ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 เรื่องราวและเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ

    ลำดับตอนที่ #26 : เค้กแต่งงาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.27K
      1
      16 มิ.ย. 51

    เค้กแต่งงาน

    ในสมัยโบราณ เจ้าสาวจะไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสขนมเค้กแต่งงานเลย  เนื่องจากเค้กแต่งงานในยุคเริ่มแรกนั้น  ทำขึ้นเพื่อ  “ปาใส่เจ้าสาว เค้กแต่งงานมีพัฒนาการในฐานะที่เป็นหนึ่งในบรรดาสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่จะขาดเสียมิได้ในพิธีแต่งงาน ในยุคที่ผ่าน ๆ มา ผู้คนจะคาดหวังว่า บุตรสืบสกุลจะติดตามมาทันทีภายหลังการแต่งงาน  ซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนพอ    กับมีกลางวันแล้วต้องมีกลางคืน

         ข้าวสาลีซึ่งถือกันมานานแล้วว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง เป็นเมล็ดธัญพืชที่ใช้โปรยใส่เจ้าสาวตามพิธีการ หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่ครองจะแย่งกันเก็บเมล็ดข้าวสาลีเพื่อเป็นเครื่องประกันว่า พวกเธอก็จะได้แต่งงานในไม่ช้า การแย่งเมล็ดข้าวสาลีนี้มีคตินิยมเช่นเดียวกับการแย่งช่อดอกไม้ของเจ้าสาวในยุคปัจจุบัน

         ช่างทำขนมชาวโรมันซึ่งมีฝีมือการอบขนมเป็นที่ยกย่องเลื่องลือยิ่งกว่าฝีมือการก่อสร้างของช่างก่อตึกร่วมชาติ  เป็นผู้เปลี่ยนแปลงประเพณีปฏิบัติดังกล่าว โดยเมื่อราว  ๑๐๐  ปีก่อนคริสต์ศักราช  พวกช่างทำขนมได้ริเริ่มอบขนมเค้กชิ้นเล็ก    มีรสหวาน ทำจากข้าวสาลีเพื่อใช้รับประทานในงานแต่งงานแทนที่จะใช้  “ปา”  อย่างไรก็ดี  แขกที่มาร่วมงานไม่ค่อยชอบใจนักที่อดสนุกกับการโปรยเมล็ดข้าวสาลีใส่เจ้าสาว จึงมักจะโยนเค้กชิ้นเล็ก ๆ นี้แทน

         กวีและปราชญ์ชาวโรมันชื่อ  ลูครีเชียส  บันทึกไว้ว่าพัฒนาการของการโยนขนมเค้กใส่เจ้าสาวลดความ รุนแรง”  ลงโดยเปลี่ยนเป็นการละเลงขนมลงบนศีรษะของเจ้าสาว  และเพื่อสืบทอดความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์คู่บ่าวสาวต้องรับประทานส่วนของขนมที่ถูกละเลงแล้วร่วมกันด้วย ประเพณีปฏิบัตินี้แพร่หลายไปทั่วยุโรปตะวันตก  ในประเทศอังกฤษ  เมื่อคู่บ่าวสาวรับประทานขนมแล้ว  ต้องจิบเหล้าชนิดพิเศษซึ่งเรียกกันว่าเหล้าเจ้าสาวตามด้วย

         พิธีโยนเค้กแต่งงานเพื่อเป็นเครื่องหมายให้คู่บ่าวสาว  “มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงไปอีกในสมัยกลางตอนต้นเมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง  เมล็ดข้าวสาลีดิบถูกนำกลับมาใช้โปรยใส่เจ้าสาวอีกครั้งหนึ่ง ขนมเค้กซึ่งเคยอบอย่างพิธีพิถันก็เปลี่ยนเป็นเพียงขนมปังกรอบ หรือขนมปังก้อนเล็ก ๆ ชนิดนุ่มรสหวานที่เรียกว่า  “สคอน”  (scone)  เพื่อรับประทานร่วมกันในงานแต่งงาน  แขกที่มาร่วมงานก็จะอบขนมกันมาเอง  ส่วนที่เหลือจะนำไปแจกจ่ายให้คนยากจนประเพณีปฏิบัติที่ประหยัดเรียบง่ายนี้เอง เมื่อเวลาผ่านไป  ด้วยความช่างประดิษฐ์ประกอบกับการดูแคลนทุกสิ่งที่เป็นอังกฤษของชาวฝรั่งเศส  กลับเป็นที่มาของเค้กแต่งงานเป็นชั้น ๆ ซึ่งหรูฟู่ที่สุด

         ตำนานเล่าว่า  ทั่วทุกแห่งในเกาะอังกฤษจะถือเป็นธรรมเนียมที่จะนำขนมปังกรอบ  และสคอน ซึ่งแขกนำมาช่วยงานวางซ้อน ๆ  กันเป็นกองใหญ่มหึมา ยิ่งกองสูงเท่าใดยิ่งดี เพราะถือกันว่าความสูงของกองขนมชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของคู่สมรสในอนาคต  และเป็นธรรมเนียมอีกว่า เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องแลกจุมพิตกันบนกองขนม ในช่วง ค.ศ. ๑๖๖๐-๑๖๖๙  ระหว่างสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๒ พ่อครัวชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง  (น่าเสียดายที่ชื่อของเขาตกหล่นไปจากหน้าประวัติศาสตร์) ได้ไปเที่ยวกรุงลอนดอนและเห็นพิธีการ  “กองเค้ก”  พ่อครัวคนนี้รู้สึกใจหายใจคว่ำกับลักษณะที่คนอังกฤษเรียงขนมเค้กซ้อน ๆ  กันและบ่อยครั้งที่กองขนมพังครืนลงมา  เขาจึงได้ความคิดที่จะทำขนมเค้กก้อนใหญ่เป็นชั้น ๆ  เคลือบด้วยน้ำตาลไอซิง  ซึ่งให้ความรู้สึกตื่นตาตื่นใจเหมาะกับพิธีแต่งงาน  มากกว่ากองภูเขา

         ขนมปังกรอบที่แสนจะธรรมดา  หนังสือพิมพ์อังกฤษในสมัยนั้นพากันประสานเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายของชาวฝรั่งเศส  แต่ปรากฏว่าก่อนจะสิ้นสุดศตวรรษที่  ๑๗  ช่างทำขนมชาวอังกฤษก็พร้อมใจกันทำขนมเค้กแต่งงานก้อนมหึมาเป็นชั้น ๆ บริการให้แก่บรรดาลูกค้าของพวกเขาเท่านั้น

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×