ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    E N G 'G R A M M A R ♥

    ลำดับตอนที่ #25 : 3.2 Intransitive Verb

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 517
      0
      23 ต.ค. 53



    INTRANSITIVE VERB





    Intransitive Verb แปลว่า "อกรรมกริยา"
    ได้แก่ "กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมตามมา หรือมีกรรมมารองรับ
    เพราะมีเนื้อความสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว ฟังเข้าใจได้
    ปราศจากข้อสงสัยไม่คั่งค้าง
    "



    กริยาต่อไปนี้จัดอยู่ในประเภท
    อกรรมกริยา คือ

    go ไป
    sleep �หลับ
    fly �บิน
    inhale �หายใจเข้า
    relapse � ถอยกลับ
    come �มา
    sit � นั่ง
    light �ส่องแสง
    exhale �หายใจออก
    stay �พัก,อยู่
    run �วิ่ง
    stand �ยืน
    dance �เต้นรำ
    regret �เสียใจ
    stifle สำลัก
    etc.


    Ex. � Who comes? ใครมา
    (หลัง�
    comes ไม่ต้องมีกรรมมารับ เพราะได้เนื้อความสมบูรณ์)

    My sister dances very well. น้องสาวของผมเต้นรำได้ดีมาก
    (หลัง�dances�ไม่ต้องมีกรรมมารับ เพราะได้เนื้อความสมบูรณ์แล้ว �ส่วน�very well ที่ตามอยู่หลังนั้น ไม่ใช่กรรม แต่เป็น adverb)

    อย่างไรก็ตาม อกรรมกริยาบางตัวแม้จะไม่ต้องการกรรมมารับโดยตรง แต่ก็ยังต้องพึ่งหรืออาศัยคำหรือกลุ่มคำอื่นมาช่วยขยายตามหลังอยู่�แล้ว
    อกรรมกริยาตัวนั้นจึงจะฟังได้เนื้อความชัดเจนขึ้น ไม่ชวนให้สงสัย แต่คำที่มาขยายตามหลังอกรรมกริยานั้นไม่ได้มาในฐานะเป็นตัวกรรม(object) �แต่มาในฐานะเป็นตัวช่วยเกื้อกูลให้อกรรมกริยาตัวนั้นฟังเข้าใจความหมายกันได้
    �ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า "subjective complement"
    แปลว่า "ตัวขยายอกรรมกริยา
    เพื่อให้ประธานของประโยคมีใจความสมบูรณ์
    "



    อกรรมกริยา (Intransitive Verb) ที่ยังต้องอาศัย�
    subjective complement แล้วเนื้อความจึงจะสมบูรณ์นั้น
    เท่าที่นิยมใช้กันอยู่ ได้แก่กริยาต่อไปนี้

    get เป็น,มี
    feel รู้สึก
    look ดูเหมือน,ดูท่า
    seem�ดูเหมือน
    taste ให้รส,มีรส
    turn กลายเป็น,เปลี่ยนเป็น
    stay อยู่ต่อไป
    verb to be เป็น,อยู่,คือ
    grow เจริญ,มี,เป็น
    become�เป็น,กลาย
    เป็น
    prove พิสูจน์,แสดงให้เห็น
    appear ปรากฏว่า
    sound มีเสียง,ให้เสียง,มีท่า
    remain ยังคงอยู่ต่อไป
    show แสดงให้เห็น,บอกให้ทราบถึง
    verb to have(เฉพาะที่แปลว่า "มี")


    (ที่แปลไว้นี้แปลความหมายที่นำมาใช้อย่างอกรรมกริยา
    ที่เรียก
    subjective complement เท่านั้น)

    ตัวอย่างประโยค เช่น

    John looks unhappy. �
    จอห์นดูท่าไม่สบาย

    He felt good. �
    เขารู้สึกสบายดี

    The milk in that glass is bad.
    นมในแก้วนั้นเสียแล้ว

    Your plan proved useless.
    แผนการของคุณใช้ไม่ได้เลย

    That policy sounds practical.
    นโยบายนั้นฟังดูดีมีท่าเหมาะแก่การปฏิบัติ

    She seemed sleepy.
    หล่อนดูคล้ายกับง่วงนอน

    The sky turns grey.
    ท้องฟ้ากลายเป็นสีเทา

    Apasara remains beautiful.
    อาภัสรายังคงสวยเหมือนเดิม

    คำที่เป็นตัวเข้มไว้ทั้งหมดนี้ดูผิวเผินเหมือนทำหน้าที่เป็น object แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ �แท้ที่จริงแล้วมันก็ทำหน้าที่เป็น�
    subjective complement ธรรมดานี้เองให้กับตัวประธานที่อยู่ข้างหน้ามีความสมบูรณ์ ทำให้ฟังไม่คั่งค้าง



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×