ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    +"+"+สูตรน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ+"+"+

    ลำดับตอนที่ #41 : น้ำน้อยโหน่ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 330
      1
      30 มี.ค. 50



    ชื่ออื่น น้อยหนัง(ใต้) มะโหน่ง มะเนียงแฮ้ง(เหนือ) น้อยหน่า(ปัตตานี) มะตาก(แพร่) หมากอ้อ(แม่ฮ่องสอน) เร็งนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) หนอนลาว(อุบลราชธานี)    
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การใช้ประโยชน์
    ต้น เป็นไม้ยืนต้น มีลำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน สา ขาโค้งคด เปลือกของต้นอ่อนเป็นสีน้ำตาล กระขาว พอแก่เป็นสีเทา ต้นสูงประมาณ 6-7 เมตร   ใช้เป็นอาหาร ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้
    ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกขอบขนาน ปลายใบ แหลมและเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว เป็นมัน ใต้ใบสีจะอ่อนกว่าด้านบน   คุณค่าทาง โภชนาการ -
    ดอก ออกเป็นช่อ หรือบางทีออกเป็นดอกเดี่ยว ช่อหนึ่งมีดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอก อยู่ตรง ข้ามกับใบ มีสีเหลืองอมเขียว มี 2 ขั้น ๆ ละ 3 กลีบ กลีบชั้นในกลีบดอกจะเล็กกว่าชั้นนอก   ใช้เป็นยา ผล ใช้ทั้งผลดิบและผลแห้งนั้น แก้โรค ท้องร่วง แก้บิด แบะเป็นยาขับพยาธิ ใบ แก้โรคบิด ถ่ายพยาธิ พอกฝี ใบคั้นน้ำ ใช้เป็นยาฆ่าเหา รากเป็นยารักษาโรค เรื้อน เมล็ด เป็นยาสมานแผล และเป็น ยาฆ่าแมลง ส่วนเนื้อในของเมล็ดนั้นเป็น ยาพิษอย่างแรง เปลือก เป็นยาห้ามเลือด และเป็นยาสมานแผล
    ผล ลูกเกือบกลม คล้ายรูปหัวใจ โตประมาณ 3-5 นิ้ว เปลือกผลจะบางเรียบ เหนียว แต่ไม่มีหนาม ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้มปนชมพู พอสุกเป็น สีแดงคล้ำ รับประทานได้ มีรสหวาน   น้ำน้อยโหน่ง

    ส่วนผสม
    แกะน้อยโหน่งสุกเอาแต่เนื้อ 1 ถ้วย
    น้ำต้มสุก 2 ถ้วย
    น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
    เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

    วิธีทำ
    แกะเนื้อน้อยโหน่งลงในโถปั่น ใส่น้ำต้ม น้ำเชื่อม เกลือ ปั่นให้ละเอียด ชิมรสตาม ใจชอบ จะได้น้ำน้อยโหน่งสีขาวขุ่น กลิ่น หอมชื่นใจ เมือจะดื่มใส่น้ำแข็งทุบ

           

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×