ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เชียงใหม่ เมืองแห่งความสดใส

    ลำดับตอนที่ #8 : เวียงกุมกาม : มหานครใต้พิภพ

    • อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 50


       ก่อนเวียงกุมกาม : บริเวณวัดกานโถมในเวียงกุมกามเป็นชุมชนโบราณสมัยหริภุญไชย โดยมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ชุมชนดังกล่าวมีฐานะเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อการปกครองของเมืองหริภุญไชย จาการศึกษาพบร่องรอยวัฒนธรรมหริภุยไชยได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา หม้อดินเผาไม่เคลือบลายขูดขีดศิลปะหริภุญไชย และเศษศิลาจารึกอักษรมอญ สภาพของชุมชนหมู่บ้านดังกล่าวมีผู้คนอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง
       อาณาจักรเวียงกุมกาม : เวียงกุมกามสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย หลังจากพญามังรายยึดเวียงหริภุญชัยได้แล้วและทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เวียงหริภุญไชย สถานที่สร้างเวียงกุมกามมีความเหมาะสมกับการขยายตัวของสังคมเมืองในขณะนั้น เพราะมีทำเลที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ เวียงกุมกามถูกสร้างขึ้นท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของหริภุญไชย จากการศึกษาพบว่ารูปแบบของเวียงกุมกามได้รับแนวคิดการสร้างเวียงตามแบบรัฐหริภุญไชย
       เวียงกุมกามมีฐานะเป็นเมืองหลวงในช่วงเวลาไม่นานก็ย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ สาเหตุสำคัญที่ย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ก็เพราะเวียงเชียงใหม่มีที่ตั้งที่เหมาะสมกว่าเวียงกุมกาม
       หลังจากสร้างเวียงเชียงใหม่แล้ว เวียงกุมกามยังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องสืบมาจนสิ้นสมัยราชวงศ์มังราย
       เวียงกุมกาม มหานครใต้พิภพ : เวียงกุมกามสลายตัวลงเพราะถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่ในสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ. 2101 – 2317) เวียงกุมกามถูกฝังจมอยู่ใต้ตะกอนดินที่น้ำพัดมาจนยากที่จะฟื้นฟูให้คืนสู่สภาพเดิม ประกอบกับกลังจากน้ำท่วม แม่น้ำปิงได้เปลี่ยนร่องน้ำไม่ไหลผ่านเวียงกุมกาม ทำให้เวียงกุมกามหมดความสำคัญ โดยปล่อยทิ้งให้รกร้างสืบต่อมานับร้อยปี จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีราษฏรเข้าไปอยู่อาศัยภายในเวียงกุมกาม เวียงกุมกามมีสภาพเป็นชุมชนอีกครั้งงภายใต้ชื่อ บ้านช้างค้ำ เรื่องราวของเวียงกุมกามเพิ่งได้รับความสนใจในฐานะชุมชนโบราณที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ล้านนาเมื่อ พ.ศ. 2527
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×