ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มารู้จักการเขียนบทละครเวทีกันเถอะ!

    ลำดับตอนที่ #2 : ตอนที่2 : การสร้างตัวละครในละครเวที

    • อัปเดตล่าสุด 19 มี.ค. 58


     

     

       สวัสดีค่ะ พบกันอีกแล้ว... วันนี้จะขอนำเสนอการสร้างบทละครเวทีด้วยการสร้างตัวละครกันค่ะ อา...แค่ฟังก็น่าสนุกกันแล้วใช่ไหมละคะ สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่าไม่ยากเลยจริงๆ เพราะมันค่อนข้างจะไม่ต่างจากการสร้างตัวละครสำหรับนวนิยายสักเท่าไหร่เลยค่ะ หากการสร้างตัวละครสำหรับละครเวทีจะแตกต่างตรงในส่วนเรื่องของเวลาแสดง และตัวนักแสดงเข้ามาเป็นหลักสำคัญค่ะ

     
     

       ขั้นแรก เราต้องหาวิธีให้ได้ค่ะ ว่าเราเขียนบทอย่างไรให้คนดูเข้าใจนิสัยของตัวละคร โดยเราอาจหาวิธีสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

     
     

       กำหนดนิสัย  จุดที่จะทำให้ตัวละครในเรื่องแตกต่างกันก็คือ “นิสัย” นี่ล่ะ เพราะฉะนั้นควรระวังและปูฐานนิสัยของตัวละครแต่ละตัวให้ดี เพราะมันส่งผลต่อเนื้อเรื่องทั้งหมด

       สร้างภูมิหลัง  มนุษย์ทุกคนย่อมมีอดีตตัวละครก็เช่นเดียวกัน หากไม่มีปมหรือเรื่องราวในอดีต เหตุการณ์ในปัจจุบันก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีแรงจูงใจพอที่จะกระทำลงไป หากอยู่ๆ ตัวละครเราก็เกิดนึกอยากฆ่าใครสักคนด้วยเหตุผลที่ไม่หนักแน่นก็จะทำให้คนดูเบื่อ และรู้สึกว่ามันไม่ใช่ของจริง! การจะทำให้ตัวละครของเราสมจริง เราจึงควรต้องสร้างปม สร้างเรื่องราวต่างๆ บ่มเพาะนิสัย ความคิดของตัวละครมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นตัวตนในปัจจุบัน เช่น เหตุการณ์ในอดีตทำให้สูญเสียบุคคลที่รัก และความเปลี่ยนแปลงไปของบุคคลใกล้ชิดทำให้เธอหันหลังให้พระเจ้า ภายใต้ความนุ่มนวลเรียบร้อยนั้น จิตใจของเธอได้ถูกความมืดกลืนกินโดยสมบูรณ์และพร้อมที่จะทำลายทุกคนที่เข้ามาขวางทางเธอ!

       มีคำพูดติดปาก  จุดนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อีกจุดหนึ่งที่ทำให้ตัวละครของเราโดดเด่นขึ้นมาอีกระดับชั้น และจุดนี้เองที่จะเป็นการสื่อให้คนดูได้รู้จัก และเข้าใจตัวละครนั้นมากขึ้น หรืออาจให้ตัวละครมีคำพูดติดปากเป็นคีย์เวิร์คสำคัญของเรื่องก็ได้ อย่างเช่น ตัวเอกของเรื่องนี้ชอบพูดว่า “ถ้าแม่ยังอยู่ ทุกอย่างคงไม่เป็นแบบนี้” แอบเป็นการชวนให้คนดูรู้สึกเอ๊ะใจว่า แล้วถ้าเธอไม่พอใจสถานการณ์ในตอนนี้ แล้วเธอจะทำไงล่ะให้เป็นอย่างที่เธอหวัง

       สร้างเอกลักษณ์ด้วยนิสัย สี หรือสิ่งของ  บางตัวละครเราอาจรู้สึกว่ามันธรรมดาไป เราอาจใช้สีเพื่อเน้นบุคลิกของตัวละคร หรือเพิ่มลูกเล่นด้วยการใช้สิ่งของเข้าช่วยด้วยก็ได้ เช่น เด็กสาวเอมิลี่เป็นคนติดตุ๊กตาเด็กผู้หญิง เธอมักชอบพกมันไปไหนมาไหนด้วยเสมอ

       ท่าทาง  ท่าทางแสดงออกถึงนิสัยอีกทางหนึ่งได้เช่นกันซึ่งการที่ตัวละครจะแสดงท่าทางออก มาได้นั้น นักเขียนต้องคิดด้วยว่าเขากำลังอยู่ในอารมณ์แบบไหน ต้องการอะไร และด้วยนิสัยของตัวละครนั้นจะทำให้เขาแสดงท่าทางออกมาแบบไหน เช่น เด็กสาวเอมิลี่มักจะแสดงอาการใช้มีดแทงตุ๊กตาที่ตัวเองเล่นซ้ำๆ เมื่อต้องการสื่อให้เห็นถึงความต้องการลงโทษคนชั่ว

