คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #32 : สุนัขจิ้งจอก (Fox,Jackal)
..สุนัขจิ้งจอก..
(Fox)
(http://www.naturephoto-cz.com/wallpapers.html)สุนัขจิ้งจอก (Fox) หรือ สุนัขจิ้งจอก จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae
สุนัขจิ้งจอกในไทยจะเรียกว่า Jackal (บ้านเราเรียกหมาในค่ะ) ซึ่งแตกต่างกับ Fox (จิ้งจอกของสายพันธ์ฝั่งตะวันตก) ตรงที่สุนัขจิ้งจอกไทยนี้จะมีหางที่สั้นกว่า fox โดยปกติแล้วพวก Fox จะมีหางยาวมาก บางครั้งอาจเกินครึ่งหนึ่งของลำตัวของมันเอง และหางก็จะเป็นพวงมากกว่าจิ้งจอกพัน์ไทย แต่ความดุร้ายนี้ เจ้า Jackal มีมากกว่า Fox ค่ะ
(http://www.care2.com/c2c/groups/disc.html?gpp=12404&pst=863944)
หน้าตาของ Jackal ค่ะ
(http://www.allposters.co.jp/-sp/-Posters_i411235_.htm)
หน้าตาของ Fox ฝั่งตะวันตกนะคะ
ลักษณะทั่วไปของสุนัขจิ้งจอก
มีขนาดลำตัวที่เล็ก จมูกแหลมยาว หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลเทา มีขนคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง เขี้ยวฟันคมมาก มีทั้งหมด 27 ชนิด พบได้ทั่วโลก สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้
(http://www.denverzoo.org/kids/wallpaper.asp)
โดยปกติจิ้งจอกจะหากินกันเป็นฝูง (2-4 ตัว) ต่างกับหมาป่าที่จะอยู่ตัวเดียวเดี่ยวๆซะเป็นส่วนมากนะคะ พวกสุนัขจิ้งจอกมักหากินเวลากลางคืน กินได้ทั้งพืชและสัตว์ค่ะ (แต่ปกติเราจะเห็นจิ้งจอกกินสัตว์มากกว่า ....ไม่รู้ทำไม) ซึ่งจะหากินตามพื้นป่า มักจะกินพวกสัตว์เลื้อยคลานจำพวก....แย้ กิ้งก่า จิ้งเหลน เป็นต้น
เวลากลางวันสุนัขจิ้งจอกก็มักนอนตามโพรงต้นไม้บ้าง หรือตามโพรงถ้ำที่มืดครึ้ม
การสืบพันธุ์
สุนัขจิ้งจอกตัวเมียมีเต้านม10เต้า ออกลูกครั้งละ4-5ตัว
ซึ่งสุนัขจิ้งจอกสามารถผสมข้ามสายพันธ์กันกับ Wolf (หมาป่า) แล้วก็หมาบ้านได้ โดยลูกไม่เป็นหมันนะคะ เพียงแต่ต้องเป็นสุนัขจิ้งจอกไทย (Jackal) เท่านั้น แต่ Fox นั้นผสมกับหมาบ้านไม่ได้ค่ะ เพราะคนละสกุลกันค่ะ ^____^
ความเชื่อเกี่ยวกับสุนัขจิ้งจอกสุนัขจิ้งจอก มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ ในความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกจิ้งจอกที่มีอายุมาก ๆ จะเป็นปีศาจสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ (ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง นั้นเองค่ะ)
ธรรมชาติของสุนัขจิ้งจอกนั้นไม่ทำร้ายคนอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
สุนัขจิ้งจอกทอง(http://www.pbase.com/hcarlsen/image/26503401)
จิ้งจอกทอง หรือ จิ้งจอกเอเชีย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ วงศ์สุนัข มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดเล็กกว่าหมาใน (Cuon alpinus) หูโตและตั้งตรง ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวมีสีเทาปนน้ำตาล ลักษณะเด่นคือ หางสั้นเป็นพวง ปลายหางมีสีดำ ขนบริเวณหลังมีสีดำ จิ้งจอกทองตัวเมียมีเต้านม 5 คู่
มีความยาวลำตัวและหัว 60-75 cm ความยาวหาง 20-25 เซนติเมตร น้ำหนัก 8-9 kg กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง จึงทำให้มีพันธ์ย่อย(Subspecies) ถึง 13 ชนิด พบตั้งแต่ในยุโรปเหนือ แอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือตะวันออก ตะวันออกกลาง ปากีสถาน อัฟกานิสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฏาน พม่า ไทย ภาคเหนือของกัมพูชา ลาว และภาคกลางของเวียดนาม
(http://www.sa-venues.com/wildlife/wildlife_jackal.htm)
จิ้งจอกทองหรือจิ้งจอกเอเชีย สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลายได้ ทั้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือพื้นที่เสื่อมโทรมตามหมู่บ้าน กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซากพืช ซากสัตว์ บางครั้งอาจขโมยอาหารหรือสัตว์เลี้ยงจากมนุษย์
จิ้งจอกทองมีระบบประสาทตา หู จมูก ดีเยี่ยม ในช่วงผสมพันธุ์อาจพบเห็นอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกล่าเหยื่อในเวลากลางคืนและพักผ่อนในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจพบเห็นได้ช่วงพลบค่ำหรือเช้าตรู่ชอบส่งเสียงหอน "ว้อ" เป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งคู่
(http://www.dkimages.com/discover/Home/Animals/Mammals/Carnivores/Families/Dogs-and-Relatives/Jackals/Golden-Jackal/Golden-Jackal-2.html)
