bombombom
@bombombom
ตอนนี้ยังไม่มีคำขอเป็นเพื่อน
มีเพื่อนๆ เล่น My.iD อีกเยอะเลย ลองไปดูกันเถอะ
dummyaliasname
@dummyusername
dummymsg
ตอนนี้ยังไม่มีข้อความลับ
ตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งเตือน
เล่าเรื่องราวของคุณหรือสิ่งที่สนใจผ่านการตั้งกระทู้ ถ้ามีเพื่อนๆ มาตอบจะได้รับการแจ้งเตือนด้วยนะ
เพียงแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ เพื่อรับแจ้งเตือนบทความมาใหม่ในหมวดที่คุณสนใจ
ตอนนี้ได้ติดตามบทความเรียบร้อย
เมื่อบทความที่ติดตามอัปเดตจะแจ้งเตือนทันที ขอให้สนุกกับการอ่านบทความนะครับ
คุณยังไม่ได้ตั้งรหัสผ่านในบัญชีของคุณ
ตั้งรหัสผ่านตอนนี้เพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบด้วยรหัสผ่านได้
ค่าเริ่มต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
สวัสดีค่าทุกคน เชื่อว่าหลายๆคนในนี้อาจจะเคยได้ดูละครเวทีกันมาบ้างแล้ว วันนี้จะขอเอาประสบการณ์จากที่เคยเป็นผู้ร่วมเขียนบทให้ละครเวทีมัลติสเตจ 5 เรื่อง Can’t ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเจ้าธนบุรี หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “ ละครเวทีมัลติ บางมด ” มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อแชร์ไว้เป็นความรู้นะคะ งั้นเราไปเริ่มกันเล้ยยยย ^_^ ปล.ขอผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ สิ่งที่จะเอามาเล่ากันนี้เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้เอง และลองผิด ลองถูกของตัวผู้เขียนเองนะคะ
ก่อนอื่นเรามารู้จักองค์ประกอบหลักๆ ในละครเวทีเรื่องหนึ่งๆ กันก่อนดีกว่า ว่าละครเวทีเรื่องหนึ่งเนี่ยประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
หลักในการเขียนบทละครเวที นั้นไม่ต่างอะไรจากการแต่งเรื่องสั้น หรือนวนิยายทั่วไปเลยค่ะ เพราะสิ่งที่เราต้องทำก็คือ... ตามหาแรงบันดาลใจ แหม..อันนี้ไม่ต้องตามหากันไกลค่ะ เอาใกล้ๆ ตัวเรานี่ล่ะ อาจเป็นไอเดียจากความฝัน เพลง หนัง สิ่งที่ชอบ ที่ๆ อยากไปเที่ยว หรือจะเป็นในชีวิตประจำวันของเราเองก็ได้ เพื่อนำสิ่งนั้นมาเขียนเป็น Concept ต่อยอด Concept เพื่อไม่ให้เรื่องของเราหลุดออกนอกวงโคจร(ไปดาวยูเรนัส) เราจึงต้องตีกรอบความคิดของเราไว้ก่อนด้วย Concept เช่น ปีศาจในจิตใจ หรือ ลัทธิซาตาน เป็นต้น ก่อนจะนำไปต่อยอดเพื่อสร้างเป็น Theme ของเรื่องกันต่อไปค่ะ สร้าง Theme หรือ แก่นของเรื่อง