ดุจดั่งฝัน นิรันดร์รัก - นิยาย ดุจดั่งฝัน นิรันดร์รัก : Dek-D.com - Writer
×

    ดุจดั่งฝัน นิรันดร์รัก

    ภาพวาดโบราณเเละน้ำหอมปริศนา นำทางให้นัสรินย้อนเวลากลับไปตามสัญญารักที่มอบให้ไว้กับศิลปินผู้นั้น... หวนคืนสู่อินเดียในยุคสมัยที่ปลายพู่กันเเละตำรับอาหารโดดเด่นท่ามกลางมรสุมทางการเมืองแห่งราชสำนักโมกุล

    ผู้เข้าชมรวม

    10,270

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    54

    ผู้เข้าชมรวม


    10.27K

    ความคิดเห็น


    41

    คนติดตาม


    245
    จำนวนตอน :  37 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.ย. 67 / 05:11 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     

    ข้าชมชอบการวาดภาพ เช่นเดียวกับที่เจ้ารักการปรุงอาหาร…เเท้จริงเเล้วศิลปะทั้งสองอย่างนี้มีสิ่งที่เชื่อมโยงสอดคล้องกันอย่างหนึ่ง…หากวาดภาพโดยปราศจากความรู้สึก รูปนั้นย่อมไร้วิญญาณ…เช่นเดียวกับอาหาร หากผู้ปรุงมิได้ใส่ใจรายละเอียดของการทำ…สิ่งที่ออกมาก็เป็นเพียงของดาษดื่นที่กินได้ มิใช่ผลงานอันปราณีตที่ควรค่าต่อการชื่นชมเเต่อย่างใด…

    … นัสริน นักศึกษาสาวไทยผู้มีฝีมือด้านการปรุงอาหารตัดสินใจมาเรียนต่อที่อินเดีย เพื่อตามหาความฝันที่ขาดหายไปในดินเเดนไกล  ใครจะไปรู้ว่า สมุดภาพเขียนโบราณสมัยราชวงศ์โมกุลของศิลปินนิรนามที่เธอได้เป็นของขวัญจากเจ้าของร้านขายของเก่า คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางเพื่อตอบปัญหาที่ค้างคาใจ…อะไรคือสิ่งที่เธอครุ่นคำนึงหามาตลอด จนกระทั่งมีโอกาสได้พบกับอาจารย์หนุ่มเชื้อสายเปอร์เซีย… ดร. อิมราน อัครวาล…

    ….เช่นเดียวกับ อิมราน  การปรากฏตัวของนัสริน ย่อมถือเป็นกุญเเจสำคัญในการไขปริศนาเกี่ยวกับ “มรดกลึกลับ” อันเป็นขวดน้ำหอมกุหลาบในกล่องเงิน ซึ่งเก็บรักษาโดยทายาทรุ่นต่อรุ่นในสายตระกูลตลอดหกชั่วอายุคน หากเเต่ยังมีปมในใจที่เขามิอาจรู้คำตอบ…เหตุใดจึงรู้สึกผูกพัน คุ้นเคยกับเธอตั้งเเต่เเรกเห็น หรือว่าจะเป็นความสัมพันธ์ตั้งเเต่ชาติปางก่อน

    นครอัครา 500 กว่าปีล่วงมาเเล้ว

    ……ราชสำนักโมกุลในรัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์ ถือเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปกรรม ทำให้บรรดาจิตรกรหลวงทั้งหลายต่างฝึกฝนฝีมือเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตนให้ถูกพระทัยเเห่งองค์จักรพรรดิ์ …เบห์ซาด ช่างหลวงเชื้อสายเปอร์เซียเเห่งราชสำนักยังคงยืนหยัดวาดภาพตามอุดมคติของตนเอง  ท่ามกลางการเเข่งขันของศิลปินหลากหลายเเนวคิด เพื่อตำเเหน่งหัวหน้ากองช่างเขียนอันเป็นเกียรติยศสูงสุดในหมู่ช่างหลวง…

    …มีเพียงหญิงคนรักคือ นาซริน ธิดาของหัวหน้าพ่อครัวประจำราชสำนักที่เชื่อมั่นในเเนวความคิดล้ำสมัย เเละพร้อมที่จะส่งเสริมให้เขาได้โบยบินไปในทิศทางที่ตนเลือก…ส่วนเขาเอง ก็เป็นกำลังสนับสนุนให้เธอใช้ความสามารถในการรังสรรค์ศิลปะการปรุงอาหารจนเป็นที่ยอมรับในราชสำนักโมกุล…

    …ภายใต้การแก่งเเย่งชิงบัลลังก์ระหว่างองค์ชายทั้งสาม…เมื่อความผูกพันทางสายเลือดมิได้สำคัญไปกว่าราชสมบัติ ชะตากรรมของราชสำนักโมกุลปลายรัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์จึงประสบความวุ่นวาย ที่เเม้เเต่ เบห์ซาด เเละ นาซริน ยังมิอาจหลีกเลี่ยงได้…

            กาลเวลาคล้อยเคลื่อน ความทรงจำเลือนหาย….

