คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : แนวทางภาคปฏิบัติในการผลิตงานเขียน
แนวทางภาคปฏิบัติในการผลิตงานเขียน
A. กรณีที่เป็นหนังสือซึ่งคุณเขียนขึ้นเอง
1. กำหนดเรื่องที่จะเขียน
2. กำหนดเค้าโครงเรื่อง
3. หาข้อมูล/วัตถุดิบ
4. ลงมือเขียน
5. ขัดเกลาสำนวน
6. เสนองาน
นำต้นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์แล้วของคุณ ไปเสนอแก่สำนักพิมพ์ที่คุณคิดว่าเหมาะสม แล้วสอบถามให้ชัดเจนว่า จะต้องใช้เวลาในการพิจารณางานของคุณนานเท่าใด หากต้องการทราบความคืบหน้าให้สอบถามจากใคร ตำแหน่ง อะไร
ถ้าคุณต้องการเสนอผลงานให้ทางสำนักพิมพ์แจ่มใสพิจารณา การส่งต้นฉบับอาจส่งโดยทางอีเมล์ editor@jamsai.com ก็น่าจะสะดวกดีกับทุกฝ่าย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย โดยต้นฉบับควรเป็นไฟล์เอกสาร ของไมโครซอฟต์เวิร์ด (95 หรือ 97 ก็ได้) และถ้ามีภาพประกอบก็ควรเป็นไฟล์นามสกุล .TIF หรือ .EPS (ที่ความละเอียด 150-300 DPI) อย่าใช้ภาพกราฟฟิคนามสกุล JPEG หรือ GIF เพราะภาพอาจมีความละเอียดต่ำ เกินกว่าจะนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์
7. ติดตามผล
การติดตามผลงาน อย่าลืมระวังเรื่องของกาละเทศะด้วย นักเขียนบางคนนั้น จะด้วยความตื่นเต้นหรืออย่าง ไรก็ไม่ทราบ โทรศัพท์วันละหลายครั้งเพื่อสอบถามความคืบหน้า จนถึงขนาดสร้างความรำคาญและบรรยากาศ ที่ไม่ดี ระหว่างตัวนักเขียนกับเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ที่ไปเสนองาน ส่วนบางคนนั้น หลังจาก ที่เสนองานให้ไปพิจารณาแล้ว กลับไม่กล้าติดต่อไปหาอีกเลย เพราะเกรงว่าจะไปกวนใจเขา หลายเดือนผ่าน ไปปรากฏว่าเขาลืมไปแล้ว พอไปถาม เขาเพิ่งหยิบเรื่องออกมา แล้วให้ร้องเพลงรอต่อไป
8. ประชาสัมพันธ์
เมื่อคุณหาสำนักพิมพ์ที่จะรองรับงานของคุณได้แล้ว อยากแนะนำให้คุณประชาสัมพันธ์หนังสือของคุณเอง ด้วยอีกแรงหนึ่ง จะดีกว่าการไปรอให้สำนักพิมพ์เขาจัดการให้อย่างเดียว คำว่า "ประชาสัมพันธ์" มาจาก ประชา + สัมพันธ์ ดังนั้นในฐานะนักเขียน คุณควรสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านเขาให้มาก กรณีนี้พวกดาราหรือคน ดังเขาจะได้เปรียบ เพราะเวลาเปิดตัวหนังสือคนดัง สื่อต่างๆ ก็มักจะให้ความสนใจ แต่ถ้าคุณเป็นลูกชาวบ้าน ธรรมดาก็ไม่เป็นไร ทำเท่าที่กำลังของคุณจะอำนวย อย่าฝืนทำจนเกินตัว เกินกำลังไป จะกลายเป็นผลเสีย มากกว่าผลดี
ความคิดเห็น