คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ความรู้เบื้องต้น::องค์ประกอบของนวนิยาย
อย่าเพิ่งเบื่อกันเน้อ มันเป็นประโยชน์ทั้งนั้น อิอิ ^^
๒. องค์ประกอบของนวนิยาย
อย่าเพิ่งเบื่อกันเน้อ มันเป็นประโยชน์ทั้งนั้น อิอิ ^^
Plot : พล็อตเรื่อง โครงเรื่อง
พล็อตหมายถึง ชุดของเหตุการณ์ที่ทำให้เรื่องมีความหมายและก่อให้เกิดผลบางอย่างในนวนิยายโดยส่วนมากเหตุการณ์มักจะเกิดขึ้นจาก ความขัดแย้ง หรือปัญหาที่ตัวละครสำคัญได้พบ หรือได้รับรู้ ความขัดแย้งนี้อาจจะมากจากสิ่งภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่นการตาย การได้รับอุบัติเหตุ การถูกโจมตี การมีแม่เลี้ยง ฯลฯ หรือประเด็นความขัดแย้งคือสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร เช่นความอิจฉาริษยา การสูญเสียชื่อเสียง ความทะเยอทะยาน ความโลภ ฯลฯ เมื่อตัวละครได้สร้างทางเลือกและพยายามที่จะแก้ปัญหา สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องได้ถูกขัดเกลา และพล็อตได้เกิดขึ้น ในนวนิยายบางเรื่อง นักเขียนได้ได้วางโครงสร้างทั้งหมดของพล็อตไปตามลำดับคือเหตุการณ์ที่หนึ่งได้เกิดขึ้น ตามมาด้วยเหตุการณ์ที่สอง สาม และต่อ ๆ ไปตามลำดับ ( เกิดเหตุการณ์ a แล้วเกิด b เกิด c เกิด d ตามลำดับ สลับกันไม่ได้ )
แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีนวนิยายหลายเรื่องเหมือนกันที่ถูกเล่าแบบใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อนหลัง (flashback) ซึ่งเป็นพล็อตเหตุการณ์ที่เกิดในตอนต้น ถูกนำเข้าไปแทรกในเหตุการณ์ปัจจุบันของเรื่อง ในบางมุมของพล็อต ได้ถูกอธิบายไปหลากหลายในแนวการทำงานของเรื่องแต่ง เช่น เรื่องจะเกิดขึ้นเมื่อ ได้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น ( rising action ) เช่น ตัวละครได้พบหรือรับรู้ปัญหาจากชุดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นักเขียนได้พล็อตขึ้น อย่างซับซ้อน ( complicate) ที่เพิ่มให้ตัวละครตกอยู่ในปัญหาที่ยุ่งยากลึกลงไปอีก ความขัดแย้งจะนำไปสู่ จุดไคลแมกซ์ ( climax) อันเป็นจุดตัดสินที่จะบอกให้รู้ว่าเรื่องทั้งหมดจะถูกคลี่คลายไปด้วยวิธีใด และเมื่อความขัดแย้งถูกทำให้หมดไป สิ่งที่เกิดขึ้นหลังไคลแมกซ์ ( falling action ) ทั้งหมดก็จะนำไปสู่ตอนจบของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร หรือสถานการณ์ เช่นการฆ่าตัวตาย การได้รับสถานภาพใหม่
โครงสร้างเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอออกในรูปแบบ โครงสร้างสามส่วน ( แม้ว่าเรื่องบางเรื่องไม่เหมาะกับแบบนี้ )
ลองสร้างพล็อตง่าย ๆ
พล็อตโดยมากจะถูกพัฒนาเนื่องมาจากตัวละครอยู่ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และความขัดแย้งจะทำให้คนอยู่ในเหตุการณ์ยากลำบากเหมือนหนีเสือปะจระเข้ อยู่ในภาวะกดดัน หรือถูกขู่เข็ญจากศัตรู ต้องมีภาระรับผิดชอบ หรือสูญเสียสิ่งสำคัญไป ในหลาย ๆ เรื่อง ทางเลือกของตัวละครในการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไปตามสิ่งแวดล้อมและภายนอกที่ไม่เหมือนกัน และความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเองก็จะเปลี่ยนแปลงภายในตัวเองไปตลอดทั้งเรื่องหลังจากที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาอาจทั้งได้รับ หรือสูญเสีย พวกเขาอาจจะเติบโตทางความคิด หรือเอาชนะจุดอ่อนในตัวเองได้ ให้พล็อตเรื่อง โดยสร้างตัวละครขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วเอาเขาเข้าไปอยู่ในสถานการณ์สักอย่าง เช่น
