ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมสัตว์โลก และสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #33 : เสือไฟ (Asian Golden Cat)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.54K
      0
      20 ก.ย. 51


    ..เสือไฟ.. 
    (Asian Golden Cat)





    (http://members.aol.com/cattrust/asiagold.htm)




    ข้อมูลเฉพาะตัว
    ชื่ออังกฤษ : Asian Golden Cat
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catopuma temminckii
    วงศ์ : FELIDAE
    ชื่ออื่น : อังกฤษ : Temminck's cat
    ฝรั่งเศส : chat doré d'Asie
    เยอรมัน : Asiatische Goldkatze
    สเปน: gato dorado asiatico
    บังกลาเทศ, อินเดีย : shonali biral
    อินโดนีเซีย : kucing emas
    ลาว : sua meo, sua pa
    มาเลเซีย : kucing tulap, harimau anjing
    พม่า : kya min, kyaung min
    ฉาน : hso hpai, miao thon
    ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณ ป่าเขตร้อน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย เนปาล
    เขตกระจายพันธุ์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย เนปาล
    ขนาด ความยาวลำตัว 75-105 เซนติเมตร น้ำหนัก 8-15 กิโลกรัม ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย






    ลักษณะทั่วไป




    (http://www.britannica.com/EBchecked/topic-art/237550/5708/Asian-golden-cat)



    เสือไฟปัจจุบันมีน้อยและหายาก ขนาดของตัวพอๆ กับสุนัขไทย รูปร่างค่อนข้างเพรียว รูปร่างคล้ายแมวแต่ตัวใหญ่กว่าแมวมาก  





    เสือไฟเป็นเสือขนาดกลาง มีรูปร่างบึกบึน ขาค่อนข้างยาว ลำตัวสีเรียบ มีลวดลายน้อย มีสีพื้นน้ำตาลแดงจนถึงแดงอย่างเก้ง บางตัวอาจมีสีดำ หรือน้ำตาล หรือเทา มีเสือไฟดำแบบเมลานิซึมบ้างแต่พบได้น้อย เสือไฟที่อยู่ทางใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีลายเรียบที่สุด ส่วนตัวที่อยู่ไปทางเหนือมากขึ้นก็จะมีลายมากขึ้นตามละติจูด






    โดยเฉพาะเสือไฟพันธุ์ Fontainer (Fontainer's Cat, C.t. tristis) ซึ่งพบในมณฑลเสฉวนและทิเบตประเทศจีนมีลวดลายพร้อยทั้งตัวคล้ายกับโอเซลอตในอเมริกาใต้จนนักสัตววิทยาบางคนจัดไว้เป็นแมวอีกขนิดหนึ่ง






    แม้จะมีลายน้อย แต่รูปแบบของลายของเสือไฟก็ดูคล้ายกับลายของแมวดาว ลักษณะที่เด่นชัดคือ แต้มสีขาวกับขีดดำบริเวณแก้ม และเส้นจากหัวตาไปถึงกระหม่อม ด้านล่างลำตัวและขาด้านในมีสีขาว หางยาวประมาณ 1/3 จนถึง 1/2 ของความยาวลำตัว ปลายหางด้านล่างสีขาว





    หูสั้นกลม หลังหูสีดำและมีจุดขาวอยู่กลางหลังหู ตามักมีสีเขียวอมเทาหรือสีเหลืองอำพัน ปลายหางด้านใต้จะมีริ้วสีขาวเช่นเดียวกับที่พบในเสือไฟบอร์เนียว นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าสองชนิดนี้อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน






    เสือไฟมีคู่เหมือนชนิดหนึ่งคือ เสือไฟแอฟริกา (African Golden Cat, Profelis aurata) อาศัยอยู่ในป่าเขตศูนย์สูตรในทวีปแอฟริกา ในอดีตเคยมีความเชื่อว่า เสือไฟทั้งสองชนิดเป็นญาติสนิทกัน แต่ข้อมูลด้านพันธุกรรมบ่งชี้ว่าเสือไฟและเสือไฟแอฟริกามีสายเลือดห่างกัน มาก







    ญาติสนิทที่สุดของเสือไฟคือแมวแดงบอร์เนียว (Bornean Bay Cat, Catopuma badia) อาศัยอยู่ในป่าทึบของเกาะบอร์เนียว คาดว่าเสือไฟและแมวแดงบอร์เนียวมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 4.9 ถึง 5.3 ล้านปีก่อน






