ตัวโครงการ
งานมหกรรมคนอาสา"เกี่บวข้าวใหม่ กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ ร่วมทำบุญ"
ผู้เข้าชมรวม
360
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
งานมหกรรมคนอาสา “ เกี่ยวข้าวใหม่ กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ ร่วมทำบุญ ”
องกรค์ร่วมจัด
1. ทีมงานไทยเอ็นจีโอ โปรเจคก์ / มูลนิธิกองทุนไทย www.thaingo.org /
2. โครงการการให้เพื่อสังคม
3. เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน
4. กลุ่มคนสร้างฝัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1. หลักการและเหตุผล
วัฒนธรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว เคยเป็นวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับสังคมการเกษตรในชนบทภาคอีสาน ตลอดจนถึงชนบทไทยมาช้านาน สภาพสังคมดั้งเดิมจึงเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมการผลิตแบบพึ่งพาอาศัย แบ่งปันและเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะการระดมแรงงาน หรือการลงแขก ผลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง มีผลผลักดันให้วิถีการผลิตแบบพอเพียงพึ่งตนเอง และใช้แรงงานตนเอง หรือใช้แรงงานร่วมกันในกลุ่ม ก็หันไปใช้เทคโนโลยี ใช้แรงงานรับจ้างและใช้เงิน สังคมเกษตรเชิงวัฒนธรรมในชุมชนชนบท ในอดีตจึงค่อยๆ ลบเลือนไป ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อการพาณิชย์แทน
งานระดมอาสาสมัครเกี่ยวข้าว คือความพยายามจะรื้อฟื้นวัฒนธรรมการเกื้อกูลกันในสังคม ระหว่าง กลุ่มคนรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน คนชั้นกลางทั่วไป เพื่อนำข้าวที่เกี่ยวได้ รวมถึงทรัพยากรอื่นๆ ไปช่วยเหลือสังคม ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อน จากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมโคลนถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียง
นอกจากนี้ ยังมีการนำมิติทางศาสนา พิธีกรรม มาเชื่อมโยงกับการให้ ซึ่งเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในผู้คนและสังคมไทย นำมาผูกร้อยความร่วมมือ ความศรัทธา ก่อเกิดเป็นพลังบุญที่ยิ่งใหญ่ ส่งจากใจผู้ให้ ไปสู่ผู้คนในสังคมที่ลำบาก เพื่อช่วยให้เขาเหล่านนั้น สามารถดำรงชีพได้อย่างปกติและเป็นพลังของการพัฒนาสังคมประเทศชาติต่อไป
มูลนิธิกองทุนไทย ร่วมกับภาคีพันธมิตร หลากหลายกลุ่ม จึงได้จัดงาน มหกรรมคนอาสา : เกี่ยวข้าวใหม่ กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ ร่วมทำบุญ ขึ้น โดยนำแนวคิดเรื่องงานอาสาสมัคร มาผสมกับแนวคิดวัฒนธรรมการให้ คือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน โดยปราศจากกำไร ซึ่งแนวคิดและกิจกรรมทั้งหมด สอดประสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
“ทำแต่พอกิน เหลือกินค่อยขาย ลงปลูกด้วยแรงกาย แจกจ่ายเกื้อกูลกัน”
2. เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการให้ โดยการระดมอาสาสมัครลงไปช่วยเกี่ยวข้าว และขอบริจาคข้าวเปลือกจากชุมชน ท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลให้กับชุมชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ทางภาคเหนือ
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อประสานงาน และสร้างความร่วมมือกับนักศึกษา คณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนทั่วไปในการระดมข้าวเปลือก 20 เกวียน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัยภาคเหนือ
2. เพื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมการให้ ให้เกิดกับกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งจะเป็นกำลังหลักของชาติในอนาคต ผ่านการลงแรงเป็นอาสาสมัครและช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเป็นรูปธรรม
3.เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตชาวนาอีสานให้กับเยาวชน คนหนุ่มสาวและอาสาสมัคร
3. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยยึดถือเอาแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ
4. แนวทางการดำเนินงาน
1. เห็นด้วยมีศูนย์อำนวยการ 2 ศูนย์ คือศูนย์อำนวยการมูลนิธิกองทุนไทย และศูนย์อำนวยการอาศรมไทบ้าน(ดอนแดง) เพื่อประสานและสนับสนุนกิจกรรม
2. ให้มีหน่วยประชาสัมพันธ์ กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อระดมอาสาสมัคร โดยใช้เครือข่ายนักศึกษาตามสถาบันต่างๆ เป็นหลัก หน่วยประชาสัมพันธ์ยิ่งมากยิ่งดี
3. มีศูนย์อาสาสมัคร ซึ่งตอนนี้ มีความพร้อมแล้ว 1 ศูนย์ คือศูนย์มหาสารคาม ที่ทำการคือ มมส. พร้อมคณะทำงาน 1 ชุด มีพื้นที่คือ บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย และพื้นที่ร้อยเอ็ด
4. ให้มีคณะทำงาน ในแต่ละศูนย์ และมีความอิสระที่จะวางกรอบการทำงาน บริหารจัดการภายในศูนย์ของตน
5. การเปิดศูนย์จะต้องมีความพร้อม ทั้งสถานที่ทำการ คณะทำงานดูแลจัดระบบการลงแรง และข้อมูลพื้นที่ทำกิจกรรม
6. ทุกศูนย์ต้องมีแผนกิจกรรมร่วมกัน เพื่อความสะดวกในการประสานสนับสนุนอาสาสมัครและวัสดุอุปกรณ์
7. กระบวนการกับพื้นที่เก็บเกี่ยวชุมชนจะต้องมีส่วนร่วม และต้องสร้างการเรียนรู้ต่อกันขึ้นด้วย
8. เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มคนประชาชนทั่วไปที่มีงานประจำ ดังนั้น กิจกรรมจะดำเนินเฉพาะในช่วงวันหยุด “ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ” เป็นหลัก
5. ระยะเวลาของกิจกรรมงานมหกรรม
ตั้งแต่ วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม 2549 รวมทั้งสิ้น 4 ช่วง คือ ระหว่างวันที่ 17 19 พ.ย. 24 26 พ.ย. 1 3 ธ.ค. และ 15 17 ธ.ค.
6. โครงสร้างการทำงาน
รูปแบบ / โครงสร้างการทำงาน
ศูนย์อำนวยการ หน่วยประชาสัมพันธ์ ศูนย์อาสาสมัคร
หน้าที่ หน้าที่ หน้าที่
1. ประชาสัมพันธ์ 1. ระดมอาสาสมัคร 1. ดูแลอาสาสมัคร
2. ระดมทุน อุปกรณ์ อาสาสมัคร 2. ประชาสัมพันธ์ 2. ประสานชุมชน
3. ให้บริการข้อมูล/อาสาสมัคร 3. ให้ข้อมูล/ประสานงาน 3. จัดกิจกรรมกับชุมชน
4. วางแผนบริหารแรง
งานอาสมัคร
5.เก็บข้อมูลความ
ต้องการชุมชนมา
วางแผนลงแรง
ศูนย์อำนวยการ 2 ศูนย์ หน่วยประชาสัมพันธ์ * [1] ศูนย์อาสาสมัคร 1 ศูนย์
1. กทม. ( มูลนิธิ กองทุนไทย ) 1. ม.เชียงใหม่ 1. ศูนย์ มหาสาคาม
2. อาศรมไทบ้าน ( ดอนแดง ) 2. ม.ศิลปากร ( นครปฐม ) ( ** ศูนย์ อุบล ฯ )
3. ม.อุบลฯ
4. ม.ราชภัฏมหาสารคาม
5. ร.ร.พลาญชัยวิทยาคม
6. ม.บูรพา
7. ม.รามฯ
8. ม.มหิดล ( ศาลายา )
9. หน่วยประชาสัมพันธ์ มรภ.สกล มรภ.อุบลฯ ฯลฯ
6. รายละเอียดกิจกรรม
1. กิจกรรมเตรียมการ
1.1 ประสานองค์กรต่างๆ หาแนวร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน และเจ้าภาพพื้นที่
1.1.1 ประชุมคณะทำงาน 3 ครั้ง
1.1.1.1 ครั้งที่ 1 ประชุมรับหลักการร่วมจัดงาน
เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 49 ที่ มมส.
1.1.1.2 ครั้งที่ 2 ประชุมสรุปทำแผนกิจกรรม
เมื่อวันที่ 14 ต.ค.49 ที่ มมส.
