจาง  (Pale morph) แม้จะไม่มีรายงานพบในประเทศไทย แต่ชนิดย่อย   insignis ที่มีรายงานพบในประเทศไทย   อยู่ในกลุ่มชุดขนสีจาง  เช่นเดียวกัน  ดังนั้นลักษณะชุดขนจากภาพเหยี่ยวเมอร์ลินชนิดย่อย  richardsoni
    ใช้ศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อฝึกจำแนกเหยี่ยวเมอร์ลิน (ที่อาจจะพบ) ในประเทศไทย
    เหยี่ยวเมอร์ลิน  มีชนิดย่อยจำนวนมาก สามารถจัดเป็นกลุ่ม  ตามความเข้มของสีของชุดขนได้   ๒ ประเภท  คือ
    ๑. ชุดขนสีจาง   (Pale morph)   พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ  , ยุโรป  และ  เอเชีย  รวมถึงชนิดย่อย  insignis  และ  richardsoni
      ด้วย
    ๒. ชุดขนสีเข้ม (Dark morph)
    พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น  ไม่มีรายงานพบ  ในทวีปยุโรป  และ เอเชีย
            ลักษณะของชุดขนสีจาง  ที่สำคัญ ซึ่งแตกต่างจากชุดขนสีเข้ม  คือ  ในเหยี่ยวเมอร์ลินตัวผู้   จะมีขนปีก  และ  ขนบนแผ่นหลังสีเทาฟ้า หรือ  สีน้ำตาลเทาในเหยี่ยวตัวเมีย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมือนกัน  ของชุดขนสีจาง  ที่พบในชนิดย่อย  ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป  และ  เอเชีย
            มีความแตกต่าง  ในชุดขนตัวผู้ประการหนึ่ง  พบในชุดขนสีจางระหว่างทวีป   คือ  ในชนิดย่อยที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ   เช่น  ชนิดย่อย 
    richardsoni  เหยี่ยวเมอร์ลินตัวผู้ จะมีแถบสีดำที่บนหาง (Uppertail dark bands)    ตลอดความยาวของขนหางส่วนบน  หรือ  บนหาง (Uppertail)   แต่ในชนิดย่อยที่พบในทวีปยุโรป และ เอเชีย  เช่น ชนิดย่อย insignis  จะมีแถบดำหนาที่ปลายหางเท่านั้น   (Subterminal dark band)   แต่ไม่มีแถบหางถัดเข้ามาด้านใน   (Inner uppertail bands)   ชัดเจน  อย่างที่พบใน ชนิดย่อย ของทวีปอเมริกาเหนือ 

                            รูปเหยี่ยวเมอร์ลินตัวเมีย  ชุดขนสีจาง  ชนิดย่อย   Falco columbarius richardsoni 

    รูปเหยี่ยวเมอร์ลินตัวผู้  ชุดขนสีเข้ม    ชนิดย่อยหลัก Falco columbarius columbarius   ชนิดย่อยนี้และชุดขนสีเข้ม มีโอกาสพบในประเทศไทยน้อยมาก เนื่องจากมีการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ  ให้ สังเกตว่า เหยี่ยวในภาพ  มีเคราเข้ม ชัดเจนกว่า ที่พบในชุดขนสีจาง 





    เหยี่ยวในภาพ   เกาะคอนพักอยู่   ดังนั้นให้สังเกต
    -    ความยาวของปีก   (Wing projection)
    เทียบกับความยาวของขนหาง พบว่าปีกยาวเพียง 2/3 ของหาง โดยประมาณ
    -   จากรูปทรง  (Jizz)  ของเหยี่ยวในภาพ มีลักษณะลำตัวแน่นตัน แต่  เพรียว และ สอบเรียวไปเรื่อย ๆ  จรดปลายหาง  คล้ายหยดน้ำ (Water-drop shape)

