ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคล็ดลับนักเขียนและรายละเอียดสำนักพิมพ์

    ลำดับตอนที่ #53 : สาระความรู้::การสร้างตัวร้ายและตัวอิจฉา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 334
      0
      27 มี.ค. 52



    ๔๔. จะสร้างตัวร้ายหรือตัวอิจฉาให้คนอ่านเกลียดได้อย่างไร
    ?

     

     

    ในทุกเรื่องต้องมีคนเลว เพราะถ้าไม่มีคนเลว บทบาทของพระเอก/นางเอกก็จะไม่โดดเด่น เรียกได้ว่าเขาเป็นบันไดให้พระเอกนางเอกโด่งดังได้ทีเดียว

     

    การจะสร้างตัวร้ายหรือตัวอิจฉาให้คนอ่านเกลียด จะว่าไปแล้วมันก็ไม่น่าจะยาก เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะเกลียดคนร้ายอยู่แล้วเป็นธรรมดา แต่สร้างเขาขึ้นมาอย่างไรดีละ คนอ่านจึงจะมีเหตุผลอื่นในการเกลียด นอกจากเพราะเขาทำให้เพระเอก / นางเอก ต้องพรากจากกัน ทำอย่างไรเขาจึงจะร้ายได้อย่างสมจริง

     

    ก่อนอื่นเรารวบรวมคุณสมบัติที่เราคิดว่ามันชั่วร้ายกันเสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง

     

    •  เย่อหยิ่ง จองหอง โอหัง

    •  ละโมบ โลภ เห็นแก่ตัว

    •  ความอิจฉา ริษยา

    •  โกรธ พยาบาท อาฆาตแค้น

    •  หื่นกระหายทางกาม กักขฬะ

    •  ตะกละ ดื่มจัด ไร้สติ

    •  ขี้เกียจ สกปรก

    •  ฯลฯ

     

    คุณจะเอาอย่างนี้ใส่ลงไปให้ ตัวร้ายของคุณเลยไหม ? มันเพียงพอที่จะให้คนเกลียดแล้วหรือยัง ? ขอตอบว่ายังไม่เพียงพอหรอก ถ้าคุณทำให้คนชั่วแสดงออกมาอย่างผิวเผิน พยายามจะแสดงออกถึงความชั่วร้ายเท่าที่จะทำได้ คุณก็จะได้ตัวร้ายที่เป็นเพียงลิ่วล้อเท่านั้น ( คิดถึงพระเอกของคุณต้องสู้กับลิ่วล้อซิ แ-วะ .. ) คุณต้องทำมากกว่านี้เพื่อที่จะให้ตัวร้ายของคุณน่าเชื่อถือ มีเหตุผล น่าไว้วางใจ ( แต่ไม่น่าชอบพอรักใคร่ ) คุณต้องทำให้คนอ่านเข้าใจว่าทำไมเขาถึงทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับพระเอก ซึ่งก็หมายถึงคุณต้องทำให้ตัวร้ายของคุณมีหลายมิติ มีความซับซ้อน เก่งกาจ พอ ๆ กับพระเอกด้วยเหตุผล

     

    ๑. หากตัวร้ายของคุณ เหยาะแหยะ ไม่เก่ง ไม่ได้เรื่อง สิ่งที่เขาคุกคามพระเอกอยู่ก็ไม่จริงจัง ทำให้การตอบโต้เพื่อแสดงไหวพริบของพระเอกอ่อนด้อยลงไปด้วย เมื่อพระเอกไม่ได้ทำงานใหญ่ ก็ยากยิ่งที่จะโดดเด่น

     

    ๒. หากตัวร้ายไม่มีแรงจูงใจในการทำเพียงพอ ก็จะไม่ทำให้คนอ่านเชื่อถือ เรื่องราวก็ขาดความเข้มข้น พล็อตเรื่องก็จะอ่อน ตามไปด้วย โดยเฉพาะแรงจูงใจที่มีแค่ความโลภ และความตะกละเท่านั้น

     

    มาสร้างตัวร้าย ที่ดูดี ( ได้ไง ) และมีเหตุผลกันดีกว่า

     

    ๑. ก่อนอื่นคุณควรจะแยกระดับของตัวร้ายออกจากกัน ตามสถานะทางสังคม การศึกษา การเลี้ยงดู หรือสภาพแวดล้อม เช่น

     

    •  ร้ายแบบชาวบ้าน ๆ เช่นเมาเหล้า อาละวาด ด่าทอ ตบตีลูกเมีย

     

    •  ร้ายแบบเกรกมะเหรก อันธพาล ประเภทตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊ก

     

    •  ร้ายลึก แบบมีเล่ห์เหลี่ยม เขาอาจจะมาในคราบชายหนุ่มรูปหล่อ พูดเพราะ เอาใจเก่ง ใจเย็น ลึกลับ ไม่มีใครจับไต๋เขาได้ง่าย ๆ ( นอกจากใครบางคน )

     

    •  ร้ายแบบเป็นโรคจิต หรือเป็นฆาตกร มาในรูปแบบที่เห็นได้ชัด หรือในคราบคนปกติแถมน่านับถือด้วย เช่นหมอ ตำรวจ ฯลฯ

     

    •  ร้ายเพราะเป็นฝ่ายถูกกระทำ เป็นความเก็บกดที่สะสมมาตั้งแต่เด็ก เขามองไม่เห็นความผิดหรือความชั่วของตัวเองหรอก ( ธรรมดาคนเราก็ไม่ค่อย จะมองว่าตัวเองเลวอยู่แล้ว ) เขารู้แต่ว่ามันเหมาะสมและมีเหตุผลที่จะทำแล้ว

     

    ๒. ตัวร้ายต้องมีเหตุผลในการกระทำ มีแรงจูงใจ มีเป้าหมาย

     

    ๓. คุณสมบัติ ของคนดี ก็อยู่ในคนชั่วได้ เช่นความซื่อสัตย์ กตัญญู ความรัก ฯลฯ แต่มันออกจะอยู่ข้างผิดที่ผิดคนเท่านั้น

     

    ๔. ความชั่วร้ายของตัวละคร อาจจะเริ่มตั้งแต่อดีต หรือ เพิ่งเกิดในปัจจุบัน และอาจจะเพราะการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตก็ได้

     

    ๕. การแสดงอารมณ์ ความรู้สึกที่ถูกบีบคั้นจากการจะเลือกระหว่างทำในทางที่ถูก และผิด ของคนเลว จะสร้างความตรึงเครียด และน่าดึงดูดใจให้กับเรื่องได้

     

    ๖. ไม่ว่าเขาจะร้ายด้วยเหตุผลใด ๆ ในตอนจบเขาต้องถูกได้รับกรรมในสิ่งที่เขาทำลงไป

     

    ในการสร้างตัวร้ายขึ้นมานี้ พยายามอย่าให้เขามารบกวนการเขียนคุณ เพราะเขาควรจะรบกวนตัวละครในหนังสือเท่านั้น หากนักเขียนเอาตัวเข้าไปพัวพันด้วยคำถามว่า คนร้ายอย่างนี้ก็มีด้วยเหรอ จากนั้นก็รื้อเขียนใหม่ สิ่งนี้มันจะทำให้คนร้ายไม่มีประสิทธิภาพ จงอย่ากังวลที่จะเขียนให้เขาร้ายสุด ๆ ตราบใดที่เขายังมีเหตุผลที่จะร้ายอยู่ในเรื่อง

     

     

     

     

    เครดิตความรู้ดีๆจาก   http://www.forwriter.com/index.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×