    พรากจากกันเเล้วชาติหนึ่ง จึงขอตามรักษาสัญญารักในชาตินี้…


    ……

    สวัสดีค่ะผู้อ่านที่รัก

    นิยายเรื่อง ดุจดั่งฝัน..นิรันดร์รัก มีที่มาจากการที่ผู้เขียนเป็นผู้โปรดปรานการรับประทานอาหารมากเท่าๆกับชมชอบศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เลยคิดว่า ถ้าเราทำนิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปรุงอาหารอันเป็นเอกลักษณ์เเละดำเนินเรื่องอิงกับเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริง (มั้ย) ก็คงจะน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

    จริงๆเเล้วผู้เขียนได้รับเเรงบันดาลใจจากชีรีย์จีน เเละเกาหลี เเนวทำอาหาร เช่น เเดจังกึม หรือ หัตถานางใน ซึ่งมีเเกนหลักของเรื่องเป็นการทำอาหารอย่างปราณีตของชาววังในราชสำนักผสมผสานกับเหตุการณ์ความเป็นไปของยุคสมัยนั้นทั้งเรื่องความรักเเละการเมือง ซึ่งนอกจากความสนุกเเล้ว ผู้ชม (เเละตัวผู้เขียนเอง) ก็ยังได้รับความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับอาหารตำรับเกาหลีเเละจีนโบราณด้วยค่ะ

    มาถึงตรงนี้…เเล้วก็สงสัยว่า ทำไมไม่มีใครเขียนนิยายเเนวนี้เเต่เป็นอาหารอินเดียบ้างนะ ทั้งๆที่อาหารอินเดียก็ได้รับความ   นิยมเเพร่หลาย มีเอกลักษณ์ทั้งทางด้านการปรุงเเละรสชาติที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัักกันมานานนับพันปี 

    สำหรับคนไทย เราย่อมคุ้นเคยกับอาหารลูกผสมไทย-เเขก (อินเดีย-มลายู) อย่างเช่น เเกงมัสมั่น โรตี มะตะบะ สะระหม่า ข้าวหมก หรือ     เเกงกะหรี่ มานานเเล้ว จนเราเข้าใจว่า อาหารอินเดียต้นฉบับ น่าจะเป็นเเบบนี้นะ..โดยหารู้ไม่ว่า แกงต่างๆที่ว่ามาผ่านการปรับปรุงสูตรจนไกลจากของเดิมมากกกกกก…ชนิดที่ว่าเเขกเจ้าของสูตรอาหารเองมาชิม ถึงกับหาเค้าเดิมไม่เจอ..

    เราเลยอยากทำนิยายสนุกๆที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารอินเดียควบคู่ไปกับศิลปะด้านอื่นๆ ที่โดดเด่นในช่วงสมัยนั้น คือ งานจิตรกรรม (ภาพวาด) ผ่านตัวละครเอกอีกคน โดยใช้โครงเรื่องอิงกับประวัติศาสตร์ของอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าอักบาร์ (Akbar Padshah of Hindustan) ราชวงศ์โมกุล (มุฆัล : Mughal) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ตรงกับสมัยอยุธยาตอนกลางในไทย)  ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองทางศิลปะเเละวัฒนธรรมอิสลามจากเปอร์เซียอันปราณีตงดงาม พร้อมๆกับการผสมผสาน เปิดรับวัฒนธรรมฮินดูของชาวอินเดียเองอีกด้วย

    โดยจะเห็นได้จากศิลปะการปรุงอาหารตำรับราชสำนัก เเละ งานจิตรกรรมภาพวาดต่างๆโดยช่างหลวงนั่นเเหละค่ะ

    ท้ายที่สุดนี้ เราก็หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆเกี่ยวกับอาหารเเละศิลปะอินเดีย ควบคู่ไปกับความสนุกสนานของเนื้อเรื่องเเนวย้อนยุคนะคะ

    Makhfi 

     

     

     

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น