1.1.1.3 ครั้งที่ 3 ประเมินการจัดการ
วันที่ 4 พ.ย. 49 อาศรมไทบ้าน
1.1.2 สำรวจพื้นที่เกี่ยวข้าว ที่พักและที่ทำการศูนย์
พื้นที่เกี่ยวของศูนย์สารคาม มี 2 พื้นที่ คือ รอบ ๆ มหาลัยมหาสารคามและพื้นที่ อ.เมือง ร้อยเอ็ด เริ่มต้นสำรวจ
ครั้งที่ 1 ตั้งวันที่ 8 - 14 ต.ค .49
ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 15 21 ต.ค. 49
1.2 ประสาน ประชาสัมพันธ์ และออกซองผ้าป่า
1.2.1 จัดทำโปสเตอร์เผยแพร่งานและแผนที่ ศูนย์อาสาสมัครเกี่ยวข้าวใหม่
1.2.2 พิมพ์ซองผ้าป่า 2,500 ซอง
1.2.3 เปิดตัวหน่วยประชาสัมพันธ์ระดมอาสาสมัคร
1.2.4 พิมพ์เอกสารเผยแพร่ 8,000 แผ่น
1.3 จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการมหกรรมคนอาสา “ เกี่ยวข้าวใหม่ กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ ร่วมทำบุญ ” พร้อมเปิดงานเกี่ยวข้าวใหม่ วันที่ 15 พ.ย. 2549
2. กิจกรรมเกี่ยวข้าว
2.1 ประชาสัมพันธ์ ระดมอาสาสมัครลงแขกเกี่ยวข้าว
2.2 กิจกรรมเกี่ยวข้าว ตามวัน เวลา นัดหมาย
2.3 รวบรวมข้าวจากแต่ละหมู่บ้านมาไว้ที่ศูนย์อำนวยการ อาศรมไทบ้าน ( ดอนแดง )
2.4 กิจกรรมเวทีวิชาการชุมชนทุกคืนวันศุกร์
2.5 กิจกรรมเวทีวัฒนธรรมสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนทุกคืนวันเสาร์
3. กิจกรรมส่งมอบข้าวเปลือก และพิธีการ
3.1 กิจกรรมพิธีกรรมศาสนา และงานมหกรรม
3.1.1 พิธีกรรมทำบุญข้าวเปลือก
3.1.2 เวทีวิชาการ ( เวทีใหญ่ ) “ พลวัตรชาวนาอีสานในบริบทสังคมทุน
นิยม ” วิทยา ศรีศักร วัลลิโภดม , สุจิต วงษ์เทศ ฯลฯ [2]
3.1.3 ลานวัฒนธรรมค่ำคืนอีสานบ้านเฮา “ โปงลาง กองฟาง และลำ
ซิ่ง ” จากวงโปงลางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม น้าซู ฯลฯ [3]
3.2 กิจกรรมขนส่งข้าวเปลือกจากมหาสารคาม สู่ อุตรดิตถ์
3.3 กิจกรรมส่งมอบให้กับตัวแทนชาวบ้าน อ.ท่าปลา
3.3.1 เวทีเสวนา “ วิกฤติภัยพิบัติกับการสร้างทุนทางสังคม ”
3.3.2 การประชุมวางการจัดการข้าวเปลือกให้ยั่งยืน
3.3.3 พิธีส่งมอบข้าวเปลือก
แผนงานและกิจกรรม |
ตค |
พย |
ธค |
มค |
กพ |
1. กิจกรรมเตรียมการ 1.1 ประสานองค์กรต่างๆ หาแนวร่วมเป็นเจ้าภาพ 1.1.1 ประชุมคณะทำงาน 3 ครั้ง 1.1.1.1 ครั้งที่ 1 รับหลักการ 7 ต.ค. 49 ที่ มมส. 1.1.1.2 ครั้งที่ 2 สรุปทำแผนกิจกรรม 14 ต.ค. 49 ที่ มมส. 1.1.1.3 ครั้งที่ 3 ประเมินการจัดการ 4 พ.ย. 49 ที่ อาศรมไทบ้าน 1.1.2 สำรวจพื้นที่เกี่ยวข้าว ที่พักและที่ทำการศูนย์ ครั้งที่ 1 ( 8 - 14 ต.ค. 49 ) ครั้งที่ 2 ( 15 21 ต.ค. 49 ) 1.2 ประสาน ประชาสัมพันธ์ และออกซองผ้าป่า 1.2.1 ทำโปสเตอร์เผยแพร่งาน 1.2.2 พิมพ์ซองผ้าป่า 2,500 ซอง 1.2.3 เปิดตัวหน่วยประชาสัมพันธ์ระดมอาสาสมัคร 1.2.4 พิมพ์เอกสารเผยแพร่ 8,000 แผ่น 1.3 จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการมหกรรมคนอาสา “ เกี่ยวข้าวใหม่ กินปลามัน ปั้นข้าวจ้ำ ร่วมทำบุญ ” พร้อมเปิดงานเกี่ยวข้าวใหม่ วันที่ 15 พ.ย. 2549 |
**** **** **** **** **** **** **** **** |
**** **** |
|
|
|
2. กิจกรรมเกี่ยวข้าว 2.1 ประชาสัมพันธ์ ระดมอาสาสมัคร 2.2 กิจกรรมเกี่ยวข้าว ตามวัน เวลา นัดหมาย 2.3 รวบรวมข้าวจากแต่ละหมู่บ้านมาไว้ที่ศูนย์อำนวยการ อาศรมไทบ้าน (ดอนแดง) 2.4 กิจกรรมเวทีวิชาการชุมชนทุกคืนวันศุกร์ 2.5 กิจกรรมเวทีวัฒนธรรมสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนทุกคืนวันเสาร์ |
**** |
**** **** **** **** |
**** **** **** **** **** |
|
|
