ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #11 : การเมืองการปกครอง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.54K
      5
      13 ม.ค. 50

    รูปแบบของการปกครอง

    ประเทศในทวีปยุโรปมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันไป โดยพิจารณาลักษณะสำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

    1.การปกครองแบบรัฐบาลเดี่ยวและรัฐบาลรวม

    • การปกครองแบบรัฐบาลเดี่ยว หมายถึง การที่มีรัฐบาลของประเทศแต่เพียงรัฐบาลเดียว ทำหน้าที่บริหารการปกครองทั่วทั้งประเทศ ถึงหากจะมีการปกครองส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น แต่ทุกส่วนต้องขึ้นอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียว

      ประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐบาลเดี่ยว ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน อิตาลี สเปน โปรตุเกส และสาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) เป็นต้น

    • การปกครองแบบรัฐบาลรวม หมายถึง การที่มีรัฐบาลของประเทศเป็น 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐ รัฐบาลกลางนั้นถือเป็นรัฐบาลของประเทศเป็นส่วนรวม ส่วนรัฐบาลของรัฐ มีอำนาจปกครองเฉพาะส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่งจำนวนรัฐบาลของรัฐจะมีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจำนวนของรัฐที่ประกอบกันขึ้นเป็นประเทศนั้นๆ การปกครองแบบรัฐบาลรวมนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปกครองแบบสหพันธรัฐ ประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐบาลรวมจึงมักมีคำนำหน้าชื่อประเทศว่า สหพันธรัฐ ,สมาพันธ์ , สหภาพ สุดแต่จะเรียก แต่บางทีก็เรียกชื่อประเทศเฉยๆ โดยไม่มีคำนำหน้าก็ได้ ประเทศในยุโรปที่มีการปกครองแบบรัฐบาลรวม 5 ประเทศ คือ สาธารณรัฐออสเตรีย สมาพันธรัฐสวิส สหพันธ์สาธารณรัฐเช็คและสโลวัก สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

    2. ตำแหน่งประมุขของประเทศ

    ประมุขของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป มีตำแหน่งหน้าที่เรียกชื่อแตกต่างกันไป ตามรูปแบบการปกครองของประเทศ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้

    • กษัตริย์   เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศที่มีการปกครองเป็นราชอาณาจักร ในปัจจุบันมีอยู่ 7 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดนและสเปน
    • ประธานาธิบดี   เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศที่มีการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ได้แก่ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฟินแลนด์ โปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย เช็คและสโลวัก ฮังการี โรมาเนีย แอลบาเนีย ยูโกสลาเวีย กรีซ อิตาลี โปรตุเกส มอลตา กลุ่มประชาคมรัฐเอกราชและจอร์เจีย
    • ตำแหน่งอื่นๆ  มีบางประเทศที่เรียกประมุขของประมุขของประเทศเป็นตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่กษัตริย์หรือประธานาธิบดี ได้แก่
      1. ลักเซมเบิร์ก เรียกตำแหน่งประมุขของประเทศว่า แกรนด์ ดุ๊ก
      2. โมนาโก ลิกเตนสไตน์ และอันดอร์รา เรียกตำแหน่งประมุขของประเทศว่า เจ้าชาย
      3. วาติกัน เรียก ตำแหน่งประมุขของประเทศว่า สันตปาปา
      4. ซามารีโน เรียกตำแหน่งประมุขของประเทศว่า ผู้สำเร็จราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งพร้อมกัน 2 คน

       

      แกรนด์ ดุ๊กเฮนรี่
      สันตปาปา

    3. การปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ และระบอบสังคมนิยม

    • การปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นการปกครองประเทศโดยการเลือกผู้แทนราษฏรเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนในรัฐสภา รัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารประเทศมีกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งรวมทั้งต้องปกครอง โดยฟังเสียงประชาชน และมีกลไกที่สามารถควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลให้เป็นไปโดยชอบ

      ประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือและยุโรปใต้ ที่ขี้นชื่อมากได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์

    • การปกครองระบอบเผด็จการ เป็นการปกครองที่ให้อำนาจแก่ประมุขของประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาลในการบริหารประเทศอย่างเด็ดขาด และผู้บริหารประเทศมักอยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา

      ตัวอย่างประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบนี้ ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ซึ่งให้อำนาจสูงสุดแก่ประมุขของประเทศ คือ สันตะปาปา ในการบริหารการปกครองอย่างเต็มที่ และไม่มีวาระในการดำรงตำแหน่ง เมื่อเข้ารับตำแหน่งสันตปาปา จะทรงดำรงตำแหน่งจนสิ้นพระชนม์ จึงมีการเลือกตั้งสันตะปาปาองค์ใหม่สืบแทนต่อไป

    • การปกครองระบอบสังคมนิยม เป็นการปกครองที่ให้อำนาจสูงสุดแก่พรรคคอมมิวนิสต์ในการบริหารประเทศ และอำนาจของรัฐบาลมีค่อนข้างมาก

      รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มการปกครองระบอบนี้ใน พ.ศ.2460 และได้รวบรวมดินแดนใกล้เคียงจัดตั้งเป็นสหภาพโซเวียต ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศในยุโรปตะวันออก ส่วนใหญ่ได้รับเอาการปกครองนี้ไปใช้ด้วย โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของสหภาพโซเวียต ได้แก่ เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ เช็คและสโลวัก ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย แอลบาเนีย และยูโกสลาเวีย ในแต่ละประเทศพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ

      นับตั้งแต่ พ.ศ.2532 เป็นต้นมา อิทธิพลของสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออกได้ลดลง หลายประเทศ เริ่มมีการเคลื่อนไหวในการจำกัดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ในการบริหารประเทศ เช่น โปแลนด์ ได้มีการเลือกตั้งพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อเดือนสิงหาคม 2532 นับเป็นประเทศแรกในยุโรปตะวันออกที่มีการจำกัดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ลง ต่อมาในเดือนตุลาคม 2533 เยอรมนีตะวันออกก็ได้รวมกับเยอรมนีตะวันตกเป็นประเทศเดียวกัน โดยใช้รูปแบบการปกครองและเศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันตกเป็นหลักในการปกครองประเทศ นับเป็นการสิ้นสุดของการปกครองระบอบสังคมนิยมในเยอรมันตะวันออกที่มีมานานถึง 41 ปี นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนในสหภาพโซเวียต เมื่อมีเหตุการณ์ยึดอำนาจจากประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม 2534 นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แม้ว่าจะสามารถยึดอำนาจกลับคืนได้ก็ตาม แต่บรรดาสาธารณรัฐต่างๆ ที่รวมอยู่ในสหภาพได้ประกาศแยกตัวออกเป็นอิสระรวมทั้งหมด 15 สาธารณรัฐ ทั้งนี้ 14 สาธารณรัฐยกเว้นจอร์เจีย ได้รวมเป็นกลุ่มประชาคมรัฐเอกราชหรือ CIS

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×