    -   มีเคราสีเทาจาง ๆ   (Indistinct moustachial stripe)
        ลักษณะ  ๓  ประการดังกล่าว ถือว่าเป็น Falcon's Triad   เมื่อพบในเหยี่ยวตัวใดแล้ว  ให้นึกถึงเหยี่ยวปีกแหลม ในสกุล Falco ประกอบด้วย  เหยี่ยว  Falcon ชนิดที่อพยพ ในฤดูหนาว และ  เหยี่ยวฮอบบี้ (Hobby)  ยกเว้นเหยี่ยวปีกแหลมประจำถิ่น ขนาดเล็ก อาทิ เหยี่ยวแมลงปอ (Falconet) หรือ เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (White-rumped Falcon)
      ซึ่งมีปีกสั้นเพียงครึ่งหนึ่ง ของ หาง  เนื่องจากไม่อพยพในระยะทางไกล และจะไม่กล่าวถึงในการเปรียบเทียบชนิด  เพราะลักษณะของชุดขน แตกต่างกัน อย่างชัดเจน ไม่น่าจะเกิด ความสับสน  ในการจำแนกชนิด  มากเท่าเหยี่ยวปีกแหลมอพยพ หรือ  เหยี่ยวฮอบบี้
    Falcon's triad   
    ประกอบด้วย
    ๑.     ปีกยาวประมาณ  2/3  หรือ  ยาวเกินกว่าปลายหาง  จะผันแปรไปตามชนิดของเหยี่ยวปีกแหลม ดังนี้
    -     เหยี่ยวเมอร์ลิน  มีปีกสั้นที่สุด เพียง 2/3  ของปลายหาง  ในบรรดาเหยี่ยวฟอลคอนอพยพ  ทั้งหมด
    -    เหยี่ยวเคสเตรล  (Common Kestrel) และ เหยี่ยวเพเรกรีน (Peregrine Falcon) 
    มีปีกยาว เกือบ จรดปลายหาง
    -     เหยี่ยวฮอบบี้ (Eurasian & Oriental Hobbies) และ เหยี่ยวตีนแดง  (Amur Falcon)
    มีปีกยาวที่สุด มักจะยื่นยาว เกินกว่า ปลายหาง
    ดังนั้นความยาวของปีก เป็นจุดแยกทางโครงสร้างกายวิภาค  ที่สำคัญในการจำแนกชนิด  เหยี่ยวปีกแหลมในสกุล Falco 
    โดยเฉพาะเหยี่ยววัยเด็ก ซึ่งหลายชนิด  มักจะมีลาย บน อก และ ท้อง ทำให้สับสนได้ง่าย
    ๒. รูปทรงของตัวเหยี่ยว คล้ายหยดน้ำ  ซึ่งเหมาะสมสำหรับการบินอย่างต่อเนื่อง  (Powered flapping flight)
    และ ลดการเสียดทานของแรงลม ในขณะบินได้ดี
    ๓. มีเครา (Moustache หรือ moustachial stripe) ที่ใบหน้า ซึ่งความเข้มของเครานั้น จะผันแปรไปตาม ชนิด ของเหยี่ยวปีกแหลม

    - เหยี่ยวเมอร์ลิน มีเคราจางที่สุด
    - เหยี่ยวเครสเตล  มีเคราเข้มปานกลาง
    - เหยี่ยวเพเรกรีน (มีข้อยกเว้นในชนิดย่อย ดูข้อต่อไป) และ เหยี่ยวฮอบบี้ยุโรป (Eurasian Hobby)
    มีเคราดำเข้มชัดเจน
    - เหยี่ยวฮอบบี้  (Oriental Hobby) และ เหยี่ยวเพเรกรีน ชนิดย่อย  ernesti   ที่มีการกระจายพันธุ์   ตั้งแต่  แนวเทือกเขาภาคตะวันตก ไปจนถึง ภาคใต้ จะไม่มีเครา แต่ใบหน้าคล้าย สวมหมวกดำคลมุส่วนหัว (Hood)  เนื่องจากไม่มีรอยเว้าสีขาว  ที่ข้างลำคอ จึงไม่เห็นเคราบนใบหน้า








    จากภาพ   เมื่อประเมินจากความยาวของปลายปีก และ  ความเข้มของเคราแล้ว   เหยี่ยวปีกแหลมที่เป็นไปได้คือ เหยี่ยวเคสเตรล หรือ  เหยี่ยวเมอร์ลิน ประกอบกับเหยี่ยวในภาพ  มีคิ้ว (Eyebrow หรือ supercilium) ขาวชัดเจน จึงตัด  เหยี่ยวเพเรกรีน หรือ  เหยี่ยวฮอบบี้ ตัวเต็มวัย  ออกไปได้ 








