เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 - เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นิยาย เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 : Dek-D.com - Writer

    เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

    โดย AnGeLiCa Way

    เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา

    ผู้เข้าชมรวม

    1,877

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.87K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มี.ค. 50 / 22:11 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      6 ตุลาคม 2519

      เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐได้บุกเข้าไปจับกุมและสังหารนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ เจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มที่รัฐให้การสนับสนุน ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก

      สาเหตุของความขัดแย้ง
      ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ คือ การกลับประเทศไทยของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ในวันที่ 15 สิงหาคม 2519 และการกลับประเทศไทยของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2519 หลังจากที่ทั้งสองได้เดินทางออกนอกประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา

      หลังจากการกลับมาของจอมพลประภาส ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้จอมพลประภาส เดินทางกลับออกนอกประเทศ จนกระทั่งในที่สุด จอมพลประภาสจึงยินยอมเดินทางออกนอกประเทศในวันที่ 22 สิงหาคม 2519

      ต่อมา จอมพลถนอมได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศอีกในวันที่ 19 กันยายน 2519 โดยก่อนหน้านั้นได้แวะที่สิงคโปร์ เพื่อบวชเป็นสามเณรที่วัดไทยในสิงคโปร์ และได้เข้าอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงได้ชุมนุมเพื่อขับไล่อีก

      ในขณะนั้นได้เกิดความแตกแยก ทั้งในพรรคการเมืองและกลุ่มประชาชน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนบทบาทของนิสิตนักศึกษา และ กลุ่มที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา ทำให้สถาการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศลาออกจากตำแหน่ง แต่พรรคร่วมรัฐบาลก็ตัดสินใจเลือก ม.ร.ว. เสนีย์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง

      ในวันที่ 24 กันยายน 2519 นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้านครปฐม และสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรร บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม แต่ ตำรวจสรุปสำนวนคดีว่าเกิดจากการผิดใจกับคนในที่ทำงาน

      ความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ขับไล่พระถนอม ทวีความรุนแรงมากขึ้น มหาวิทยาลัยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการชุมนุมเพื่ออภิปรายโจมตีรัฐบาล ต่อต้านการกลับมาของจอมพลถนอม และให้จัดการจับฆาตกรสังหารโหดฆ่าแขวนคอที่นครปฐม สภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาล ให้จอมพลถนอมออกนอกประเทศภายใน 5 วัน มิฉะนั้นจะหยุดงานทั้งประเทศตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2519 เป็นต้นไป ทั้งนักศึกษา สภาแรงงาน และผู้ต่อต้าน ได้รวมตัวกันประท้วงที่สนามหลวง จากนั้นจึงย้ายเข้าไปชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

      ทางด้านกลุ่มที่ต่อต้านการกระทำของนิสิตนักศึกษา อันประกอบด้วย กลุ่มนวพล (พลโท สำราญ แพทยกุล เป็นแกนนำ รหัส นวพล001 ต่อมาได้เป็นองคมนตรี)กลุ่มพิทักษ์ชาติไทย กลุ่มกระทิงแดง และอื่น ๆ ได้ร่วมกันแถลงการณ์กล่าวหาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สภาแรงงาน และนักการเมืองบางคนว่า ได้ถือเอากรณีพระถนอม เป็นเงื่อนไขสร้างความไม่สงบในประเทศ ต่อมากลุ่มเหล่านี้จึงเดินทางเข้ามาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า ราชตฤณมัยสมาคม และสนามหลวง เพื่อต่อต้านการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา กลุ่มเหล่านี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุม และปลดรัฐมนตรีบางคนที่เชื่อว่าให้การสนับสนุนนิสิตนักศึกษา แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้สั่งการประการใด