       การแต่งตัว  การแต่งตัวสื่อให้เห็นถึงนิสัย และรสนิยมของตัวละคร ยิ่งถ้าเป็นแนวเรื่องเฉพาะ เช่น เทพนิยาย ยุคไทยในอดีต ยุควิคตอเรีย เป็นต้น การแต่งกายจะเป็นการสร้างสีสันให้คนดูอินกับบรรยากาศ สามารถเข้าถึงอารมณ์ได้มากขึ้น

     
     
     

       จากที่กล่าวไปนั้นถือเป็นพื้นฐานของการสร้างนิยายทั่วไปอยู่สักหน่อย งั้นเรามาเข้าเจาะลึกกันสักนิดดีกว่านะคะ ว่าตัวละครในละครเวทีมันเหนือชั้นว่านิยาย หรือเรื่องสั้นทั่วไปอย่างไร

     

       การสร้างปมให้ตัวละครทำให้ละครเวทีน่าสนใจมากขึ้น หรือใส่แรงจูงใจของทุกตัวละคร หากเป็นบทแนวฆาตกรรมจะยิ่งเป็นการเพิ่มความท้าทายให้คนดูได้เดาคนร้ายต่างๆนานา เพราะทุกคนมีเหตุผลในการกระทำของตัวเอง ดังนั้นจงผลักดันการกระทำของตัวละครนั้นออกมาให้คนดูต้องติดตามอยากรู้ว่าทำไมเขา หรือเธอถึงต้องทำแบบนี้...

       ผลักดันสิ่งภายในออกสู่การแสดง ละครเวทีไม่สามารถเสนอ หรือเล่าแง่มุมภูมิหลังของตัวละครออกมาได้หมดเหมือนนิยาย-เราจึงต้องเขียนให้ตัวละครแสดงภูมิหลังออกมาผ่านทางการกระทำ แววตา คำพูด หรือการปฏิบัติตัวกับคนรอบข้าง

       เลือกใช้ประโยคคำพูดให้เหมาะกับนิสัย วัยวุฒิ และอาชีพ ที่สำคัญคือต้องไม่มีใครมายืนนิ่งในฉากๆ นั้น ยกตัวอย่าง
    คาร์ลเป็นผู้ชายพราวเสน่ห์ คารมดี อาชีพเจ้าของโรงพิมพ์ทำให้กว้างขวาง : ประโยคพูดจึงต้องค่อนข้างอวดดี ยโส และปากหวานเฉพาะผู้หญิง เช่น “มาหาภรรยาผมแต่เช้า งานการนี่ไม่ทำแล้วหรือไงกัน หืม?”

       เลือกนักแสดงให้ตรงกับคาแรคเตอร์ของตัวละคร จุดนี้สำคัญมากทีเดียว เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยเจอนักแสดงที่ดูแล้วรู้สึกว่าไม่ตรงคาแรคเตอร์นางเอกเรื่องนี้เอาซะเลยกันบ้างใช่ไหมละคะ ถ้าไม่อยากให้เรื่องของตัวเองเป็นแบบนั้น เราก็ต้องมีการคัดเลือกนักแสดงก่อนค่ะ

       การออกแบบพื้นที่แสดง  ควบคุมจำนวนตัวละครต่อฉากๆ หนึ่งไม่ให้มากเกินไป และวางตำแหน่งยืน ท่าทาง การเดินของตัวละครให้ดี
       - นักแสดงไม่ควรหันหลังให้คนดู แต่ต้องมีปฏิสัมพันธ์/สบตากับคนดู
       - หากตัวละครมีจำนวนเยอะพยายามมาร์คตำแหน่งยืนให้สมดุล
       - อย่าปล่อยให้กลางเวทีว่างพยายามเดินให้ผ่านศูนย์กลางเวทีเสมอ

       ไม่ควรใช้ตัวละครเปลืองโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการรกเวทีและชวนให้คนดูสับสนความสัมพันธ์ของตัวละครอีกด้วย-ขอแนะนำให้พยายามสร้างความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของตัวละครทุกตัวที่มีอยู่ในเรื่อง โดยเราอาจป้องกันการสับสนของความสัมพันธ์ตัวละครด้วยการสร้าง พงศวดาร หรือก็คือแผนผังความสัมพันธ์ภายในครอบครัว

     

       หรือเพื่อให้เห็นภาพ และเข้าใจคาแรคเตอร์ของตัวละครมากขึ้น เราอาจทำตารางลักษณะนิสัยของตัวละครขึ้นมาค่ะ

     
     

       เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับบทความเกี่ยวกับการสร้างบทละครเวที ตอนที่2 เริ่มเห็นความสนุกกันแล้วใช่ไหมล๊าา เตรียมพบกับตอนหน้า...ตอนสุดท้ายแล้ว เราจะมาสอนการเขียนบทไดอะล็อกกันค่ะ รับรองว่าสนุก และได้รับความรู้อย่างเต็มที่แบบที่ไม่สามารถหาได้จากที่ไหนอีกแล้วค่ะ (ขนาดนั้น???) ฮ่าๆ

        แล้วจะรู้ว่านักเขียนบทละครเวทีไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป...

     

    ขอขอบคุณรูปสวยๆ จาก
    www.facebook.com/toontonie
    www.facebook.com/multistage5
    www.facebook.com/MultiStageBangmod

     

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×