    การจำแนกเพศ เหยี่ยวเมอร์ลิน ด้วยชุดขน  นั้นไม่ยากนัก มีจุดแยกดังนี้





    -  ตัวผู้   จะมีขนปีก ขนลำตัวและขนบนแผ่นหลังสีเทาฟ้า และมีแกนขนสีดำ (Black feather shafts) ตัดกับเส้นขน  สีเทาฟ้า ชัดเจน
    -   ตัวเมีย หรือ นกวัยเด็กในชุดขนปีแรก จะมีสีน้ำตาลเทา  และ มักจะมีจุด  สีน้ำตาลอ่อน (Wing spots) ตามขอบขน  บนลำตัว
    จากภาพเหยี่ยวตัวผู้ข้างบน  ให้สังเกต  แถบสีดำบนหาง (Inner uppertail bands) ซึ่งจะไม่พบใน   เหยี่ยวเมอร์ลินตัวผู้   ที่มีรายงานในประเทศไทย   เนื่องจากเป็นชนิดย่อย insignis 
    มีการกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป  และ เอเชีย   อย่างที่อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว  ถึงความแตกต่างของ  ชนิดย่อยในชุดขนสีจาง  ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือ   ทวีปยุโรป  และ เอเชีย
           การจำแนกระหว่าง  เหยี่ยวเมอร์ลินตัวเมีย   ตัวเต็มวัย  และ  เหยี่ยวเมอร์ลินวัยเด็ก  ในชุดขนปีแรก (juvenile/first-year plumage)   ค่อนข้างยากมาก ต้องพิจารณา  สีของปุ่มเนื้อ สันจมูก  (Cere อ่านว่าเซียร์)  และ  ผิวหนังรอบเบ้าตา  (Orbital
    skin)
    -   ในเหยี่ยวเมอร์ลินตัวเต็มวัย   ตัวเมีย  และ ตัวผู้   จะมีปุ่มเนื้อสันจมูก  สีเหลืองสด
    -   ในเหยี่ยวเมอร์ลินวัยเด็ก จะมีปุ่มเนื้อสันจมูก  และ  ผิวหนังรอบเบ้าตา  สีเทาจาง








    เหยี่ยวเมอร์ลินตัวเมีย (Adult female merlin)

    จากภาพ ให้สังเกตว่าเหยี่ยวตัวนี้มีเครา   จางมาก  ปุ่มเนื้อสันจมูก  และ  ผิวหนังรอบเบ้าตา  สีเหลืองสด ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบุว่า  เหยี่ยวเมอร์ลิน  ตัวนี้  เป็นตัวเต็มวัย และ จากขนบนลำตัว สีน้ำตาลเทา จึงเป็น  เหยี่ยวตัวเมีย




    จำแนกชนิด  : เหยี่ยวเมอร์ลิน ตัวเมีย

    ระยะเวลาการผลัดขน (Molting) ใช้ในการประเมินอายุ   เหยี่ยวเมอร์ลินได้   ซึ่งต้องนำฤดูกาล (หรือเดือนที่พบเหยี่ยว) มาประกอบการประเมิน หากจะไม่กล่าวในที่นี้
         การจำแนก  เหยี่ยวเมอร์ลิน ขณะบิน
                เหยี่ยวเมอร์ลิน  มีรูปแบบการบิน   ที่แตกต่างจากเหยี่ยวปีกแหลมชนิดอื่น ๆ อย่างมาก และ  รูปแบบการบิน  ของเหยี่ยวชนิดนี้    ใช้เป็นจุดแยก ขณะบิน ได้เป็นอย่างดี โดยปกติในเหยี่ยวปีกแหลมขนาดกลาง  เช่น  เหยี่ยวเคสเตรล หรือ  เหยี่ยวฮอบบี้ จะมีรูปแบบการบินฉวัดเฉวียน  ล้อลมไปเรื่อย ๆ  มีการเปลี่ยนทิศทางการบินไม่แน่นอน   คล้ายนกแอ่น
    (Swifts)  แต่   เหยี่ยวเมอร์ลิน  จะบินตรง  คล้ายลูกปืน (Darting bullet)  เมื่อบินอพยพ  แต่เมื่อเข้าหาเหยื่อ   ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกขนาดเล็ก เหยี่ยวเมอร์ลิน จะปรับเปลี่ยนรูปแบบ การบิน   คล้ายนกเดินดง   คือบินโยกตัวขึ้นลง  เป็นระลอกคลื่น (Undulating flight)  เพื่อหลอกนกที่เป็นเป้าหมาย  ให้เข้าใจผิดว่าไม่ใช่เหยี่ยว และ เพื่อให้เข้าใกล้เหยื่อได้ จึงเป็นที่มา ของชื่อ  เหยี่ยวเมอร์ลิน (Merlin) เพราะคำว่า Merle มาจากภาษาฝรั่งเศส  แปลว่า  นกเดินดง
    (Thrush)