      ในวันที่ 4 ตุลาคม มีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ มีการอภิปราย และการแสดงละครเกี่ยวกับกรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้านครปฐม จัดโดยชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานีวิทยุยานเกราะนำโดย อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , สมัคร สุนทรเวช, ทมยันตี, ฯลฯ ออกข่าวว่านักศึกษาที่แสดงละครมีใบหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชายถูกแขวนคอ ต่อมาหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ ฉบับเช้าวันที่ 5 ตุลาคม เผยแพร่ภาพการแสดงล้อการแขวนคอของนักศึกษาที่ลานโพธิ์ โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่า การแสดงดังกล่าวเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

      คืนวันที่ 5 ตุลาคม สถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรี ออกอากาศกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรียกร้องให้ประชาชน และลูกเสือชาวบ้าน ไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจับกุมผู้กระทำการหมิ่นองค์สยามมกุฎราชกุมารมาลงโทษ ตลอดทั้งคืน [1]

      การสังหารในวันที่ 6 ตุลาคม
      เวลาเช้ามืดราว 2 นาฬิกา กลุ่มกระทิงแดงทุกจุด รอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตรียมปฏิบัติการโดยประสานงานกับตำรวจนอกเครื่องแบบ และมีกลุ่มกระทิงแดงเข้าแทรกตัวปะปนกับหมู่นิสิตนักศึกษา กลุ่มนวพลได้เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุมนิสิตนักศึกษา

      เวลาราว 5 นาฬิกา เริ่มมีการยิงตอบโต้จากภายนอกเข้าสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยถูกล้อมไว้ เวลา 7 นาฬิกา กลุ่มทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง และกลุ่มอันธพาล ได้ใช้รถบัสพุ่งชนประตูมหาวิทยาลัย ทั้งหมดเข้าสู่มหาวิทยาลัยและใช้อาวุธหนักระดมยิง ตำรวจหน่วยคอมมานโด หน่วยปฏิบัติการพิเศษและตำรวจท้องที่เข้าถึงที่เกิดเหตุ เวลา 8 นาฬิกา ตำรวจตระเวนชายแดนพร้อมอาวุธครบมือเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมยิงกระสุนเข้าใส่นักศึกษา

      เวลา 8.30 น. - 10.00 น. นักศึกษาและประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิ่งหนีวิถีกระสุนจากตำรวจตระเวนชายแดนและกลุ่มผู้ก่อเหตุ นักศึกษาบางคนวิ่งหนีออกทางประตูหน้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาบางส่วนหนีอออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา หลายคนถูกรุมตี รุมกระทืบ บางคนที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บถูกนำไปแขวนคอ และถูกผู้คนแสดงท่าทางเยาะเย้ยศพ กลุ่มคนบางกลุ่มลากเอาศพนักศึกษามาเผากลางถนนราชดำเนิน ตรงข้ามพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยใช้ยางรถยนต์ทับและราดด้วยน้ำมันเบนซิน บางส่วนใช้ของแข็งทำอนาจารศพนักศึกษาหญิง

      เวลาราว 11 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าเคลียร์พื้นที่ และให้นักศึกษานอนคว่ำหน้ากับพื้นสนามฟุตบอล จากนั้นจึงนำตัวผู้ต้องหาขึ้นรถออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อควบคุมตัวไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน กลุ่มคนที่มุงดูใช้ก้อนหิน อิฐ ไม้ ขว้างปาผู้ที่อยู่บนรถ

      ครั้นถึงเย็นวันนั้น คณะทหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง มีผลให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่ง และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ (หลังจากพ้นตำแหน่งนายกฯก็ได้เป็นองคมนตรีต่อมา)

      หลังจากเหตุการณ์นี้ ได้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทำให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้ ไม่ต้องถูกสอบสวนลงโทษแต่อย่างใด

