ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จัดฟัน ทำฟัน ครอบฟัน ขูดหินปูน

    ลำดับตอนที่ #17 : การผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 386
      0
      23 ก.พ. 51

    การผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด (Wisdom Tooth Extraction)

    ฟันกรามซี่ในสุดหรือที่เรียกกันว่าฟันคุดนั้น เป็นฟันกรามแท้ชุดสุดท้ายที่จะงอกออกมาตอนอายุ18 ถึง 20 ปี ซึ่งในความเป็นจริงฟันกรามชุดนี้ก็มิได้มีความแตกต่างจากฟันซี่อื่นๆเลย มีความสามารถในการบดเคี้ยวเท่าเทียมกับฟันกรามซี่อื่นๆ เพียงแต่น้อยคนนักที่มีฟันกรามขึ้นมาตามปกติพร้อมกับมีตำแหน่ง ลักษณะการขึ้นที่เหมาะสมและมีเหงือกโดยรอบที่มีสุขภาพดี

    เมื่อไรก็ตามที่ฟันกรามซี่ในสุดมีอุปสรรคในการขึ้น อาจเนื่องจากลักษณะการงอกออกมา หรืออะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นฟันคุด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการเอ๊กซเรย์ดูลักษณะและตำแหน่งการวางตัวของฟันและวิเคราะห์ถึงความผิดปกติ ก่อนทำการหาวิธีการแก้ไข เนื่องจากฟันคุดเป็นสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก การติดเชื้อ โรคเหงือก การเป็นฝีในช่องปาก หรือ ส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียงสามารถผุได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแก้ปัญหานี้โดยการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุดออกไป

    ในบางรายที่ถึงแม้ฟันกรามซี่ในสุดจะสามารถขึ้นมาได้อย่างปกติก็ตามทันตแพทย์ก็ยังอาจแนะนำให้ทำการถอนออกไป ถ้าเล็งเห็นว่าฟันซี่นั้นไม่มีประโยชน์ อาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยวและฟันซี่ข้างเคียง หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเหงือกหรือการอักเสบบริเวณนั้นได้ เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณด้านในสุดของช่องปากนั้นมีความยากลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันกรามซี่หลังนั้นสามารถผุได้ง่าย รวมถึงการอักเสบของเหงือกอีกด้วย อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะพิจารณาอาการและปัญหาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไปของผู้เข้ารับบริการแต่ละบุคคล

     

    เมื่อไรที่ควรจะเข้ารับการผ่าฟันคุด

    การผ่าตัดเพื่อถอนฟันกรามซี่ในสุดหรือที่เรียกว่าฟันคุดนั้น ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผ่าฟันคุดโดยเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นหรืออาจเป็นสาเหตุของโรคในช่องปากได้ โดยจะมีอาการต่างๆที่สามารถบ่งชี้ถึงการมีฟันคุดดังนี้

    • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณนั้น
    • เกิดการอักเสบด้านในของปาก
    • หน้าบวม
    • อาการบวมของเหงือก

    ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับฟันคุด

    การมีฟันคุดโดยไม่ทำการแก้ปัญหานั้นอาจเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆเช่น

    • การเกิดการสะสมของแบคทีเรียและคราบหินปูน
    • การเกิดฝี (a fluid- filled sac)
    • การเกิดเนื้องอก (tumor development)
    • เกิดการอักเสบติดเชื้อ
    • โรคเหงือกและกระดูกขากรรไกร (jaw and gum disease)


    ขั้นตอนการผ่าฟันคุด (W isdom Tooth Extraction Procedure)

    หลังจากที่ทันตแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับบริการควรได้รับการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุดแล้ว ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาให้แก่ผู้เข้ารับบริการ ก่อนที่จะทำการผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อถอนฟันคุดออกไป สุดท้ายทันตแพทย์จะทำการเย็บปิดแผลพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาและข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×