    การแยกเหยี่ยวเมอร์ลิน  จาก  เหยี่ยวชนิดอื่น ๆ
    -    จาก เหยี่ยวนกเขาชิครา จากภาพเหยี่ยวมีความยาวของปีก  เกินกว่าครึ่งหนึ่ง  ของความยาวหาง  จุดแยกสามารถตัดเหยี่ยวสกุล
    Accipiter   ทั้งเหยี่ยวนกกระจอก หรือ เหยี่ยวนกเขา  ทั้งหมด
    -      จาก  เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ
    ๑.     ในเหยี่ยวทุ่ง   ความยาวของปลายปีก  จะยาว  เกือบจรดปลาย  หรือ  ยาวเสมอกัน แต่ลักษณะการเกาะคอน  ตามกิ่งไม้ (หรือพบได้บ่อยกว่า ว่า  มักจะเกาะพื้นดิน) จะเห็นท่อนขายาว จนดูเก้งก้าง   เมื่อเปรียบเทียบกับ  ลำตัว ที่ผอมเรียว
    ๒.     การจัดลำตัว   ถ้าไม่ตั้งเป็นมุมเฉียง  กับระนาบพื้นดิน  ก็จะขนานกับระนาบพื้นดิน
    ๓.     มีวงหน้ากลมแบน
    (Facial disc)
    และ ไม่มีเครา 










    การแพร่กระจาย






    ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแตมลรัฐอะแลสกา เรื่อยมายังแคนาดา จนถึงเกาะนิวฟันแลนด์ และตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป ตั้งแต่ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะอังกฤษ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย เรื่อยมายังทวีปเอเซียตอนเหนือ แถบไซบีเรีย และจีนตอนเหนือ พอถึงฤดูหนาว นกในทวีปอเมริกาเหนือจะบินอพยพลงไปหากินในสหรัฐอเมริกา อเมริกากลางจนถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นกในทวีปยุโรปจะบินอพยพลงไปหากินในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ ทิเบตตอนใต้ จีนตอนใต้ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แต่นกบางตัวพลัดถิ่นไปถึงลาวตอนเหนือ และแคว้นอันนัม ในประเทศไทย พบครั้งแรก 1 ตัว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2542 ที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงใหม่ โดย แอนดี โรดเฮ้าส์ (Andy Roadhouse) สถานภาพ ทั่วโลก พบมาก ในประเทศไทย นกอพยพย้ายถิ่นนอกฤดูผสมพันธุ์ที่หายากมาก 





    แหล่งอาศัย

    ที่โล่งที่มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย พื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้าสั้น ๆ ตั้งแต่ที่ราบจนถึงความสูง 1,065 เมตร รวมทั้งชายฝั่งทะเล






    อุปนิสัย








    บินล่าเหยื่อในระดับต่ำใกล้พื้นดิน บินรวดเร็วและตรง กระพือปีกรวดเร็วสลับกับการร่อนสั้น ๆ ดุ ล่า แม้กระทั่งนกที่ตัวโตกว่า เช่น นกเป็ดน้ำ แต่ส่วนมากล่านกขนาดเล็ก เช่น นกเด้าดิน นกกระจาบฝน และนกกระจาบปีกอ่อน บางครั้งก็ล่าหนู กิ้งก่า งู กบ เขียด และเฉพาะแมลงปอ บางครั้งเกาะบนก้อนหิน หัวเสาหรือบนพื้นดิน เสียงร้อง ตัวผู้ร้องดัง "ki-ki-ki-ki-kee" ซ้ำ ๆ กันรวดเร็ว แต่บางครั้งก็ร้องดัง "chic-chic-chic" ช้า ๆ ตัวเมียร้องดัง "kek-ek-ek-ek-ek"



    ฤดูผสมพันธุ์

    เมษายน-มิถุนายน รังและไข่ วางไข่ในแอ่งบนพื้นดินที่มีดงพืชล้อมรอบ รังนกเก่า ๆ เช่น รังอีกา หรือทำรังบนพุ่มไม้หรือต้นไม้สูง 1.5-18.0 เมตร ด้วยกิ่งไม้ที่นำมาขัดสานกัน วางไข่ครอกละ 5-6 ฟอง เปลือกไข่สีน้ำตาลมีจุๅดกระสีน้ำตาลเข้ม ม่วง และน้ำตาลแดง ขนาด 30.3-32.0 39.7-41.2 มิลลิเตร








    เอกสารอ้างอิง

    • นกไทยในบันทึกและความทรงจำ เล่ม 3 สุธี ศุภร์ฐวิกร. มิถุนายน 2543.
    • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนก ธีรยุทธ์ เลาหะจินดา, 2528. ปักษ์วิทยาเล่ม 1. บูรพาสาส์น ; กรุงเทพฯ.
    • นกในเมืองไทย เล่ม 3. ร.ศ. โอภาส ขอบเขตต์. กรุงเทพ : สารคดี,2543. 



    แหล่งที่มา  

    http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/article/poultry/pigeon_hawk.htm
    : http://www.zyworld.com/NAKARIN/raptorarticle7.htm   โดย    น. สพ  ไชยยันต์  เกษรดอกบัว
    :
    chaiyan  @  http://www.thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=962



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×