• แม่บ้านคนหนึ่งอยากออกไปทำงานนอกบ้าน
• เด็กนักเรียน ม.ปลาย ตั้งท้อง ในขณะที่พ่อแม่เชื่อว่าเขากำลังขะมักเขม้นกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
• ผู้ชายคนหนึ่งต้องตกงานในขณะที่แฟนสาวของเขาถูกเลื่อนขั้น
ให้คิดขึ้นโคร่งร่างพล็อตขึ้นมา สร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุณคิดจะให้ตัวละครเลือกทำ อะไรจะก่อนขึ้นก่อน อะไรจะตามมา ถ้าเป็นไปได้ ชี้ให้เห็นถึงไคลแมกซ์หรือทางแก้ปัญหาที่จะเกิดในพล็อต บรรยายให้เห็นถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์และทางเลือกที่ตัวละครเลือก
( เทคนิคในการสร้างพล็อตเรื่อง คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จาก หนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง ในหนังสือจะกล่าวถึงวิธีสร้างพล็อตอย่างง่าย และรวบรวมพล็อตต่าง ๆ ให้คุณเห็นถึง ๕๐ พล็อต )
Character : ตัวละคร
คือตัวละครในเรื่องแต่ง รวมความไปถึงมนุษยชาติหรือสัตว์ หรืออื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในเรื่อง
นักเขียนเรื่องแต่งโดยมาก ยอมรับกันว่า ตัวละครคือกุญแจในการพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ในเรื่อง และเป็นส่วนสำคัญในการที่จะเข้าใจเรื่องมากขึ้น ถ้าหากตัวละครถูกชี้ให้เห็นความแตกต่างในแต่ละตัว และทำให้คนอ่านมีความเชื่อถือและสนใจในตัวละคร
ตัวละครเอก ( protagonist) จะเป็นศูนย์กลางของพล็อตเรื่อง ในการที่นักเขียนจะใช้เป็นตัวร้อยเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นแก่นของเรื่อง
ตัวละครร้าย (antagonist) จะเป็นตัวละครหรือเป็นสิ่งที่ขู่เข็ญในความขัดแย้งกับตัวละครเอก ตัวละครในเรื่องอาจจะเป็นทั้ง
ตัวประกอบอื่นๆ ที่เอาเข้ามาไว้ในเรื่องเพื่อให้เรื่องดูเหมือนจริง
การสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละคร ( characterization )
นักเขียนได้ใช้เทคนิคแตกต่างกัน บางคนใช้การบอกเล่าในการบรรยายให้เห็นตรง ๆ บางคนแสดงให้เห็นจากการกระทำของตัวละครที่โต้ตอบสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเขาในสถานการณ์ต่าง ๆ บางคนก็แสดงให้เห็นจากวิธีพูดคุยกับตัวละครตัวอื่น หรือมาจากการคิดในใจของตัวละครเอง หรือการกล่าวถึงจากตัวละครตัวอื่น
ตัวละครแบบมีมิติ ( round character) สร้างขึ้นมาแบบให้มีหลากหลายคุณสมบัติและอารมณ์ จุดเด่นจุดด้อย มีความซับซ้อนและต้องเปลี่ยนแปลงไปจากการผ่านเหตุการณ์ต่าง ในเรื่อง )
ตัวละครแบบแบน ๆ (flat character) มักเป็นตัวละครประกอบที่ไม่สำคัญ บุคลิกไม่ซับซ้อน อาจมีเพียงมิติเดียว
รู้จักกับตัวละครแบบง่าย ๆ