      บุคคลที่เสียชีวิตหรือสูญหายในเหตุการณ์
      ฝ่ายนักศึกษาและประชาชน เสียชีวิตอย่างน้อย 41 ราย ในจำนวนนี้ เป็นศพถูกเผา ระบุรายละเอียดแยกชายหญิงไม่ได้ จำนวน 4 ราย (หนึ่งในนั้น คือ จารุพงษ์ ทองสินธุ์ กรรมการ อมธ. และสนนท. ซึ่งเป็นระดับแกนนำผู้ชุมนุมเพียงคนเดียวที่เสียชีวิต ผู้เสียชีวิตที่เหลือเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น และแกนนำที่รอดชีวิตส่วนใหญ่ถูกจับรวม 18 คน และนำตัวขึ้นศาลทหารข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนอยู่ 3 ปี จึงได้รับการปล่อยตัวเมื่อมีการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ส่วนแกนนำที่รอดจากการถูกจับกุมขึ้นศาลทหารได้ส่วนใหญ่ก็หลบหนีเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือ พคท.[2])

      รายชื่อผู้เสียชีวิตเป็นศพชายไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 6 ราย และเป็นศพที่ระบุชื่อได้ จำนวน 30 ราย[3] คือ

      นายพงษ์พันธ์ เพรามธุรส ถูกระเบิด
      นายวิชิตชัย อมรกุล ถูกของแข็งมีคมและถูกรัดคอ
      นายอับดุลรอเฮง สาตา ถูกกระสุนปืน
      นายมนู วิทยาภรณ์ ถูกกระสุนปืน
      นายสุรสิทธิ์ สุภาภา ถูกกระสุนปืน
      นายสัมพันธ์ เจริญสุข ถูกกระสุนปืน
      นายสุวิทย์ ทองประหลาด ถูกกระสุนปืน
      นายบุนนาค สมัครสมาน ถูกกระสุนปืน
      นายอภิสิทธิ์ ไทยนิยม ถูกกระสุนปืน
      นายอนุวัตร อ่างแก้ว ถูกระเบิด
      นายวีระพล โอภาสพิไล ถูกกระสุนปืน
      นายสุพจน์ พันธุ์กาฬสินธุ์ ถูกกระสุนปืน
      นางสาวภรณี จุลละครินทร์ ถูกกระสุนปืน
      นายยุทธนา บูรศิริรักษ์ ถูกกระสุนปืน
      นายภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ถูกกระสุนปืน
      นางสาววัชรี เพชรสุ่น ถูกกระสุนปืน
      นายดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง ถูกกระสุนปืน
      นายไพบูลย์ เลาหจีรพันธ์ ถูกกระสุนปืน
      นายชัยพร อมรโรจนาวงศ์ ถูกกระสุนปืน
      นายอัจฉริยะ ศรีสวาท ถูกกระสุนปืน
      นายสงวนพันธุ์ ซุ่นเซ้ง จมน้ำ
      นางสาววิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ ถูกกระสุนปืน
      นายสมชาย ปิยะสกุลศักดิ์ ถูกกระสุนปืน
      นายวิสุทธิ์ พงษ์พานิช ถูกกระสุนปืน
      นายสุพล บุญทะพาน ถูกกระสุนปืน
      นายศิริพงษ์ มัณตะเสถียร ถูกกระสุนปืน
      นายวสันต์ บุญรักษ์ ถูกกระสุนปืน
      นายเนาวรัตน์ ศิริรังษี ถูกกระสุนปืน
      นายปรีชา แซ่เซีย ถูกของแข็ง อาวุธหลายชนิด และถูกรัดคอ
      นางสาวอรุณี ขำบุญเกิด ถูกกระสุนปืน


      เครดิต : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_6_%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2#.E0.B8.9A.E0.B8.B8.E0.B8.84.E0.B8.84.E0.B8.A5.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88.E0.B9.80.E0.B8.AA.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.8A.E0.B8.B5.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.95.E0.B8.AB.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.AA.E0.B8.B9.E0.B8.8D.E0.B8.AB.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B9.83.E0.B8.99.E0.B9.80.E0.B8.AB.E0.B8.95.E0.B8.B8.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.93.E0.B9.8C

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×