ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    +"+"+สูตรน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ+"+"+

    ลำดับตอนที่ #29 : น้ำดอกคำ ฝอย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.57K
      0
      29 มี.ค. 50



    ชื่ออื่น คำ (ทั่วไป) ดอกคำ(เหนือ) คำยอง(ลำปาง)    
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การใช้ประโยชน์
    ต้น เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว สูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นและกิ่งก้าน มีสีขาว   ใช้เป็นอาหาร น้ำมันจากเมล็ด ใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม ดอกย่อยแห้ง ใช้ทำน้ำดอกคำฝอย
    ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปยาวแหลมหัว แหลมท้าย ขอบใบเป็นปลายแหลมแข็ง โดยเฉพาะใบ ที่อยู่ตรงปลายยอดที่รองรับช่อดอก จะมี หนามแข็งมาก   คุณค่าทาง โภชนาการ ดอกย่อยสีเหลืองส้มถึงสีแดง มีรสขม มีน้ำมันไม่ระเหย มีสารสีเหลือง ซึ่งละลายได้ในน้ำและมีสารสีแดง เมล็ด มีน้ำมันไม่ระเหย ประกอบด้วยกรด ไลโนเลอิค เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
    ดอก ออกดอกชื่อที่ปลายกิ่ง ดอกช่อบานใหม่ๆ มีสี เหลืองส้ม จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมล็ดมีสีขาว   ใช้เป็นยา ดอก รสหวานร้อน เป็นยาขับระดู บำรุง ประสาท บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ดี พิการ ขับเหงื่อ ใช้ระงับประสาท บำรุง โลหิต แก้ไขข้ออักเสบ แก้หวัดน้ำมูกไหล เกสร รสหวานร้อน บำรุงโลหิตระดู และแก้แสบร้อนตามผิวหนัง เมล็ด รส หวานเย็น เป็นยาถ่าย ขับเสมหะ แก้โรค ลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก น้ำมัน จากเมล็ด รสร้อน แก้อัมพาต แก้ฝี แก้ขัดตามข้อและลดไขมันในเส้นเลือด
          น้ำดอกคำ ฝอย

    ส่วนผสม
    ดอกคำฝอย 1 กรัม
    น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
    น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ

    วิธีทำ
    เลือกดอกคำฝอยใหม่ ๆ จะมีสีแดงสด มีกลิ่นหอม ถ้าเป็นดอกที่เก่าเก็บจะมีสี แดงอมน้ำตาล กลิ่นไม่หอม ชงด้วยน้ำ เดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 3-5 นาที กรองด้วย ผ้าขาวบาง จะได้น้ำดอกคำฝอยสีเหลือง ส้ม เติมน้ำตาลทราย ดื่มเป็นครั้งคราว

           

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×