เมื่อตัวละครถูกสร้างในนวนิยาย ความหลากหลายในรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครจะถูกนักเขียนจัดเตรียมไว้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือหรือให้เหมือนกับเป็นคนที่มีอยู่จริง รายละเอียดของตัวละครแบบแบนอาจมีเพียงเรื่องหยาบ ๆ อย่างเรื่องเพศ อายุ อาชีพ หรือเป็นอะไรในครอบครัว ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ในทางตรงข้าม ตัวละครแบบมีมิติจะถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องเสื้อผ้า ทักษะ ความฝัน ความหวัง ความกลัว ความชอบ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้คนอ่านรู้ได้ จากการเล่าเรื่อง การพูดคุย การส่งผ่านความคิดของตัวละคร และพฤติกรรมของเขา
การสร้างตัวละคร
ให้เลือกตัวละครขึ้นมาสักตัวกำหนดให้ว่าเขาเป็นคนแบบไหน เช่น ขี้เหนียว ตะกละ โหดร้าย ใจดี ฯลฯ
ใส่รายละเอียดเช่น อายุ เพศ อาชีพ นิสัยส่วนตัวตั้งแต่เกิด
จากบุคลิกลักษณะที่เขาเป็น บรรยายถึงความเป็นไปได้ของปํญหาหรือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากตัวเขาเอง( เช่นมุ่งงาน จนทำให้ขาดเวลาเอาใจใส่ครอบครัว ) และอธิบายถึงวิธีที่เขาจะแก้ปัญหานี้
สร้างกลุ่มปัญหาและสถานการณ์ขึ้นมาสักห้าหกอย่าง แล้วมองดูว่าตัวละครจะทำอย่างไร
ให้พิจารณาถึง นิสัยของแต่ละคน ความกลัว ความต้องการ ความหลัง ความผัน ความมีเหตุผล ความสัมพันธ์ จุดอ่อน จุดแข็ง อดีตของตัวละครฯลฯ มาร่วมในการสร้างปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของเขา ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนี้ และทำไมจึงไม่เป็นอย่างอื่น
ลองใส่ตัวละครตัวอื่น ที่มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันไป ลงในปัญหาและสถานการณ์เดิมที่คุณสร้างคุณ คิดถึงวิธีแก้ปัญหาของเขา แตกต่างกันอย่างไรบนพื้นฐานบุคลิกของตัวละครแต่ละตัว
( เรียนรู้การสร้างตัวละคร ตัวละครสร้างเรื่องได้อย่างไร และรู้จักกับตัวละครที่เป็นแม่แบบเห็นได้บ่อย ๆ ทั้งพระเอก นางเอก ตัวร้าย ตัวอิจฉาในหนังสือ ๑๐๐คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
Setting : ฉากเวลาและสถานที่
เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เพราะมันหมายถึง สถานที่ที่เป็นทั้งภูมิทัศน์ภายนอก และการตกแต่งภายใน และเวลา ที่เรื่องได้เกิดขึ้น รวมความไปถึงสภาพภูมิอากาศ ช่วงประวัติศาสตร์ การดำเนินชีวิต หรือเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมในช่วงที่ เรื่องได้เกิดขึ้นด้วย เนื่องจากในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่จะมีบุคลิกและเสน่ห์ในตัวของมันเอง ( เช่นทะเลทราย ใต้น้ำ ป่าเขา )
Setting ในนวนิยายจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง หรือสิ่งที่จินตนาการขึ้นเองก็ได้ หรือจะเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน ( หากเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ข้อมูลที่ใส่ลงไปต้องถูกต้องตามความเป็นจริง )
Setting มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์ต่อตัวละคร พล็อตเรื่อง และบรรยากาศในเรื่อง
การเปิดเผยฉากสถานที่และเวลาโดยมากจะเป็นการบรรยายให้เห็นโดยตรงจากคนเขียน แต่ก็มีเหมือนกันที่จะแสดงให้เห็นโดยผ่านการกระทำ การพูด หรือการคิดของตัวละคร