ประมาณว่าเรื่องของเรานั้นจะมีประเด็นเนื้อหาสำคัญแบบไหน หรือมีเนื้อหาคติคำสอนว่าอย่างไร เช่นว่า เพื่อคนที่เขารักแล้ว เขาจึงต้องหันหลังให้พระเจ้า หาข้อมูลให้เป๊ะ เมื่อได้ Theme ที่แน่นอนแล้ว เราก็จะมาหาข้อมูลกันเพื่อให้การแต่งเป็นไปได้อย่างสมจริง น่าเชื่อถือ สร้างตัวละคร จุด นี้สำหรับตัวพี่คิดว่าค่อนข้างสำคัญมากทีเดียว ละครจะสนุก-ไม่สนุกก็อยู่ที่จุดนี้กันล่ะค่ะ! แต่ขออุ๊บส์ไว้ก่อนนะคะ เราจะมารู้วิธีสร้างสีสันให้ละครเวทีของเราด้วยตัวละครในบทความหน้า รอชมกันค่ะ ^_^ เขียน Plot หรือ โครงเรื่อง เมื่อตัวพร้อม ใจพร้อม ข้อมูลแน่นปึ๊ก ทีนี้เราก็จะมาเริ่มลงมือเขียนกันค่ะ (โอ๊ย ตื่นเต้น) หลักการไม่ยากอะไรเลยค่ะ แค่เขียนให้ได้ว่า ใคร, ทำอะไร, ที่ไหน, อย่างไร, เมื่อไหร่ แล้วขยายความเข้าไป ซึ่งต้องคำนึงถึงลำดับเรื่องราว และการดำเนินเรื่องให้ดีๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของช่วงเวลา และฉาก สำหรับฉากนั้น พี่ขอแนะนำว่าหลังจากน้องๆ ลำดับเรื่องราวทั้งหมดอย่างละเอียดแล้ว ให้ลองลิสไว้ว่ามีฉากทั้งหมดกี่ฉาก เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง/เหตุการณ์ไหม เวลาเปลี่ยนฉากจะต้องเปลี่ยนอย่างไรให้เร็วและคนดูไม่เบื่อ เช่น เปลี่ยนฉากจากบ้านเป็นร้านอาหาร อาจดึงสายตาคนดูโดยให้ Back Stage แต่งชุดเป็นบริกรยกโต๊ะ จัดโต๊ะด้วยลีลาน่าสนใจ และมีนักร้องร้านอาหารร้องเพลงสลับกับเต้นดึงความสนใจของคนดู เมื่อเขียนพล็อตจบแล้ว ก็ให้กลับมาอ่านและขัดเกลาบทอีกรอบค่ะ เพื่อเป็นการตบพล็อตให้แน่นมากขึ้นโดยให้คำนึงถึงความเข้าใจของคนดูเสมอ ดังนั้นลำดับเหตุการณ์ต้องไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเกินไปนะคะ
ทีนี้เมื่อเขียนพล็อตได้ (เกือบ) สมบูรณ์แล้ว เราจะนำมันมาตัดแบ่งเนื้อเรื่องให้เป็นองก์ๆ กันค่ะ เราเรียกกันว่า บทสามองก์ นั่นเอง เอ...? แล้วทีนี้บทสามองก์เนี่ยมันคืออะไรล่ะ? บทสามองก์ ก็คือการลำดับเรื่องราวโดยแบ่งเป็น องก์ที่ 1 : บทนำ ใช้ปูเรื่อง แนะนำตัวละคร และบอกสภาพเหตุการณ์ องก์ที่ 2 : เนื้อเรื่อง ใช้กล่าวถึงการก่อตั้งของปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้ง องค์ที่ 3 : บทสรุป ใช้กล่าวถึงการคลี่คลายของปัญหา จุดจบของปัญหา การ แบ่งเนื้อเรื่องเป็นองก์ๆ นั้นมีเพื่อความสะดวกในการเพิ่มเติมเนื้อหา หากเราเกิดไอเดียใหม่ขึ้นกลางทาง เช่น จู่ๆ ก็คิดได้ว่าอยากให้ตัวเพื่อนนางเอกมีบทเพิ่มขึ้น หากเป็นปกติก็อาจต้องรื้อ ต้องขยับโครงเรื่องใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าเราแบ่งองก์ไว้แล้วเราก็แค่คิดว่ามันควรอยู่ช่วงไหน ต้น กลาง หรือท้ายเรื่อง แล้วนำไปใส่และแก้แค่องก์นั้นๆ พอ ขอยกตัวอย่างเป็นละครเวทีมัลติสเตจ 5 เรื่อง “Can’t” นะคะว่ามีการแบ่งบทสามองก์กันอย่างไร องก์ที่ 1 เหตุการณ์เรือล่มเมื่อ 3 ปีก่อนเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างในครอบครัวของนางเอกไป เธอต้องเสียแม่ที่รัก และมีลูกสาวที่ชอบพูดจาประหลาดถึงความฝันของตนเหมือนรู้อะไรเกี่ยวกับคดี ฆาตกรรมสยองต่อเนื่อง 4 รายที่กำลังเกิดขึ้น รวมถึงพฤติกรรมอันแปลกไปของสามี องก์ที่ 2 เหตุการณ์เริ่มเลวร้ายลง เมื่อสามีของนางเอกแอบนัดพบแม่บ้านคนเก่าตามที่ให้เลขาสาวไปสืบ ทว่าคืนนั้นแม่บ้านถูกฆ่า เขาจึงกลายเป็นผู้ต้องสงสัย เขายอมให้จับกุมแต่โดยดีเพราะเริ่มระแคะระคายบางอย่างถึงสิ่งที่นางเอกกำลังปกปิดไว้ องก์ที่ 3 เลขาพระเอกแอบลอบเข้ามาสืบที่บ้านนางเอกจนมาเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่มีราย ชื่อของเหยื่อฆาตกรรมทั้งหมด และมีชื่อเธอเป็นคนสุดท้ายก่อนเธอจะถูกฆ่าตายโดยพ่อเลี้ยงนางเอก พ่อเลี้ยงนำร่างของแม่นางเอกมาทำพิธีกรรมซาตานเพื่อชุบชีวิตแต่ไม่เป็นผล เขาเศร้าเสียใจ กระทั่งนางเอกเดินเข้ามาเอามีดแทงพ่อเลี้ยงและบอกว่าเขาคือเหยื่อคนสุดท้าย ทว่าแม่ก็ไม่ฟื้น ไม่ว่านางเอกจะพยายามทำพิธีอย่างไรจนเธอเป็นบ้าไปในท้ายที่สุด
ลงมือเขียนไดอะล็อก เมื่อเราแต่งพล็อตกันจบแล้ว อย่าเพิ่งดีใจค่ะ ความสนุก(?)ยังไม่จบแค่นั้น เราจะมาต่อความมันส์กันด้วยการลงมือเขียนไดอะล็อก หรือก็คือบทพูดของตัวละคร ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับการเขียนบทสนทนาในนวนิยายหรือเรื่องสั้นทั่วไปบ้าง ซึ่งจะพูดถึงในตอนหน้าค่ะ! (อย่าเพิ่งอยากตื๊บคนเขียน โทษฐานพูดให้อยากแล้วจากไปตลอด ฮ่าๆ)
จากการเขียนบทละครเวทีขั้นต้นที่พี่ได้กล่าวไปนั้น หลายๆคนคงจะเห็นกันแล้วใช่ไหมล่ะคะว่าแทบไม่ต่างจากการแต่งนวนิยายทั่วไปเท่าไหร่เลย เอ...แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่มันต่าง? งั้นพี่จะเล่าให้ฟังคร่าวๆ นะคะว่า อะไรบ้างที่เป็นกลวิธีเฉพาะในการเขียนบทละครเวที
หาวิธีสื่อสารให้คนดูสามารถเข้าใจการกระทำของตัวละครโดยไม่ต้องเฉลยผ่านบทพูดหมด ข้อสำคัญคือ ควรเขียนตัวละครทุกแง่มุมในฉากเดียว เราควรรู้ว่าตัวเอก-ตัวร้าย-ตัวประกอบคิดอย่างไรซึ่งความคิด/แรงจูงใจของแต่ ละตัวละครจะนำไปสู่การแสดงท่าทางออกมา