มีพฤติกรรมจับคู่อยู่เป็นผัวเดียวเมียเดียวตลอดชีวิต ตัวผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัว สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว มีระยะเวลาการให้นมลูก 60-63 วัน เมื่อตัวแม่ออกไปหาอาหารมักทิ้งลูกในอยู่ตามลำพัง มีอายุยืนประมาณ 12 ปี ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535
สุนัขจิ้งจอกทองแบ่งย่อยได้อีกดังนี้1. Canis Aureus หมาจิ้งจอกทอง มีลักษณะ คล้ายหมาป่าวูลฟ์ขนาดเล็กมีอยู่อย่างกระจัดกระจายตั้งแต่แอฟริกาใต้ไปจนถึงแอฟริกาเหนือ มีขนสีนำตาลปนเหลืองส่วนหลังและหางจะแซมด้วยขนสีดำ
(http://photo.net/photodb/photo?photo_id=5750501)หมาจิ้งจอกทอง
2. Black-backed หมาจิ้งจอกหลังดำ มีลักษณะที่หลังมีขนยาวสีดำปนขาวแผ่กระจายเต้มหลังไปจนถึงบริเวณหางคล้ายกับอานม้า และใบหูใหญ่
(http://www.wildlife-pictures-online.com/200511.html)หมาจิ้งจอกหลังดำ
3.Canis Adustus หมาจิ้งจอกข้างลาย มีขนสีเทาและมีขนสีดำพาดเป็นทางด้านข้างของลำตัวที่ปลายหางจะมีสีขาว
(http://www.vadasz.info.hu/afrika/kisemlos/kisemlosok.html)หมาจิ้งจอกข้างลาย
4.Simian jackal หมาจิ้งจอก ไซเมี่ยน แจ๊คกัล มีลักษณะเด่นคือ หูตั้ง ใบหูใหญ่ ปลายหูแหลม ลำตัวค่อนข้างยาวขนตามลำตัวสีแดง ส่วนขนที่ใต้คอสีขาว ขายาวขนที่บริเวณปลายขาจะมีสีขาวหางเป็นพวง โคนหางขาวปลายโคนหางยาวประมาณ 100 ซม.
(http://animalpicturesarchive.com/view.php?tid=6&did=59195&lang=kr)หมาจิ้งจอก ไซเมี่ยน แจ๊คกัล
สุนัขจิ้งจอกแดง
(http://www.hernandezphotography.net/html/gallery/00010im.asp)
จิ้งจอกแดง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ วงศ์สุนัข มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vulpes vulpes ซึ่งอยู่ในวงศ์สุนัข (Canidae)
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสุนัขทั่วไป แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนตามลำตัว มีสีเทาแดงหรือสีน้ำตาลแดง บางตัวอาจมีสีน้ำตาลส้ม สีขนบริเวณปลายหูและขามีสีดำ สีขนอาจมีเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ กล่าวคือ สีขนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงในช่วงที่มีอากาศมีความชื่้นสูงมีความยาวลำตัวและหัว 49-65 cm ความยาวหาง 20-40 cm การกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง จึงทำให้มีพันธ์ย่อย(Subspecies) ถึง 50 ชนิด พบตั้งแต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง ปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า จีน ภาคเหนือของลาว และเวียดนาม
จิ้งจอกแดง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลายได้ ป่าสนหรือป่าเบญจพรรณ พื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย และพื้นที่เกษตรกรรม กินอาหารได้หลากหลายประเภทตั้งแต่สิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย นกแมลง และพยาธิต่าง ๆ
ในบางครั้งอาจกินผักและผลไม้ด้วย เช่น กะหล่ำปลี เป็นต้น มักอาศัยและหากินอยู่เป็นคู่ จิ้งจอกแดงที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียสามารถ ผสมพันธุ์ได้เกือบตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้อง 49-55 วัน โดยที่ตัวพ่อและแม่จะช่วยกันเลี้ยงดูลูกในรังช่วง 3 เดือนแรก เมื่อลูกมีอายุครบปีแล้ว ก็จะแยกตัวออกไปสร้างครอบครัวของตัวเอง
ที่มาของข้อมูล
: http://wordbook.rackhub.com/สุนัขจิ้งจอก
: http://th.wikipedia.org/wiki/สุนัขจิ้งจอก
: BackHand @ http://www.dek-d.com/board/view.php?id=788925
: ทรงกลด สุวานิช @ http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/user.php?course=1&id=198&mode=discussions
: Sillero-Zubiri & Hoffmann (พ.ศ. 2547). Canis aureus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2549. Database entry includes justification for why this species is of least concern
: http://th.wikipedia.org/wiki/จิ้งจอกทอง
: http://th.wikipedia.org/wiki/จิ้งจอกแดง
: Macdonald, D.W. & Reynolds, J.C. (2004). Vulpes vulpes. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 2006-08-09. Database entry includes justification for why this species is of least concern
: http://topicstock.pantip.com/writer/topicstock/2006/02/W4073377/W4073377.html
: http://www.geocities.com/laksika111/information.htm
ความคิดเห็น