3. กิจกรรมส่งมอบข้าวเปลือก และพิธีการ 3.1 กิจกรรมพิธีกรรมศาสนา และงานมหกรรม 3.1.1 พิธีกรรมทำบุญข้าวเปลือก 3.1.2 เวทีวิชาการ ( เวทีใหญ่ ) “ พลวัตรชาวนาอีสาน ในบริบทสังคมทุนนิยม ” วิทยา ศรีศักร วัลลิโภดม , สุจิต วงษ์เทศ ฯลฯ [4] 3.1.3 ลานวัฒนธรรมค่ำคืนอีสานบ้านเฮา “โปงลาง กองฟาง และลำซิ่ง” จากวงโปงลางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3.2 กิจกรรมขนส่งข้าวเปลือกจากมหาสารคาม สู่ อุตรดิตถ์ 3.3 กิจกรรมส่งมอบให้กับตัวแทนชาวบ้าน อ.ท่าปลา 3.3.1 เวทีเสวนา “วิกฤติภัยพิบัติกับการสร้างทุน ทางสังคม” 3.3.2 การประชุมวางการจัดการข้าวเปลือกให้ ยั่งยืน 3.3.3 พิธีส่งมอบข้าวเปลือก |
|
|
|
**** **** **** **** **** |
**** **** |
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ข้าวเปลือก 20 เกวียน
2. สร้างสังคมการให้เป็นแรงงานอาสาสมัครเกี่ยวข้าว 200 คน
2.1 อาสาสมัครเกี่ยวข้าว 150 คน
2.2 อาสาสมัครร่วมระดม 50 คน
3. สร้างเครือข่ายองค์กรประชาสังคมร่วมกันสร้างทุนทางสังคม 20 องค์กร
3.1 องค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาอื่นๆ 15 องค์กร
3.2 องค์กรประชาชน องกรค์พัฒนาเอกชน 5 องค์กร
3.3 องค์กรของรัฐ 5 องค์กร
4. สร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อการลงทุนทางสังคม 20 หมู่บ้านในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และอุตรดิตถ์
8. รายนามองค์กรภาคีร่วมจัด
1. มูลนิธิกองทุนไทย
2. Thaingo Projects
3. โครงการส่งเสริมการให้เพื่อสังคม
4. เครือข่ายจิตอาสา
5. รายการโรงเรียนของหนู
6. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7. คณะพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
8. โรงเรียนพลาญชัยพิทยาคม
9. อาศรมไทบ้าน (ดอนแดง)
10. เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน
10. กลุ่มคนสร้างฝัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
11. กลุ่มอาสาเพื่อในหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
12. ชมรมครูอาสา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
13. คณะพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา
14. เครือข่ายแผนฟื้นฟูชุมชน อ.ท่าปลา อุตรดิตถ์
15. พระครูสิริปริยัติโสภิต รองเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย
16. พระจริยานิเทศน์จังหวัดมหาสารคาม เจ้าอาวาสวัดสว่างวารี วัดสว่างวารี ต.ท่าขอนยาง อ.กันทร
วิชัย จ.มหาสารคาม
17. กลุ่มนักศึกษา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
18. ชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
19. ชมรมรักษ์อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสาคาม
[1] หมายเหตุ
* หน่วยประชาสัมพันธ์จะขยายผ่านเครือข่าย ซึ่งไม่จำกัดปริมาณหน่วย เพื่อให้สามารถระดมอาสาสมัครได้จำนวนมาก และจะเร่งดำเนินการหลังจาก จัดทำข้อมูลความต้องการในพื้นที่ เพื่อทำแผนกิจกรรม เสร็จสิ้นแล้ว
** ศูนย์ อุบลฯ ขอนำข้อมูลการประชุมไปหารือกับทางกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน ยังไม่รับปากเรื่องเปิดศูนย์ แต่ให้ข้อมูลว่า ที่นั่นค่อนข้างพร้อมเรื่องพื้นที่ทำกิจกรรมเกี่ยวข้าว เนื่องจากมีชุมชนที่สัมพันธ์อยู่และชุมชนก็สนใจมาก แต่ถ้าไม่ได้อย่างไร ยินดีเปิดเป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ระดมอาสาสมัครช่วย
*** อยู่ระหว่างการติดต่อ
[2] อยู่ระหว่างการติดต่อ
[3] อยู่ระหว่างการติดต่อ
[4] อยู่ระหว่างการติดต่อ
ผลงานอื่นๆ ของ ชมรมฅนสร้างฝัน ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ชมรมฅนสร้างฝัน
ความคิดเห็น