ละครเวทีไม่ควรตัดข้ามกลับไปกลับมาระหว่างช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ฉายย้อนอดีตสมัยเด็กวกมาปัจจุบัน แล้วกลับไปนึกย้อนอดีตอีก ในนิยายอาจเขียนแบบนี้ได้ แต่ถ้าละครเวทีเป็นแบบนี้ละก็ คนดูจะสับสนจนดูไม่รู้เรื่องในที่สุด
การดำเนินเหตุการณ์แต่ละฉากต้องกระชับ ไม่ควรยืดยาวมากไปจนน่าเบื่อ หรือสั้นไปจนคนดูไม่เข้าใจ
หาวิธีสอดแทรกมุกในเนื้อเรื่องให้คนดูไม่เบื่อ อาจจะเป็นการโต้เถียงของตัวละคร หรือร้องเพลงก็ได้
จำกัดจำนวนตัวละครในแต่ละฉากให้พอดี ให้เหตุการณ์หนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นต้องมีตัวละครโผล่มาไม่เยอะเกินจนล้นเวที มันจะเป็นการทำให้คนดูรู้สึกรกสายตา ไม่รู้จะโฟกัสความสำคัญหรือใส่ใจรายละเอียดที่ใครดี
คิดตอนจบให้ดี หักมุมให้สวย อย่าให้คนดูกลับออกไปแล้วพูดได้ว่า “นี่ชั้นเสียเวลาดูมาสองชั่วโมงเพื่ออะไร!?” โดยสำหรับพี่นั้นขอแนะนำว่าจุดพีก (Peak) ของเรื่องไม่ควรทิ้งห่างจากตอนจบมากเกินไป จะเป็นการทำให้เนื้อเรื่องเฉื่อยเสียเปล่าๆ (ถ้าแสดงประมาณ 2 ชั่วโมง ระยะเวลาจุดพีกถึงจุดจบควรห่างกันประมาณ 10-15 นาทีนะคะ)
สิ่งสำคัญที่สุด เวลาเขียนฉากหนึ่งๆ ถ้าเป็นไปได้ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งการเปลี่ยนฉาก จังหวะเปลี่ยนชุด เวลา จำนวนตัวละคร ดนตรีประกอบ แสง ฯลฯ (กลับขึ้นไปอ่านในรูป “หัวใจหลักของละครเวที” นะคะว่ามีอะไรบ้าง) ควรต้องมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากมันจะส่งผลถึงลำดับเนื้อเรื่อง หากน้องๆ คิดวางแผนไว้อย่างสมเหตุสมผลจะทำให้การทำงานมีแบบแผนรวมถึงเข้าใจง่ายมาก ขึ้นทั้งต่อการเขียนไดอะล็อก การแสดง และฝ่ายอื่นต่อไป
ขอยกตัวอย่างการเขียนฉากตอนหนึ่งของละคร CAN’T มาประกอบเพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้นนะคะ (หรือจะทำให้งงกว่าเดิมไม่รู้ ฮ่าๆ): ฉากโลกหลังความตายของอัลเฟรด (พ่อเลี้ยงนางเอก) 1. คิดจำลองสถานการณ์ ว่าฉาก แสงไฟ เสียงควรมีอะไรบ้าง - ฉาก = โล่ง (ปิดม่านเพื่อบังฉากอื่นไว้) - แสง = ปิดไฟหลัก มีแค่ไฟ Follow ตามตัวนักแสดง - ควัน = เปิด (เพื่อให้เหมือนโลกในอีกมิติหนึ่ง) - เสียง = วังเวง เศร้าสร้อย (สมมติ เพลงลอเรน: www.youtube.com/watch?v=zJK18Zv4omA)
2. คิดถึงชุด /เครื่องประดับนักแสดงที่ต้องการสื่อถึงนัยยะแอบแฝง - ผู้ชาย(พ่อ)อยู่ในชุดดำโดยที่ขาถูกล่ามโซ่ไว้ ซึ่งแฝงนัยถึงตราบาปอันหนักอึ้ง - ผู้หญิง(แม่)อยู่ในชุดขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว
