ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มารู้จักการเขียนบทละครเวทีกันเถอะ!

    ลำดับตอนที่ #3 : ตอนที่3 : การเขียนบทไดอะล็อกให้ละครเวทีของเรา

    • อัปเดตล่าสุด 19 มี.ค. 58


     

     

       
       สวัสดีค่าทุกคน คิดถึงกันไหมคะ (#กล้านะย่ะ) อ่านตอนที่1 และ2 จบกันไปแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างคะ ละครเวทีของน้องๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างกันแล้วหรือยัง ถ้าใกล้แล้ว...อย่าได้เพิ่งกรี๊ดดีใจไปค่ะ ถ้ายังไม่ได้สัมผัสความมันส์ (หรือมึน) ในขั้นสุดท้าย เพราะเราจะไม่ยอมให้น้องจบแค่นั้น ฮ่าๆ ว่าแล้วก็เตรียมพบกับบทสุดท้ายกันได้เลยค่า!!

     
     

       ขั้นแรกในการเขียนไดอะล็อก ก็คือ เราต้องเข้าถึงบทสนทนาของตัวละครเสียก่อน ว่าแล้วเราก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า

     
     

       การเขียนบทสนทนาตัวละคร ต้องมีชีวิต สมจริงไม่ขัดหู สามารถจูงให้คนดูอินไปกับเรื่องราวได้ซึ่งการจะทำแบบนั้นต้องมีวิธีการน่าสนใจอย่างไรกันบ้าง เราไปดูกันค่ะ

    • ประโยคพูดควรมีความสมเหตุสมผล ปูทางไปถึงสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดต่อไป ไม่ใช่พูดขึ้นลอยๆ อย่างไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเรื่อง
     
    • พูดให้เหมาะสมกับวัยของตัวละคร และเข้ากับยุคสมัย อันนี้เราอาจใช้การสังเกตเอาจากคนรอบตัวดูว่าผู้ใหญ่รอบตัวเราเขาใช้คำพูดแบบ ไหน หรือเด็กผู้ชายใช้คำพูดต่างจากเด็กผู้หญิงอย่างไร และนักเขียนควรศึกษายุคสมัยในเนื้อเรื่องของตัวเองให้ดี เพราะภาษามีการเปลี่ยนแปลงทุกยุคสมัย ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็พวก "คำสรรพนาม" เช่น สมัยอยุธยา=ข้า, ปัจจุบัน=ฉัน/ผม เป็นต้น
     
    • ภาษา (พูด) ส่อถึงนิสัย คนเรานั้นมีนิสัยอย่างไร ก็จะสื่อให้เห็นได้กันทางคำพูดคำจาใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นจงใช้จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของแต่ละคนได้เลยค่ะจะ ยิ่งทำให้ตัวละครมีมิติมากขึ้น
     
    • คำพูดบอกอารมณ์ มนุษย์ เราไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการหรืออารมณ์ออกทางการแสดงท่าทางเสียหมด บางคนอาจจะเป็นพวกหน้านิ่ง ด่าเจ็บก็ได้ ตัวละครของเราก็เช่นกัน อย่าได้ละเลยที่จะมองข้ามจุดนี้ไปเชียวนะคะ
     
    • ไม่ใช้คำพูดยืดยาวจนน่าเบื่อ การใช้คำพูดยืดยาวเกินไป นอกจากจะไม่ช่วยดึงความสนใจของคนดูแล้วยังเป็นการเพิ่มความน่าเบื่อหน่ายให้ เรื่องราวดี-ไม่ดีคนดูอาจเคลิ้มหลับไปก่อนจะได้ดูละครเวทีจบได้นะคะ เพราะฉะนั้นต้องระวัง
     
    • หลีกเลี่ยงการใช้คำศัทพ์เฉพาะที่ยากเกินเข้าใจ เว้นเสียว่าอาจมีการใช้ท่าทางการแสดง ณ ตอนนั้นประกอบคำพูด
     
    • ชักจูงคนดูด้วยบทพูดปริศนา เพื่อดึงให้คนดูลุ้นบ้างเป็นการสร้างความตื่นเต้น ท้าทายอีกอย่างหนึ่ง เช่น“คุณว่า คนเราจะสามารถละทิ้งความผิดของตัวเอง ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจได้ลงไหม”
     
     

       เมื่อเรากำหนดบทสนทนาของแต่ละตัวละครกันเสร็จสิ้นแล้ว ทีนี้เราจะมาเริ่มในส่วนของบทไดอะล็อกกันค่ะ ว่ามีหลักการเขียนอย่างไรกันน้า

       หลักการเขียนไดอะล็อก

            1. ระบุลำดับฉาก
            2. ระบุฉาก
            3. ระบุนักแสดงในฉากนั้นทั้งหมดว่ามีใครบ้าง
            4. หากกลัวสับสน อาจจะระบุเวลาด้วย
            5. ใส่บทสนทนาของแต่ละตัวละครในฉากนั้น เช่น A : “บทพูด”
            6. ใส่ท่าทาง หรืออารมณ์ของตัวละครประกอบประโยคสนทนา
            7. อาจมีการใส่ลำดับการแสดงไว้ด้วย เช่น B เดินเข้าทางขวา ออกทางซ้าย

    ตัวอย่างไดอะล็อกบางฉากจากเรื่อง Can't: 
     
     
     

       สำหรับตัวผู้เขียนเองเพื่อป้องกันการสับสน ก็จะใช้ตารางที่สร้างขึ้นเองเข้าช่วยถือเป็นการเรียบเรียงบททั้งหมดในหัวอีกรอบหนึ่งด้วย ขอยกตัวอย่างนะคะ

     
     

       เย้! ในที่สุดการเดินทางอันแสนยาวนานก็ได้สิ้นสุดลงแล้วค่ะ สำหรับคอร์ส “การเขียนบทละครเวที” เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สนุก หรือสลบกันไปแล้วคะ ฮ่าๆ
       แม้การเขียนบทละครเวทีค่อนข้างจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะต้องใช้การคิดใน หลายๆ ด้าน แต่พี่พูดได้คำเดียวเลยว่า “เหนื่อย(แทบตาย) แต่คุ้มค่า” ม๊ากกกกก เรียกว่าเป็นประสบการณ์ที่สนุกและท้าทายมากจริงๆค่ะ


       แล้วจะรู้ว่านักเขียนบทละครเวทีไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป...

     
     

    ขอขอบคุณรูปสวยๆ จาก
    www.facebook.com/toontonie
    www.facebook.com/multistage5
    www.facebook.com/MultiStageBangmod

     

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×