ฝึกสร้าง setting ให้สัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆในเรื่อง
ตัวละคร ในเรื่องต้องเกี่ยวพันกับฉากสถานที่และเวลาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะฉากสถานที่จะช่วยเปิดให้เห็นถึงบุคลิกของตัวละคร คนที่มาจากต่างสถานที่กันจะมีความแตกต่างกัน มันสามารถขัดเกลาตัวละครได้ คิดถึงตัวละครที่อยู่ในเมืองใหญ่แออัด กับตัวละครที่อยู่ชนบท คนที่อยู่ในคฤหาสน์กับคนที่อยู่ในสลัม คนที่อยู่ในสังคมที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม กับสังคมที่มุ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
บรรยากาศในเรื่อง ฉากสถานที่และเวลาจะช่วยสร้างได้มาก จนนวนิยายหลายเรื่องทำให้สถานที่กลายเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องที่สร้างความตื่นเต้น ความกลัว ความลึกลับน่าสะพรึงกลัว
พล็อตเรื่อง เคยมีคำกล่าวว่า ถ้าหากคิดพล็อตไม่ออก ก็ให้เผาบ้าน ระเบิดเขื่อน มีพายุ หรือ หิมะตกหนัก ฯลฯ เสีย แล้วจะมีเหตุการณ์ให้คุณเขียนขึ้นได้เอง ( แต่ต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างมันขึ้นมาด้วยนะ เช่น อยากให้พระเอกนางเอกรู้จักกันเป็นครั้งแรกคุณอาจเริ่มที่ แปลงกุหลาบของนางเอกถูกสุนัขพระเอกขุดทำลาย)
ให้เลือกมาสักสถานที่หนึ่ง แล้วอธิบายรายละเอียดสั้น ๆว่าเป็นอย่างไร ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมที่จะทำให้มันขยายวงกว้างออกไปได้บ้างไหม และบรรยากาศอย่างไรที่จะคุณเลือกให้กับสถานที่ของคุณ (สนุกสนาน น่ากลัว ทุกข์ยาก ลึกลับ น่าสบายใจ ) รายละเอียดแบบไหนบ้างที่จะสร้างความรู้สึกเช่นนั้น
( ความสำคัญของ setting และวิธีเลือกให้เหมาะสมกับเรื่อง พร้อมกับวิธีสร้าง ดูได้จากหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
Point of View : เสียงเล่าเรื่อง มุมมอง
ความหมายง่าย ๆ คือ เสียงเล่าเรื่อง อาจจะอยู่ในรูป บุคคลที่หนึ่ง เล่าเรื่องโดยใช้ คำว่า ฉัน ข้าพเจ้า พวกเรา ซึ่งเป็นตัวละครที่เล่าเรื่อที่ตัวเองอยู่ร่วมด้วยให้ฟัง อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวพันถึงตัวเองโดยตรงซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวเอกในเรื่อง เช่น “ ฉัน เดินข้ามถนน ” หรือเป็นการเล่าเรื่องของตัวละครตัวรองที่อยู่ในเรื่องได้เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เขาเห็นให้ฟังก็ได้ เช่น “ ฉันเห็น เธอเดินข้ามถนน ”
บุคคลที่สาม เป็นเสียงเล่าที่เกิดเมื่อคนเล่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในเรื่อง จากตัวอย่าง “ ฉันเดินข้ามถนน ” จะกลายเป็น เธอเดินข้ามถนน หรือ วนิดาเดินข้ามถนน มี ๓ แบบคือ
- แบบรู้ไปหมดทุกอย่า ง เสียงเล่าเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งและทุกที่ รู้ไปถึงความนึกคิด จิตใจของตัวละคร ได้ทีละหลาย ๆ คน
- แบบเลือกผ่านตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่อง การเล่าเรื่องจะเล่าในมุมมองของตัวละครที่ถูกเลือก ตัวละครรู้ เห็น คิด อะไร ก็เล่าได้เพียงแค่นั้น การเล่าวิธีนี้จะมีข้อที่มั่วได้ง่ายหากไม่ระวัง คือ อย่าให้ตัวละครของคุณ เล่าถึงความคิดในหัวตัวละครอื่นเด็ดขาด
