ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคม:เศรษฐศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

    • อัปเดตล่าสุด 1 ธ.ค. 50


                                       เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
                
    การศีกษาวิชาเศรษฐแบ่งเป็นสองแขนงใหญ่ๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (micro economics) และเศรษฐศาสตร์มหภาค (macro economics)
                 เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจย่อยๆภายใต้ขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด เช่น พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ผลิตว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณเท่าใด ควรกำหนดราคาเท่าใด และจะจำหน่ายจ่ายแจกอย่างไร  เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคของบุคคล ครัวเรือนและหน่วยะุรกิจอุปสงค์ของผู้บริโภค กลไกของราคา  การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต เช่น ค่าแรงของคนงานค่าเช่าที่ดิน กำไรของผู้ประกอบการ เป็นต้น การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง "ราคา" ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือของปัจจัยการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
                 เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งระบบโดยรวม ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ปริมาณเงิน ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออมและการลงทุน การจ้างงานดดยรวม การค้าระหว่างประเทศ การหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น ในเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงไม่ได้มุ่งที่ผู้บริโภคหรือผุ้ผลิตคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการพิจารณาในภาครวม โดยเป้าหมายที่สำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาคอยู่ที่เรื่อง การจ้างงานเต็มที่ การรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×