    ถิ่นที่อยู่อาศัย




    เสือไฟชอบอาศัยอยู่ในป่าฝนเขตศูนย์สูตรหรือป่ากึ่งศูนย์สูตร บางครั้งอาจพบบริเวณป่าเปิด ป่าละเมาะ และป่าหญ้า รวมถึงป่าที่เป็นดงหิน ในบางพื้นที่ของประเทศจีนเรียกเสือชนิดนี้ว่า "เสือหิน" ที่แถบเทือกเขาหิมาลัยในอินเดียและสิกขิมเคยพบที่ระดับความสูงถึง 3,050 เมตร อาณาเขตตั้งแต่เนปาล อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ไทย มาเลเซีย และสุมาตรา






    อุปนิสัย




    (http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Catopuma_temminckii.jpg)


    เสือไฟชอบหากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ชอบเข้าไปขโมยสัตว์เลี้ยงตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆ บ้าน อาหารของเสือไฟได้แก่สัตว์เล็กต่างๆ เช่น กระต่าย กระจง แพะ เป็ดไก่ฯลฯ  
    สัตว์เลื้อยคลาน แมลง นอกจากนี้ก็อาจล่าสัตว์ใหญ่กว่าตัวเองได้ด้วย เช่น เก้ง




    ในรัฐสิกขิมและอินเดียเคยมีรายงานว่าเสือไฟสามารถล่ากวางผาได้ ในเวียดนามตอนเหนือก็เคยพบเสือไฟล่ากวางป่าและหมูป่า บางครั้งก็เข้ามากินสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน เช่น แกะ แพะ และลูกควายจนต้องถูกชาวบ้านล่ากลับบ้างเหมือนกัน





    เสือไฟหากินเวลากลางคืน ในตอนเหนือของประเทศเวียดนาม มีรายงานว่าช่วงเวลาที่พบเสือไฟมากที่สุดคือเวลา 23.00-24.00 น. ปีนต้นไม้เก่ง แต่ชอบอยู่บนพื้นดินมากกว่า เวลาเดินจะยกหางขึ้นสูง 







    (http://flickr.com/photos/21178134@N00/275085004)



    ชีววิทยา




    ระยะเวลาเป็นสัดยาว 6 วัน คาบการเป็นสัดนาน 39 วัน เสือไฟตั้งท้องนาน 70-80 วัน จากคำบอกเล่าของชาวเขาในประเทศไทยบอกว่าเสือไฟเลี้ยงลูกในโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว





    ลูกเสือแรกเกิดหนักประมาณ 250 กรัม ลืมตาได้เมื่ออายุ 9 วัน เมื่ออายุ 6 เดือนก็หย่านม ลูกเสือไฟมีสีเรียบเหมือนพ่อแม่ แต่มีขนยาวกว่า หนากว่า และสีเข้มกว่าของพ่อแม่เล็กน้อย ตัวผู้ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปี ตัวเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 18-24 เดือน





    ปัจจุบันมีเสือไฟอยู่ในสวนสัตว์ทั่วโลกรวมแล้วราวสิบตัวเท่านั้น เสือไฟมีปัญหาเรื่องเสือตัวผู้ฆ่าตัวเมีย แม้จะเป็นคู่ที่รู้จักคุ้นเคยกันมานานก็ตาม การเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงจึงทำได้ยาก ตัวที่อายุยืนที่สุดมีอายุ 20 ปี






    ภัยที่คุกคาม





    เสือไฟประสบปัญหาถูกคุกคามจากภัยหลายด้าน ภัยที่ร้ายแรงที่สุดคือการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย และรองลงมาคือการล่าเพื่อเอาหนังและกระดูก บางครั้งเสือไฟก็ถูกชาวบ้านฆ่าตายเมื่อไปจับสัตว์เลี้ยงในฟาร์มกิน ด้วยเหตุนี้ไซเตสจึงจัดเสือไฟไว้ในบัญชีหมายเลข 1







    ที่มาของข้อมูล


    : http://www.verdantplanet.org/catsoftheworld/cat_asiangoldencat.php
    :
    http://lynx.uio.no/catfolk/temmin01.htm
    :  http://www.canuck.com/iseccan/asngld.htm
    :  http://dialspace.dial.pipex.com/agarman/asiagold.htm
    :  http://www.2snake2fish.com/scoop/specialscoop1.html



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×