3. คิดถึงลำดับการแสดง และบทพูดของนักแสดง - ผู้ชาย(พ่อ)ออกก่อนทางซ้ายเวทีร้องเพลงถึงวรรคที่ 5 ค่อยตามด้วยหญิงคนรัก(แม่)ออกมาทางเดียวกันร้องเพลงโต้ตอบกลับไป - พ่อเลี้ยงพยายามเอื้อมมือไปคว้าคนรัก แต่เธอทำหน้าเศร้าค่อยๆ ถอยห่างจนหายออกไปจากฉาก เหลือเขายืนร้องเพลงเรียกลอเรนอยู่คนเดียว สำนึกเสียใจในสิ่งที่เคยกระทำจนกระทั่งเพลงจบ ไฟดับลงจึงออกจากฉาก
4. คิดล่วงหน้าว่าฉากต่อไปคืออะไร และจะเปลี่ยนฉากอย่างไร เช่น ดับไฟ เปิดม่านขึ้นให้เห็นฉากห้องรับแขกตอนแรกเพื่อเข้าสู่ฉากต่อไป เป็นต้น 5. สิ่งสำคัญที่สุด คือเรื่อง “เวลา” หลังจากเขียนบทจบแล้วใช่ว่าจะใช้ได้เลยนะคะ ต้องลองซ้อมแสดงดูก่อนสักครั้ง เพื่อปรับเปลี่ยนบท และจับเวลาที่แน่นอนอีกครั้งกันก่อนค่ะ
จากตัวอย่าง ทีนี้หลายคนคงเข้าใจมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะว่าต้องคิดให้สัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นน้องๆ อย่าลืมนึกถึงความต่อเนื่องของฉาก และช่วงเวลาที่แสดงในแต่ละฉากว่าเหมาะสมกันไหมด้วยนะคะ พยายามให้เวลาในแต่ละฉากเท่าๆ กัน ไม่ควรเขียนบทให้แสดงแค่ประโยคไม่กี่คำพูดแล้วเปลี่ยนฉาก หากตัดทอนได้ หรือปรับเปลี่ยนเป็นพูดในเหตุการณ์ฉากอื่นได้ควรกระทำอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนฉากแต่ละครั้งต้องใช้เวลาพอสมควรเลยล่ะค่ะ
จบกันไปแล้วสำหรับตอนที่ 1 เป็นอย่างไรกันบ้างงงงงงง สนุกไหมละคะ ฮ่าๆ (หัวเราะทั้งน้ำตา) ส่วนตัวนั้นขอแนะเลยว่า แม้การเขียนบทละครเวทีอาจจะดูซับซ้อน หรืองุนงงไปบ้าง เพราะค่อนข้างจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในหลายๆ ส่วนเนื่องจากฉากเหตุการณ์นึง อาจต้องคิดให้ครอบคลุมทุกส่วน แต่การแต่งบทแบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานเขียนประเภทอื่นได้ค่อนข้างเยอะทีเดียวเลยล่ะ นอกจากจะไปช่วยเพิ่มให้พล็อตสมเหตุสมผลขึ้นแล้ว อาจจะยังเป็นการปูทาง เผื่อในอนาคตเรื่องของเพื่อนๆ อาจได้นำไปแสดงเป็นละครเวทีด้วยก็ได้นะคะ!!! พบกันตอนหน้า เรื่องราวจะเข้มข้นชวนน่าติดตามขนาดไหน ห้ามพลาด! อย่าลืมติดตามชมกันนะคะ ^__^
ขอขอบคุณ รูปสวยๆ จาก www.facebook.com/toontonie www.facebook.com/multistage5 www.facebook.com/MultiStageBangmod
ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด
อีบุ๊ก ดูทั้งหมด
ความคิดเห็น