- แบบเล่าเฉพาะสิ่งที่เห็นหรือตัวละครแสดงออกภายนอกอย่างชัดเจน เช่นการบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บรรยายถึงสถานที่สิ่งแวดล้อม บอกกิริยาที่ตัวละครแสดงออก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวละครคิดอะไร หรือมีอารมณ์ความรู้สึกใด ๆ อยู่
บุคคลที่สอง ไม่เป็นที่นิยมใช้เท่าไหร่ในการแต่งนวนิยาย จะเหมือนเป็นการเล่าเรื่องของเราเองให้เราฟัง เช่น คุณเดินไปที่ถนน คุณหยิบเสื้อขึ้นมาใส่ คุณเดินตรงไปห้องเปิดประตู แล้วก็นอนบนเตียง ฯลฯ การเขียนอย่างนี้เหมาะกับการปลุกเร้า ชี้ชวน หรือแนะนำ
การฝึกฝนเรื่อง point of view
ทำได้โดยการอ่านนวนิยาย แล้วเลือกเอามาสักตอน เขียนใหม่ในมุมมองของตัวละครตัวอื่น หรือเลือกใช้ประเภทแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
( ดูตัวอย่างและทำความเข้าใจในเรื่อง point of view ได้มากขึ้นในหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
Theme : แก่นเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง
เป็นความคิดรวบยอดที่เหลือไว้หลังจากที่อ่านจนจบเรื่อง เป็นเสมือนคำตอบของคำถาม “ คุณได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ ” เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า ในเรื่องเดียวกัน คนอ่านอาจจะรับรู้ได้ไม่เหมือนกัน เพราะการตีค่านอกจากจะมาจากการนำเสนอเรื่องของนักเขียนแล้ว ยังขึ้นกับระดับความรู้ การรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกของคนอ่านด้วย ซึ่งมันอาจไม่ตรงกับที่นักเขียนต้องการจะนำเสนอก็ได้ และเป็นเรื่องที่คนอ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้
ความสำคัญของแก่นเรื่องหรือ ธีม จึงดูเหมือนจะมีความสำคัญสำหรับนักเขียนมากกว่าคนอ่านเสียอีก เพราะหากนักเขียนไม่มีหลักที่เป็นแกนกลางของความคิดของเรื่องที่จะให้เกิดขึ้นแล้ว เรื่องที่จะเล่าก็คงจะสะเปะสะปะ ขาดทิศทาง หรือความเป็นหนึ่งเดียวของเรื่องจนทำให้เรื่องขาดพลังไปได้
อีกคำหนึ่งที่ควรจะรู้จักเอาไว้ก็คือ คำว่า พริไมส์ ( premise ) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเขียนเรื่องพอ ๆ กับธีม เพราะมันคือประโยคที่เป็นสมมติฐานอันแสดงออกถึงความคิดของนักเขียนที่มีต่อธีมของเรื่อง และบทบาทของตัวละคร รวมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง จะต้องแสดงหรือเปิดเผยให้เห็นความเป็นจริงอย่างที่นักเขียนตั้งเอาไว้ เช่นนักเขียนตั้งสมมติฐานในเรื่องของความรักเอาไว้ว่า “ ความรักท้าทายได้แม้ความตาย ” ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในเรื่อง ต้องสนับสนุนและพิสูจน์ว่า ประโยคนี้เป็นจริงในเรื่องที่นักเขียนแต่งขึ้นเท่านั้น
( เราจะไม่รับรองในโลกของความเป็นจริง เพราะสามารถตีค่าได้มากมายจากความคิดเห็นของคนอ่านแต่ละคน )
( อ่านวิธีสร้างเรื่องจากธีมและพริไมส์ รวมทั้งการสร้างพริไมส์ ด้วยตัวเองจากหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง )
ขอบคุณความรู้ดีๆจาก http://www.forwriter.com/
ความคิดเห็น