ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือนักเขียน

    ลำดับตอนที่ #5 : แนวทางภาคปฏิบัติในการผลิตงานเขียน 2

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 49




    B.
    กรณีที่เป็นหนังสือซึ่งแปลมาจากหนังสือต่างประเทศ

    1. เสนอเรื่อง

           ถ้าคุณเป็นนักอ่านหนังสือต่างประเทศอยู่เป็นประจำ หากคุณพบหนังสือที่มีเนื้อหาสาระดี น่าแปลออกมา เป็นหนังสือภาษาไทย คุณสามารถแจ้งความประสงค์ไปยังสำนักพิมพ์ที่คุณสนใจจะร่วมงาน เพื่อให้เขาติดต่อ ซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือนั้นมาเพื่อพิมพ์จำหน่ายเป็นภาษาไทย

           สำหรับสำนักพิมพ์แจ่มใส คุณสามารถส่งเรื่องมาที่ editor@jamsai.com โดยระบุชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ต่างประเทศ และเนื้อเรื่องโดยย่อของหนังสือเล่มนั้น ตลอดจนจุดเด่นที่คุณคิดว่าน่าสนใจ


    2.
    ติดต่อลิขสิทธิ์

           ควรให้สำนักพิมพ์ที่คุณติดต่อ เป็นผู้ดำเนินการประสานงานกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ อย่าเพิ่งรีบ แปลโดยเด็ดขาด จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกระบวนการนี้บางครั้งใช้ เวลาค่อนข้างนาน คงต้องอดทนรอคอยไปก่อน เมื่อติดต่อลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยเจรจาในราย ละเอียดกับสำนักพิมพ์นั้นอีกครั้ง ว่าคุณจะได้ค่าเหนื่อยเท่าใด


    3.
    เริ่มลงมือแปล

           ในการแปลหนังสือภาษาต่างประเทศไทยเป็นภาษาไทยนั้น ถ้าพอมีเวลา ผมอยากแนะนำให้คุณอ่าน หนังสือที่ต้องการแปล ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างน้อย 2-3 รอบ พยายามสรุปเนื้อความและบรรยากาศ ตลอดถึง อารมณ์ที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดมาสู่ผู้อ่านให้เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยเริ่มลงมือแปล งานแปลของคุณ ก็จะราบรื่นยิ่งขึ้น ไม่ใช่เป็นการแปลแบบคำต่อคำ ซึ่งบางทีเมื่อเรียงเป็นประโยคแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง นอกจากนี้ยังอาจมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางตอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักอ่านชาวไทยด้วย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่การดัดแปลงไปจากเดิมมากจนเกินไป

     

     




     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×